คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทพ ศิริพากย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญา และผลของการถอนฟ้องต่อการดำเนินคดี
คดีนี้เป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่คัดค้าน จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายความไม่ไปศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่าน. เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น. ทราบวันนัดของศาลแล้ว ไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้องต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไปตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาล แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยขาดนัดพิจารณาคดีจำเลยขาดนัดตามไปด้วย แม้จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น.เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่า น.เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น.ทราบวันนัดของศาลแล้วไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาลแม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3734/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายความไม่ไปศาล และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยแต่งตั้งให้ น. เป็นทนายความแก้ต่างแล้ว ต้องถือว่า น. เป็นตัวแทนของจำเลยในการดำเนินกระบวนพิจารณา เมื่อ น. ทราบวันนัดของศาลแล้วไม่ไปศาลตามนัดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ต้องถือว่าจำเลยขาดนัดโดยจงใจ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้หากจำเลยไม่ได้ไปศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลชั้นต้นจะต้องหมายแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยให้จำเลยทราบเพื่อที่จะได้สืบพยานจำเลยต่อไป ตามที่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ปัญหานี้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวตั้งแต่ศาลชั้นต้น แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยผู้ฎีกายกขึ้นอ้างได้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายจำเลยทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วมิได้มาศาล ทั้งมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 202 บัญญัติให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วพิพากษาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว คดีนี้ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว จำเลยก็มิได้มาศาล แม้จำเลยจะได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ก็ต้องถือว่าคดีเสร็จการพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาคดีไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช็คพิพาทเป็นมรดก โจทก์มีอำนาจฟ้องแม้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย
เช็คพิพาทถึงกำหนดภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายสิทธิตามเช็คพิพาทจึงเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้ทรงเช็คซึ่งเป็นทายาทผู้ตายทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคาร ตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและเป็นผู้เสียหายโดยตรงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ที่ 3 ผู้ตายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแทนก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะร้องต่อศาลขอให้จำหน่ายคดีโจทก์ที่ 3 ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่จำหน่ายคดีเฉพาะโจทก์ที่ 3 จึงชอบแล้ว
สิทธิตามเช็คพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในเช็คพิพาท โจทก์ทั้งสามคนใดคนหนึ่งสามารถที่จะฟ้องร้องให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้โดยลำพัง โดยไม่จำต้องใช้สิทธิร่วมกันทั้งการฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสามเป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหาย มิใช่สิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก การที่ศาลจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 3 เนื่องจากโจทก์ที่ 3 ถึงแก่ความตายก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1และที่ 2 ต้องระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3619/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเช็คพิพาทตกทอดเป็นมรดก เจ้าหนี้มีอำนาจฟ้องได้แม้มีทายาทถึงแก่กรรม
เช็คพิพาทถึงกำหนดภายหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตาย สิทธิตามเช็คพิพาทจึงเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ผู้ทรงเช็คซึ่งเป็นทายาทผู้ตายทันทีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599 โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและเป็นผู้เสียหายโดยตรงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง โจทก์ที่ 1ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ที่ 3 ผู้ตายไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแทน ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่ 1 ที่จะร้องต่อศาลขอให้จำหน่ายคดีโจทก์ที่ 3 ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่จำหน่ายคดีเฉพาะโจทก์ที่ 3 จึงชอบแล้ว
สิทธิตามเช็คพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามย่อมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในเช็คพิพาท โจทก์ทั้งสามคนใดคนหนึ่งสามารถที่จะฟ้องร้องให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยได้โดยลำพัง โดยไม่จำต้องใช้สิทธิร่วมกันทั้งการฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสามเป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้เสียหาย มิใช่สิทธิในฐานะผู้จัดการมรดก การที่ศาลจำหน่ายคดีของโจทก์ที่ 3 เนื่องจากโจทก์ที่ 3 ถึงแก่ความตายก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ต้องระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3587/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเช็คผู้ถือ: การโอนเช็คและการเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้เป็นประเด็นโดยตรงเช่นเดียวกับประเด็นว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่แต่ได้วินิจฉัยประเด็นทั้งสองรวมกันว่า การที่จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทอันเป็นเช็คผู้ถือแก่ ป. ซึ่งนำไปขายลดแก่โจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 จำเลยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเนื้อความในเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคหนึ่ง 914 ประกอบมาตรา 989 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเท่ากับจำเลยไม่มีสิทธินำสืบตามข้อกล่าวอ้าง อันถือได้ว่าคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทในปัญหาดังกล่าวทั้งสองข้อ ที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว เพิ่มขึ้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3531-3532/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คไม่มีมูลหนี้จริงและผู้ทรงเช็คไม่มีอำนาจฟ้อง การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ค้ำประกันค่าแชร์ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้น ต้องเป็นการออกเช็คที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค เมื่อหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยซึ่งเป็นหนี้ประธานระงับสิ้นไป หนี้จำนองและหนี้ค้ำประกันซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อมระงับไปด้วย เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระเกี่ยวกับหนี้อุปกรณ์ดังกล่าวจึงไม่มีมูลหนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม บทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ, สัญญาโมฆะ, และการเรียกคืนเงินมัดจำตามหลักลาภมิควรได้
วันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้ววินิจฉัยว่าคดีนี้มูลคดีเดียวกันกับคดีก่อน จึงเป็น การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 มีคำสั่งให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้รับฟ้องประเด็นเรื่องค่าเสียหาย การที่จำเลยฎีกาว่าไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ขอให้บังคับคดีตามศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ขอให้จำเลยชนะคดีในปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามคำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ข) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินมาชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพิ่มเติมอย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงเป็น คำสั่งที่ไม่ชอบ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม จึงไม่เป็นการทิ้งฎีกา
ประเด็นเรื่องค่าเสียหายเพิ่มเป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาสืบต่อเนื่องจากประเด็นเรื่องผิดสัญญาหรือไม่ เมื่อคดีก่อนฟังได้ว่าสัญญาเป็นโมฆะ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยในประเด็นเรื่องค่าเสียหายต่อไป และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นที่เกี่ยวกับคดีนี้แล้ว จึงต้องห้ามดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
โจทก์ชำระมัดจำหรือเงินราคาค่าซื้อขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายที่ดินที่ห้ามโอนซึ่งเป็นโมฆะ จึงเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการกรณีจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณา: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งการเข้าเป็นคู่ความแทนที่
เมื่อจำเลยที่ 1 ตายขณะคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นอำนาจของศาลดังกล่าวที่จะสั่งคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนอ่านคำพิพากษาและไต่สวนให้ได้ความจริง แล้วส่งคำร้องพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อสั่ง การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตการเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่เอง แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้คู่ความฟัง จึงไม่ชอบ
of 54