พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยภายหลังมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษและพระราชบัญญัติล้างมลทิน ศาลฎีกาแก้ไขโทษให้ถูกต้อง
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษพ.ศ.2539มาตรา6(3)ประกาศใช้บังคับมีผลให้จำเลยที่1ซึ่งได้รับพักการลงโทษเพื่อคุมประพฤติให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปและต่อมามีพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ50ปีพ.ศ.2539มาตรา4ประกาศใช้บังคับมีผลให้ล้างมลทินแก่จำเลยทั้งสองซึ่งได้พ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา92,93ไม่ได้แม้จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาในปัญหานี้แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: ดุลพินิจและสิทธิจำเลย
ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ..." บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใด เพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตาม ศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้ว แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้ว แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจเมื่อจำเลยคัดค้าน โดยไม่จำต้องแสดงเหตุผล
การที่ทนายจำเลยแถลงคัดค้านการถอนฟ้องของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไม่บอกเหตุว่าไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอย่างไรก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องนั้นย่อมถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้ฟังจำเลยแล้วก่อนมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคสองทั้งบทบัญญัติดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตามศาลก็มีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาลดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจโดยชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคสองที่บัญญัติว่า"ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้"บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตามศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้วแม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจโดยชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้"บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตาม ศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่ จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้ว แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1460/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ เจ้าหนี้จำเลยยึดทรัพย์ได้
ตามสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารมีใจความว่าจำเลยได้จดทะเบียนจำนองบ้านและที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคารคงมีหนี้ค้างชำระอยู่302,000บาทผู้ร้องยอมเป็นผู้ชำระเองเมื่อผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ธนาคารครบแล้วจำเลยจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องต่อไปแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยไม่มีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านและสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในทันที่แต่จะโอนกันเมื่อผู้ร้องได้ชำระหนี้จำนองของจำเลยแก่ธนาคารครบถ้วนแล้วสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายการครอบครองบ้านและที่ดินของผู้ร้องเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเท่านั้นกรรมสิทธิ์ในบ้านและสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของจำเลยอยู่หาได้ตกเป็นของผู้ร้องไม่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธิยึดบ้านและที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกฟ้องฐานครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดเป็นกระทงความผิดต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องเป็น2ตอนข้อก.บรรยายว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน2ถุงกับอีก1กล่องน้ำหนัก67.8กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนกฎหมายและข้อข.บรรยายว่าตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยได้จำหน่ายกัญชาให้แก่สายลับที่เข้าล่อซื้อจำนวน1ถุงน้ำหนัก21.8กรัมราคา400บาทอันเป็นยาเสพติดให้โทษส่วนหนึ่งที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายในข้อก.ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดต่างฐานกันการที่โจทก์แยกฟ้องเป็นข้อก.และข.จึงเห็นเจตนาของโจทก์ว่าขอให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่าได้กระทำผิดทั้ง2กรรมซึ่งเป็นความผิดต่างกันตามฟ้องจึงต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1293/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อมีการครอบครองโดยเจ้าของ
จำเลยร่วมที่ 2 ได้ทำหนังสือร้องเรียนต่อนายอำเภอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ เจ้าพนักงานที่ดินได้เรียกโจทก์ไปสอบปากคำไว้โดยโจทก์ให้ถ้อยคำว่า โจทก์ขอรับรองว่าได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินของจำเลยร่วมที่ 2 จริง เพราะโจทก์เข้าใจว่าที่ดินที่โจทก์ทำประโยชน์อยู่นั้นโจทก์มีสิทธิอยู่ด้วย เพราะตามบันทึกของนายอำเภอระบุว่าบุตรโจทก์มีส่วนแบ่งในที่ดินรายนี้ด้วย แต่บุตรยังเยาว์อยู่ โจทก์จึงได้ปกครองแทนและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าว โจทก์ขอยอมรับผิดว่าได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ดินของจำเลยร่วมที่ 2 และนำไปจำนองไว้แก่ธนาคาร หากจะมีการเพิกถอนโจทก์ก็ยินยอม แต่ต้องช่วยไถ่ถอนใช้หนี้ธนาคารด้วย ส่วนที่ดินรายนี้โจทก์ขอมีสิทธิครึ่งหนึ่งเพราะเมื่อครั้งประนีประนอมยอมความโจทก์มีส่วนเพียง 1 ส่วน เท่านั้น ตามข้อความดังกล่าวโจทก์รับว่าที่พิพาทบางส่วนเป็นของจำเลยที่ 2 และยอมให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)แต่โจทก์ยังสงวนสิทธิที่จะให้จำเลยร่วมที่ 2 ช่วยชำระหนี้แก่ธนาคาร ไม่ได้ยอมรับว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วมที่ 2 ทั้งหมดโดยไม่ได้โต้แย้ง เมื่อปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์แต่อย่างใด และโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาททั้งแปลงตลอดมาจนพิพาทกันเป็นคดีนี้ การครอบครองที่พิพาทของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเจ้าของ และเป็นการแย่งการครอบครองที่พิพาทจากจำเลยร่วมที่ 2 การที่จำเลยร่วมที่ 2 ทราบดีว่า โจทก์ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่ของจำเลยร่วมที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2ไปร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ แต่จำเลยร่วมที่ 2ก็มิได้ดำเนินการอย่างใดเพื่อให้ได้คืนมาซึ่งการครอบครอง เมื่อเกิน 1 ปีจำเลยร่วมที่ 2 จึงสิ้นสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่พิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง จำเลยร่วมที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยร่วมที่ 1 และจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งให้โจทก์ออกไปจากที่พิพาท
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลัง ถ้าหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาก็เพื่อผูกพันในผลแห่งคดีเท่านั้น สำหรับในคดีนี้ไม่มีประเด็นโต้แย้งระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมทั้งสอง จึงไม่อาจขอให้บังคับให้จำเลยร่วมทั้งสองชำระเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่จำเลยได้
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่พิพาทแล้วหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของจำเลย ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายต่อไป จึงเป็นการสมควรที่จะสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) (ก) เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไปในภายหลัง ถ้าหากศาลพิจารณาให้ตนเป็นฝ่ายแพ้คดี การเรียกจำเลยร่วมเข้ามาก็เพื่อผูกพันในผลแห่งคดีเท่านั้น สำหรับในคดีนี้ไม่มีประเด็นโต้แย้งระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมทั้งสอง จึงไม่อาจขอให้บังคับให้จำเลยร่วมทั้งสองชำระเงินค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ยคืนให้แก่จำเลยได้
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์และโจทก์ได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่พิพาทแล้วหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ของจำเลย ย่อมไม่มีผลตามกฎหมายต่อไป จึงเป็นการสมควรที่จะสั่งเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ของจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีแพ่งหลังคดีอาญา และความรับผิดของยามต่อการลักทรัพย์จากความประมาทเลินเล่อ
คดีก่อนพนักงานอัยการฟ้องว่าจำเลยลักทรัพย์โจทก์ในคดีแพ่งเรื่องหลังซึ่งเป็นผู้เสียหายไป โดยพนักงานอัยการได้เรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้น โจทก์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยลักไปอีก ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นยามมีหน้าที่เฝ้าดูแลรถตักดิน การที่คนร้ายถอดเอาอะไหล่รถตักดินของโจทก์ไปหลายรายการในเวลากลางคืนเพราะจำเลยที่ 3 ละทิ้งหน้าที่ไปเป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นยามมีหน้าที่เฝ้าดูแลรถตักดิน การที่คนร้ายถอดเอาอะไหล่รถตักดินของโจทก์ไปหลายรายการในเวลากลางคืนเพราะจำเลยที่ 3 ละทิ้งหน้าที่ไปเป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และความรับผิดจากละเมิดของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกลักทรัพย์โจทก์ไปครั้งเดียวข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาซึ่งพนักงานอัยการมีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 และมาตรา 44 และในการพิจารณาพิพากษาคดีส่วนแพ่งดังกล่าวป.วิ.อ.มาตรา 40 และมาตรา 47 กำหนดว่าต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.และกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง เมื่อศาลสั่งให้จำเลยที่ 1และที่ 2 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์ ป.วิ.อ.มาตรา 50 ให้ถือว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 249 ฉะนั้น การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นคดีอาญาและในคดีส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาได้มีคำขอให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ในฐานะผู้เสียหาย จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีส่วนอาญาดังกล่าวด้วย ดังนั้น โจทก์จะรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 148 จำเลยที่ 3 ละทิ้งหน้าที่เฝ้ายามไปเป็นเวลานาน เป็นเหตุให้คนร้ายถือโอกาสเข้าไปลักทรัพย์ของโจทก์ จึงเป็นการประมาทเลินเล่อ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148
จำเลยที่ 3 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นคู่ความ ทั้งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 3 กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงไม่ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148