พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางต้องมีคำขอท้ายฟ้องชัดเจน แม้เป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติให้ริบได้ ศาลก็ไม่อาจริบได้หากไม่มีคำขอ
แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องและระบุอ้างความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 74 ทวิ มาท้ายฟ้องด้วยก็ตาม แต่ในส่วนคำขอท้ายฟ้องนั้น โจทก์ระบุไว้เพียงว่าขอให้ริบเฉพาะไม้แปรรูปของกลาง โจทก์หาได้ขอให้ริบเครื่องมือเครื่องใช้ในการแปรรูปไม้ของกลางทั้งหมดมาโดยชัดแจ้งไม่ ดังนั้น ศาลจึงริบได้เฉพาะไม้แปรรูปของกลางตามคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น ส่วนของกลางอื่นนอกจากนี้ศาลไม่อาจริบได้เพราะจะเกินคำขอ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคหนึ่ง
แม้เครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 74 ทวิ จะเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติให้ริบโดยเด็ดขาด แต่โจทก์ก็ต้องมีคำขอให้ริบมาด้วย มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจสั่งให้ริบของกลางได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคหนึ่ง
แม้เครื่องมือเครื่องใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 74 ทวิ จะเป็นทรัพย์ที่กฎหมายบัญญัติให้ริบโดยเด็ดขาด แต่โจทก์ก็ต้องมีคำขอให้ริบมาด้วย มิฉะนั้นศาลก็ไม่อาจสั่งให้ริบของกลางได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความ การงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมาย และการดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ดังนั้น ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา นับแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ซึ่งตามคำให้การของจำเลยทั้งสามในคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 และจำเลยที่ 3 ก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโจทก์แต่ประการใด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดีไปกว่าโจทก์ คดีจึงสามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจึงชอบแล้ว แต่การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งแยกนั้นประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งโจทก์สามารถนำคำพิพากษาไปดำเนินการตามขั้นตอนได้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินให้แต่อย่างใดจึงต้องยกคำขอในส่วนนี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับเอกสารหายเพื่อออกฉบับใหม่ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทางราชการ
ก่อนจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไป จำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวมิได้สูญหาย แต่ อ.เป็นผู้เอาไปจากตู้เก็บเอกสารของ ก.และไม่ยอมคืนให้จำเลยเพราะอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์และจำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกว่าทางราชการจะออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้เจ้าของรถใหม่ต่อเมื่อฉบับเก่าสูญหายโดยมีหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจมาแสดง เมื่อเป็นความประสงค์ของจำเลยเองที่ต้องการให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยใหม่โดยจำเลยไม่ต้องเสียเวลาในการฟ้องร้อง อ. จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปอันเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ครบองค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามที่ ป.อ.มาตรา 137 บัญญัติไว้เพราะหากกรมการขนส่งทางบกเชื่อว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจริงตามที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน ทางราชการก็จะต้องออกเอกสารดังกล่าวฉบับใหม่ขึ้นแทน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนทางทะเบียนเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก พนักงานสอบสวนและประชาชนทั่วไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์เพื่อออกฉบับใหม่ มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ก่อนจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไป จำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวมิได้สูญหายไป แต่ อ. เป็นผู้เอาไปจากตู้เก็บเอกสารของก. และไม่ยอมคืนให้จำเลยเพราะอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์และจำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกว่าทางราชการจะออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้เจ้าของรถใหม่ต่อเมื่อฉบับเก่าสูญหายโดยมีหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจมาแสดงเมื่อเป็นความประสงค์ของจำเลยเองที่ต้องการให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยใหม่โดยจำเลยไม่ต้องเสียเวลาในการฟ้องร้อง อ. จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปอันเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ครบองค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 บัญญัติไว้เพราะหากกรมการขนส่งทางบกเชื่อว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจริงตามที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทางราชการก็จะต้องออกเอกสารดังกล่าวฉบับใหม่ขึ้นแทนซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนทางทะเบียนเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก พนักงานสอบสวนและประชาชนทั่วไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3162/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์เพื่อออกเอกสารใหม่ มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
ก่อนจำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจำเลยทราบดีว่าเอกสารดังกล่าวมิได้สูญหายไปแต่อ. เป็นผู้เอาไปจากตู้เก็บเอกสารของก. และไม่ยอมคืนให้จำเลยเพราะอ้างว่าเป็นเจ้าของรถยนต์และจำเลยทราบจากเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกว่าทางราชการจะออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้เจ้าของรถใหม่ต่อเมื่อฉบับเก่าสูญหายโดยมีหลักฐานของเจ้าพนักงานตำรวจมาแสดงเมื่อเป็นความประสงค์ของจำเลยเองที่ต้องการให้ทางราชการออกใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยใหม่โดยจำเลยไม่ต้องเสียเวลาในการฟ้องร้องอ. จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปอันเป็นความเท็จการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายครบองค์ประกอบในความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา137บัญญัติไว้เพราะหากกรมการขนส่งทางบกเชื่อว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์สูญหายไปจริงตามที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนทางราชการก็จะต้องออกเอกสารดังกล่าวฉบับใหม่ขึ้นแทนซึ่งอาจก่อให้เกิดความสับสนทางทะเบียนเป็นที่เสียหายแก่เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบกพนักงานสอบสวนและประชาชนทั่วไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างในคดีที่มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญา และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ขัดแย้งกับเอกสาร
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ยืมที่ ส. เป็นผู้กู้มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า ตามสัญญากู้ยืมมีต้นเงินเพียง 60,000 บาท รวมดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นเงิน 400,000 บาท ไม่เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบข้อเท็จจริงสนับสนุนข้ออ้างเรื่องเงินกู้ยืมที่เกินกว่าเอกสารสัญญากู้ยืม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ยืมที่ ส.เป็นผู้กู้ มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ได้ว่า ตามสัญญากู้ยืมมีต้นเงินเพียง 60,000 บาท รวมดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นเงิน 400,000 บาท ไม่เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3152/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานในคดีกู้ยืมเงินและข้อพิพาทเรื่องหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ศาลอนุญาตให้โจทก์นำสืบได้หากมิได้ฟ้องบังคับตามสัญญา
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโจทก์มอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสองยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ยืมที่ส. เป็นผู้กู้มิได้ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญากู้ยืมเงินซึ่งมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์จึงมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ได้ว่าตามสัญญากู้ยืมมีต้นเงินเพียง60,000บาทรวมดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นเงิน400,000บาทไม่เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2922/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมกับตัวแทน: ความรับผิดต่อบุคคลภายนอกจากการใช้รถยนต์ร่วมกัน
การที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์คันพิพาทเข้าจดทะเบียนร่วมกับบริษัท ส.ก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิที่จะนำรถยนต์คันพิพาทขนส่งคนโดยสารอันเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ส. จำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวการร่วมกันกับบริษัท ส.ในการดำเนินกิจการขนส่งคนโดยสารด้วย
จำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2นำเข้าจดทะเบียนร่วมขนส่งกับบริษัท ส.ออกไปรับจ้างขนส่งคนโดยสารตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ส.เป็นการร่วมกับบริษัท ส.เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ด้วยจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 427 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ารถยนต์คันพิพาทกับจำเลยที่ 2เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีผลกระทบถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการต่อโจทก์ตามกฎหมายมาตราดังกล่าว เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 สามารถนำรถยนต์คันพิพาทออกขนส่งคนโดยสารได้ก็เพราะจำเลยที่ 2 นำรถยนต์คันพิพาทเข้าจดทะเบียนร่วมกับบริษัท ส.ด้วย ไม่ใช่เพราะจำเลยที่ 1 เช่ารถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว
จำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2นำเข้าจดทะเบียนร่วมขนส่งกับบริษัท ส.ออกไปรับจ้างขนส่งคนโดยสารตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ส.เป็นการร่วมกับบริษัท ส.เชิดให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 2 ด้วยจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 427 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ารถยนต์คันพิพาทกับจำเลยที่ 2เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีผลกระทบถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการต่อโจทก์ตามกฎหมายมาตราดังกล่าว เพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 สามารถนำรถยนต์คันพิพาทออกขนส่งคนโดยสารได้ก็เพราะจำเลยที่ 2 นำรถยนต์คันพิพาทเข้าจดทะเบียนร่วมกับบริษัท ส.ด้วย ไม่ใช่เพราะจำเลยที่ 1 เช่ารถยนต์คันพิพาทจากจำเลยที่ 2 เพียงอย่างเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2919/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องของงานเหมา และการผิดสัญญาซ่อมแซม
ในวันส่งมอบงานมีการโต้แย้งกันเรื่องค่าจ้างจึงมิใช่โจทก์รับมอบงานโดยไม่อิดเอื้อนและบันทึกที่จำเลยที่1ส่งมอบงานให้โจทก์ระบุว่าค่าปรับจำเลยที่1ขอผัดผ่อนไปก่อนโจทก์ขอสงวนสิทธิไว้เพื่อจะเรียกร้องต่อไปดังนี้จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้สงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลาชำระหนี้แล้วโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยทั้งสองได้ โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่1ทำงานผิดพลาดบกพร่องโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่1มาจัดการซ่อมแซมแต่จำเลยที่1ไม่มาทำโจทก์ต้องไปจ้างช่างอื่นมาทำให้ใหม่จำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์รวมเป็นเงิน67,650บาทซึ่งเป็นการฟ้องให้จำเลยที่1ปฏิบัติตามสัญญาจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ารายการเกี่ยวกับการทาสีบ้านบันไดหลุดหลวมก๊อกน้ำโถส้วมปูนฉาบบ้านร้าวขาดอายุความโจทก์อุทธรณ์ว่ารายการดังกล่าวไม่ขาดอายุความศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความจึงไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับความเสียหายดังกล่าวเป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายในรายการดังกล่าวหรือไม่โดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247 บ้านโจทก์ชำรุดบกพร่องโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่1มาทำการซ่อมแซมแล้วแต่จำเลยที่1ไม่มาโจทก์จึงมีสิทธิจ้างผู้อื่นให้ทำงานแทนจำเลยที่1ได้และการที่จำเลยที่1ไม่ทำการซ่อมแซมจำเลยที่1จึงผิดสัญญาข้อ6แม้โจทก์จะยังไม่ได้จ้างบุคคลอื่นซ่อมแทนจำเลยที่1ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่1ก็เป็นฝ่ายผิดสัญญาและโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าจ้างบุคคลอื่นทำแทนจำเลยที่1จากจำเลยทั้งสองได้แต่ตามสัญญาก่อสร้างไม่ได้ระบุว่าช่องหลังคาต้องป้องกันค้างคาวได้จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับรายการดังกล่าว เมื่อปัญหาได้ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าซ่อมรางน้ำฝนและเพดานโดยกำหนดให้จำนวน2,500บาทศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยอีกว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของรางน้ำฝนและเพดานและถือว่าปัญหานี้เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้