พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และขอบเขตความรับผิดของผู้เอาประกันภัย
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารสาธารณะ ซึ่งได้เอาประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกับโจทก์ จำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซ่อมรถยนต์โดยสารคันดังกล่าว วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ทำการซ่อมรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวอันเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ในการซ่อมรถจำเลยที่ 1 ได้ทดลองขับรถและขับด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ห.ซึ่งขับรถจักรยานยนต์มาในที่เกิดเหตุเป็นเหตุให้ ห.ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส.มารดาของ ห. ต่อมาโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ส.เป็นเงิน 50,000 บาทดังนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทเป็นกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับให้เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันตามมาตรา 7 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาท ตามกรมธรรมประกันภัยพิพาทข้อ 4 ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 20 และกฏกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่ง ป.พ.พ. ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส.ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส.ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อต่างจากคดีอาญาฐานยักยอก สิทธิเรียกร้องแยกขาด
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-คดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง: สัญญาเช่าซื้อกับคดีอาญา ยักยอกทรัพย์ สิทธิเรียกร้องแยกจากกัน
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์ และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ซึ่งการขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมา แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง แม้คำขอบังคับจะเป็นการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้ราคาเหมือนกัน แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อเมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างประกอบกับคำฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นเรื่องการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะพนักงานอัยการในคดีอาญาจึงไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้กรณีมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คดีก่อนศาลแขวงเชียงใหม่พิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอำนาจฟ้องในคดีเช่าซื้อ: มูลหนี้ต่างกันและวัตถุประสงค์ของโจทก์
แม้พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิด ฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์สี และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ที่ยักยอกไป การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหาย ที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญาแม้จะถือว่า เป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา เท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สี ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง ถึงแม้คำขอบังคับ จะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์สีหรือใช้ราคา แต่ข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการ ขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น เป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้าง เนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อในเมื่อมูลหนี้ ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประกอบกับคำฟ้อง ของโจทก์ กรณีของการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของ คู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญา ไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้าง ในคำขอส่วนแพ่งได้จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน ในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 ระบุว่า ขาย โอน จำนองจำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่นและข้อ 8 ระบุว่า ประกอบกิจการค้า เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องกำเนิด และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ การที่โจทก์ให้เช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีอันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นการจำหน่าย ทรัพย์สินโดยประการอื่นและเป็นการประกอบกิจการค้าตามความหมาย ในหนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 และข้อ 8 จึงเป็นการกระทำซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7157/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยเมื่อตัวแทนของผู้เอาประกันภัยกระทำละเมิด
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้ ได้ขับรถยนต์ คันดังกล่าวในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทน ช.แม้จะมิได้บรรยายว่าช.เป็นผู้เอาประกันภัย แต่ก็มีความหมายอยู่ในตัวแล้ว โดยบรรยายว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัย รถยนต์คันดังกล่าวซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ ช.แสดงว่าช. เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวเมื่อตัวแทน ของผู้เอาประกันภัยไปกระทำละเมิด ผู้เอาประกันภัย ในฐานะตัวการย่อมต้องรับผิดด้วย ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7156/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมเงินที่เป็นโมฆะเนื่องจากขาดพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือตามกฎหมาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดว่า พยานที่จะรับรองลายพิมพ์นิ้วมือต้องมี 2 คน ปรากฏว่าตามสัญญากู้ยืมเงินมี ผ. เป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยเพียงคนเดียว ส่วนโจทก์ลงลายมือชื่อแต่ในช่องผู้ให้กู้เท่านั้น ไม่ได้ลงลายมือชื่อในช่องพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือแม้โจทก์จะเป็นผู้เขียนข้อความตามสัญญากู้ยืมเงิน โดยเฉพาะจะได้เขียนข้อความว่า"รอยพิมพ์นิ้วมือ ง." ไว้ก็ตาม แต่โจทก์มิได้ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยด้วย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของจำเลยจึงมีไม่ถึง 2 คน สัญญากู้ยืมเงินย่อมจะถือเสมอกับจำเลยลงลายมือชื่อยังไม่ได้ โจทก์จึงฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาใหม่ที่ไม่ชัดเจนและขาดเหตุผลสนับสนุน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารและพยานบุคคลของฝ่ายโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่จำเลยมิได้อ้างเหตุให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร และหากมีการพิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีได้อย่างไร แม้จะกล่าวมาด้วยว่าจำเลยมีหลักฐานเอกสารที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างของโจทก์ ก็เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองในการได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นจากการบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และได้ยื่นคำร้องเข้ามาภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นมาขอเฉลี่ยหนี้ของจำเลยหรือไม่ การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองนั้นขายได้ 2 วิธี คือขายโดยปลอดจำนองหรือขายโดยติดจำนอง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตนได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องประสงค์ให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายโดยปลอดจำนองแล้วจำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้ตน ก่อนเจ้าหนี้อื่น และการที่วรรคสองของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 บัญญัติให้ผู้รับจำนองยื่นคำร้องเสียก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออก ขายทอดตลาดก็เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการขายไป ได้ถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจำนอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้อง เป็นผู้รับจำนองผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิบังคับคดีจำกัดเฉพาะทรัพย์จำนองหรือไม่
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมกำหนดไว้ว่า หากจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ ให้ศาลพิพากษาสั่งให้ยึดที่ดินพิพาทซึ่งจำนองไว้และให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทน โดยไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้โจทก์ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับบริวารจำเลย แม้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดี โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและหลักการบริวาร
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท และขอให้บังคับจำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โดยโจทก์ยอมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย หากจำเลยผิดนัดให้ถือว่าจำเลย ไม่ติดใจซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์ และยอมขนย้ายบริวาร และทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดระยะเวลา ที่ตกลงกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตาม สัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงขอให้บังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่า ไม่ใช่บริวารจำเลยแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อครบกำหนด เวลาดังกล่าว การที่ผู้ร้องยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท จึงถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องไม่ได้ถูกฟ้อง และเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยก็ตาม โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่ ผู้ร้องได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา