พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2644/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายโดยไม่สุจริตและการใช้สิทธิโดยไม่ชอบ
ในการซื้อขายที่พิพาทกันซึ่งมีชื่อ บ.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองคงมีแต่โจทก์ ต. บ. และ ป.เท่านั้นที่ได้เจรจาต่อรองกัน ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามได้รู้เห็นยินยอมหรือร่วมเจรจาอยู่ด้วย แต่ ต.กลับเป็นผู้รับรองต่อโจทก์ว่าบุตรทุกคนยินยอมให้ขายที่พิพาทได้ และรับว่าหากโจทก์ต้องการใช้ประโยชน์ในที่พิพาทเมื่อใดก็จะจัดการให้รื้อบ้านออกไป และก่อนซื้อโจทก์ได้ไปดูที่พิพาทและเห็นจำเลยปลูกบ้านพักอาศัยอยู่ในที่พิพาทในลักษณะมั่นคงถาวรอยู่ก่อนแล้วแต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ซักถามจำเลยหรือแม้แต่ บ.และ ต.ให้ได้ความชัดเจนว่าจำเลยปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่พิพาทได้ด้วยเหตุใด การที่โจทก์ซื้อที่พิพาทไว้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า จำเลยปลูกบ้านอยู่อาศัยอันเป็นการใช้สิทธิครอบครองที่พิพาทอยู่ถือไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยสุจริต เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลยในพฤติการณ์เช่นนี้เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2540/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดี และการพิสูจน์เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ไม่รู้เห็นการกระทำผิด
ในคดีอาญาที่โจทก์มีคำขอให้ริบของกลางนั้นประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 เพียงแต่บัญญัติ ว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือ 34 แล้วก็ให้เจ้าของแท้จริงยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดได้เท่านั้น แต่หาตัดสิทธิเจ้าของที่แท้จริงจะขอยื่นคำเสนอก่อนเวลาดังกล่าวไม่ฉะนั้น เจ้าของที่แท้จริงจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, การลงโทษหลายกระทง, และอำนาจศาลในการพิพากษาคดีเช็ค
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์อ้างว่า เช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามมูลหนี้เดียวกับเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ยังหาเช็คและใบคืนเช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่พบ ต่อมาโจทก์พบเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวในแฟ้มเอกสารโจทก์จึงมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ถือได้ว่ามีเหตุอันควรและโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี เรียงกระทงลงโทษ รวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ 6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)
จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี เรียงกระทงลงโทษ รวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ 6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)
จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเช็คและการลงโทษทางอาญา กรณีเช็คไม่มีเงินรองรับ
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์อ้างว่า เช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามมูลหนี้เดียวกับเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังหาเช็คและใบคืนเช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่พบ ต่อมาโจทก์พบเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวในแฟ้มเก็บเอกสารเรื่องอื่น โจทก์จึงมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่ามีเหตุอันควร และโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบโจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ1 ปี เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา15 และมาตรา 22 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยบังอาจออกเช็คจำนวนเงินฉบับละ 205,000 บาท รวม 3 ฉบับ ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้าง เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว เป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้าง ป.อ.มาตรา 91 มาในฟ้อง เพราะ ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)นอกจากนี้ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 91มาด้วย ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ1 ปี เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา15 และมาตรา 22 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยบังอาจออกเช็คจำนวนเงินฉบับละ 205,000 บาท รวม 3 ฉบับ ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้าง เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว เป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้าง ป.อ.มาตรา 91 มาในฟ้อง เพราะ ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)นอกจากนี้ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 91มาด้วย ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: จำเลยถูกผู้เสียหายคุกคามด้วยอาวุธ มีเหตุป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ
การที่ผู้เสียหายเมาสุราไม่เชื่อฟังมารดาพูดจาท้าทายจำเลยและถือมีดปลายแหลมซึ่งมีใบมีดยาวถึง17เซนติเมตรเดินไปตบหน้าภริยาจำเลยที่หน้าประตูห้องน้ำในขณะที่จำเลยอยู่ในห้องน้ำและอยู่ห่างกันเพียง1ว่าไม่มีทางที่จำเลยจะหลบหนีไปทางใดได้บุคคลที่อยู่ในภาวะเช่นจำเลยต้องเห็นว่าผู้เสียหายมีเจตนาจะทำร้ายจำเลยโดยใช้มีดที่ถือมาแทงจำเลยอย่างแน่นอนและอาจถึงแก่ความตายได้จึงเป็นภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงการที่จำเลยเปิดประตูห้องน้ำออกมาแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายเพียง1นับแล้วหลบหนีจึงเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อสมาคมที่คล้ายคลึงกันจนประชาชนทั่วไปสับสน และการดำเนินธุรกิจซ้ำกัน ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาเลียนแบบ
โจทก์และจำเลยที่1มีรายได้จากการจัดทำพระรูปปั้นจำลองออกจำหน่ายเหมือนกันโจทก์ใช้ชื่อ"จตุรเสนาสมาคม"มาก่อนจำเลยที่2เคยเป็นกรรมการสมาคมของโจทก์มาก่อนโดยเป็นเหรัญญิกแล้วจึงมาเป็นกรรมการของจำเลยที่1จำเลยที่2มีส่วนรู้เห็นในการตั้งชื่อสมาคมโจทก์มาก่อนและจำเลยที่2ทราบดีว่าโจทก์หารายได้จากไหนมาหลังจากจำเลยที่2ลาออกจากสมาคมโจทก์แล้วจึงมาตั้งสมาคมจำเลยที่1ขึ้นมาใหม่โดยจำเลยที่2เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากธรรมโชคเป็นจตุระสมาคม การที่จำเลยที่2ซึ่งเป็นนายกสมาคมจำเลยที่1รู้ถึงการใช้ชื่อและการดำเนินการของโจทก์อยู่ก่อนนั้นและจำเลยที่2ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจำเลยที่1จากเดิมมาเป็นจตุระสมาคม และดำเนินการขายพระรูปปั้นจำลองเช่นเดียวกับโจทก์แม้ชื่อโจทก์จะมี7พยางค์และจำเลยที่1มี5พยางค์และตัวสระแตกต่างกันแต่คำนำหน้าเหมือนกันและอ่านออกเสียงเหมือนกันประชาชนทั่วไปอาจเกิดความสับสนได้การที่จำเลยที่1กระทำเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยที่1เปลี่ยนชื่อของตนโดยจงใจเลียนชื่อโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่1ใช้ชื่อดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจงใจใช้ชื่อสมาคมที่คล้ายคลึงกับผู้อื่นเพื่อสร้างความสับสนและแสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า เป็นการละเมิดสิทธิ
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีรายได้จากการจัดทำพระรูปปั้นจำลองออกจำหน่ายเหมือนกัน โจทก์ใช้ชื่อ "จตุรเสนาสมาคม"มาก่อน จำเลยที่ 2 เคยเป็นกรรมการสมาคมของโจทก์มาก่อนโดยเป็นเหรัญญิก แล้วจึงมาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นในการตั้งชื่อสมาคมโจทก์มาก่อนและจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าโจทก์หารายได้จากไหนมา หลังจากจำเลยที่ 2 ลาออกจากสมาคมโจทก์แล้วจึงมาตั้งสมาคมจำเลยที่ 1ขึ้นมาใหม่ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากธรรมโชคเป็นจตุระสมาคม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายกสมาคมจำเลยที่ 1 รู้ถึงการใช้ชื่อและการดำเนินการของโจทก์อยู่ก่อนนั้นและจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 1 จากเดิมมาเป็นจตุระสมาคม และดำเนินการขายพระรูปปั้นจำลองเช่นเดียวกับโจทก์แม้ชื่อโจทก์จะมี 7 พยางค์ และจำเลยที่ 1มี 5 พยางค์ และตัวสระแตกต่างกันแต่คำนำหน้าเหมือนกันและอ่านออกเสียงเหมือนกัน ประชาชนทั่วไปอาจเกิดความสับสนได้การที่จำเลยที่ 1 กระทำเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยที่ 1 เปลี่ยนชื่อของตนโดยจงใจเลียนชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่ 1ใช้ชื่อดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนชื่อสมาคมและการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทำให้เกิดความสับสนแก่ประชาชน
โจทก์และจำเลยที่ 1 มีรายได้จากการจัดทำพระรูปปั้นจำลองออกจำหน่ายเหมือนกัน โจทก์ใช้ชื่อ "จตุรเสนาสมาคม" มาก่อน จำเลยที่ 2เคยเป็นกรรมการสมาคมของโจทก์มาก่อน โดยเป็นเหรัญญิก แล้วจึงมาเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 มีส่วนรู้เห็นในการตั้งชื่อสมาคมโจทก์มาก่อน และจำเลยที่ 2 ทราบดีว่าโจทก์หารายได้จากไหนมา หลังจากจำเลยที่ 2 ลาออกจากสมาคมโจทก์แล้วจึงมาตั้งสมาคมจำเลยที่ 1 ขึ้นมาใหม่ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากธรรมโชคเป็นจตุระสมาคม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายกสมาคมจำเลยที่ 1 รู้ถึงการใช้ชื่อและการดำเนินการของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว และจำเลยที่ 2 ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจำเลยที่ 1จากเดิมมาเป็นจตุระสมาคมและดำเนินการขายพระรูปปั้นจำลองเช่นเดียวกับโจทก์แม้ชื่อโจทก์จะมี 7 พยางค์ และจำเลยที่ 1 มี 5 พยางค์ และตัวสระแตกต่างกันแต่คำนำหน้าเหมือนกันและอ่านออกเสียงเหมือนกัน ประชาชนทั่วไปอาจเกิดความสับสนได้ การที่จำเลยที่ 1 กระทำเห็นเจตนาได้ว่าจำเลยที่ 1 เปลี่ยนชื่อของตนโดยจงใจเลียนชื่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ระบุพยานหลักฐานในบัญชีระบุพยานตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และการที่ศาลไม่รับฟังพยานหลักฐานที่มิได้ระบุ
ประกาศของกระทรวงการคลังเรื่องอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบการที่โจทก์ไม่ระบุอ้างประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวเป็นพยานในบัญชีระบุพยานจึงเป็นการไม่ปฎิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88ประกาศดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86วรรคแรกเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้บัญญัติกฎเกณฑ์และขั้นตอนต่างๆเกี่ยวกับเรื่องการอ้างพยานหลักฐานไว้ชัดแจ้งแล้วจึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องขวนขวายและปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์และขั้นตอนดังกล่าวทั้งพยานที่ว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้ในอัตราใดก็มิใช่พยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีเพราะมิใช่เป็นข้อที่จะทำให้โจทก์แพ้หรือชนะคดีที่ศาลล่างทั้งสองไม่รับฟังประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.ฎ.อภัยโทษและ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษจำเลยที่พ้นโทษแล้ว
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539 มาตรา 6 (3) ประกาศใช้บังคับมีผลให้จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับพักการลงโทษเพื่อคุมประพฤติ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป และต่อมามีพ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ.2539 มาตรา 4 ประกาศใช้บังคับมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสอง ซึ่งได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ.มาตรา 92, 93 ไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้