พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4368/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับช่วงสิทธิจากความเสียหายทางละเมิด และอายุความฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์ซึ่งบรรทุกสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้า และเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับ จำเลย โจทก์จึงชำระค่าเสียหายให้ลูกค้าไป ดังนี้เมื่อทรัพย์ที่เสียหายอยู่ในความครอบครองของโจทก์และโจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย แก่ลูกค้าไปตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิในความเสียหายนั้นและมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย รถบรรทุกของนายจ้างผู้กระทำละเมิดได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดจากความประมาทของส.และจำเลยเป็นบริษัทที่รับประกันภัยไว้ได้ขอเข้ามาชดใช้ค่าเสียหาย แต่ก็บ่ายเบี่ยงผัดผ่อนตลอดมา โดยโจทก์ได้แนบบันทึกถ้อยคำของ อ. ตัวแทนของจำเลยมาท้ายฟ้อง ซึ่งปรากฏรายละเอียดว่า จำเลยมิได้ ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ แต่ต้องการให้โจทก์แสดงรายการของสินค้าที่เสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุด้วยเช่นนี้ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องและมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้อง ไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย รถยนต์คันที่ ส. ขับ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 จึงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของพนักงานธนาคารจากความประมาทเลินเล่อในการดูแลตู้นิรภัย
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคาร ก. มีหน้าที่รักษากุญแจตู้นิรภัยอันเป็นที่เก็บเงินตราต่างประเทศคนละ 1 ดอก และต้องใช้กุญแจทั้งสองดอกเปิดประตูนิรภัยพร้อมกัน จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบรหัสการเปิดตู้นิรภัย เมื่อการที่เงินตราต่างประเทศซึ่งเก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยสูญหายไปโดบไม่ปรากฏการงัดแงะย่อมเกิดจากการที่มีผู้ใช้กุญแจเปิดตู้นิรภัยและทราบรหัวสเปิดตู้นิรภัยเอาเงินตราไปหรือเกิดจากการเปิดตู้นิรภัยไว้แล้วไม่มีการปิดล็อกดังเดิม นอกจากนี้การเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัย ธนาคาร ก.ได้มีระเบียบให้พนักงานธนาคารเก็บรักษากุญแจคนละดอกเพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานและเพื่อให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ซึ่งทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต่างทราบระเบียบของธนาคารดังกล่าวดี แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมักมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้เปิดตู้นิรภัยโดยไม่กระทำร่วมกัน โดยเฉพาะในวันศุกร์ก่อนวันหยุดทำการซึ่งเป็นวันเกิดเหตุนั้นเอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้เคร่งครัดปฏิบัติตามระเบียบของธนาคารในการที่จะรักษาครอบครองกุญแจตู้นิรภัย รวมทั้งการตรวจตราปิดเปิดล็อกตู้นิรภัยเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงและเป็นเหตุให้เงินตราที่เก็บไว้ในตู้นิรภัยสูญหายไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันละเมิดต่อธนาคาร ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4328/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานธนาคารต่อการสูญหายของเงินในตู้นิรภัย และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นพนักงานของธนาคาร ก.มีหน้าที่รักษากุญแจตู้นิรภัยอันเป็นที่เก็บเงินตราต่างประเทศคนละ 1 ดอก และต้องใช้กุญแจทั้งสองดอกเปิดประตูนิรภัยพร้อมกัน จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบรหัส การเปิดตู้นิรภัย การที่เงินตราต่างประเทศซึ่งเก็บรักษาไว้ใน ตู้นิรภัยสูญหายไปโดยไม่ปรากฏการงัดแงะย่อมเกิดจากการที่มีผู้ใช้กุญแจเปิดตู้นิรภัยและทราบรหัส เปิดตู้นิรภัยเอา เงินตราไปหรือเกิดจากการเปิดตู้นิรภัยไว้แล้วไม่มีการปิดล็อกดังเดิม นอกจากนี้การเก็บรักษากุญแจตู้นิรภัย ธนาคาร ก.ได้มีระเบียบให้พนักงานธนาคารเก็บรักษากุญแจคนละดอกเพื่อป้องกันการทุจริตของพนักงานและเพื่อให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ซึ่งทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ต่างทราบระเบียบของธนาคารดังกล่าวดี แต่ด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมักมอบหมายให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้เปิดตู้นิรภัยโดยละเว้นไม่กระทำร่วมกันโดยเฉพาะในวันศุกร์ก่อนวันหยุดทำการซึ่งเป็นวันเกิดเหตุนั้นเอง จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้เคร่งครัดปฏิบัติ ตามระเบียบของธนาคารในการที่จะรักษาครอบครองกุญแจตู้นิรภัยรวมทั้งการตรวจตราปิดล็อกตู้นิรภัยจึงเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงและเป็นเหตุให้เงินตราที่เก็บไว้ในตู้นิรภัยสูญหายไป การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการร่วมกันละเมิดต่อธนาคาร ก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน หากฟ้องไม่ชัดเจน แม้จำเลยรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 19 ด้วย และหากโจทก์ฟ้องด้วยวาจามีข้อเท็จจริง ดังกล่าวแล้ว ศาลก็จะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ เข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมานัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบ ความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัดจำเลยรับหมายนัดแล้ว และมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้อง เพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้ เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีทหารกองเกินหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ต้องระบุหมายนัดและการขัดขืนอย่างชัดเจน
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ด้วยและหากโจทก์ฟ้องด้วยวาจามีข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ศาลก็จะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป
การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมายนัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัด จำเลยรับหมายนัดแล้วและมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540 แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมายนัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัด จำเลยรับหมายนัดแล้วและมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540 แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4110/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่ค่าเสียหายจากการใช้รถ แต่เป็นผลจากการเลิกสัญญา
ค่าเสื่อมราคาที่โจทก์เรียกร้องมาในฟ้องคือราคารถพิพาทที่ยึดคืนขายได้น้อยกว่าราคาเช่าซื้อที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิด ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ ไม่ใช่ฟ้องเรียกร้อง ให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสื่อมราคาของรถพิพาทเนื่องจาก การใช้ของจำเลยที่ 1 การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้เป็นผล มาจากการเลิกสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อและประกันภัย: สิทธิโอนได้หากไม่ขัด ป.พ.พ. และไม่มีข้อโต้แย้ง
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาประกันภัยจากว.โดยได้แจ้งให้ผู้ให้เช่าซื้อทราบ และผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบแล้ว ถือได้ว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยแล้ว เมื่อการโอนในกรณีนี้ ป.พ.พ.มาตรา 875 มิได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือและจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนสิทธิแต่อย่างใด ฉะนั้นสิทธิตามสัญญาประกันภัยจึงโอนไปยังโจทก์
ว.เพียงแต่โอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ส.ผู้ให้เช่าซึ่งมิได้เปลี่ยนไปยังโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้เอาประกันภัยโดนรถยนต์ให้บุคคลอื่นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.13 กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นผล
ว.เพียงแต่โอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ส.ผู้ให้เช่าซึ่งมิได้เปลี่ยนไปยังโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้เอาประกันภัยโดนรถยนต์ให้บุคคลอื่นตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 1.13 กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อและประกันภัย การแจ้งให้ผู้รับประกันทราบ และผลต่อการสิ้นสุดของกรมธรรม์
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และสัญญาประกันภัยจาก ว.โดยได้แจ้งให้ผู้ให้เช่าซื้อทราบ และผู้ให้เช่าซื้อได้แจ้งให้จำเลยผู้รับประกันภัยทราบแล้วถือได้ว่าโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงการโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยแล้ว เมื่อการโอนในกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875มิได้บังคับให้ทำเป็นหนังสือและจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนสิทธิแต่อย่างใดฉะนั้น สิทธิตามสัญญาประกันภัยจึงโอนไปยังโจทก์
ว. เพียงแต่โอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ส. ผู้ให้เช่า ซึ่งมิได้เปลี่ยนไปยังโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นผล
ว. เพียงแต่โอนสิทธิการเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่โจทก์เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันดังกล่าวเป็นของบริษัท ส. ผู้ให้เช่า ซึ่งมิได้เปลี่ยนไปยังโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยจึงไม่สิ้นผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับได้, ศาลรับฟังเอกสารเพิ่มเติมเพื่อความยุติธรรม
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสารฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสารหมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.11แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา87 (2)
เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสารหมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหมาย จ.11แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับเอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานค้ำประกัน: รวมเอกสารหลายฉบับใช้ได้ แม้ไม่ได้ระบุในบัญชีพยาน
คำว่าหลักฐานเป็นหนังสือที่จะรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการ ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสอง กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องมีข้อความบรรจุอยู่ในเอกสาร ฉบับเดียวกัน อาจเป็นข้อความที่รวบรวมจากเอกสารหลายฉบับ ที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ เอกสารหมาย จ.17 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ยินยอมเป็น ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ และในเอกสาร หมาย จ.11 มีข้อความว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้ต่อโจทก์ เอกสารทั้งสองฉบับนี้ย่อมรับฟังประกอบกันเป็นหลักฐานแห่งการค้ำประกันได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์กรณีมิใช่ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าเอกสารหมาย จ.11 ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การรับว่าได้ลงลายมือชื่อ ในเอกสารหมาย จ.11 แต่ไม่ได้ค้ำประกันการชำระหนี้ ของจำเลยที่ 1 จึงต้องนำเอกสารหมาย จ.17 มาฟังประกอบกับ เอกสารหมาย จ.11 ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ ของลูกหนี้รายใดต่อโจทก์ เอกสารหมาย จ.17 จึงเป็นหลักฐาน อันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ระบุอ้างเอกสารหมาย จ.17 เป็นพยานไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันเป็นการ ฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานเอกสารดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟัง เอกสารหมาย จ.17 ได้ตามมาตรา 87(2)