พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7050/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน หากไม่มีเจตนาจัดหางานจริง
ในคดีอาญา ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วย มาตรา 195 วรรคสอง
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่าจำเลยจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการประกาศโฆษณาและชักชวนว่าจำเลยสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะได้เงินเดือนอัตราสูง และจำเลยจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหลายคนแล้ว แต่ผู้สมัครจะต้องจ่ายเงินค่าบริการและค่าจัดส่งให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดส่งคนหางานให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นตามที่หลอกลวงไว้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและ ผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่าจำเลยจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นคนหางานเพื่อทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยจำเลยหลอกลวงประชาชนทั่วไปด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จด้วยการประกาศโฆษณาและชักชวนว่าจำเลยสามารถจัดส่งคนงานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะได้เงินเดือนอัตราสูง และจำเลยจัดส่งคนหางานไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นหลายคนแล้ว แต่ผู้สมัครจะต้องจ่ายเงินค่าบริการและค่าจัดส่งให้จำเลยจำนวนหนึ่ง ความจริงแล้วจำเลยไม่สามารถจัดส่งคนหางานให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นตามที่หลอกลวงไว้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่โจทก์ร่วมและผู้เสียหาย คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากโจทก์ร่วมและ ผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายและความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน: การพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 และ 3
เมทแอมเฟตามีน 2 ถุง จำนวน 4,000 เม็ด ฝังดินอยู่ข้างบ่อน้ำในบริเวณรั้วบ้านของจำเลยที่ 2 ตามที่จำเลยที่ 2 ชี้จุดที่ซุกซ่อน เมทแอมเฟตามีนให้เจ้าพนักงานตำรวจถ่ายรูปไว้ และจำเลยที่ 2 และที่ 3 เสนอให้เงินเจ้าพนักงานตำรวจ 200,000 บาท เพื่อไม่ให้ดำเนินคดีต่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสามีภริยาอาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน แสดงพฤติการณ์ว่าต่างยอมรับการกระทำของแต่ละฝ่ายเป็นการกระทำของตน จึงเป็นตัวการกระทำความผิดด้วยกันในการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะของผู้สืบสันดานเมื่อการสมรสมีข้อบกพร่องและคู่สมรสถึงแก่ความตาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสระหว่างจำเลยกับนาง ส. มารดาโจทก์เป็นโมฆะ โดยอ้างว่า จำเลยจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น โดยหญิงนั้นแอบอ้างชื่อว่าเป็นนาง ส. เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการจดทะเบียนสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดยนาง ส. ไม่ได้ให้ความยินยอมอันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งจะต้องมีคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ โดยคู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1496 ดังนั้น แม้นาง ส. ถึงแก่ความตายทำให้การสมรสสิ้นสุดลงก่อนโจทก์ฟ้อง แต่เมื่อยังปรากฏความเป็นโมฆะอยู่โดยยังไม่มีคำพิพากษาให้เป็นโมฆะ ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดาน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5280/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขอให้การสมรสเป็นโมฆะของผู้สืบสันดาน แม้คู่สมรสฝ่ายหญิงเสียชีวิตแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของ จ. กับ ส. มารดาโจทก์ซึ่งหย่าขาดกันแล้ว ต่อมาจำเลยกับหญิงอื่นที่อ้างชื่อเป็น ส. มารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันโดยมารดาโจทก์มิได้ทราบและมิได้ลงชื่อในฐานะคู่สมรสฝ่ายหญิง และ เด็กหญิง ม. ไม่ได้เป็นบุตรของ ส. และจำเลย ดังนี้ เป็นการกล่าวอ้างว่ามีการจดทะเบียนสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายโดย ส. ไม่ได้ไปให้ความยินยอมโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้อันจะก่อให้เกิดสถานะความเป็นสามีภริยา หากเป็นจริงก็เป็นกรณีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1458 เรื่องให้ความยินยอมในการสมรสย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งจะต้องมีคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ โดยคู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตามมาตรา 1496 ดังนั้น แม้ ส. จะถึงแก่ความตายไปแล้วอันเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. มารดาโจทก์เป็นอันสิ้นสุดลงก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม แต่เมื่อการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ยังปรากฏความเป็นโมฆะอยู่โดยยังไม่มีคำพิพากษาให้เป็นโมฆะเช่นนี้ย่อมกระทบกระเทือนสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสันดานของ ส. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้การสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. เป็นโมฆะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินกู้ยืม, หักกลบลบหนี้รายได้, ดอกเบี้ยทบต้น, การคิดดอกเบี้ยถูกต้อง, ค่าทนายความ
จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์และโจทก์ว่าจ้างจำเลยเป็นผู้บริหารหน่วยงานขายประกันชีวิตของโจทก์แก่ผู้ขอเอาประกันชีวิต โดยจำเลยได้รับเงินเดือนและแบ่งปันผลประโยชน์จากเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตจากลูกค้าที่จำเลยขายได้ เหลือรายได้สุทธิโจทก์ต้องจ่ายให้จำเลยโดยหักกลบลบหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้ค้างชำระ ดังนี้ เมื่อคำให้การจำเลยยอมรับว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมจนถึงวันที่ 16 มกราคม2537 เป็นเงินต้นและดอกเบี้ยทบต้นถึงวันฟ้อง แสดงว่าหนี้เงินที่ค้างชำระคิดถึงวันที่ 16 มกราคม 2537 แต่เงินรายได้ของจำเลยเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 2537 ถึงเดือนกรกฎาคม 2539 เมื่อโจทก์รับว่าจำเลยจะต้องนำเงินรายได้ของจำเลยหักกลบลบหนี้ที่จำเลยค้างชำระให้โจทก์ก่อนเช่นนี้จำเลยย่อมมีสิทธินำเงินรายได้ดังกล่าวหักกลบลบหนี้ที่ค้างชำระตามฟ้องได้
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกให้ชำระต้นเงินกู้ค้างชำระเท่านั้น ส่วนหนี้ค้างชำระอื่น ๆ เช่น การเบิกเงิน เป็นต้น เป็นยอดหนี้ค้างชำระภายหลังที่โจทก์คิดยอดหนี้เงินกู้ตามฟ้องแล้วเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวมาด้วย โจทก์จะนำยอดหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยขอให้นำมาหักกลบลบหนี้กับยอดหนี้ตามฟ้องไม่ได้
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 5 จะกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการเรียกร้องทวงถามในกรณีที่จำเลยผิดสัญญา แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการทวงถามไปอย่างไร ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ชอบแล้ว
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 167และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติให้ศาลต้องสั่ง ที่หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 3 วรรคสองและข้อ 5 ระบุให้ผู้กู้ยืมต้องรับผิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินคดีและการบังคับการชำระหนี้ด้วยนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการตกลงให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินค่าทนายความตามที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกให้ชำระต้นเงินกู้ค้างชำระเท่านั้น ส่วนหนี้ค้างชำระอื่น ๆ เช่น การเบิกเงิน เป็นต้น เป็นยอดหนี้ค้างชำระภายหลังที่โจทก์คิดยอดหนี้เงินกู้ตามฟ้องแล้วเกือบทั้งสิ้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวมาด้วย โจทก์จะนำยอดหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่จำเลยขอให้นำมาหักกลบลบหนี้กับยอดหนี้ตามฟ้องไม่ได้
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 5 จะกำหนดให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการเรียกร้องทวงถามในกรณีที่จำเลยผิดสัญญา แต่ทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่าโจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการทวงถามไปอย่างไร ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่กำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้โจทก์ชอบแล้ว
ค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และมาตรา 167และตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งบัญญัติให้ศาลต้องสั่ง ที่หนังสือสัญญากู้ยืมข้อ 3 วรรคสองและข้อ 5 ระบุให้ผู้กู้ยืมต้องรับผิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวมถึงการดำเนินคดีและการบังคับการชำระหนี้ด้วยนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นการตกลงให้จำเลยต้องชดใช้ค่าทนายความแก่โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง อันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงใช้บังคับมิได้ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้เงินค่าทนายความตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่บิดามารดาในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า แม้มิได้ตกลงในบันทึกข้อตกลง ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าเลี้ยงดูได้
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่งส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งนั้น มีความหมายเพียงว่าในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากมิได้กำหนดศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ และหลังจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงเรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า แม้ไม่มีข้อตกลงระบุจำนวนเงิน ศาลสามารถกำหนดได้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 มิได้หมดสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนหย่า เมื่อบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งมีความหมายเพียงว่า ในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเท่าใด หากสามีและภริยามิได้กำหนดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ในบันทึกข้อตกลง ศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง บทกฎหมายดังกล่าวหาได้หมายความถึงขนาดที่ว่า เมื่อมิได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2941/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดโทษประมวลกฎหมายอาญา ม.91(1) เฉพาะคดีความผิดหลายกรรมที่ฟ้องรวมกัน หรือเกี่ยวพันกัน
คดีที่จะอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1)ซึ่งมีการจำกัดในการลงโทษในความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 10 ปี นั้น หมายถึงคดีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมแล้วโจทก์ฟ้องเป็นคดีเดียวกันหรือคดีที่เกี่ยวพันกัน สามารถรวมการพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้ เนื่องจากลักษณะของความผิดที่กระทำนั้นเกี่ยวพันกัน แต่โจทก์แยกฟ้องมาหลายคดี
จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อพลอยให้แก่โจทก์ร่วมหลายครั้งและยักยอกทรัพย์โจทก์ร่วมเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดี จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1) ในเรื่องการจำกัดระยะเวลาในการลงโทษจำคุก
จำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าซื้อพลอยให้แก่โจทก์ร่วมหลายครั้งและยักยอกทรัพย์โจทก์ร่วมเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดี จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(1) ในเรื่องการจำกัดระยะเวลาในการลงโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุจำเลยขณะทำผิดมีผลต่อการลงโทษและมาตรการเยาวชน ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา
ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุเพียง 13 ปีเศษ หาใช่ 14 ปีเศษดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ จำเลยจึงไม่ต้อง รับโทษตาม ป.อ. มาตรา 74 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยโดยเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและ วิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทน ข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) ก. ประกอบด้วยมาตรา 247 และ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่จำเลย มีอายุครบ 18 ปีแล้ว กรณีไม่อาจส่งตัวจำเลยไปเพื่อฝึกและอบรมตามมาตรา 74 (5) ได้ แต่สมควรให้ดำเนินการตามมาตรา 74 (2) และ (3) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกามา ศาลฎีกา ก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การตีความข้อความใส่ร้ายว่าทำให้เสียชื่อเสียงและเข้าข่ายความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยกับพวกตาม ป.อ. มาตรา 326 , 328 , 332 และ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 , 48 โดยบรรยายข้อความที่จำเลยที่ 2 ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ตามที่จำเลยที่ 1 ให้ข่าวในคำฟ้องว่า "? ซึ่งเป็นการทำซ้ำ
หลักฐานที่ชุดสอบสวนเดิมมอบให้ พล.ต.ต.ส. เท่ากับว่า พล.ต.ต.ส. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต?" คำว่า โดยทุจริตนั้นมีความหมายว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น แม้จะไม่มี รายละเอียดว่าทุจริตอย่างไรก็เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โด้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามรูปคดี
หลักฐานที่ชุดสอบสวนเดิมมอบให้ พล.ต.ต.ส. เท่ากับว่า พล.ต.ต.ส. ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต?" คำว่า โดยทุจริตนั้นมีความหมายว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น แม้จะไม่มี รายละเอียดว่าทุจริตอย่างไรก็เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่าโจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โด้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งอาจทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ สมควรที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามรูปคดี