คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุมพล ณ สงขลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการแสดงเจตนาไม่จ่ายค่าจ้าง ศาลต้องวินิจฉัยพฤติการณ์เพื่อพิสูจน์การเลิกจ้าง
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายถึง การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายถึงการที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป ซึ่งการไม่จ่ายค่าจ้างตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้หมายความว่าจะต้องถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างก่อนแล้วนายจ้างไม่จ่ายให้ หากมีพฤติการณ์ที่แสดงออกโดยแน่ชัดว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างก็ถือได้ว่ามีการเลิกจ้างแล้วตั้งแต่วันที่ไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงาน
เมื่อมีข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยว่า จำเลยมีเจตนาหรือแสดงออกโดยพฤติการณ์ว่าจะไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ซึ่งไม่ได้เข้าทำงานด้วยหรือไม่ เพื่อวินิจฉัยในปัญหาจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 53 แล้วหรือไม่ซึ่งศาลแรงงานยังมิได้วินิจฉัย ศาลฎีกาจึงให้ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเสียก่อนแล้วพิพากษาใหม่ไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาขัดแย้งกัน: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันและใช้บังคับเหนือคำพิพากษาเดิม
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก พ.มีหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719แม้โจทก์ได้ทำการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดให้โจทก์แบ่งที่ดินมรดกให้แก่จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน และโจทก์ได้ทำการแบ่งแยกให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีการฟ้องร้องก่อนที่โจทก์จะแบ่งแยกที่ดินมรดกให้จำเลยทั้งสาม ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินมรดกเป็น7 ส่วน แล้วให้ ส.ได้รับส่วนแบ่ง 1 ส่วน ดังนี้ คำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลตามคดีแพ่งทั้งสองคดีดังกล่าวย่อมขัดกัน กรณีต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 146 วรรคหนึ่ง และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ด้วย
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน ไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งปันทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกขัดแย้ง: ต้องตามคำพิพากษาศาลสูงกว่า แม้แบ่งไปแล้วก่อนหน้า
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก พ. มีหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การแบ่งเป็นทรัพย์มรดกเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 แม้โจทก์ได้ทำการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดให้โจทก์แบ่งที่ดินมรดกให้แก่จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน และโจทก์ได้ทำการแบ่งแยกให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีการฟ้องร้องก่อนที่โจทก์จะแบ่งแยกที่ดินมรดกให้จำเลยทั้งสาม ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินมรดกเป็น 7 ส่วน แล้วให้ส. ได้รับส่วนแบ่ง 1 ส่วน ดังนี้ คำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลตามคดีแพ่งทั้งสองคดีดังกล่าวย่อมขัดกัน กรณีต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ด้วย เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วนไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งเป็นทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนความเดือดร้อนต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้อื่น แม้ข้อความจะกล่าวถึงการกระทำของบุคคลที่สาม
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เกิดเหตุมาเป็นเวลาประมาณ 15 ปีแล้ว และได้ทราบความเป็นมาของหมู่บ้าน บ.ตลอดจนความเดือดร้อนของชาวบ้านในบริเวณนั้นอย่างแท้จริงเมื่อจำเลยไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการใด ๆได้ และความเดือดร้อนเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่ การที่จำเลยกับพวก ซึ่งเป็นข้าแผ่นดินระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่พึ่งสุดท้ายของพสกนิกรทั้งปวงและทำหนังสือกราบบังคมทูล ทูลเกล้าถวายฎีกาเพื่อให้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับจำเลยกับพวก โดยหวังในพระเมตตาบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในอันที่จะขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนที่มีอยู่ให้ระงับสิ้นไปเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง และข้อความในหนังสือดังกล่าวไม่เป็นเท็จ ดังนั้น การทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนความเดือดร้อนต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นการละเมิดหากข้อความไม่เป็นเท็จ แม้จะเกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จำเลยที่ 3 เป็นผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เกิดเหตุมานานประมาณ15 ปีแล้ว ย่อมทราบความเป็นมาของหมู่บ้านตลอดจนความเดือดร้อนของชาวบ้านอย่างแท้จริงเมื่อไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการใด ๆ ได้ และความเดือดร้อนเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่จึงเป็นธรรมดาที่จำเลยทั้งหกกับพวก ซึ่งเป็นข้าแผ่นดินจะพึงระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่พึ่งสุดท้าย ของพสกนิกรทั้งปวง หนังสือกราบบังคมทูลของจำเลยทั้งหกกับพวก จึงมีลักษณะเป็นการทูลเกล้าถวายฎีกา เพื่อให้ทรงทราบถึง ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับจำเลยทั้งหกกับพวก โดยหวังใน พระเมตตาบารมีของพระองค์ท่านในอันที่จะขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนที่มีอยู่ให้ระงับสิ้นไปเท่านั้น หาได้มีเจตนาที่จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง ทั้งโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีการถมดินรุกล้ำลำรางหรือลำลาดสาธารณประโยชน์สืบต่อจากผู้กระทำการดังกล่าว หาได้พ้นจากความรับผิดไปได้ไม่ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นเท็จแต่อย่างใด ดังนั้น การทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6499/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกราบบังคมทูลความเดือดร้อนต่อพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นละเมิดต่อบุคคลอื่น
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านในท้องที่เกิดเหตุมาเป็นเวลาประมาณ15 ปีแล้ว และได้ทราบความเป็นมาของหมู่บ้าน บ. ตลอดจนความเดือนร้อนของชาวบ้านในบริเวณนั้นอย่างแท้จริง เมื่อจำเลยไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการใด ๆ ได้ และความเดือดร้อนเหล่านั้นก็ยังคงมีอยู่ การที่จำเลยกับพวก ซึ่งเป็นข้าแผ่นดินระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเป็นที่พึ่งสุดท้ายของพสกนิกรทั้งปวงและทำหนังสือกราบบังคมทูล ทูลเกล้าถวายฎีกาเพื่อให้ทรงทราบถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับจำเลยกับพวก โดยหวังในพระเมตตาบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในอันที่จะขจัดปัดเป่าความเดือดร้อนที่มีอยู่ให้ระงับสิ้นไปเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่จะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียง และข้อความในหนังสือดังกล่าวไม่เป็นเท็จ ดังนั้น การทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิขอคืนของกลาง: เจ้าของแท้จริงมีสิทธิยื่นคำร้องระหว่างพิจารณาคดี แม้ ป.อ.มาตรา 36 จะกำหนดกรอบเวลาไว้
ในคดีอาญาที่โจทก์มีคำขอให้ริบของกลางนั้น ป.อ.มาตรา 36เพียงแต่บัญญัติว่าในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินตามมาตรา 33 หรือ 34 แล้วก็ให้เจ้าของแท้จริงยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดได้เท่านั้น แต่หาตัดสิทธิเจ้าของที่แท้จริงจะขอยื่นคำเสนอก่อนเวลาดังกล่าวไม่ฉะนั้น เจ้าของที่แท้จริงจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอคืนของกลางระหว่างพิจารณาคดี และการพิสูจน์เจ้าของกรรมสิทธิ์เพื่อหักล้างการรู้เห็นเป็นใจ
ใน คดีอาญา ที่ โจทก์ มี คำขอ ให้ริบ ของกลาง นั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 เพียงแต่ บัญญัติ ว่า ใน กรณี ที่ ศาล มี คำสั่ง ให้ริบ ทรัพย์สิน ตาม มาตรา 33 หรือ 34 แล้ว ก็ ให้ เจ้าของ แท้จริง ยื่น คำเสนอ ขอ คืน ต่อ ศาล ภายใน หนึ่ง ปี นับแต่ วัน คำพิพากษาถึงที่สุด ได้ เท่านั้น แต่ หา ตัด สิทธิ เจ้าของ ที่ แท้จริง จะ ขอยื่น คำเสนอ ก่อน เวลา ดังกล่าว ไม่ ฉะนั้น เจ้าของ ที่ แท้จริง จึง มีสิทธิ ยื่น คำร้องขอ คืน ของกลาง ระหว่าง พิจารณา คดี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6115/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกขอโอนทรัพย์สินกองมรดกให้ตนเอง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน หากมีประโยชน์ส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์
ผู้ร้องมิใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของ จ. ทั้ง จ. มิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของ จ. อันมีสิทธิที่จะรับมรดกของ จ. การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ. ขอโอนทรัพย์สินกองมรดกของ จ. มาเป็นของผู้ร้อง ดังนี้ประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอยู่ในตัวผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6115/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนโอนทรัพย์สินกองมรดก หากมีประโยชน์ส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์
ผู้ร้องมิใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของ จ. ทั้ง จ.มิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของ จ.อันมีสิทธิที่จะรับมรดกของ จ. การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ. ขอโอนทรัพย์สินกองมรดกของ จ.มาเป็นของผู้ร้อง ดังนี้ประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอยู่ในตัว ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1722
of 18