พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับบริวารจำเลย แม้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดี โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและหลักการบริวาร
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท และขอให้บังคับจำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โดยโจทก์ยอมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย หากจำเลยผิดนัดให้ถือว่าจำเลย ไม่ติดใจซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์ และยอมขนย้ายบริวาร และทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดระยะเวลา ที่ตกลงกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตาม สัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงขอให้บังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่า ไม่ใช่บริวารจำเลยแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อครบกำหนด เวลาดังกล่าว การที่ผู้ร้องยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท จึงถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องไม่ได้ถูกฟ้อง และเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยก็ตาม โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่ ผู้ร้องได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าฝากสินค้าในคลังสินค้า เริ่มนับจากวันสิ้นสัญญา ไม่ใช่วันขนย้ายสินค้า
บริษัท ท.นำสินค้าฝากไว้กับคลังสินค้าของโจทก์ต่อมาบริษัทท. สลักหลังจำนำสินค้าตามใบประทวนสินค้าและสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ใบรับของคลังสินค้าดังกล่าวให้จำเลย แต่บริษัท ท. ค้างชำระค่าฝากสินค้า ปรากฏว่าใบประทวนสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาฝากสินค้าว่าสิ้นสุดลงเมื่อใด โจทก์ในฐานะนายคลังสินค้าจะเรียกให้จำเลยผู้สวมสิทธิของบริษัท ท. ผู้ฝากถอนสินค้าได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้จำเลยทราบล่วงหน้า 1 เดือน เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวไปแล้ว สัญญาย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่วันครบ 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 774 โจทก์ต้องฟ้องคดีให้จำเลยใช้เงินค่าฝากสินค้าภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะเก็บของในคลังสินค้า มาตรา 771 ให้นำอายุความของลักษณะฝากทรัพย์ มาตรา 671 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเก็บของในคลังสินค้า: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุด ไม่ใช่นับจากวันขนย้ายสินค้า
บริษัท ท.ผู้ฝากของในคลังสินค้าได้สลักหลังใบรับของคลังสินค้าโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่โจทก์รับฝากไว้ไปเป็นของจำเลย และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้สวมสิทธิบริษัท ท.ผู้ฝาก เมื่อใบประทวนสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาฝากสินค้าว่าสิ้นสุดลงเมื่อใด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 774 โจทก์ในฐานะนายคลังสินค้าจะเรียกให้จำเลยผู้สวมสิทธิของบริษัท ท.ผู้ฝาก ถอนสินค้าได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้จำเลยทราบล่วงหน้า 1 เดือน โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์2536 ถึงจำเลยแจ้งว่า อายุของการฝากสินค้าได้สิ้นสุดลงแล้ว ให้จำเลยชำระค่าฝากสินค้าและขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าของโจทก์ ดังนั้น สัญญาย่อมสิ้นสุดตั้งแต่วันครบ1 เดือน คือวันที่ 18 มีนาคม 2536 และโจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายในอายุความตามกฎหมายนับแต่วันที่สิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว มิใช่เริ่มนับอายุความนับแต่วันที่มีการขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้า
กฎหมายลักษณะเก็บของในคลังสินค้าไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ และตามมาตรา 771 ซึ่งเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปของลักษณะเก็บของในคลังสินค้าบัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยฝากทรัพย์มาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะเก็บของในคลังสินค้า จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา671 มาใช้บังคับในคดีนี้โดยอนุโลม โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2538 จึงพ้นกำหนด 6 เดือน แล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
กฎหมายลักษณะเก็บของในคลังสินค้าไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ และตามมาตรา 771 ซึ่งเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปของลักษณะเก็บของในคลังสินค้าบัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยฝากทรัพย์มาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะเก็บของในคลังสินค้า จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา671 มาใช้บังคับในคดีนี้โดยอนุโลม โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2538 จึงพ้นกำหนด 6 เดือน แล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าฝากทรัพย์ในคลังสินค้า เริ่มนับจากวันสิ้นสัญญา ไม่ใช่วันขนย้ายสินค้า
บริษัทท.ผู้ฝากของในคลังสินค้าได้สลักหลังใบรับของคลังสินค้าโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่โจทก์รับฝากไว้ไปเป็นของจำเลย และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจำเลยจึงเป็นผู้สวนสิทธิบริษัทท.ผู้ฝาก เมื่อใบประทวนสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาฝากสินค้าว่าสิ้นสุดลงเมื่อใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 774 โจทก์ในฐานะนายคลังสินค้าจะเรียกให้จำเลยผู้สวมสิทธิของบริษัทท.ผู้ฝาก ถอนสินค้าได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้จำเลยทราบล่วงหน้า1 เดือน โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2536 ถึงจำเลยแจ้งว่า อายุของการฝากสินค้าได้สิ้นสุดลงแล้ว ให้จำเลยชำระค่าฝากสินค้าและขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าของโจทก์ ดังนั้น สัญญาย่อมสิ้นสุดตั้งแต่วันครบ 1 เดือนคือวันที่ 18 มีนาคม 2536 และโจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายในอายุความตามกฎหมายนับแต่วันที่สิ้นสุดของสัญญาดังกล่าวมิใช่เริ่มนับอายุความนับแต่วันที่มีการขนย้ายสินค้าออกจาก คลังสินค้า กฎหมายลักษณะเก็บของในคลังสินค้าไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ และตามมาตรา 771 ซึ่งเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปของลักษณะเก็บของในคลังสินค้าบัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยฝากทรัพย์มาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะเก็บของ ในคลังสินค้า จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 671 มาใช้บังคับ ในคดีนี้โดยอนุโลม โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2538จึงพ้นกำหนด 6 เดือน แล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.บำนาญกลับรับราชการใหม่ สิทธิรับเงินบำนาญ/ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลง การแจ้งข้อมูลสำคัญต่อหน่วยงาน
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2500 มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า "ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้ว ภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือน รวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิมต้องลดบำนาญลงในระหว่าง ที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญ ไม่สูงกว่าเดือนเดิม" ดังนั้นเมื่อจำเลยได้รับเงินเดือน ในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิม เมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือน ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน 290 บาท สำหรับเงินช่วย ค่าครองชีพข้าราชการบำนาญจำนวน 63,460 บาท ที่จำเลยรับไป จากโจทก์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2533 นั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2514 จำเลยจึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญพ.ศ. 2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2523 และเป็น หน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับ เข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่น เพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่มและเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับบำนาญและผลกระทบจากการกลับเข้ารับราชการใหม่ รวมถึงหน้าที่แจ้งข้อมูลและการเรียกคืนเงิน
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือนที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน290 บาท และสำหรับเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญที่จำเลยรับไปจากโจทก์ระหว่างวันที่ออกจากราชการนั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกตาม พ.ร.ฏ.ช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2523
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6588/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยมิชอบ
การที่ทนายโจทก์อ้างว่ามีอาการป่วยวิงเวียนศีรษะต้องจอดรถอาเจียนข้างถนนจึงทำให้มาถึงศาลช้าไปนั้น โจทก์ก็รับว่ามาศาลหลังเวลานัดสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที และภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว 10 นาที ถือว่าโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดจึงเป็นกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา ซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง บัญญัติบังคับให้ศาลสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และเมื่อคำสั่งให้จำหน่ายคดีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นได้
เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้จำหน่ายคดีของโจทก์ โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลจำหน่ายคดี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 แล้ว ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้จำหน่ายคดีของโจทก์ โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลจำหน่ายคดี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 แล้ว ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6588/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ไม่ชอบ
การที่ทนายโจทก์อ้างว่ามีอาการป่วยวิงเวียนศีรษะต้องจอดรถอาเจียนข้างถนนจึงทำให้มาถึงศาลช้าไปนั้นโจทก์ก็รับว่ามาศาลหลังเวลานัดสืบพยานโจทก์ประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที และภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีไปแล้ว 10 นาที ถือว่าโจทก์และทนายโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเป็นกรณีโจทก์ขาดนัดพิจารณา ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่งบัญญัติบังคับให้ศาลสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความและเมื่อคำสั่งให้จำหน่ายคดีดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่ง ศาลชั้นต้นได้ เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้จำหน่ายคดีของโจทก์ โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลจำหน่ายคดี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 แล้ว ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6578/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเนื่องจากไม่ชำระค่างวด แม้จะอ้างว่าผู้ขายไม่ดำเนินการจดทะเบียนรถยนต์ให้ถูกต้อง
++ เรื่อง เช่าซื้อ ค้ำประกัน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส 280 ป้ายแดงไปจากโจทก์ในราคา3,855,140.40 บาท แบ่งชำระราคาเป็นงวด งวดละเดือนมีระยะเวลา 60 เดือน เดือนละ 64,252.34 บาท โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพียง 2 งวด และไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้แก่โจทก์อีก
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนมีข้อความระบุว่านายสมชาย วิวัฒน์วิศวกร และนางรัชดา บุญเอกอนันต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ดังนั้นการที่บุคคลทั้งสองมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีตามอำนาจที่มีอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 จึงไม่เป็นโมฆะ
++ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์คงส่งแต่สำเนาจึงรับฟังไม่ได้นั้น ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การพยานโจทก์ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2538ว่า ทนายโจทก์ขอให้ดูหนังสือรับรองดังกล่าวและขอส่งสำเนาแทนศาลหมาย จ.1 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 (1) ++
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
++ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 (ข) ว่า ผู้เช่าซื้อจะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเสียภาษี และเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอและรับป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยมิได้มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้ดังที่อ้าง จึงฟังไม่ขึ้น
++ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาและค่าขาดประโยชน์
++ สำหรับราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาว่าไม่เหมาะสมประการใด ส่วนค่าขาดประโยชน์ซึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ควรให้ได้ไม่เกินเดือนละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ดังอ้าง
++ เห็นว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นเหมาะสมแล้ว ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ในเบื้องต้นว่าเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2537 จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ เอส 280 ป้ายแดงไปจากโจทก์ในราคา3,855,140.40 บาท แบ่งชำระราคาเป็นงวด งวดละเดือนมีระยะเวลา 60 เดือน เดือนละ 64,252.34 บาท โดยมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพียง 2 งวด และไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่เหลือให้แก่โจทก์อีก
++
++ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
++ เห็นว่า ตามเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นหนังสือรับรองการจดทะเบียนมีข้อความระบุว่านายสมชาย วิวัฒน์วิศวกร และนางรัชดา บุญเอกอนันต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ดังนั้นการที่บุคคลทั้งสองมอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ฟ้องคดีตามอำนาจที่มีอยู่ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 จึงไม่เป็นโมฆะ
++ ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้ส่งต้นฉบับหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์คงส่งแต่สำเนาจึงรับฟังไม่ได้นั้น ปรากฏตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในคำให้การพยานโจทก์ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน 2538ว่า ทนายโจทก์ขอให้ดูหนังสือรับรองดังกล่าวและขอส่งสำเนาแทนศาลหมาย จ.1 ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้คัดค้าน ถือได้ว่าคู่ความทุกฝ่ายตกลงกันว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว ศาลจึงรับฟังสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 (1) ++
++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการต่อไปมีว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
++ เห็นว่า ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวมีข้อตกลงในสัญญาข้อ 3 (ข) ว่า ผู้เช่าซื้อจะดำเนินการจดทะเบียนเพื่อเสียภาษี และเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอและรับป้ายทะเบียนรถยนต์ ดังนั้นที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมผ่อนชำระค่าเช่าซื้อต่อไป โดยอ้างว่าโจทก์ไม่สามารถที่จะเอาหลักฐานการจดทะเบียนเสียภาษีเพื่อใช้รถยนต์รวมทั้งการขอรับป้ายทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยมิได้มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุนให้รับฟังได้ดังที่อ้าง จึงฟังไม่ขึ้น
++ ข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อต่อไปจำเลยทั้งสองจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์คันพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาและค่าขาดประโยชน์
++ สำหรับราคารถยนต์ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกาว่าไม่เหมาะสมประการใด ส่วนค่าขาดประโยชน์ซึ่งจำเลยทั้งสองฎีกาว่า ควรให้ได้ไม่เกินเดือนละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองมิได้นำพยานหลักฐานมาสืบให้รับฟังได้ดังอ้าง
++ เห็นว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ซึ่งศาลอุทธรณ์กำหนดให้นั้นเหมาะสมแล้ว ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดบังคับคดี: ราคาประเมิน, การสมรู้กัน, ราคาตลาด, ความชอบด้วยกฎหมาย
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะประเมินราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทไว้ต่ำกว่าราคาประเมินของ สำนักงานวางทรัพย์กลางก็หาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เนื่องจากการประเมินราคาทรัพย์อาจมีความเห็นแตกต่างกันได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทำการประเมินราคามีเจตนาไม่สุจริต การเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดเป็นเรื่องของบุคคลที่สนใจจะเข้าประมูลไม่เกี่ยวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ขายทอดตลาดแต่อย่างใด เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจจะบังคับหรือห้ามมิให้ผู้ใดเข้าสู้ราคา ดังนั้นการที่มีผู้เข้าสู้ราคาน้อยจึงไม่ใช่ข้อแสดงว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยไม่ชอบ การที่ ว. ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมสู้ราคา มิได้เสนอราคาเข้าต่อสู้ มิได้หมายความว่า ว. สมรู้กับผู้เข้าสู้ราคาคนอื่นหรือบุคคลภายนอก เพราะการที่ ว. มิได้เสนอราคาดังกล่าวอาจเป็นเพราะ ว. เห็นว่าราคาในการประมูลสูงเกินไปก็ได้ เมื่อพยานหลักฐานรับฟังไม่ได้ว่าฝ่ายผู้ซื้อทรัพย์สมรู้กับผู้เข้าสู้ราคาคนอื่นและบุคคลภายนอกในการประมูลที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท ทั้งราคาที่ผู้ซื้อทรัพย์ ประมูลได้ก็สูงกว่าราคาประเมินของสำนักงานวางทรัพย์กลางดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ซื้อตามราคาที่ผู้ซื้อเสนอมาจึงเป็นการขายทรัพย์ในราคาที่พอสมควรแล้ว ไม่ต่ำเกินไปกรณีจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายทอดตลาดรายนี้