พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: กำหนดเวลาการก่อสร้างเป็นสาระสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญาเมื่อก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดพิพาทโดยมุ่งหมายจะได้รับประโยชน์จากการใช้สอยและยังมั่นใจว่าโครงการจะต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามที่ระบุเอาไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดและตามคำโฆษณาของจำเลย ฉะนั้น กำหนดระยะเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของสัญญา การที่จำเลยก่อสร้างห้องชุดพิพาทไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดตามสัญญาเนื่องมาจากผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการล่าช้าจนต้องจัดหาผู้รับเหมารายใหม่มาดำเนินการแทนนั้น จำเลยในฐานะเจ้าของโครงการขนาดใหญ่และเป็นผู้คัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างย่อมจะต้องจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีความสามารถและควบคุมกวดขันให้ผู้รับเหมาก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ต่อโจทก์การที่จำเลยทราบว่าผู้รับเหมาก่อสร้างล่าช้า แต่จำเลยกลับไม่รีบ ดำเนินการแก้ไขเพื่อให้อาคารชุดที่ก่อสร้างเสร็จทันภายในกำหนดและ สามารถส่งมอบห้องชุดพิพาทให้แก่โจทก์ผู้จะซื้อได้ ความล่าช้าในการ ก่อสร้างจึงถือว่าเป็นความบกพร่องของจำเลยเอง หาใช่กรณีมีเหตุจำเป็น ที่จะเป็นเหตุให้จำเลยขยายกำหนดเวลาก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา ออกไปได้
ที่จำเลยอ้างว่า แม้จำเลยก่อสร้างแล้วเสร็จตามกำหนดโจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์และเข้าครอบครองห้องชุดพิพาทได้เนื่องจากต้องรอการจดทะเบียนอาคารชุดและโอนกรรมสิทธิ์ก่อนนั้นการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดก็ดี การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ดี ล้วนเป็นข้อกำหนดในสัญญาอีกขั้นตอนหนึ่งแยกออกจากกันกับกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา จะนำมาเกี่ยวพันกันหาได้ไม่ การที่จำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกำหนดจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาท
เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จจนเลยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
ที่จำเลยอ้างว่า แม้จำเลยก่อสร้างแล้วเสร็จตามกำหนดโจทก์ก็ไม่สามารถรับโอนกรรมสิทธิ์และเข้าครอบครองห้องชุดพิพาทได้เนื่องจากต้องรอการจดทะเบียนอาคารชุดและโอนกรรมสิทธิ์ก่อนนั้นการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดก็ดี การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ดี ล้วนเป็นข้อกำหนดในสัญญาอีกขั้นตอนหนึ่งแยกออกจากกันกับกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญา จะนำมาเกี่ยวพันกันหาได้ไม่ การที่จำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในกำหนดจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ต้องคำนึงถึงกำหนดระยะเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาท
เมื่อจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จจนเลยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายจึงเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายห้องชุด: การไม่ก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดถือเป็นการผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อขายห้องชุดระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า ผู้จะขายตกลงจะทำการก่อสร้างอาคารชุดจนแล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 20 เดือน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2538 แต่การจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดก็ดี การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดแก่โจทก์ก็ดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งแยกออกจากกำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จได้ทั้งการที่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาจะซื้อจะขายแล้วโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาในขณะนั้น เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังในวันที่ 22 พฤษภาคม 2540 ก็มิใช่กรณีที่คู่สัญญามิได้ถือเอาระยะเวลามาเป็นสาระสำคัญในการชำระหนี้ เมื่อจำเลยไม่ก่อสร้างให้แล้วเสร็จจนเลยระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา จึงเป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องปิดอากรแสตมป์ทันที แต่ต้องปิดเมื่ออ้างเป็นหลักฐาน ศาลต้องให้โอกาสสืบพยานก่อนพิพากษา
ประเด็นเรื่องหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์มิได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 ไม่ได้บังคับว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเป็นเอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับคำฟ้อง ดังนั้น แม้ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจะไม่มีหนังสือมอบอำนาจแนบมาด้วยก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพียงแต่ว่าเมื่อใดโจทก์อ้างหนังสือมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐาน โจทก์จะต้องปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์และขีดฆ่าแล้ว ศาลจึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เมื่อโจทก์อ้างในคำฟ้องว่ามอบอำนาจให้ บ. ฟ้องคดีแทนเท่านั้นซึ่งโจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ให้โอกาสโจทก์สืบพยานก่อนจึงไม่ชอบ
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 จึงเป็นการอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 จึงเป็นการอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามมาตรา 229: จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้นและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เท่ากับให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้พิจารณาคดีใหม่ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8906/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดค่าเสียหายจากประกันภัย: อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันจ่ายเงินชดเชย
ป.พ.พ. มาตรา 196 การชำระหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน คดีนี้เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินให้ผู้เอาประกันภัย ณ วันใด ถือว่าความเสียหายที่แท้จริงของโจทก์เกิดขึ้น ณ วันนั้น จึงต้องคิดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐซึ่งกำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยกับเงินไทย ณ วันที่โจทก์จ่ายไปจริง ไม่ใช่วันเกิดเหตุละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8840/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการในห้างหุ้นส่วนจำกัดตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1และคำขอท้ายฟ้องระบุให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์เท่ากับโจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรับผิดแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะส่วนตัวนั้น เป็นผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1077 และ 1087
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนบัตรปลอม: พฤติการณ์ร้ายแรง ไม่รอการลงโทษ
การที่จำเลยได้มีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรปลอม แล้วจำเลยใช้ธนบัตรปลอมดังกล่าวซื้อสินค้าจากผู้เสียหายทั้งเจ็ด เป็นการสร้างความเสียหายต่อระบบการค้าและเงินตราของประเทศ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนโดยส่วนรวมนับเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรงไม่ควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8204/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ปลอมเอกสารเพื่อยักยอกเงิน ศาลแก้ไขโทษ
การที่จำเลยปลอมและใช้ใบถอนเงินฝากปลอม กับปลอมและใช้สมุดคู่ฝากบัญชีเงินฝากปลอมถอนเงินเกินกว่าจำนวนที่จำเลยได้รับมอบฉันทะแล้วยักยอกเอาเงินส่วนที่เกินไป ก็เพื่อเจตนาจะยักยอกเงินส่วนที่เกินจากธนาคารและแสดงต่อผู้เสียหายนั่นเอง จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมหรือเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8177/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ผิดพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม
การกระทำของจำเลยตามฟ้องที่ระบุว่าจำเลยร่วมกับพวกลักเอาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอันเป็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับวิทยุคมนาคม โดยจำเลยกับพวกนำเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ปรับคลื่นสัญญาณและรหัสเลขหมายของโทรศัพท์ผู้อื่นมาใช้ติดต่อสื่อสารโทรออกหรือรับการเรียกเข้าผ่านสถานีและชุมสายโทรศัพท์ระบบเซลลูลาร์ของผู้เสียหายนั้น เป็นเพียงการรับส่งวิทยุคมนาคมหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการแย่งใช้คลื่นสัญญาณโทรศัพท์โดยไม่มีสิทธินั่นเอง จึงมิใช่เป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริตการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(7) วรรคสอง แต่จำเลยคงมีความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8102/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในคดีพยายามลักทรัพย์: ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้ แต่จำกัดด้วยการที่โจทก์มิได้อุทธรณ์/ฎีกาขอโทษหนักขึ้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335,336 ทวิ,80 เมื่อจำเลยรับสารภาพ จึงต้องฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดตามฟ้องซึ่งต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 336 ทวิ และต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้ปรับบทลงโทษตามมาตรา 336 ทวิและวางโทษจำคุก 8 เดือน แล้วลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 4 เดือนต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของมาตรา 335(1)(8) วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 80,336 ทวิ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์หรือฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้นศาลฎีกาไม่อาจแก้ไขโทษที่ลงแก่จำเลยได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 212ประกอบด้วยมาตรา 225