พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดและการรวมการพิจารณาคดี ศาลพิจารณาความยุ่งยากและสิทธิอื่นของผู้ร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์ตามฟ้องซึ่งสามีโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีตามส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์เรียกให้แบ่งไม่ได้เพราะมีนิติกรรมขัดอยู่อีกทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร และโจทก์ขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา ดังนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินต่าง ๆ ที่พิพาททั้งหมดเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ให้จำเลยทั้งสามดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินทุกแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนกลับมาเป็นชื่อผู้ร้องต่อไป เป็นการยื่นคำร้องสอดเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 57 (1) ถ้าศาลรับคำร้องอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดได้ก็จะต้องให้โจทก์ จำเลยทั้งสามยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาด้วย และคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งเก้าสำนวนเข้าด้วยกันแล้ว และสั่งว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวขอแบ่งแยกที่ดิน และคดีโจทก์ขาดอายุความศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน และให้สืบพยานจำเลยที่ 1 ฉะนั้นหากอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามมาตรา57 (1) ดังกล่าว ก็อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ได้ อีกทั้งหากผู้ร้องมีสิทธิดังที่กล่าวอ้างในคำร้องสอด ก็อาจยกสิทธินั้นยืนยันหรือดำเนินคดีกับโจทก์และจำเลยทั้งสามเป็นคดีต่างหากได้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 ที่ไม่ใช่ นิติบุคคล และเบี้ยปรับจากสัญญาประกันภัย
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามที่กล่าวไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และคำว่าบุคคลนั้นได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับนิติบุคคลนั้นได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65 แล้วว่าจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่น โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2 เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าวเป็นการตกลงจะชำระเงิน 280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหน่วยงานราชการ และเบี้ยปรับตามสัญญาที่สูงเกินส่วน
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามที่กล่าวไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และคำว่าบุคคลนั้นได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามป.พ.พ. สำหรับนิติบุคคลนั้นได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 65 แล้วว่าจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่ง ป.พ.พ.หรือกฎหมายอื่น
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้ โจทก์ที่ 2ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าว เป็นการตกลงจะชำระเงิน280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2 จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้ โจทก์ที่ 2ไม่มีอำนาจฟ้อง
สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1 สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าว เป็นการตกลงจะชำระเงิน280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำพิพากษาศาลฎีกาคดีอื่นที่ไม่ผูกพัน ถือเป็นข้อผิดพลาด
คู่ความไม่ได้ท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาศาลฎีกาคดีอื่นมาเป็นข้อแพ้ชนะทั้งคู่ความไม่ได้แถลงว่าให้ถือเอาข้อเท็จจริงยุติตามคดีดังกล่าว แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีและติดใจสืบพยานตามคำให้การ และในคดีก่อนศาลแรงงานกลางมิได้กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งผูกพันนายจ้างหรือลูกจ้างอื่นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 53 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยโดยนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาวินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7200/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองมรดกตามพินัยกรรม, อายุความ, และสถานะทายาทที่ถูกตัดสิทธิ
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับจำเลย ซึ่งตามกฎหมายเจ้ามรดกและจำเลยต่างมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้ จ.สามีของโจทก์ที่ 1 เพียงหนึ่งในสี่ส่วนของเนื้อที่ทั้งหมดไม่เกินไปจากส่วนที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าของ จึงอยู่ในอำนาจของเจ้ามรดกที่จะทำพินัยกรรมได้ ข้อกำหนดแห่งพินัยกรรมในส่วนนี้จึงมีผลบังคับตามกฎหมาย ขณะทำพินัยกรรมไม่ปรากฏว่าเจ้ามรดกทราบว่า จ.สามีของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคนต่างด้าว ไม่มีทางได้มาซึ่งที่ดินในประเทศไทย เนื่องจากเจ้ามรดกซึ่งเป็นคนต่างด้าวเช่นเดียวกันเคยได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ซื้อที่ดินในประเทศไทยมาก่อน จึงเข้าใจว่า จ. คงขออนุญาตรับมรดกในส่วนของที่ดินพิพาทได้เช่นเดียวกันทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 46 ก็บัญญัติให้คนต่างด้าวมีสิทธิถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ตามสนธิสัญญาต่าง ๆ และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแม้ จ.จะไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ถือครองที่ดินได้ จ. ก็ยังมีสิทธินำที่ดินพิพาทซึ่งรับมรดกมาจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 94 ดังนี้พินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงมิได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ แม้จำเลยจะเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก แต่เมื่อเจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้ผู้อื่นทั้งหมดโดยจำเลยไม่ได้รับมรดกเลย จำเลยจึงเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1608 วรรคท้ายไม่อยู่ในฐานะเป็นทายาทของเจ้ามรดกที่ยกอายุความ 10 ปีตามมาตรา 1755 มาใช้ยันต่อ จ. ผู้รับพินัยกรรมและโจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ จ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินและการร่วมรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ว.ขอไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ จำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ตรวจสอบหลักฐานการมอบอำนาจ ร่วมกันยินยอมให้ ว.รับตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ไปให้พนักงานฝ่ายตั๋วเงินของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของธนาคารตามจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยโดยระบุชื่อโจทก์หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงินแล้วมอบให้ ว.ไป ว.ได้สลักหลังปลอมลายมือชื่อโจทก์ในเช็คแล้วนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ได้ ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันออกตั๋วตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ข้างต้นเป็นการฟ้องเรียกเงินประกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 มอบให้แก่ ว.ไปโดยมิชอบอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์โดยการคืนทรัพย์สิน ซึ่งโจทก์ต้องเสียไปเพราะละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 438 วรรคสอง ไม่ใช่ฟ้องเรียกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 1 คืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันโจทก์ต้องเสียไปเพราะละเมิดดังกล่าว ไม่มีบัญญัติอายุความไว้จึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมิชอบ และการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ว. ขอไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ จำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1ไม่ตรวจสอบหลักฐานการมอบอำนาจ ร่วมกันยินยอมให้ ว. รับตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ไปให้พนักงานฝ่ายตั๋วเงินของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของธนาคารตามจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยโดยระบุชื่อโจทก์หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงินแล้วมอบให้ ว. ไป ว. ได้สลักหลังปลอมลายมือชื่อโจทก์ในเช็คแล้วนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ได้ ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในฐานะผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันออกตั๋วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ข้างต้นเป็นการฟ้องเรียกเงินประกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 มอบให้แก่ว. ไปโดยมิชอบอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์โดยการคืนทรัพย์สิน ซึ่งโจทก์ต้องเสียไปเพราะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคสอง ไม่ใช่ฟ้องเรียกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 1 คืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันโจทก์ต้องเสียไปเพราะละเมิดดังกล่าว ไม่มีบัญญัติอายุความไว้จึงมีกำหนด10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7130/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ และการแก้ไขค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ว. ขอไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจ จำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1ไม่ตรวจสอบหลักฐานการมอบอำนาจ ร่วมกันยินยอมให้ ว. รับตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ไปให้พนักงานฝ่ายตั๋วเงินของจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คของธนาคารตามจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยโดยระบุชื่อโจทก์หรือผู้ถือเป็นผู้รับเงินแล้วมอบให้ ว. ไป ว. ได้สลักหลังปลอมลายมือชื่อโจทก์ในเช็คแล้วนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ได้ ขอให้บังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ในฐานะผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันออกตั๋วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ข้างต้นเป็นการฟ้องเรียกเงินประกันตามตั๋วสัญญาใช้เงินคืนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 มอบให้แก่ว. ไปโดยมิชอบอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องใช้เงินค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์โดยการคืนทรัพย์สิน ซึ่งโจทก์ต้องเสียไปเพราะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคสอง ไม่ใช่ฟ้องเรียกเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยที่ 1 คืนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินอันโจทก์ต้องเสียไปเพราะละเมิดดังกล่าว ไม่มีบัญญัติอายุความไว้จึงมีกำหนด10 ปี ตามมาตรา 193/30
จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
จำเลยที่ 2 เป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อยู่ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นว่าค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้เป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในคดีแรงงาน: ชอบด้วยกฎหมายหากได้รับความยินยอมจากคู่ความและมีอำนาจตามกฎหมาย
การจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นวินิจฉัยอาการป่วยของจำเลยร่วมในคดีนี้เป็นไปโดยความเห็นชอบของจำเลยร่วมและคู่ความฝ่ายอื่นทุกฝ่าย ทั้งคู่ความทุกฝ่ายยังเห็นชอบให้ศาลแรงงานมีหนังสือเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย รวม 6 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายศาลแรงงานยังได้เชิญแพทย์หญิง อ. แพทย์หญิง ว. ผู้อำนายการกองอาชีวอนามัย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ย. ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อพยานฝ่ายลูกจ้างแถลงว่าเพื่อความสบายใจของแพทย์หญิง อ. จึงขอเพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อม 3 คนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ ศาลแรงงานก็ดำเนินการให้ตามความประสงค์เมื่อการจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นตรวจอาการป่วยของจำเลยร่วมได้เป็นไปตามความต้องการและความพอใจของจำเลยร่วมและคู่ความอื่นทุกฝ่ายทั้งสิ้น และเมื่อได้รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาแล้วศาลแรงงานก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแรงงานเห็นสมควรให้มาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 30 ให้อำนาจไว้ดังนี้ กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานดังกล่าวข้างต้นจึงชอบแล้ว และการที่ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวกรณีให้เพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อมเข้าเป็นคณะกรรมการด้วยตามคำแถลงของพยานฝ่ายลูกจ้างก็ดี รวมทั้งการจำหน่ายคดีชั่วคราวในระหว่างรอผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์ที่จะเสนอต่อศาลแรงงานกลางก็ดี เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ทั้งสิ้น กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานทั้งหมดดังกล่าวมาจึงชอบแล้วกรณีไม่มีเหตุเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในคดีแรงงาน ศาลมีอำนาจดำเนินการได้หากได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายและเป็นไปตามกฎหมาย
การจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นวินิจฉัยอาการป่วยของจำเลยร่วมในคดีนี้เป็นไปโดยความเห็นชอบของจำเลยร่วมและคู่ความฝ่ายอื่นทุกฝ่าย ทั้งคู่ความทุกฝ่ายยังเห็นชอบให้ศาลแรงงานมีหนังสือเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย รวม 6 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายศาลแรงงานยังได้เชิญแพทย์หญิง อ. แพทย์หญิง ว. ผู้อำนายการกองอาชีวอนามัย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ย. ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อพยานฝ่ายลูกจ้างแถลงว่าเพื่อความสบายใจของแพทย์หญิง อ. จึงขอเพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อม 3 คนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ ศาลแรงงานก็ดำเนินการให้ตามความประสงค์เมื่อการจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นตรวจอาการป่วยของจำเลยร่วมได้เป็นไปตามความต้องการและความพอใจของจำเลยร่วมและคู่ความอื่นทุกฝ่ายทั้งสิ้น และเมื่อได้รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาแล้วศาลแรงงานก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแรงงานเห็นสมควรให้มาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 30 ให้อำนาจไว้ดังนี้ กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานดังกล่าวข้างต้นจึงชอบแล้ว และการที่ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวกรณีให้เพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อมเข้าเป็นคณะกรรมการด้วยตามคำแถลงของพยานฝ่ายลูกจ้างก็ดี รวมทั้งการจำหน่ายคดีชั่วคราวในระหว่างรอผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์ที่จะเสนอต่อศาลแรงงานกลางก็ดี เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ทั้งสิ้น กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานทั้งหมดดังกล่าวมาจึงชอบแล้วกรณีไม่มีเหตุเพิกถอน