พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้บัตรเครดิต: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 2 ปี หากเป็นค่าทดรองจ่าย ไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและขอสมัครเป็น ผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้วจำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักโอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันบัตรเครดิตต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน ปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น การที่ จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หัก เงิน ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวตาม พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัดและเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระ เงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อนแล้วจึงเรียก เก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ10 ปีแต่อย่างใด เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโดยการหักบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่มีอยู่กับโจทก์ ซึ่งโจทก์จะแจ้งรายการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยทราบตามใบแจ้งหักบัญชี เมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าจะหักบัญชีในวันที่ 6 ธันวาคม 2534เท่ากับว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว ดังนั้นการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าจำเลย ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่5 เมษายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการใช้บัตรเครดิต: มิใช่บัญชีเดินสะพัด แต่เป็นการรับทำการงานทดรองจ่าย
จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและขอสมัครเป็นผู้ถือบัตรเครดิตของโจทก์ โดยโจทก์และจำเลยตกลงเงื่อนไขการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตว่า เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้เรียกเก็บเงินจากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องใช้เงินที่โจทก์จ่ายแทนไปดังกล่าวโดยวิธีการให้โจทก์หักโอนชำระจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันบัตรเครดิต ต่อมาจำเลยได้ใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและค่าบริการต่าง ๆ ตลอดจนเบิกเงินสดตามข้อตกลงในสัญญาการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ แล้วจำเลยส่งเงินชำระหนี้ให้โจทก์ไม่ครบจำนวน ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เฉพาะที่ใช้บัตรเครดิตเท่านั้น การที่จำเลยเปิดบัญชีกระแสรายวันไว้ก็เพียงเพื่อให้โจทก์หักเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากบัญชีกระแสรายวันดังกล่าวตามพฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่บัญชีเดินสะพัด และเมื่อตามสัญญาและเงื่อนไขการใช้บัตรเครดิตของโจทก์ จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการออกบัตรเครดิต และจำเลยสามารถนำบัตรเครดิตไปซื้อสินค้าจากร้านที่ตกลงรับบัตรเครดิตของโจทก์โดยไม่ต้องชำระเงินสด เมื่อร้านค้าเรียกเก็บเงิน โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนจำเลย แล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยในภายหลัง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้จำเลย และการที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าหนี้ของจำเลยไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง จึงเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความ2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (7) มิใช่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดอันมีอายุความ 10 ปีแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโดยการหักบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่มีอยู่กับโจทก์ ซึ่งโจทก์จะแจ้งรายการการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยทราบตามใบแจ้งหักบัญชี เมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าจะหักบัญชีในวันที่ 6 ธันวาคม2534 เท่ากับว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 5 เมษายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงวิธีการชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตของจำเลยโดยการหักบัญชีกระแสรายวันหรือบัญชีเงินฝากทุกประเภทของจำเลยที่มีอยู่กับโจทก์ ซึ่งโจทก์จะแจ้งรายการการใช้บัตรเครดิตให้จำเลยทราบตามใบแจ้งหักบัญชี เมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าจะหักบัญชีในวันที่ 6 ธันวาคม2534 เท่ากับว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดเวลาดังกล่าว ถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ย่อมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตนได้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 5 เมษายน 2539 พ้นกำหนด 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายจัดหางานย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 91 ตรี แห่งพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ยังไม่มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำมาตรา 91 ตรี มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายจัดหางานย้อนหลังไม่ได้ แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งขณะนั้นพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ยังไม่มีผลใช้บังคับกรณีจึงนำมาตรา 91 ตรี มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นร้องขอประชุมวิสามัญ หากคณะกรรมการไม่ดำเนินการภายใน 30 วัน ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเรียกประชุมเองได้
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ ฯลฯ ก็ให้ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วันผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญเมื่อคณะกรรมการไม่ดำเนินการตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ฯลฯ ก็ให้ถือตาม ป.พ.พ.ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วัน ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะทั้งหมด แม้ทุนกองกลางเกินกำหนด นายวงแชร์/ผู้จัด ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิในทางแพ่ง แต่สมาชิกสามารถฟ้องร้องได้
แม้เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534ไม่ประสงค์ให้นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งเอากับสมาชิกวงแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 6 ก็ตาม แต่ในมาตรา 7ก็บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้ย่อมแสดงว่ากฎหมายมิได้กำหนดว่าการเล่นแชร์ ดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด การที่โจทก์จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมเล่นแชร์มีการประมูลแชร์ระหว่างกันมาตลอดและจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ด้วยกันการที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์มีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างกัน และย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 ดังกล่าว ฉะนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ ของโจทก์จำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 เมื่อธนาคาร ตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่าย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คดังกล่าวให้โจทก์ โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์จริง แต่โจทก์ไม่ชำระหนี้แทน จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์จำเลยเป็นฝ่ายยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นมาใหม่เพื่อต่อสู้กับโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์เพียงใดหรือไม่และให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงหมายความรวมถึงกำหนดให้จำเลยนำสืบว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ตอบแทนโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ให้จำเลยด้วยจำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบตามที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งกำหนดหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมการเล่นแชร์ไม่ตกเป็นโมฆะ แม้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.เล่นแชร์ ผู้สั่งจ่ายเช็คต้องรับผิดตามเช็ค
แม้เจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ไม่ประสงค์ให้นายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่งเอากับสมาชิกวงแชร์ที่กระทำการฝ่าฝืน มาตรา 6 ก็ตาม แต่ในมาตรา 7 ก็บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ที่จะฟ้องคดี หรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ได้ ย่อมแสดงว่ากฎหมายมิได้กำหนดว่าการเล่นแชร์ดังกล่าวตกเป็นโมฆะเสียทั้งหมด การที่โจทก์จำเลยกับพวกซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมล่นแชร์มีการประมูลแชร์ระหว่างกันมาตลอด และจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกวงแชร์ด้วยกันการที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นลูกวงแชร์มีเจตนาที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างกัน และย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 6 ดังกล่าว ฉะนั้น นิติกรรมการเล่นแชร์ของโจทก์จำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 173 เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิสธการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่าย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์จริง แต่โจทก์ไม่ชำระหนี้ตอบแทน จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์ จำเลยเป็นฝ่ายยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นมาใหม่เพื่อต่อสู้กับโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์พียงใดหรือไม่และให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงหมายความรวมถึงกำหนดให้จำเลยนำสืบว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ตอบแทนโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ให้จำเลยด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบตามที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งกำหนดหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์จริง แต่โจทก์ไม่ชำระหนี้ตอบแทน จำเลยจึงไม่ต้องชำระหนี้ตามเช็คให้โจทก์ จำเลยเป็นฝ่ายยกข้ออ้างดังกล่าวขึ้นมาใหม่เพื่อต่อสู้กับโจทก์ ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยจะต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้โจทก์พียงใดหรือไม่และให้จำเลยมีหน้าที่นำสืบก่อน จึงหมายความรวมถึงกำหนดให้จำเลยนำสืบว่า จำเลยมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ตอบแทนโจทก์เพราะโจทก์ไม่ได้ชำระหนี้ให้จำเลยด้วย จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบตามที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งกำหนดหน้าที่นำสืบของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์: เจ้าหนี้ต้องรับผิดเมื่อยึดทรัพย์ผิดพลาดและศาลสั่งปล่อยทรัพย์
โจทก์ขอให้บังคับคดีและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์รายการที่ 1 ต่อมาผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้องว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของตน ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด และคำพิพากษาดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดี ไปยึดทรัพย์ จึงเป็นการกระทำของโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลย อีกทั้งตามรายงานการยึดก็ปรากฏว่า ผู้แทนโจทก์เป็นผู้ชี้ให้ยึดโดยยืนยันว่าเป็นทรัพย์ของจำเลยจริง หากเกิดความเสียหายผู้แทนโจทก์ยินยอมรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าทรัพย์ดังกล่าวไม่ใช่ของจำเลย ไม่อาจนำไปขายทอดตลาดได้และต้องปล่อยทรัพย์ที่ยึดไป โจทก์จึงมีหน้าที่ ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 และตาราง 5 ข้อ 3 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยกรณีรถชนจากความประมาทของผู้อื่น
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้า และเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โจทก์จึงชำระค่าเสียหายให้ลูกค้าไป ดังนี้เมื่อทรัพย์ที่เสียหายอยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกค้าไปตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิในความเสียหายนั้นและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถบรรทุกของนายจ้างผู้กระทำละเมิดได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ส. และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ.ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของ ส. และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ.ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วย เช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ ส.ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย