คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุมพล ณ สงขลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ในคดีแรงงาน: กระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
การจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นวินิจฉัยอาการป่วยของจำเลยร่วมในคดีนี้เป็นไปโดยความเห็นชอบของจำเลยร่วมและคู่ความฝ่ายอื่นทุกฝ่าย ทั้งคู่ความทุกฝ่ายยังเห็นชอบให้ศาลแรงงานมีหนังสือเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามรายชื่อที่ได้รับแจ้งจากกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย รวม 6 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายศาลแรงงานยังได้เชิญแพทย์หญิง อ. แพทย์หญิง ว.ผู้อำนวยการกองอาชีวอนามัย กับผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ย.ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อพยานฝ่ายลูกจ้างแถลงว่าเพื่อความสบายใจของแพทย์หญิง อ. จึงขอเพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อม3 คนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการแพทย์ ศาลแรงงานก็ดำเนินการให้ตามความประสงค์เมื่อการจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ขึ้นตรวจอาการป่วยของจำเลยร่วมได้เป็นไปตามความต้องการและความพอใจของจำเลยร่วมและคู่ความอื่นทุกฝ่ายทั้งสิ้น และเมื่อได้รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาแล้วศาลแรงงานก็ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่ศาลแรงงานเห็นสมควรให้มาให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาคดีตามที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 30 ให้อำนาจไว้ดังนี้ กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานดังกล่าวข้างต้นจึงชอบแล้ว และการที่ศาลแรงงานดำเนินกระบวนพิจารณาในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ดังกล่าวกรณีให้เพิ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวแวดล้อมเข้าเป็นคณะกรรมการด้วยตามคำแถลงของพยานฝ่ายลูกจ้างก็ดี รวมทั้งการจำหน่ายคดีชั่วคราวในระหว่างรอผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการแพทย์ที่จะเสนอต่อศาลแรงงานกลางก็ดี เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินการได้ทั้งสิ้น กระบวนพิจารณาของศาลแรงงานทั้งหมดดังกล่าวมาจึงชอบแล้ว กรณีไม่มีเหตุเพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7105/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยโรคจากสภาพแวดล้อมการทำงาน และการพิจารณาคดีแรงงานตามพยานหลักฐาน
ประเด็นข้อพิพาทในคดีมีว่าจำเลยร่วมทั้งสองซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ ป่วยเป็นโรคปอดเนื่องจากการทำงานหรือไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทเดียวกันกับประเด็นข้อพิพาทในคดีเรื่องอื่นของศาลแรงงานกลางซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ ส่งลูกจ้างไปให้คณะกรรมการแพทย์ที่ศาลตั้งขึ้นตรวจวิเคราะห์โรคตามคำท้าของคู่ความ ได้ผลประการใดให้ถือเป็นข้อแพ้ชนะแห่งคดี และคู่ความทุกฝ่ายในคดีนี้เห็นพ้องต้องกันขอถือเอาคำท้าในคดีดังกล่าวเป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยคดีนี้โดยตกลงให้จัดส่งจำเลยทั้งสองไปตรวจวิเคราะห์โรคด้วยเช่นเดียวกับคดีดังกล่าวข้างต้น ดังนี้เพื่อความสะดวกในการพิจารณาและพิพากษาคดี ศาลแรงงานกลางย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความเป็นการชั่วคราว เพื่อรอฟังผลการตรวจวิเคราะห์โรคของจำเลยร่วมทั้งสองก่อน เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นพิพาททุกข้อที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาไปตามเหตุผลที่ปรากฏในคำคู่ความและพยานหลักฐานในสำนวนมิได้วินิจฉัยคดีไปตามคำท้าของคู่ความในคดีอื่นซึ่งมีประเด็นที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกันกรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลแรงงานกลางจะต้องเพิกถอนรายงานกระบวนพิจารณาที่ได้จดบันทึกพาดพิงถึงคำท้าของคู่ความในคดีอื่น เพราะรายงานกระบวนพิจารณาข้างต้นมิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 30 ให้อำนาจแก่ศาลแรงงานกลางในการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยให้ถือว่าเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความเห็นแก่ศาลประกอบการพิจารณาและพิพากษา ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองต้องการและพอใจให้ศาลจัดให้มีคณะกรรมการแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นเพื่อตรวจวิเคราะห์โรคของจำเลยทั้งสอง การแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของศาลแรงงานกลางจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษ: ศาลยกฟ้องเนื่องจาก พ.ร.บ.จราจรทางบกไม่มีบทลงโทษเฉพาะ
ภายหลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157 ทวิ วรรคหนึ่ง การกระทำความผิดเมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษดังเช่น พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ดังนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185, 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถเสพยาเสพติด: เปลี่ยนประเภทยาทำให้ไม่มีความผิดตามกฎหมายจราจร
ภายหลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง การกระทำความผิดเมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษดังเช่นพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ดังนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185, 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดขับรถเสพยา: เปลี่ยนสถานะยาจากวัตถุออกฤทธิ์เป็นยาเสพติดโทษ ทำให้จำเลยไม่มีความผิดตามกฎหมายเดิม
ภายหลังจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มเมทแอมเฟตามีนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง,157 ทวิ วรรคหนึ่ง การกระทำความผิดเมทแอมเฟตามีนไม่เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แต่ได้เปลี่ยนเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติลงโทษผู้ขับขี่เสพยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษดังเช่นพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ดังนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185, 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณดอกเบี้ย: นับแต่วันรุ่งขึ้นจากวันฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำเป็นต้องระบุเจาะจง
การคำนวณนับระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ยนั้นอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย จึงเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นโดยไม่นับวันฟ้องรวมคำนวณเข้าด้วยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ถ้อยคำเจาะจงว่าให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยบางส่วนเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์และข้อโต้แย้งที่ไม่ชัดเจน ยืนตามศาลล่างในส่วนที่เหลือ
จำเลยที่ 2 ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าในส่วนของโจทก์ที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 48,662 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในส่วนนี้ให้ก็เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมแต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 48,662 บาท และให้โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 195,875 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 244,537 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาในทุนทรัพย์264,573 บาท จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินจำนวน 500 บาทแก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 และฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
จำเลยที่ 2 ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าในส่วนของโจทก์ที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 48,662 บาททุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในส่วนนี้ให้ก็เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม แต่จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 48,662 บาท และให้โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 195,875 บาทรวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 244,537 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาในทุนทรัพย์ 264,537บาท จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินจำนวน 500 บาท แก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกินห้าปีและบทบัญญัติมาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ในการพิจารณาว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องแยกพิจารณาโทษแต่ละกระทงเป็นเกณฑ์ คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเฮโรอีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เห็นสมควรลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปีเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการแสดงเจตนาไม่จ่ายค่าจ้าง ศาลต้องวินิจฉัยพฤติการณ์เพื่อพิสูจน์การเลิกจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายถึง การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายถึงการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ซึ่งการไม่จ่ายค่าจ้างตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความว่าจะต้องถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างก่อนแล้วนายจ้างไม่จ่ายให้ หากมีพฤติการณ์ที่แสดงออกโดยแน่ชัดว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างก็ถือได้ว่ามีการเลิกจ้างแล้วตั้งแต่วันที่ไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงาน
เมื่อมีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมีเจตนาหรือแสดงออกโดยพฤติการณ์ว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งไม่ได้เข้าทำงานด้วยหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยในปัญหาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 53 แล้วหรือไม่ซึ่งศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเสียก่อนแล้วพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี
of 18