คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุมพล ณ สงขลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตยาแผนโบราณต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาหรือมีใบอนุญาต เว้นแต่ปรุงยาตามตำราเพื่อใช้กับคนไข้ของตน
ในการผลิตยาแผนโบราณตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 นอกจากผู้ผลิตจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งแล้ว ยังต้องปรากฏว่ายาแผนโบราณที่จะผลิตนั้นต้องเป็นยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ด้วย ตามมาตรา 72(4)หรือผู้ผลิตได้นำตำรับยานั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้ว ตามมาตรา 79 จึงจะผลิตยานั้นได้ แต่หากเป็นการปรุงยาตามตำราที่รัฐมนตรีประกาศตามมาตรา 76(1) โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ และเป็นการทำเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตนตามมาตรา 47(2) แล้ว ก็สามารถผลิตยานั้นได้โดยไม่ต้องรับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองมิได้ผลิตยาของกลางเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตน แม้จำเลยทั้งสองจะได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ กรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 47(2) และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงไม่ได้รับอนุญาตจากผู้อนุญาตให้ผลิตยาแผนโบราณได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิด
การจะสอบสวนจำเลยทั้งสองในความผิดฐานใดนั้น ย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน เมื่อข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจค้นและพิสูจน์ยาของกลางพบว่าเป็นเนื้อเยื่อของพืชและมหาหิงคุ์ซึ่งเป็นยาแผนโบราณ ดังนั้น แม้ ป. จะลงชื่อในคำร้องทุกข์โดยยังไม่ได้กรอกข้อความรายละเอียดต่าง ๆ ลงไปเพราะไม่ทราบว่าจะแจ้งความให้ดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป การสอบสวนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตยาแผนโบราณต้องขึ้นทะเบียนตำรับยาหรือมีใบอนุญาต หากผลิตเพื่อขายให้บุคคลทั่วไป แม้มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ในการผลิตยาแผนโบราณตาม พระราชบัญญัติยานั้นนอกจากผู้ผลิตจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งแล้ว ยังต้องปรากฏว่ายาแผนโบราณที่จะผลิตนั้นต้องเป็นยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้วตามมาตรา 72(4) หรือผู้ผลิตได้นำตำรับยานั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วตามมาตรา 79 จึงจะผลิตยานั้นได้ หากเป็นการปรุงยาตามตำราที่รัฐมนตรีประกาศตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 76(1) โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ และเป็นการทำเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตนตามมาตรา 47(2) แล้ว จึงจะสามารถผลิตยานั้นได้โดยไม่ต้องรับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยจำเลยที่ 1ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผลิตยาแผนโบราณตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรมส่วนจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเวชกรรม และเภสัชกรรม การที่จำเลยทั้งสองได้ดำเนินการผลิตยาแผนโบราณเป็นยาเม็ดลูกกลอนของกลาง จำนวน 2 ถุง ซึ่งมีผู้อื่นมาว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองผลิต และยาของกลางมีส่วนผสมของมหาหิงคุ์ซึ่งถือว่าเป็นยาแผนโบราณ โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งจำเลยมิได้ผลิตเพื่อรักษาคนไข้ของตนเอง การที่จำเลยทั้งสองมิได้ผลิตยาของกลางเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตน แม้จำเลยทั้งสอง จะได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ กรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510มาตรา 47(2) และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงไม่ได้ใบรับอนุญาตจากผู้อนุญาตให้ผลิตยาแผนโบราณได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาฯมาตรา 72(4),79,122,123 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม แม้ขณะ ป.ลงชื่อในคำร้องทุกข์ ขณะนั้นรายละเอียดต่าง ๆยังไม่ได้กรอกข้อความลงไป และ ป.ไม่ทราบว่าจะแจ้งความให้ดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานใดก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่า ป.เป็นผู้ได้ตรวจค้นพบยาของกลางและได้บันทึกการยึดยาไว้ เมื่อผลการตรวจพิสูจน์พบว่าของกลางเป็นเนื้อที่เยื่อของพืชและมหาหิงคุ์ซึ่งเป็นยาแผนโบราณ ผู้บังคับบัญชาจึงมอบหมายให้ ป.ไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อป.ได้รับมอบหมายให้ไปร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และการจะสอบสวนจำเลยในความผิดฐานใดนั้นย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน ดังนั้นการสอบสวนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผลิตยาแผนโบราณต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา หรือผลิตเพื่อรักษาคนไข้ของตนเองเท่านั้น
ในการผลิตยาแผนโบราณตาม พ.ร.บ.ยานั้น นอกจากผู้ผลิตจะต้องได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งแล้ว ยังต้องปรากฏว่ายาแผนโบราณที่จะผลิตนั้นต้องเป็นยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้แล้วตามมาตรา 72 (4) หรือผู้ผลิตได้นำตำรับยานั้นมาขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแล้วตามมาตรา 79 จึงจะผลิตยานั้นได้ หากเป็นการปรุงยาตามตำราที่รัฐมนตรีประกาศตาม พ.ร.บ.ยาพ.ศ.2510 มาตรา 76 (1) โดยผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ และเป็นการทำเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตนตามมาตรา 47 (2) แล้ว จึงจะสามารถผลิตยานั้นได้โดยไม่ต้องรับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตตามมาตรา 46วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ผลิตยาแผนโบราณตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเภสัชกรรม ส่วนจำเลยที่ 2 ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเวชกรรมและเภสัชกรรม การที่จำเลยทั้งสองได้ดำเนินการผลิตยาแผนโบราณเป็นยาเม็ดลูกกลอนของกลาง จำนวน 2 ถุง ซึ่งมีผู้อื่นมาว่าจ้างให้จำเลยทั้งสองผลิต และยาของกลางมีส่วนผสมของมหาหิงคุ์ซึ่งถือว่าเป็นยาแผนโบราณ โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทั้งจำเลยมิได้ผลิตเพื่อรักษาคนไข้ของตนเอง การที่จำเลยทั้งสองมิได้ผลิตยาของกลางเพื่อขายเฉพาะสำหรับคนไข้ของตน แม้จำเลยทั้งสองจะได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ กรณีก็ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ยาพ.ศ.2510 มาตรา 47 (2) และเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาและไม่นำตำรับยาไปขอขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยจึงไม่ได้ใบรับอนุญาตจากผู้อนุญาตให้ผลิตยาแผนโบราณได้ตามมาตรา 46 วรรคหนึ่งจำเลยทั้งสองจึงต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาฯ มาตรา 72 (4), 79, 122,123 อันเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม
แม้ขณะ ป.ลงชื่อในคำร้องทุกข์ ขณะนั้นรายละเอียดต่าง ๆยังไม่ได้กรอกข้อความลงไป และ ป.ไม่ทราบว่าจะแจ้งความให้ดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานใดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า ป.เป็นผู้ได้ตรวจค้นพบยาของกลางและได้บันทึกการยึดยาไว้ เมื่อผลการตรวจพิสูจน์พบว่าของกลางเป็นเนื้อเยื่อของพืชและมหาหิงคุ์ซึ่งเป็นยาแผนโบราณ ผู้บังคับบัญชาจึงมอบหมายให้ ป.ไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดี ดังนั้น เมื่อ ป.ได้รับมอบหมายให้ไปร้องทุกข์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และการจะสอบสวนจำเลยในความผิดฐานใดนั้นย่อมเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนที่จะดำเนินการต่อไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสอบสวน ดังนั้นการสอบสวนจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิการใช้น้ำจากลำเหมืองสาธารณะและการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ลำเหมืองพิพาทเป็นลำเหมืองสาธารณะ โจทก์และจำเลยต่างมีสิทธิใช้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย จำเลยใช้แผ่นคอนกรีตและดินปิดกั้นปากร่องน้ำของโจทก์ในส่วนที่ติดต่อกับลำเหมืองพิพาทเพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าฟาร์มโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อลำเหมืองพิพาทเป็นลำเหมืองสาธารณะและโจทก์ทั้งสามมีสิทธิใช้ประโยชน์จากลำเหมืองดังกล่าว ทั้งจำเลยไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำแผ่นคอนกรีตและดินไปปิดกั้นปากร่องน้ำของโจทก์ในส่วนที่ติดต่อกับลำเหมืองพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองพิพาทตามที่โจทก์มีสิทธิ และหากมีการแบ่งเฉลี่ยการใช้น้ำระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยก็จะมีน้ำใช้เพียงพอทั้งสองฝ่าย ดังนี้ การที่โจทก์เปิดน้ำเข้าฟาร์มของโจทก์ในช่วงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นฤดูแล้ง มีน้ำน้อยไม่พอในการทำนาของราษฎร แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของโจทก์ตามควร อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 1355 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 421
เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเรื่องละเมิด กรณีที่จะไม่ต้องรับผิดในการกระทำละเมิดนั้น ต้องเป็นไปตามมาตรา 449 ถึง 452 แต่การกระทำของจำเลยไม่เข้ากรณีตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิการใช้น้ำจากลำเหมืองสาธารณะ การปิดกั้นทางน้ำถือเป็นการละเมิด
ลำเหมืองพิพาทเป็นลำเหมืองสาธารณะ โจทก์และจำเลยต่างมีสิทธิใช้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย จำเลยใช้แผ่นคอนกรีตและดินปิดกั้นปากร่องน้ำของโจทก์ในส่วนที่ติดต่อกับลำเหมืองพิพาทเพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าฟาร์มโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เมื่อลำเหมืองพิพาทเป็นลำเหมืองสาธารณะและโจทก์ทั้งสามมีสิทธิใช้ประโยชน์จากลำเหมืองดังกล่าว ทั้งจำเลยไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำแผ่นคอนกรีตและดินไปปิดกั้นปากร่องน้ำของโจทก์ในส่วนที่ติดต่อกับลำเหมืองพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองพิพาทตามที่โจทก์มีสิทธิ และหากมีการแบ่งเฉลี่ยการใช้น้ำระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว โจทก์และจำเลยก็จะมีน้ำใช้เพียงพอทั้งสองฝ่าย ดังนี้ การที่โจทก์เปิดน้ำเข้าฟาร์มของโจทก์ในช่วงที่เกิดเหตุซึ่งเป็นฤดูแล้งมีน้ำน้อยไม่พอในการทำนาของราษฎร แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของโจทก์ตามควรอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1355 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 421 เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเรื่องละเมิด กรณีที่จะไม่ต้องรับผิดในการกระทำละเมิดนั้น ต้องเป็นไปตามาตรา 447ถึง 452 แต่การกระทำของจำเลยไม่เข้ากรณีตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้น้ำลำเหมืองสาธารณะ การปิดกั้นทางน้ำถือเป็นการละเมิด
โจทก์และจำเลยมีสิทธิใช้ประโยชน์จากลำเหมืองสาธารณะจำเลยไม่มีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะนำแผ่นคอนกรีตและดินไปปิดกั้นปากร่องน้ำของโจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองพิพาทตามที่โจทก์มีสิทธิ และหากมีการแบ่งเฉลี่ยการใช้น้ำระหว่างโจทก์และจำเลยแล้ว ก็จะมีน้ำใช้เพียงพอทั้งสองฝ่าย การที่โจทก์เปิดน้ำเข้าฟาร์มของโจทก์ในช่วงฤดูแล้งมีน้ำน้อยไม่พอในการทำนาของราษฎร แต่โจทก์มิได้ชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ของโจทก์ตามควรอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1355 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น ซึ่งเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 421

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3714/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ดิน - เจตนา - แนวเขตไม่ชัดเจน - ไม่มีความผิด
ที่ดินของผู้เสียหายไม่มีแนวเขตที่แน่นอน จำเลยโต้เถียงตลอดมาว่า ที่ดินไม่ใช่ของผู้เสียหาย ขณะที่จำเลยเข้าไปก่อสร้างห้องแถวบ้านพักชั่วคราว ปักหลักกั้นรั้ว และก่อสร้างรั้วคอนกรีตในที่ดินจำเลยจึงไม่รู้ว่าที่ดินนั้นอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของโจทก์อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 ซึ่งตามมาตรา 59 วรรคสาม จะถือว่าจำเลยกระทำโดยประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลไม่ได้จึงไม่เป็นการกระทำโดยเจตนาไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยและการปรับขึ้นดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. โดยต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีต่อธนาคารโจทก์และตามสัญญาดังกล่าวข้อ 2 มีข้อความว่า "ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้...ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี... ในระหว่างอายุสัญญากู้ ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ได้และหากภายหลังจากวันทำสัญญานี้ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยในจำนวนหนี้ที่ผู้กู้ยังค้างชำระหนี้อยู่ตามสัญญานี้ในอัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์พึงเรียกเก็บนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับได้ตลอดไปจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เสร็จสิ้นโดยเพียงแต่ผู้ให้กู้แจ้งให้ผู้กู้ทราบเท่านั้น ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามที่แจ้งไปนั้นทุกประการโดยไม่โต้แย้งคัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น" เห็นได้ว่า การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารให้กู้เป็นเพียงให้โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ทำให้ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ระบุให้โจทก์แจ้งอัตราดอกเบี้ยให้จำเลยที่ 1 ทราบเปลี่ยนแปลงไป แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้แจ้งการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยให้จำเลยที่ 1 ทราบ ดังนี้ การที่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยพลการมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ได้ในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3672/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พรบ.บริษัทจำกัด กรณีผู้จัดการสาขาละเว้นการลงบัญชีและรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมิชอบ
จำเลยเป็นผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ร่วมไม่จัดให้มีหลักประกันคุ้มกับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยปกปิดไม่ขออนุมัติโจทก์ร่วมและปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่จัดให้มีการจดแจ้งการรับอาวัลลงในสมุดทะเบียนไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล ไม่ใช่เป็นการทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลงตัดทอน หรือปลอมบัญชีเอกสารหรือหลักประกันของโจทก์ร่วม จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42(1)
สมุดทะเบียนหนังสือค้ำประกัน และสมุดบัญชีภาระในการรับรองตั๋วเงินของธนาคารโจทก์ร่วม เป็นเอกสารบัญชีหรือเอกสารของโจทก์ร่วม เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการสาขาของโจทก์ร่วมมีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจในสาขาซึ่งรวมถึงการสั่งให้พนักงานลงบัญชีหรือเรียกบัญชีมาตรวจสอบ จึงถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่ลงบัญชีด้วยการที่จำเลยลงชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่มีหลักประกัน ไม่ขออนุมัติจากโจทก์ร่วมตามระเบียบ ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัลและไม่ลงบัญชีเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการละเว้นไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้โจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้ มีความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิพ.ศ. 2499 มาตรา 42(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3632/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานละเว้นการลงบัญชีสำคัญเพื่อลวงให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทจำกัด
การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499มาตรา 42 (1) นั้น จะต้องทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอม บัญชี-เอกสาร หรือหลักประกันของธนาคารโจทก์ร่วมด้วย แต่การที่จำเลยไม่จัดให้มีหลัก-ประกันคุ้มกับจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยปกปิดไม่ขออนุมัติโจทก์ร่วมและปฏิเสธว่าไม่ได้ลงชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงิน ไม่จัดให้มีการจดแจ้งการรับอาวัลลงในสมุดทะเบียนไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล ไม่ใช่เป็นการทำให้เสียหาย เปลี่ยนแปลงตัดทอน หรือปลอม บัญชีเอกสาร หรือหลักประกันของโจทก์ร่วม จำเลยเป็นผู้จัดการของธนาคารโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจของโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี จำเลยจึงเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ พ.ศ.2499 มาตรา42 (2) สมุดทะเบียนหนังสือค้ำประกัน สมุดบัญชีภาระในการรับรองตั๋วเงินของโจทก์ร่วมเป็นเอกสารบัญชีหรือเอกสารของบริษัทตามที่กฎหมายมาตราดังกล่าวบัญญัติไว้เช่นเดียวกัน ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ร่วมสาขานนทบุรี มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการและดำเนินธุรกิจในสาขานนทบุรีทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการสั่งให้พนักงานลงบัญชีหรือเรียกบัญชีมาตรวจสอบด้วย จึงถือได้ว่าจำเลยมีหน้าที่ลงบัญชีด้วย การที่จำเลยลงชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่มีหลักประกัน ไม่ขออนุมัติจากโจทก์ร่วมสำนักงานใหญ่ตามระเบียบ ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมการรับอาวัล และไม่ลงบัญชีเพื่อไม่ให้โจทก์ร่วมสามารถตรวจสอบได้ จึงเป็นการละเว้นไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีโดยมีเจตนาเพื่อลวงให้โจทก์ร่วมขาดประโยชน์อันควรได้ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ มาตรา 42(2) ด้วย
of 18