คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชวลิต ศรีสง่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 370 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ และการฟ้องคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการพิสูจน์เอกสารรับสภาพหนี้
จำเลยอ้างว่ามีที่อยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ตามสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน แต่ขณะที่เจ้าหน้าที่ศาลไปส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์ หมายนัดฟังคำพิพากษา และอื่น ๆให้แก่จำเลยที่บ้านในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่าคนข้างบ้าน บุตรสาว และคนในบ้านของจำเลยแจ้งว่าจำเลยไปธุระต่างจังหวัดบ้าง ไปธุระนอกบ้านบ้างทุกครั้งแสดงว่าจำเลยอยู่ที่บ้านที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบกับบ้านที่จังหวัดนครสวรรค์นั้นถูกรื้อไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยเองว่า จำเลยอาศัยอยู่ที่บ้านของพี่สาวเมื่อเดินทางไปที่จังหวัดนครสวรรค์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยมีถิ่นที่อยู่สองแห่ง คือที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งถือว่าทั้งสองแห่งนั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 ฉะนั้น ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเพชรบูรณ์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์โดยเจ้าหนี้เพื่อบังคับหนี้ มิใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ หากเป็นการกระทำโดยเปิดเผยและมีเจตนาให้ชำระหนี้
จำเลยขายรถยนต์และเครื่องนวดข้าวให้โจทก์ โจทก์ชำระเงินแล้วบางส่วนและยังค้างชำระส่วนที่เหลือ หลังจากนั้น 7 เดือนเศษจำเลยกับพวกไปหาโจทก์ที่บ้านแต่ไม่พบ แต่ได้บอกภริยาบุตรและน้องชายโจทก์ว่าจะเอารถยนต์และเครื่องนวดข้าวไป แล้วได้ยึดรถยนต์และเครื่องนวดข้าวกลับไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยเพราะโจทก์ยังชำระเงินส่วนที่เหลือไม่ครบ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อำนาจบังคับตามสิทธิของเจ้าหนี้โดยพลการ มิได้ดำเนินการฟ้องร้องบังคับให้ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการกระทำโดยเจตนาให้โจทก์ลูกหนี้ใช้หนี้ค่ารถยนต์และเครื่องนวดข้าวที่ค้างชำระเท่านั้น หาได้มีเจตนาลักเอาไปโดยทุจริตไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเกินเนื้อที่ตกลง, ความรับผิดของผู้ซื้อร่วม, ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 107 ตารางวา แต่จดทะเบียนโอนเกินกว่าที่ตกลงไป 11 ตารางวา ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียน หรือให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่าราคาที่ดินตารางวาละ 120,000 บาท เมื่อศาลเห็นว่าคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินไม่สามารถเพิกถอนได้ ก็ยกคำขอส่วนนี้ และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,320,000 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องที่ว่า หากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจบังคับได้ขอให้จำเลยชำระค่าที่ดิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อเพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ ก็ขอให้จำเลยชดใช้ค่าที่ดินส่วนที่เกินได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณไว้ ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวา แต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้น เมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดินเกินเนื้อที่ตกลง ศาลพิพากษาให้ชำระราคาที่ดินส่วนเกินได้ ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจากโจทก์เนื้อที่ 107 ตารางวา แต่จดทะเบียนโอนเกินกว่าที่ตกลงไป 11 ตารางวาขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนหรือให้จำเลยชำระค่าเสียหายเท่าราคาที่ดินตารางวาละ 120,000 บาท เมื่อศาลเห็นว่าคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินนั้น ไม่สามารถเพิกถอนได้ ก็ยกคำขอส่วนนี้และพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 1,320,000 บาท ตามคำขอท้ายฟ้องที่ว่าหากสภาพแห่งหนี้ไม่อาจบังคับได้ขอให้จำเลยชำระค่าที่ดิน ซึ่งหมายความว่าเมื่อเพิกถอนนิติกรรมไม่ได้ก็ขอให้จำเลยชดใช้ค่าที่ดินส่วนที่เกินได้ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
สัญญาขายเหมาคือสัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อตกลงซื้อทรัพย์สินที่ผู้ขายเสนอขายหมดทั้งจำนวนในราคาที่ตกลงกัน ซึ่งผู้ซื้อต้องผูกพันชำระราคาและผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดตามที่ตกลงกันไว้ทั้งนี้ไม่ว่าทรัพย์สินที่ซื้อขายจะมีปริมาณมากหรือน้อยกว่าที่คิดคำนวณได้ดังนั้น เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุตัวทรัพย์และส่วนของทรัพย์ที่จะซื้อจะขายไว้แน่นอน คือที่ดินเนื้อที่ 107 ตารางวาแต่ในส่วนของราคาระบุว่าให้เพิ่มหรือลดลงได้ตามเนื้อที่ซึ่งยังไม่แน่นอนว่าจะมีราคาเท่าใด จึงไม่ใช่สัญญาขายเหมา
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 ตกลงกันว่าจะสร้างอาคารพาณิชย์บนที่ดินของโจทก์ จึงให้จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ระหว่างนั้นได้ดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทจำเลยที่ 2 ขึ้น โดยมีจำเลยที่ 3เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและจำเลยที่ 1 เป็นผู้เริ่มก่อการและผู้ถือหุ้นเมื่อถึงกำหนดก็จดทะเบียนโอนที่ดินเป็นชื่อจำเลยที่ 3 พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 3 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของโจทก์จึงต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์ทันที แต่ต้องปิดเมื่ออ้างเป็นหลักฐาน ศาลต้องให้โอกาสสืบพยานก่อนพิพากษา
ประเด็นเรื่องหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ไม่ได้บังคับว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นเอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้อง ดังนั้น แม้ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจะไม่มีหนังสือมอบอำนาจแนบมาด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพียงแต่ว่าเมื่อใดโจทก์อ้างหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จะต้องปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์และขีดฆ่าแล้ว ศาลจึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เมื่อโจทก์อ้างในคำฟ้องว่ามอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนเท่านั้นซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ให้โอกาสโจทก์สืบพยานก่อนจึงไม่ชอบ
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 จึงเป็นการอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามมาตรา 229: จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เท่ากับให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8840/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และคำขอท้ายฟ้องระบุให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เท่ากับโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวนั้น เป็นผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 และ 1087

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้อง, พยานหลักฐานจากการล่อซื้อ, และการปรับบทลงโทษสำหรับความผิดของเจ้าพนักงานรัฐวิสาหกิจ
หลังจากสืบพยานจำเลยเสร็จแล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องโดยแก้ฐานความผิดว่าจำเลยเป็นพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับฐานะและอาชีพของจำเลยซึ่งจำเลยทราบดีอยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควร และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้วเป็นวิธีการแสดงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลยและไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐ จึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 และ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8187/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องแก้ฐานความผิดของจำเลยที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และการใช้พยานหลักฐานจากการล่อซื้อยาเสพติด
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่งบัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น" และมาตรา 164 บัญญัติว่า"คำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องนั้น ถ้าจะทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ห้ามมิให้ศาลอนุญาต แต่การแก้ฐานความผิด การเพิ่มเติมฐานความผิด ไม่ว่าจะทำเช่นนี้ในระยะใดระหว่างการพิจารณาในศาลชั้นต้นมิให้ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบ เว้นแต่จำเลยได้หลงต่อสู้ในข้อที่ผิดหรือที่มิได้กล่าวไว้นั้น" เมื่อโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่าจำเลยเป็นพนักงานองค์การรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นการแก้ฐานความผิด ทั้งเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับฐานะและอาชีพของจำเลยซึ่งจำเลยทราบดีอยู่แล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงต่อสู้ ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
การที่เจ้าพนักงานตำรวจใช้สายลับนำเงินไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยซึ่งมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอยู่แล้ว เป็นวิธีการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้ว มิได้ล่อหรือชักจูงใจให้จำเลยกระทำความผิดอาญาที่จำเลยไม่ได้กระทำความผิดมาก่อน การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการกระทำที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และไม่เข้าข้อต้องห้ามอ้างเป็นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 226
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำผิดขณะเป็นพนักงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานของรัฐจึงต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดดังกล่าวตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100 และพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 แต่กลับไม่ได้ปรับบทลงโทษตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาวุธปืนป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นการพยายามฆ่าผู้อื่น
จำเลยยิง ด. ด้วยอาวุธปืนลูกซองสั้นของกลาง โดยอาวุธปืนที่ใช้ยิงเป็นอาวุธปืนลูกซองสั้นขนาด 12 ซึ่งเป็นขนาดที่มีลำกล้องใหญ่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ในปัจจุบันแต่เป็นอาวุธปืนที่ประกอบขึ้นเอง ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีความแม่นยำ กระสุนปืนที่จำเลยใช้ยิงเป็นกระสุนลูกปรายยิงนัดเดียวถูกหลายคนหลายที่ และเม็ดลูกปรายมีขนาดใหญ่สามารถทำให้กระดูกของผู้เสียหายคนหนึ่งที่ถูกยิงถึงกับแตกและหักได้ ผู้เสียหายทั้งสามอยู่ห่างจำเลยออกไปไกลพอสมควร ในระยะที่เม็ดกระสุนลูกปรายกระจายตัวขยายวิถีกระสุนบานออกไปแล้ว ระยะยิงน่าจะห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตรขึ้นไป หากจำเลยเพียงแต่ใช้อาวุธปืนขู่และห้าม ด.ไม่ให้เข้ามาหรือยิงขู่น่าจะเพียงพอที่จะยับยั้ง ด.ให้เกรงกลัวและหลบหนีไป แต่จำเลยกลับใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นขนาดใหญ่ที่มีอานุภาพประหัตประหารแต่ควบคุมวิถีกระสุนไม่ได้ยิงสาดใส่เข้าไปในทิศทางที่มิได้มีแต่ ด. ที่จะเข้ามาทำร้ายจำเลยคนเดียว จึงเห็นว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน การที่จำเลยยิงเข้าใส่กลุ่มคนต้องถือว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าบุคคลทุกคนในกลุ่มนั้น เพราะย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำอยู่แล้วว่า อาจทำให้ทุกคนที่ถูกกระสุนลูกปรายดังกล่าวถึงแก่ความตายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสามไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยป้องกันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกัน
of 37