คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ศรีสง่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องเกิดจากการรับทำการงานต่าง ๆ มีอายุความ 2 ปี นับแต่วันบอกกล่าวทวงถาม
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ในรูปของบัตรเครดิต โดยลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการ เบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้ ซึ่งการให้บริการ ดังกล่าวโจทก์ได้เรียกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม รายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของ สมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง เป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป แม้จำเลย จะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วย ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวเมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ถือได้ว่าโจทก์ เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7) จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แก่โจทก์และบอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม2536 และพ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2539 พ้นกำหนด 2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าทดรองการใช้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปีนับจากวันบอกกล่าวหนี้
โจทก์ประกอบธุรกิจมีวัตถุประสงค์ให้บริการแก่ลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกของโจทก์ในรูปของบัตรเครดิต โดยลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกสามารถนำบัตรเครดิตที่โจทก์ออกให้ไปใช้บริการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากธนาคารโจทก์ได้ ซึ่งการให้บริการดังกล่าวโจทก์ได้เรียกเก็บเงินค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจรับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป แม้จำเลยจะมีข้อตกลงให้โจทก์หักเงินที่โจทก์ได้จ่ายแทนจำเลยจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน โดยให้ถือว่ายอดหนี้ตามบัญชีเป็นการเบิกเงินเกินบัญชีจากโจทก์ด้วย ก็เป็นเพียงข้อตกลงในการชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตดังกล่าว เมื่อหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ตามสัญญาที่เกิดจากบัตรเครดิตมิใช่หนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันหรือบัญชีเดินสะพัด การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7)
จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แก่โจทก์และบอกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2536 และพ้นกำหนดเวลาชำระหนี้ตามหนังสือบอกกล่าวเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2536 สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2539 พ้นกำหนด2 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล และการใช้ดุลพินิจของศาลฎีกาในการไม่จำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยได้แต่งทนายความต่อสู้คดีและให้ว่าความในชั้นขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาแล้ว จึงเห็นสมควรให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ทนายจำเลยแทน ให้โจทก์นำส่งใน 7 วัน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2540โจทก์ได้วางหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยในศาลชั้นต้นโดยศูนย์หน้าบัลลังก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2540 โจทก์ยังยืนยันว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ เนื่องจากจำเลยได้รื้อถอนบ้านอันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยออกไป และในวันนัดไต่สวนคำร้องขออายัดทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษา จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมรับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โจทก์จึงขอให้ศาลสั่งประกาศโฆษณาแจ้งให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้ว จึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174 (2)
กรณีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174(2) ประกอบมาตรา 132 ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดี เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้โจทก์จะทิ้งฟ้อง แต่ยังไม่สมควรจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความได้ว่ากล่าวกันในเนื้อหาแห่งคดีไปเสียทีเดียว ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับ ให้โจทก์จัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้ทนายจำเลยหลังจำเลยแต่งตั้งทนาย และผลของการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยได้แต่งทนายความต่อสู้คดีและให้ว่าความในชั้นขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาแล้วจึงเห็นสมควรให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่ทนายจำเลยแทน ให้โจทก์นำส่งใน 7 วัน โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแต่กลับยื่นคำร้องลงวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2540โจทก์ได้วางหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยในศาลชั้นต้นโดยศูนย์หน้าบัลลังก์แล้ว ทั้ง ๆ ที่ในวันที่16 พฤษภาคม 2540 โจทก์ยังยืนยันว่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยไม่ได้ เนื่องจากจำเลยได้รื้อถอนบ้าน อันเป็นภูมิลำเนาของจำเลยออกไป และในวันนัดไต่สวนคำร้อง ขออายัดทรัพย์ก่อนมีคำพิพากษา จำเลยมาศาลแต่ไม่ยอมรับ หมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โจทก์จึงขอให้ศาลสั่งประกาศ โฆษณาแจ้งให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ ดังนี้ ถือได้ว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควร กำหนดไว้เพื่อการนั้นโดยส่งคำสั่งให้แก่โจทก์โดยชอบแล้วจึงเป็นการทิ้งฟ้องตาม มาตรา 174(2) กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบมาตรา 132 ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดี เป็นแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์แห่งคดีแม้โจทก์จะทิ้งฟ้อง แต่ยัง ไม่สมควรจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความได้ว่ากล่าวกันในเนื้อหา แห่งคดีไปเสียทีเดียว ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับให้โจทก์จัดการนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยใหม่ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6293/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินจากความผิดยาเสพติด: ศาลมีอำนาจริบทรัพย์สินที่ได้จากการกระทำผิด แม้ไม่ได้ระบุในคำฟ้อง
เงินสดของกลางจำนวน 2,860 บาท เป็นเงินที่จำเลย ได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แก่บุคคลอื่นก่อนกระทำความผิดคดีนี้ เงินสดของกลางจำนวน 2,860 บาทจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาโดยได้กระทำความผิดเพราะการขายเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในข้อหาจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแม้ศาลจะไม่มีอำนาจสั่งริบเงินสดของกลางจำนวน2,860 บาท ตามบทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 102 ซึ่งเป็นบทเฉพาะเนื่องจากเงินสดดังกล่าวมิใช่เครื่องมือเครื่องใช้ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษก็ตาม แต่เงินสดของกลางดังกล่าวจำเลยได้มาจากการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้จะไม่ได้มาโดยการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในคดีนี้โดยตรงก็ตามศาลก็มีอำนาจริบเงินสด ของกลางจำนวน 2,860 บาท ได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(2) แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตราดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อเป็นอำนาจของศาลการสั่งริบของกลางดังกล่าวจึงหาเป็นการสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 192 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานเสพและมีเมทแอมเฟตามีนครอบครอง: การพิจารณาเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน โดยจำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธี สูดดมควันและมีเมทแอมเฟตามีนซึ่งติดอยู่ที่กระดาษตะกั่ว มีรอยเผาไหม้จำนวน 1 ชิ้น ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ฟ้องของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมหมายความว่าจำเลยรับว่าได้กระทำความผิดทั้งสองกรรม ซึ่งเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยเสพ และมีไว้ในครอบครองเป็นจำนวนเดียวกันก็ถือว่าการกระทำ ดังกล่าวเป็นความผิดสองกรรม หาใช่กรรมเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนส่ง: สินค้าไม่สูญหาย/เสียหายจากการขนส่ง ไม่ใช่อายุความ 1 ปี
ความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้านั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่ส่งมอบหรือปีหนึ่งนับแต่วันที่ควรจะได้ส่งมอบ เว้นแต่ในกรณีที่มีการทุจริต การที่จำเลยที่ 1 รับจ้างขนส่งสินค้าให้โจทก์เพื่อส่งไปยังกรุงเทพมหานครตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2538ซึ่งโจทก์หรือผู้รับสินค้าของโจทก์สามารถติดต่อรับได้ที่สาขากรุงเทพมหานครของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4เมษายน 2538 แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถติดต่อกับบริษัทผู้รับสินค้าดังกล่าวได้ จึงได้เก็บสินค้าของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน 1 ปี หลังจากนั้นได้ส่งสินค้าดังกล่าวไปที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตแสดงว่าสินค้าของโจทก์มิได้สูญหายหรือบุบสลายอันเนื่องมาจากการขนส่ง ทั้งโจทก์บรรยายฟ้องว่าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1ขนส่งสินค้า เมื่อบริษัทผู้รับสินค้าแจ้งว่าไม่ได้รับสินค้าจากจำเลยทั้งสี่ โจทก์ได้ให้พนักงานติดตามสินค้าไปยังบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 รับจะตรวจสอบสินค้าให้เมื่อไม่ได้สินค้าคืนจึงฟ้องเป็นคดีนี้ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันส่งมอบสินค้าคืน ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาหาได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ 1 ปี สัญญาขนส่ง: ไม่ครอบคลุมกรณีเรียกคืนสินค้าที่ยังไม่สูญหาย/บุบสลาย
อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 ใช้บังคับแก่ความรับผิดของผู้ขนส่งในการที่ของสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งชักช้าเนื่องจากการขนส่งอันเป็นความรับผิดตามสัญญาขนส่ง ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้าของโจทก์ส่งไปถึงสำนักงานของจำเลยที่กรุงเทพ แต่ติดต่อผู้รับสินค้าไม่ได้จึงเก็บสินค้าของโจทก์ไว้เป็นเวลานาน 1 ปี หลังจากนั้นได้ส่งสินค้าไปที่สำนักงานใหญ่ของจำเลยซึ่งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต แสดงว่าสินค้าของโจทก์มิได้สูญหายหรือบุบบสลายอันเนื่องมาจากการขนส่ง เมื่อผู้รับสินค้าแจ้งว่าไม่ได้รับสินค้าจากจำเลย โจทก์ได้ให้พนักงานติดตามสินค้าไปยังจำเลย จำเลยรับจะตรวจสอบสินค้าให้ เมื่อไม่ได้สินค้าคืนจึงฟ้องเป็นคดีนี้ให้จำเลยส่งมอบสินค้าคืน ถ้าคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา โจทก์หาได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุสินค้าสูญหายหรือบุบสลายหรือเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญารับขนไม่ กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 624มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6100/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัย: การขาดการใช้รถยนต์ และการชี้สองสถาน
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยได้หรือไม่เพียงใด และต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมคำให้การว่า ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7.5 ยกเว้นความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยเพิ่มเติมคำให้การได้ทั้งได้ยกขึ้นวินิจฉัยในคำพิพากษาด้วย ฉะนั้น จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคแรกและจำเลยยกข้ออ้างดังกล่าวโต้แย้งเป็นอุทธรณ์ด้วยศาลอุทธรณ์จึงยกขึ้นวินิจฉัยได้ กรมธรรม์ประกันภัยข้อ 3.7 ระบุว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ซึ่งหมายความรวมถึงการที่โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ด้วย ฉะนั้น โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ จากจำเลยผู้รับประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.เล่นแชร์: สิทธิฟ้องร้องของสมาชิกวงแชร์ต่อบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 และมาตรา 7 ได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคลแล้วกฎหมายมิได้ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์แต่อย่างใด และตามบัญญัติมาตรา 7 หาได้จำกัดให้สมาชิกวงแชร์ฟ้องได้เฉพาะคดีแพ่งไม่ เมื่อ พ.ร.บ.การเล่นแชร์มีบทบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้เป็นความผิดทางอาญาด้วย สมาชิกวงแชร์ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการตามมาตรา 6 เป็นคดีอาญาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 จัดขึ้นย่อมถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตามมาตรา 5 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 16 ได้
ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลธรรมดา กรณีต้องด้วยมาตรา 6 และ 7 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามมาตรา 6ซึ่งมีโทษตามมาตรา 17 ได้
of 37