คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จุมพล ณ สงขลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5256/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเรื่องอำนาจฟ้องและประเด็นข้อเท็จจริงที่ไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยมีใจความว่า ฟ้องโจทก์เป็นโมฆะ โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของและไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น ข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยอำนาจฟ้องเพราะไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความได้หรือไม่ เมื่อจำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ แม้สัญญาเลิกแล้วหนี้ยังไม่ระงับ จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทตรงตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับโจทก์ และเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 1ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายซึ่งจำเลยทราบดีว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินตามเช็ค พิพาทให้โจทก์ในวันใด เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธ การจ่ายเงิน ซึ่งตามวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 4 แม้ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดทันที สัญญาเช่าซื้อที่ทำกันไว้จึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ไม่กระทบถึงสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อในขณะมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจ่ายชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกันแต่มูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่หาได้ระงับหรือสิ้นผลผูกพันไปไม่ หาใช่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจะทำให้มูลหนี้ในคดีสิ้นความผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ คดีจึงยังไม่เลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5128/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเพื่อชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ แม้สัญญาเลิกกันแล้วหนี้ตามเช็ดยังคงมีอยู่ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
โจทก์ได้กรอกข้อความในสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทตรงตามข้อตกลงระหว่างจำเลยกับโจทก์ และเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเพื่อชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายซึ่งจำเลยทราบดีว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ในวันใด เมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดชำระเงินธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ซึ่งตามวันที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำเลยมีเงินในบัญชีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อได้ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้ถือว่าสัญญานี้เป็นอันสิ้นสุดทันที สัญญาเช่าซื้อที่ทำกันไว้จึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ไม่กระทบถึงสิทธิเรียกค่าเสียหายก็ตาม ปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยได้ออกให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อในขณะมีมูลหนี้ต่อกัน เมื่อโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทซึ่งจ่ายชำระเงินค่าเช่าซื้องวดแรกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกัน แต่มูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามเช็คพิพาทยังคงมีอยู่ หาได้ระงับหรือสิ้นผลผูกพันไปไม่ หาใช่เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วจะทำให้มูลหนี้ในคดีสิ้นความผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดไม่ คดีจึงยังไม่เลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาซื้อขายและการไม่วินิจฉัยประเด็นสำคัญของศาล
ตามสัญญาท้ายคำให้การและฟ้องแย้งกำหนดให้โจทก์ทำการค้าตามวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กำหนด และตามหนังสือบอกเลิกสัญญาเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งก็มีข้อความว่าโจทก์มิได้เข้าทำการค้าตามวันเวลาที่จำเลยกำหนดด้วยเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การและฟ้องแย้ง ในวันชี้สองสถานจำเลยก็แถลงว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะไม่ชำระค่าเช่าและไม่ทำการค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่ทำการค้าขายตามเวลาที่กำหนดในสัญญาหรือไม่การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4850/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นผิดสัญญาเช่าแผงค้า จำเป็นต้องวินิจฉัยการปฏิบัติตามเงื่อนไขเวลาทำการค้า ศาลล่างละเลยการวินิจฉัย
ตามสัญญาท้ายคำให้การและฟ้องแย้งกำหนดให้โจทก์ทำการค้า ตามวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กำหนด และตามหนังสือบอกเลิกสัญญา เอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งก็มีข้อความว่าโจทก์มิได้ เข้าทำการค้าตามวันเวลาที่จำเลยกำหนดด้วย เอกสารดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของคำให้การและฟ้องแย้ง ในวันชี้สองสถานจำเลย ก็แถลงว่าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะไม่ชำระค่าเช่าและไม่ทำการค้าให้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่ทำการค้าขายตามเวลาที่กำหนดในสัญญาหรือไม่การที่ศาลล่างทั้งสองไม่วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวให้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4715/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เหตุทะเลาะวิวาทนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลา
คำให้การของจำเลยอ้างแต่เพียงว่าเหตุที่เลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ทะเลาะวิวาททำร้ายผู้อื่นในสถานที่ทำงานของจำเลย อันเป็นเหตุเลิกจ้างตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ 3.9.1 เท่านั้น หาได้อ้างเหตุเลิกจ้างอื่นตามข้อ 3.9.8 และข้อ 3.9.9 ด้วยไม่ การที่จำเลยอุทธรณ์อ้างเหตุเลิกจ้างตามข้อ3.9.8 และข้อ 3.9.9 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงาน ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยข้อ 3.9.1 จะมีข้อความว่า "พนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัทฯ..." แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.ที่ถนนในบริเวณบริษัท มิใช่ภายในอาคารที่ทำงานหรือที่เก็บสินค้าของจำเลย ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาประมาณ 17 นาฬิกา หลังจากเลิกงานแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่า ส.ได้รับบาดเจ็บพฤติการณ์และการกระทำของโจทก์จึงยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีที่ร้ายแรงที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยลูกจ้าง: งานก่อสร้างปกติ ไม่เข้าข้อยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามประกาศ มท.
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคท้าย ได้กำหนดเงื่อนไขในการที่ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าชดเชยเพราะเหตุที่เป็นลูกจ้างที่มีกำหนดเวลาการจ้างไว้แน่นอน จะต้องเป็นกรณีที่นายจ้างได้จ้างลูกจ้างเพื่อทำงานประเภทใดประเภทหนึ่งดังนี้คือ
1. ทำงานตามโครงการเฉพาะซึ่งมิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างโดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน
2. ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวซึ่งมีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน
3. ทำงานที่เป็นไปตามฤดูกาลโดยได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น
ซึ่งงานทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ลูกจ้างจึงจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย แต่บริษัทจำเลยผู้เป็นนายจ้างมีวัตถุประสงค์ทำการก่อสร้าง รับงานโครงการไว้ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 1 แห่งจังหวัดขอนแก่น 1 แห่ง และจังหวัดสมุทรสงคราม 1 แห่ง งานก่อสร้างของจำเลยตามโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวจึงเป็นงานปกติของธุรกิจหรือการค้าของจำเลยในการที่จะไปรับจ้างก่อสร้าง ทั้งงานที่จำเลยจ้างโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเกี่ยวข้องกับระยะเวลาการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงานแต่อย่างใด จำเลยจ้างโจทก์ 1 ปีและจ้างติดต่อไปอีก 6 เดือน การจ้างงานในกรณีดังกล่าวจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
จำเลยจ้างโจทก์ติดต่อกันมาตามสัญญาจ้างสองฉบับโดยมิได้มีการเลิกจ้าง การนับระยะเวลาจึงต้องนับต่อเนื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4698/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอายุผู้เสียหาย ทำให้ไม่มีความผิดฐานกระทำชำเรา
พยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบน่าเชื่อว่าจำเลยไม่ทราบว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ข้อเท็จจริงจึงไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยรู้อยู่แล้วว่าผู้เสียหายมีอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 62 วรรคหนึ่ง จำเลยไม่มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ การฟ้องซ้ำเรื่องมรดกขัดแย้งการให้การเดิม
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของ ม.ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ขณะที่ ม. ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสอง ป. และ พ. รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของ ม. ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป. บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้วโจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม. ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม. ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ. 2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป. และ พ.ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: ห้ามฟ้องคดีซ้ำเรื่องกรรมสิทธิ์มรดกที่เคยมีคำพิพากษาแล้ว
ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินส่วนที่เป็นของ ม.ให้จำเลยทั้งสอง การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเป็นการได้มาโดยผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ได้มาโดยทางมรดกในฐานะที่เป็นทายาทของม. ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาของศาลฎีกาการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นแต่เพียงขั้นตอนของการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาเท่านั้น โจทก์และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษานั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
ขณะที่ ม.ถึงแก่กรรม ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ม.มีจำเลยทั้งสองป.และ พ.รวม 4 คน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นฟ้องโจทก์ในคดีก่อนอ้างว่ามรดกของม.ตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น โดยขณะนั้น ป.บิดาโจทก์ถึงแก่กรรมแล้ว โจทก์ให้การในคดีก่อนแต่เพียงว่า ม.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ และโจทก์ได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แล้ว ดังนั้น คดีก่อนจึงเป็นเรื่องให้ศาลวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาททั้งหมดเป็นทรัพย์มรดกตกได้แก่จำเลยทั้งสองเท่านั้นหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ม.ตกได้แก่ ป.และต่อมาตกเป็นของโจทก์ และขอให้บังคับจำเลยทั้งสองแบ่งให้โจทก์ ย่อมเป็นการขัดกับคำให้การของโจทก์ในคดีก่อนและเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งคำฟ้องโจทก์คดีนี้ก็เป็นเรื่องที่ให้ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ม.ทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องให้วินิจฉัยเรื่องมรดกของ ป.จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวล ป.วิ.พ.มาตรา144 วรรคหนึ่ง ยิ่งกว่านั้นเมื่อคดีก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองตั้งแต่ พ.ศ.2525 โจทก์ต้องผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองแบ่งโดยอ้างว่าเป็นมรดกของ ป.และ พ.ได้อีก
of 18