คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุมพล ณ สงขลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการคุมขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: สิทธิในชีวิตและร่างกายที่รัฐธรรมนูญคุ้มครอง
สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายบุคคลนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติรับรองและคุ้มครองไว้อย่างชัดแจ้งโดยเฉพาะในมาตรา 31 วรรคหนึ่งที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายและวรรคสามว่า การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือกระทำการใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย และมาตรา 26ที่บัญญัติว่า การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรา 240 ตลอดจนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 อันเป็นบทบัญญัติให้ศาลตรวจสอบว่ามีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลดังกล่าว จึงต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกคุมขังเป็นสำคัญเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจมีการคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ถือว่ามีมูลที่ศาลจะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 240 ผู้เสียหายมอบอำนาจให้ บ. ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2540 ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2540ส.กับพวกคือพ.ร. และ น. ได้ร่วมกันบุกรุกในเวลากลางคืน ทำให้เสียทรัพย์และลักทรัพย์ แต่เจ้าพนักงานตำรวจทำการจับ อ. ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2540และควบคุมตัว อ. ตลอดมาจนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2540จึงขอฝากขังครั้งที่ 1 ศาลชั้นต้นอนุญาต ต่อมาวันที่28 พฤศจิกายน 2540 ผู้ร้องซึ่งเป็นทนายความของ อ.ยื่นคำร้องอ้างว่าการจับและคุมขังระหว่างสอบสวนดังกล่าวมิชอบด้วยกฎหมาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าไม่มีการออกหมายจับอ. และปรากฏตามข้อมูลเบื้องต้นเพียงว่าผู้ถูกร้องทุกข์กล่าวหาว่ากระทำความผิดมีเพียง 4 คน ไม่ปรากฏชัดว่ามีเหตุตามสมควรว่าควรนำตัว อ. มาสอบสวนดำเนินคดีด้วยแต่อย่างใดหรือไม่ ไม่ปรากฏว่า อ. ตกเป็นผู้ต้องหาซึ่งถูกสงสัยโดยมีเหตุอันสมควรที่จะออกหมายจับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(2) ไม่ปรากฏว่าการจับ อ. เป็นการจับเพราะกระทำความผิดซึ่งหน้าหรือพบอ.กำลังพยายามกระทำความผิดหรือพบอ. โดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่า อ. จะกระทำความผิดโดยมีเครื่องมือ อาวุธหรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า อ. ได้กระทำความผิดมาแล้วและจะหลบหนี จึงไม่ใช่กรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจจะจับได้โดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78(1)(2) และ (3) ทั้งผู้เสียหายก็ไม่ได้ร้องทุกข์ว่าอ.ร่วมกับส. กระทำความผิด พฤติการณ์ดังกล่าวจึงมีข้อสงสัยตามสมควรว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับและควบคุม อ.โดยถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่ ทั้งหากการจับ อ.ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนก็ไม่มีอำนาจที่จะควบคุมอ. ต่อเนื่องจากการจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายขังในระหว่างสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 87 ได้ ซึ่งหากศาลสั่งให้ผู้คุมขังหรือผู้ก่อให้เกิดการคุมขังนำตัว อ.มาเพื่อให้บุคคลดังกล่าวแสดงข้อมูลหรือพยานหลักฐานจะทำให้ปรากฏแน่ชัดว่ามีการจับหรือคุมขังโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และศาลก็สามารถพิจารณาถึงเหตุในการจับและคุมขังตลอดจนพฤติการณ์และขั้นตอนในการคุมขังให้ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้อย่างสมบูรณ์สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลที่ศาลจะดำเนินการต่อไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัดโดยมูลค่าคดี และผลกระทบต่อการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224และศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษากลับให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแม้ผู้ร้องจะฎีกาต่อมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย และศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริงและยกฎีกาผู้ร้องให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นกับคืนค่าขึ้นศาลฎีกาให้ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกินกรอบ ป.วิ.พ.มาตรา 224 ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท การที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 และศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษากลับให้ยกคำร้องขอของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้ร้องจะฎีกาต่อมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย และศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนที่วินิจฉัยในข้อเท็จจริง และยกฎีกาผู้ร้องให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กับคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการอุทธรณ์ค่าเสียหาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ค่าเสียหายที่โต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดดังที่จำเลยอ้าง และการที่โจทก์ไม่สนใจศึกษางานนั้นก็มิใช่ข้อสำคัญที่จะถือเป็นความผิด การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็น การ เลิกจ้าง โดยไม่มีเหตุอันสมควร เป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ศาลแรงงานกำหนดค่าเสียหายจากการที่โจทก์ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นเงินจำนวนหนึ่งให้โจทก์ การที่โจทก์อุทธรณ์เพื่อให้ศาลฎีกากำหนดจำนวนค่าเสียหายให้โจทก์เพิ่มขึ้นทั้งค่าเสียหายดังกล่าวเป็นการเรียกร้องภายหลังโจทก์ถูกเลิกจ้างไปแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม กรณีจึงมิใช่เป็นค่าเสียหายในอนาคต ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องอีก ดังนี้อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นการ โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการกำหนดค่าเสียหายเป็นอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณ: การแก้ไขใบส่งของไม่ถือเป็นการก่อหนี้ใหม่ หากการก่อหนี้เดิมชอบด้วยระเบียบ
การซื้อพัสดุอุปกรณ์พิพาท จำเลยได้กระทำก่อนสิ้นปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยได้ขอเบิกเงินจากโจทก์ กองคลังของโจทก์เห็นว่าเงินงบประมาณในหมวดเงินตอบแทนใช้สอยและวัสดุไม่มีแล้ว จึงแนะนำให้จำเลยเบิกจากเงินบำรุงการศึกษา แต่จำเลยไม่กระทำ กลับไปให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อพัสดุ 42 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2531 แล้วจำเลยนำพัสดุจัดซื้อมาดังกล่าวนำไปใช้ในหน่วยราชการของโจทก์ครบถ้วน เมื่อตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ว่า ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่น และห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ส่วนมาตรา 26 บัญญัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดของส่วนราชการ กระทำการก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงิน หรือโดยรู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวนั้นโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.นี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความใน พ.ร.บ.นี้ นอกจากความรับผิดทางอาญาซึ่งอาจได้รับตามกฎหมายอื่นแล้ว ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมอนุญาตให้กระทำดังกล่าว จะต้องรับผิดชดใช้จำนวนเงินที่ส่วนราชการได้จ่ายไป หรือต้องผูกพันจะต้องจ่ายตลอดจนค่าสินไหมทดแทนใด ๆ ให้แก่ส่วนราชการนั้น ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำการขออนุมัติจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้โดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 และโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากพัสดุครุภัณฑ์ที่จำเลยจัดซื้อครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยจัดซื้อพัสดุรุภัณฑ์ที่พิพาทตามระเบียบของโจทก์และเสนอขอเบิกเงินจากกองคลังของโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าได้มีการกำหนดงบประมาณไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2530 แล้ว และโจทก์ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว การก่อหนี้ผูกพันของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบ มิได้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 23 และมาตรา 26
จำเลยได้จัดซื้อพัสดุคุรุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530 มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531 ซึ่งเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการ จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดซื้อพัสดุโดยชอบตามระเบียบ การชำระเงินไม่ผิดกฎหมาย และการไม่ต้องรับผิดในความเสียหายจากพัสดุสูญหาย
การซื้อพัสดุอุปกรณ์พิพาท จำเลยได้กระทำก่อนสิ้นปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยได้ขอเบิกเงินจากโจทก์ กองคลังของโจทก์เห็นว่าเงินงบประมาณในหมวดเงินตอบแทนใช้สอบและวัสดุไม่มีแล้วจึงแนะนำให้จำเลยเบิกจากเงินบำรุงการศึกษา แต่จำเลยไม่กระทำกลับไปให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้สั่งซื้อพัสดุ 42 ครั้ง ในปีงบประมาณ2531 แล้วจำเลยนำพัสดุจัดซื้อมาดังกล่าวนำไปใช้ในหน่วยราชการของโจทก์ครบถ้วน เมื่อตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณพ.ศ. 2502 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยกเว้นกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 ตรี ว่าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะจ่ายเงินก่อนหนี้ผูกพันได้แต่เฉพาะตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอื่นและห้ามมิให้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตาม พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมจนกว่าจะได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว ส่วนมาตรา 26บัญญัติให้ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดของส่วนราชการ กระทำการก่อหนี้ผูกพันหรือจ่ายเงิน หรือโดยรู้อยู่แล้วยินยอมอนุญาตให้กระทำการดังกล่าวนั้นโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือระเบียบหรือข้อบังคับที่ได้ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ นอกจากความรับผิดทางอาญาซึ่งอาจได้รับตามกฎหมายอื่นแล้ว ผู้กระทำหรือผู้ยินยอมอนุญาตให้กระทำดังกล่าว จะต้องรับผิดชดใช้จำนวนเงินที่ส่วนราชการได้จ่ายไป หรือต้องผูกพันจะต้องจ่ายตลอดจนค่าสินไหมทดแทนใด ๆ ให้แก่ส่วนราชการนั้น ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำการขออนุมัติจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้โดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการโจทก์ในปีงบประมาณ 2530 และโจทก์ได้ใช้ประโยชน์จากพัสดุครุภัณฑ์ที่จำเลยจัดซื้อครบถ้วนแล้ว และการที่จำเลยจัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ที่พิพาทตามระเบียบ ของโจทก์และเสนอขอเบิกเงินจากกองคลังของโจทก์ในปีงบประมาณ2530 โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าได้มีการกำหนดงบประมาณไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2530แล้ว และโจทก์ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดแล้ว การก่อหนี้ผูกพันของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบ มิได้ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 มาตรา 23 และมาตรา 26 จำเลยได้จัดซื้อพัสดุครุภัณฑ์ประจำปีงบประมาณ 2530มาใช้ในทางราชการจากร้านค้าต่าง ๆ แต่จำเลยให้ผู้ขายแก้ไขใบส่งของและสำเนาใบส่งของเป็นว่าจำเลยสั่งซื้อพัสดุครุภัณฑ์ในคดีนี้ในปีงบประมาณ 2531 ไม่เป็นการก่อหนี้ผูกพันขึ้นใหม่แต่อย่างใด เพราะหนี้มีอยู่แต่เดิมแล้ว จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพียงเพื่อประสงค์จะขอเบิกเงินจากงบประมาณปี 2531ซึ่งเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502มาตรา 27 แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยก่อหนี้ผูกพันไม่ชอบตามมาตรา 26 เท่านั้น มิได้ฟ้องให้จำเลยรับผิดโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยจ่ายเงินโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502มาตรา 26 เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการก่อหนี้ขึ้นใหม่เพื่อผูกพันงบประมาณปี 2531 และการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณปี 2530 ของจำเลยได้กระทำโดยชอบด้วยระเบียบของทางราชการจำเลยจึงไม่ต้องชดใช้เงินดังกล่าวให้โจทก์ และพัสดุที่จำเลยสั่งซื้อได้นำไปใช้ในส่วนราชการของโจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขายฝาก: สัญญาไม่เป็นโมฆะแม้มีการตกลงแบ่งทรัพย์สินให้บุตรหลังหย่า
การที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากคิดดอกเบี้ยจาก ส.ผู้ขายฝากและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ ส.เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้ การที่โจทก์ตกลงกับ ส. และจำเลยทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก จึงเป็นการกำหนดให้ ส. และจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากฉบับพิพาทได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะเพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้รู้แล้วว่า ส.ได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์ ส. ไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นข้อที่จำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การและฟ้องแย้งด้วยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ส. กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท ส. ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจาก ส. ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับ ส. มีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และนิติกรรมการขายฝากถูกต้องตามแบบแล้ว แม้โจทก์จะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขายฝาก: ผลของสัญญาแบ่งทรัพย์และกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
การที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากคิดดอกเบี้ยจาก ส.ผู้ขายฝากและจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ ส. เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 499 บัญญัติให้กำหนดสินไถ่กันไว้ได้ การที่โจทก์ตกลงกับ ส.และจำเลยทั้งสองให้ชำระดอกเบี้ยในระหว่างอายุสัญญาขายฝาก จึงเป็นการกำหนดให้ ส.และจำเลยทั้งสองชำระสินไถ่ให้โจทก์ทั้งสองบางส่วนนั่นเอง
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ถ้าศาลฟังว่าสัญญาขายฝากฉบับพิพาทได้ทำกันจริง สัญญาขายฝากดังกล่าวก็ตกเป็นโมฆะ เพราะก่อนไปจดทะเบียนขายฝากโจทก์ทั้งสองได้รู้แล้วว่า ส.ได้จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 2 และตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นผู้เยาว์ ส.ไม่มีอำนาจเอาไปจดทะเบียนขายฝากให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นข้อที่จำเลยทั้งสองได้ยกเรื่องดังกล่าวเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การและฟ้องแย้งด้วยแล้ว แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นข้อพิพาท แต่ปัญหาที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
ส.กับจำเลยที่ 2 จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกข้อตกลงยกที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุตรและยังเป็นผู้เยาว์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ.มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 374 และสิทธิของจำเลยที่ 1 กับพวกจะเกิดมีขึ้นเมื่อได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น ตามมาตรา 374 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1กับพวกได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 กับพวกจึงยังไม่มีสิทธิในที่ดินและบ้านพิพาท ส.ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของย่อมสามารถโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่บุคคลอื่นได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับซื้อฝากที่ดินและบ้านพิพาทจาก ส.ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับ ส.มีเจตนาทำสัญญาขายฝากโดยได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และนิติกรรมการขายฝากถูกต้องตามแบบแล้ว แม้โจทก์จะไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทราบว่าการขายฝากมีการชำระดอกเบี้ย ก็ไม่มีผลทำให้การขายฝากตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมในหนี้จากการค้าที่ภริยาเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นภริยา ว. จำเลยและ ว.ทำกิจการโรงสีร่วมกัน ว.กู้ยืมเงินโจทก์ไปทำกิจการโรงสี เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในหนี้สินที่ทำการค้าร่วมกับ ว.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนผู้จัดการมรดกหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุด และผลกระทบต่อการพิจารณาคำร้อง
++ เรื่อง ขอจัดการมรดก
++ (ชั้นร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกและขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างพิจารณา) ++
++
++
++ กรณีนี้สืบเนื่องมาจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม (เอกสารฝ่ายเมือง) ของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 แต่ก่อนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2521 หม่อมหลวงเจริญ (เจ้ามรดก) ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ที่จะพึงได้จากผลคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 10798/2520ของศาลชั้นต้น ให้ผู้ร้องในอัตราส่วนร้อยละ 40 ตามจำนวนค่าว่าจ้างทนายความที่ผู้ร้องจะได้จากผลคดีนั้น
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรของนายไต๋และนางเง็ก ศิวะเกื้อ เจ้ามรดกเป็นภรรยาคนหนึ่งของนายไต๋ ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกได้มาอาศัยอยู่กับผู้คัดค้านที่ 1 และได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทและไม่มีส่วนได้เสีย ขอให้ยกคำร้องและตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก
ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุตรของเจ้ามรดกและนายแทน บุนนาค ก่อนถึงแก่กรรมเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ใด ทรัพย์มรดกจึงตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีสิทธิจะเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก
ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกคำร้องของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ตั้งให้นายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้จัดการมรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ ให้มีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ผู้ร้องฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน
ต่อมานายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ ผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องขอเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ โดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2355/2525 หมายเลขแดงที่ 10941/2530ของศาลชั้นต้น ระหว่าง นายดาบตำรวจชุมพล ทองอินทร์ โจทก์(ผู้ร้องขอ) นายเติม ศิวะเกื้อ จำเลย (ผู้คัดค้านที่ 1) ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 หรือเอกสารหมาย ค.1 ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 8104/2529 ของศาลชั้นต้น (หมายถึงพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25ธันวาคม 2527 ของผู้คัดค้านที่ 1 ใช้เป็นข้ออ้างขอเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก) เพราะเป็นโมฆะ (ใช้บังคับไม่ได้ตามกฎหมาย) และจำเลยในคดีดังกล่าวหรือผู้คัดค้านที่ 1 ในคดีนี้ได้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา และโดยผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังผลให้พินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของหม่อมหลวงเจริญ ศิวะเกื้อ เจ้ามรดก ฉบับลงวันที่ 17 พฤษภาคม2521 มีผลใช้บังคับ ผู้ร้องขอจึงเป็นผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าว ด้วยเหตุที่ว่านี้และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 ขอให้เพิกถอนนายเติม ศิวะเกื้อ ผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้เสีย และมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องขอและหรือนายเกรียง วิศิษฎ์สรอรรถ เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตามพินัยกรรมต่อไป
ในวันเดียวกันผู้ร้องขอได้ยื่นคำร้องขอใช้วิธีการเพื่อขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินโดยอ้างว่า หากศาลมีคำสั่งเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดกก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องขอได้ จึงขอให้สั่งห้ามมิให้ผู้คัดค้านที่ 1 ดำเนินการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในที่ดินมรดกโฉนดเลขที่ 8151, 43796,43797 ตำบลทุ่งวัดดอน (บ้านทวาย) อำเภอยานนาวา (บางรัก)กรุงเทพมหานคร พร้อมตึกแถวเลขที่ 1535/21.22 จำนวน 2 คูหาบนที่ดิน หรือกำหนดวิธีการอย่างอื่น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกว่าคดีได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ผู้ร้องขอจึงไม่อาจอ้างคำพิพากษาคดีอื่นที่ยังไม่ถึงที่สุดและอยู่ในชั้นศาลที่ต่ำกว่าคดีนี้มาเพิกถอนเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาคดีนี้ได้ ให้ยกคำร้อง ค่าคำร้องเป็นพับ
ส่วนในเรื่องขอใช้วิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีมีเหตุฉุกเฉินศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศาลได้ยกคำร้องขอเพิกถอนผู้จัดการมรดกของผู้ร้องแล้ว คำขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาจึงตกไปโดยไม่ต้องไต่สวนยกคำขอ ค่าคำขอเป็นพับ
ผู้ร้องขออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นทั้งสองกรณี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องขอให้เพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 จากการเป็นผู้จัดการมรดก ให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้องขอดำเนินการพิจารณาแล้วมีคำสั่งตามรูปคดี ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งเมื่อมีคำสั่งใหม่ ส่วนอุทธรณ์เรื่องวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกอุทธรณ์
ผู้คัดค้านที่ 1 ฎีกา
ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกาว่าผู้ร้องขอได้มรณะและถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนราษฎรเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2536 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2540 ในชั้นไต่สวนเรื่องความมรณะของผู้ร้องขอตามคำสั่งศาลฎีกาทั้งไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดยื่นคำขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้ร้องขอภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ร้องขอมรณะ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 จึงให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้ร้องขอเสียจากสารบบความ แต่คดีก็ยังต้องวินิจฉัยตามฎีกาของผู้คัดค้านที่ 1 ต่อไปว่าควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ เห็นว่า ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 10941/2530 ของศาลชั้นต้นซึ่งผู้ร้องขอเป็นโจทก์ว่า พินัยกรรมฉบับลงวันที่ 25 ธันวาคม 2527ตามเอกสารหมาย จ.6 ในคดีดังกล่าว หรือเอกสารหมาย ค.1ในคดีนี้ไม่ใช่พินัยกรรมปลอม ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2536ดังนั้น จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนผู้คัดค้านที่ 1 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้องของผู้ร้องขอ จึงไม่ควรรับคำร้องขอของผู้ร้องขอไว้พิจารณาต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามาในส่วนนี้นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาผู้คัดค้านที่ 1 ฟังขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำร้องของผู้ร้องขอ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.
of 18