คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุมพล ณ สงขลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวที่ไม่สอดคล้องกับเหตุผลที่นำเสนอต่อศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งชอบแล้ว
ตามคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยที่ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1มีหมายแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ระงับการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. 4-01ให้โจทก์ทั้งสามและระงับการทำนิติกรรมใด ๆ สำหรับที่ดินพิพาท เพราะหากออกเอกสารสิทธิดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์ทั้งสามแล้ว โจทก์อาจนำที่ดินพิพาทไปทำนิติกรรมใด ๆ ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ชั้นฎีกาจำเลยกลับฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามจะทำการจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพิพาทให้เสร็จก่อนคดีจะถึงที่สุดโดยอาศัยหลักฐานการเสียภาษีซึ่งไม่ตรงตามข้ออ้างที่ระบุในคำร้อง กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของจำเลยที่ขอนั้นมาใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในการได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระตามสัญญาจ้างต่อเนื่อง แม้สัญญาฉบับแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539 ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน 4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน" โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเช่นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี" ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด 1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 ให้ คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำ ไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5759/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสัญญาจ้างต่อเนื่อง: ตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระยังคงมีผลผูกพัน แม้สัญญาจ้างแรกสิ้นสุด
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยฉบับแรกในส่วนที่เกี่ยวกับตั๋วเครื่องบินมีข้อความว่า "เริ่มต้นของสัญญานี้ ท่านไม่มีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินไปกลับและจากบ้าน อย่างไรก็ดีเมื่อสัญญาฉบับ 1 ปีเต็ม ได้ตกลงกัน ปี 2539ท่านมีสิทธิได้รับตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัดในการเดินทางแบบเที่ยวเดียว จำนวน4 ใบ จากภูเก็ตไปที่ใด ๆ สำหรับท่านและครอบครัวของท่านทันที นอกจากนั้นค่าธรรมเนียมในการขนย้ายทรัพย์สินของท่านไปภูเก็ต และจากภูเก็ตไปที่อื่นจะได้รับการชดใช้โดยรีสอร์ทในวงเงินสูงสุดเท่ากับเงินเดือนที่ท่านได้รับ 1 เดือน"โดยสัญญาจ้างฉบับแรกนี้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2538 มีระยะเวลาการจ้างตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 ต่อมาจึงมีการทำสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 ขึ้นก่อนสัญญาจ้างฉบับแรกครบกำหนด โดยมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2538 ถึงวันที่30 พฤศจิกายน 2539 มีข้อความในตอนแรกว่า "ตามสัญญาจ้างของเรากับท่านฉบับลงวันที่ 26 ตุลาคม 2538 และอาศัยการตกลงด้วยวาจาโดยการอนุมัติของไคจ์แอนดรีเซ่น เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้าพเจ้ามีความยินดีต่อสัญญาจ้างให้ท่านใหม่อีก 1 ปี..." ข้อความในสัญญาจ้างฉบับหลังดังกล่าวย่อมแสดงโดยชัดแจ้งว่าการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 เป็นผลสืบเนื่องมาจากสัญญาจ้างฉบับแรกเมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างโจทก์ต่อมีกำหนด1 ปี ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญาจ้างฉบับแรก ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระก็ย่อมเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการทำสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ตามที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างฉบับแรก โดยไม่จำต้องระบุสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ไว้ในสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 อีก และสิทธิของโจทก์ดังกล่าวจะลบล้างได้ก็โดยคู่กรณีตกลงกันยกเลิกเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 มีการยกเลิกสิทธิเกี่ยวกับค่าตั๋วเครื่องบินและค่าขนย้ายสัมภาระของโจทก์แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าข้อตกลงในเรื่องดังกล่าวตามสัญญาจ้างฉบับแรก ยังคงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นต่อไป แม้ว่าสัญญาจ้างฉบับแรกจะสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 ให้คำนิยามคำว่า นายจ้างในทำนองเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทั่วไปและมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ด้วยตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ แต่กิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการ จำเลยที่ 1ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ต้องผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีได้เมื่อพยานหลักฐานเพียงพอ แม้มีการแก้ไขคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการที่จำเลยจ้างโจทก์ให้เลี้ยงไก่ของจำเลยเป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การปฏิเสธว่า จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ เพราะเมื่อครั้งที่โจทก์รับเลี้ยงไก่ให้จำเลย โจทก์ก็เป็นหนี้จำเลยจากการที่จำเลยจ่ายค่าอุปกรณ์การเลี้ยงไก่เป็นจำนวนเงิน 17,715 บาท จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยใหม่เป็นว่าโจทก์จะเป็นผู้ซื้อลูกไก่ อาหารไก่ อุปกรณ์การเลี้ยงไก่จากจำเลย โดยจำเลยจะต้องเป็นผู้ซื้อไก่จากโจทก์ ครั้งนี้โจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นเงิน 136,283 บาทการที่จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การดังกล่าว เท่ากับว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์อีกเช่นกัน ประเด็นที่จำเลยต่อสู้ตามคำให้การที่ขอแก้ไขใหม่จึงเป็นไปตามประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบปฏิเสธตามคำให้การและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแล้วดังที่ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5428/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความน่าเชื่อถือพยานหลักฐานในคดีข่มขืนและบุกรุก: ข้อสงสัยในความสามารถในการมองเห็นและเจตนา
บ้านเกิดเหตุมีฝาทึบสูงเกือบถึงฝ้าเพดาน ไม่น่าเชื่อว่าแสงจันทร์จะส่องเข้าไปถึงได้ที่ผู้เสียหายเบิกความว่าเห็นคนร้ายจำได้ว่าเป็นจำเลยขณะที่จำเลยกำลังออกประตูนั้นไม่น่าเชื่อเพราะขณะคนร้ายออกจากประตูบ้านคนร้ายหันหลังให้ผู้เสียหาย ประกอบกับขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนและคนร้ายกำลังหนีซึ่งน่าจะไปด้วยความรีบร้อน โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานเพียงปากเดียว จำเลยให้การปฏิเสธตลอดมา จึงมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่เข้าไปในบ้านและกระทำชำเราผู้เสียหายหรือไม่ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง ส่วนความผิดในข้อหาบุกรุกนั้น ก. เจ้าของบ้านเบิกความรับว่าเมื่อจำเลยเมาสุราจำเลยจะมานอนบนฉางข้าวเป็นประจำทั้งในวันเกิดเหตุเมื่อ ก. พบจำเลยนอนบนฉางข้าง ก. ก็มิได้ว่ากล่าว จึงเชื่อได้ว่าจำเลยเข้าไปนอนบนฉางข้าวโดยวิสาสะ มิได้มีเจตนาบุกรุก จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 364

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5343/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ความผิดอาวุธปืนและฆ่าผู้อื่น ศาลไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงบางส่วน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ส่วนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำคุกจำเลยที่ 1 มีกำหนด 2 ปี ดังนั้น ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ทั้งสองข้อหาดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ส่วนความผิดฐานร่วมกับพวกฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดหรือไม่นั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง มิได้วินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดหรือไม่จึงเป็นอันถึงที่สุดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาเดิม ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้ แม้คดีก่อนฟ้องแบ่งแยกที่ดิน
ในคดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่าโจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกันส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้วโจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าวจำเลยให้การว่าหลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้วส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือแต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่าตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้นจำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้องประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข3ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่งฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษา ศาลฎีกาวินิจฉัยให้บังคับตามข้อตกลงได้
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลังแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5283/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินหลังมีคำพิพากษาคดีก่อน ไม่เป็นข้อหาเดิม
ในคดีก่อน จำเลยฟ้องโจทก์ขอให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดังกล่าวร่วมกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาในคดีก่อนแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ขอให้แบ่งแยกที่ดินตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยให้การว่า หลังจากศาลพิพากษาในคดีก่อนแล้วในวันนั้นโจทก์จำเลยได้ทำความตกลงกันโดยโจทก์ครอบครองที่ดินซีกทางด้านทิศใต้เพราะปลูกบ้านอยู่ก่อนแล้ว ส่วนจำเลยได้สิทธิครอบครองที่พิพาทซีกด้านทิศเหนือ แต่บ้านอีกหลังหนึ่งที่โจทก์อ้างว่า ตามข้อตกลงให้จำเลยรื้อถอนออกไปเพราะขวางทางเข้าออกของโจทก์นั้น จำเลยไม่สามารถรื้อได้ ขอให้ศาลยกฟ้อง ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าโจทก์มีสิทธิบังคับให้จำเลยแบ่งแยกที่พิพาทตามข้อตกลงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 ได้หรือไม่ซึ่งต่างกับคดีก่อนที่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับโจทก์แบ่งแยกที่พิพาทเพราะเป็นเจ้าของร่วมกันหรือไม่ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยมีส่วนในที่พิพาทเท่ากันและพิพากษาให้แบ่งคนละกึ่งหนึ่ง ฉะนั้นประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้ไม่ได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5256/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเรื่องอำนาจฟ้องและประเด็นข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยมีใจความว่า ฟ้องโจทก์เป็นโมฆะ โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของและไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น ข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยอำนาจฟ้องเพราะไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความได้หรือไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกา
of 18