คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุมพล ณ สงขลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8183/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจัดหางานมีหน้าที่รับผิดตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้ตัวการต่างประเทศหักเงินค่าตั๋วเครื่องบิน
สำเนาสัญญาจัดหางานเพื่อให้คนหางานไปทำงานในต่างประเทศ เอกสารท้ายฟ้องซึ่งโจทก์รับรองสำเนาถูกต้อง อันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้ให้การปฎิเสธ ว่าเป็นเอกสารไม่ถูกต้องกับเอกสารต้นฉบับอย่างไร จึงถือว่าจำเลยรับว่าข้อความในเอกสารดังกล่าวเป็นอยู่จริงตามนั้น ย. กรรมการจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยผูกพันจำเลยได้ลงชื่อในสัญญาจัดหางานกับโจทก์โดยเป็นการดำเนินการแทนบริษัท จ. เพื่อส่งโจทก์ไปทำงานกับบริษัท จ. ที่ไต้หวัน ต่อมาโจทก์ได้ไปทำงานโดยทำสัญญาจ้างแรงงานกับบริษัท จ. แล้ว ถือได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของบริษัท จ. ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ เมื่อการกระทำของจำเลยเข้าลักษณะเป็นตัวแทนทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังตนเอง แม้ทั้งชื่อตัวการจะได้เปิดเผยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824การที่บริษัท จ. ยอมให้โจทก์กลับประเทศไทยโดยไม่จัดหาตั๋วเครื่องบินขากลับให้แก่โจทก์ตามสัญญา แต่กลับหักค่าตั๋วเครื่องบินจากค่าจ้างโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิจำเลยในฐานะตัวแทนของนายจ้างดังกล่าวจึงต้องรับผิดคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่โจทก์จำเลยจะอ้าง พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2528 มาตรา 39(1) มายกเว้นความรับผิดหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8043/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแจ้งความเท็จ – การบังคับคดี – การแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน – สิทธิโจทก์
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคือบ้านเลขที่ 117 จาก ต.มารดาของสามีจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่ ต.ออกจากบ้านและที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่ ต. แต่ ต.ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ดำเนินการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ต.ย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 117/2 ที่จำเลยเป็นผู้ไปแจ้งขอเปลี่ยนหมายเลขประจำบ้านต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่จนได้รับหมายเลขประจำบ้านใหม่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานเสนอศาลขอให้เพิกถอนหมายจับ ต.โดยอ้างว่า ต.ได้ออกจากบ้านพิพาทแล้วความจริงบ้านเลขที่ 117/2 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 117 ที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ต. แต่จำเลยอ้างว่าเป็นบ้านที่จำเลยปลูกและขอหมายเลขประจำบ้านใหม่ ดังนี้ หากบ้านเลขที่ 117/2 เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่โจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ทำให้โจทก์ต้องโต้แย้งข้อเท็จจริงกับจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง หากมีก็เกิดแก่เจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายอันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137 และ 267 เป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8043/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับที่อยู่และการบังคับคดี: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่เสียหายโดยตรง
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคือบ้านเลขที่ 117 จากต.มารดาของสามีจำเลยต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่ต. ออกจากบ้านและที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่ต.แต่ต. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ต.ย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 117/2 ที่จำเลย เป็นผู้ไปแจ้งขอเปลี่ยนหมายเลขประจำบ้านต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่จนได้รับหมายเลขประจำบ้านใหม่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานเสนอศาลขอให้เพิกถอนหมายจับต.โดยอ้างว่าต. ได้ออกจากบ้านพิพาทแล้ว ความจริงบ้านเลขที่ 117/2 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 117ที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ต. แต่จำเลยอ้างว่าเป็นบ้านที่จำเลยปลูกและขอหมายเลขประจำบ้านใหม่ ดังนี้หากบ้านเลขที่ 117/2 เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่โจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ทำให้โจทก์ต้องโต้แย้งข้อเท็จจริงกับจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลย ตามที่โจทก์ฟ้อง หากมีก็เกิดแก่เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายอันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และ 267เป็นคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7937/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุประเด็นมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น และไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่า โจทก์จำเลยได้บันทึกให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์พิพาทและจัดการแบ่งให้บุตรแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งถือว่าโจทก์สละประเด็น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ปัญหาตามฎีกาของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะบังคับได้เพียงใด โดยไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความหรือไม่ จึงมิใช่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเมื่อจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อเดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือไม่และโจทก์มีส่วนแบ่งเพียงใดเท่านั้น ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละการครอบครองทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้วนั้น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7937/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากประเด็นใหม่ - สละการครอบครองทรัพย์สิน
ปัญหาว่า โจทก์จำเลยได้บันทึกให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองทรัพย์พิพาทและจัดการแบ่งให้บุตรแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และจำเลยไม่ได้โต้แย้งถือว่าโจทก์สละประเด็น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยซึ่งเป็นเรื่องการพิจารณาปัญหาข้อเท็จจริงว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจะบังคับได้เพียงใด โดยไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความหรือไม่ จึงมิใช่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อเดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะทรัพย์พิพาทตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมระหว่างโจทก์กับจำเลยหรือไม่ และโจทก์มีส่วนแบ่งเพียงใดเท่านั้น ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ได้สละการครอบครองทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลยแล้วนั้น จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีขับไล่ทำให้สิทธิในการฟ้องคดีเดิมสิ้นสุดตามกฎหมาย
โจทก์เคยมอบอำนาจให้ ณ.เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมา ณ.ได้ถอนฟ้องไม่ประสงค์จะดำเนินคดีไม่ว่าข้อหาใด ๆเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกต่อไป ดังนี้ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องโดยไม่ประสงค์จะนำคดีมาฟ้องอีก ย่อมเป็นการสละสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7834/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิฟ้องคดี: การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ ย่อมเป็นการสละสิทธิเดิมตามกฎหมาย
โจทก์เคยมอบอำนาจให้ ณ. เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท ต่อมา ณ. ได้ถอนฟ้องไม่ประสงค์จะดำเนินคดีไม่ว่าข้อหาใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกต่อไปดังนี้ เมื่อโจทก์ถอนฟ้องโดยประสงค์จะนำคดีมาฟ้องอีกย่อมเป็นการสละสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่ออายุสัญญาจ้างเหมา และสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับ ย่อมต้องพิจารณาถึงเจตนาของคู่สัญญา
ฎีกาโจทก์ที่ว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินเพียง 46,000 บาท น้อยเกินไป ควรจะเป็นเงินจำนวนไม่น้อยกว่า 446,000 บาท ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยทำงานล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้ แต่โจทก์ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินให้จำเลยโดยดี โดยงานที่จำเลยทำส่วนใหญ่สมบูรณ์ มีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำงานที่จ้างให้โจทก์เสร็จแล้ว ตามสัญญาจ้างเหมาฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างต้องทำงานรายนี้ให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในกำหนด 180 วันนับแต่วันที่ปรากฏในสัญญานี้เป็นต้นไป ถ้าหากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับจ้างจะทำงานรายนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่มีทางที่จะทำงานจ้างรายนี้ให้แล้วเสร็จได้ เมื่อครบกำหนด 60 วันแล้ว ผู้รับจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเลิกสัญญานี้ได้ทันที และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้น อันเนื่องจากผู้รับจ้างเหมาผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา แต่กลับยอมต่ออายุสัญญาให้จำเลยโดยยอมรับเอาผลงานของจำเลยและชำระค่าจ้างให้จำเลยในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ครบกำหนดอายุสัญญาที่โจทก์ต่อให้แล้วแสดงว่า โจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมา: การต่ออายุสัญญาและการสละสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับ
ฎีกาโจทก์ที่ว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินเพียง 46,000 บาท น้อยเกินไป ควรจะเป็นเงินจำนวนไม่น้อยกว่า446,000 บาท ปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในข้อนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยทำงานล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้ แต่โจทก์ยอมรับเอาผลงานและชำระเงินให้จำเลยโดยดี โดยงานที่จำเลยทำส่วนใหญ่สมบูรณ์ มีความชำรุดบกพร่องเพียงเล็กน้อย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ทำงานที่จ้างให้โจทก์เสร็จแล้ว
ตามสัญญาจ้างเหมาฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างต้องทำงานรายนี้ให้แล้วเสร็จบริบูรณ์ภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ปรากฏในสัญญานี้เป็นต้นไปถ้าหากไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดนี้ผู้รับจ้างยินยอมให้ผู้ว่าจ้างปรับเป็นรายวันจนกว่าผู้รับจ้างจะทำงานรายนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่มีทางที่จะทำงานจ้างรายนี้ให้แล้วเสร็จได้ เมื่อครบกำหนด 60 วันแล้ว ผู้รับจ้างยังทำไม่แล้วเสร็จ ผู้ว่าจ้างมีอำนาจที่จะเลิกสัญญานี้ได้ทันที และหากเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้นอันเนื่องจากผู้รับจ้างเหมาผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้ เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา แต่กลับยอมต่ออายุสัญญาให้จำเลยโดยยอมรับเอาผลงานของจำเลยและชำระค่าจ้างให้จำเลยในวันซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ครบกำหนดอายุสัญญาที่โจทก์ต่อให้แล้ว แสดงว่า โจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องสอดในคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลพิจารณาความยุ่งยากในการดำเนินคดีและสิทธิในการฟ้องคดีแยกต่างหาก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์ตามฟ้องซึ่งสามีโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีตามส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์เรียก ให้แบ่งไม่ได้เพราะมีนิติกรรมขัดอยู่อีกทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร และโจทก์ขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา ดังนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินต่าง ๆ ที่พิพาททั้งหมดเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียวให้จำเลยทั้งสามดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินทุกแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนกลับมาเป็นชื่อผู้ร้องต่อไป เป็นการยื่นคำร้องสอดเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)ถ้าศาลรับคำร้องอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดได้ก็จะต้องให้โจทก์จำเลยทั้งสามยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาด้วย และคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งเก้าสำนวนเข้าด้วยกันแล้ว และสั่งว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวขอแบ่งแยกที่ดินและคดีโจทก์ขาดอายุความศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานและให้สืบพยานจำเลยที่ 1 ฉะนั้นหากอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามมาตรา 57(1) ดังกล่าวก็อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ได้ อีกทั้งหากผู้ร้องมีสิทธิดังที่กล่าวอ้างในคำร้องสอดก็อาจยกสิทธินั้นยืนยันหรือดำเนินคดีกับโจทก์และจำเลยทั้งสามเป็นคดีต่างหากได้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)
of 18