พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9438/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี: สามีภริยาฟ้องร่วมได้หากมีหนี้ร่วมกัน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 คำว่า ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี มีความหมายว่า มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นโดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันมอบเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้สินค้าตามสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น มูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีคือหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ทั้งจำเลยทั้งสองก็เป็นสามีภริยากัน กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9437/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความหมาย 'ของมีค่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 675: โทรศัพท์มือถือไม่ใช่ของมีค่า
คำว่า "ของมีค่า" ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 675 วรรคสอง หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตรหรือตั๋วเงิน ส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์และโทรศัพท์มือถือของโจทก์เป็นเพียงทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นปกติธรรมดา แม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ไม่จัดว่าเป็นของมีค่าตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9329/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ไม่อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เพิกถอนการไต่สวนมูลฟ้อง และยกคำร้องของจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9313/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงจำกัดเฉพาะความผิดอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หากฟ้องรวมความผิดอัตราโทษสูงกว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,353 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปีศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ แต่ความผิดตามมาตรา 354 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิพากษาคดี โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทโดยจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกเบียดบังทรัพย์มรดกไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,353 และ 354 ซึ่งเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงต่อกัน ซึ่งหากศาลพิจารณาได้ข้อเท็จจริงตามฟ้อง ศาลต้องลงโทษตามมาตรา 354 ซึ่งมีอัตราโทษเกินอำนาจที่ศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาได้ย่อมทำให้ศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาคดีตามมาตรา 352 และ 353 ไปด้วย ดังนั้น การที่ศาลแขวงรับคดีตามมาตรา 354 ไว้พิจารณามาแต่ต้นโดยที่ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาย่อมทำให้กระบวนการพิจารณาคดีที่พิจารณามาแล้วเป็นการพิจารณาคดีโดยมิชอบทั้งหมดศาลแขวงจะพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีตามมาตรา 352,353 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการปล้นทรัพย์ – อายุความความผิดฐานทำร้ายร่างกาย – ศาลยกฟ้อง
การที่พวกของจำเลยได้กระชากสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ไปในระหว่างที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง เป็นเจตนาทุจริตของพวกจำเลยที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำร้ายเฉพาะหน้าจำเลยอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยจำเลยไม่คาดคิดมาก่อน และไม่ทราบว่าพวกของจำเลยมีอาวุธมีดที่ใช้ฟันผู้เสียหายที่ 2 ติดตัวมาด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นในการกระทำของพวกจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ร่วมมีเจตนาทุจริตกับพวกจำเลยด้วย จำเลยไม่ต้องรับผลในการกระทำของพวกจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยกับพวกใช้กำลังชกต่อยผู้เสียหายทั้งสอง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แต่เนื่องจากความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าไม่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันกระทำผิด คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อคดีนี้จำเลยกระทำผิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยกับพวกใช้กำลังชกต่อยผู้เสียหายทั้งสอง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แต่เนื่องจากความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าไม่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันกระทำผิด คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อคดีนี้จำเลยกระทำผิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำสัญญาซื้อขายที่ดิน, การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, การคืนเงิน
มัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่า ในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้วและข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆ ดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าวมาข้างต้น จำเลยมีสิทธิรับได้ทั้งสองจำนวน ส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำแต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้าเมื่อมีการบอกเลิกสัญญา หนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืนข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2542)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8751/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินมัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ต้องชำระในวันทำสัญญา ส่วนเงินผ่อนชำระหลังวันทำสัญญาเป็นเพียงการชำระราคาส่วนหนึ่ง
มัดจำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 377จะต้องเป็นทรัพย์สินที่ได้ให้ในวันทำสัญญา ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ให้ในวันอื่น
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้ว และข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาหนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืน ข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างข้อ 1.2 ระบุว่าในวันทำสัญญานี้ผู้จะซื้อได้ชำระเงินจองไว้แล้ว และข้อ 2 ระบุว่าผู้จะซื้อตกลงจะชำระเงินส่วนที่เหลือตามข้อ 1 โดยแบ่งชำระเป็นงวด ๆดังนี้ เงินค่าจองและเงินที่ชำระงวดที่ 1 ซึ่งชำระในวันทำสัญญาจึงเป็นเงินมัดจำส่วนเงินที่ชำระภายหลังจากนั้นไม่ใช่เงินมัดจำ แต่เป็นเงินที่ชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบางส่วนล่วงหน้า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาหนี้ตามสัญญาย่อมระงับลง เงินที่ส่งมอบแก่กันเพื่อชำระหนี้บางส่วนย่อมกลับเป็นเงินอันจะต้องใช้คืนเพื่อให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันให้ริบโดยไม่ต้องใช้คืน ข้อตกลงที่ให้ริบเงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นจำนวนเงินตามมาตรา 379 และเบี้ยปรับนี้ถ้าสูงเกินส่วนศาลก็มีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามนัยมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8704/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, อัตราดอกเบี้ย, และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2532จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ 599 - 5 ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2534จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 กันยายน 2535 เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2539 จำเลยที่ 1ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก 3,000,000 บาท รวมเป็นวงเงิน3,500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 16.75 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 87365 และ 87366 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน 2,500,000 บาทต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก 3,000,000 บาทรวมเป็น 5,500,000 บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 3,500 บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,590,068.50 บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์
++ ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงเมื่อใด
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2539 ตามเอกสารหมาย จ.8 ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.16แผ่นที่ 4 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2540 ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน 3,590,068.50 บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินได้ไม่เกิน 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน 3.636,342.95 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่25 เมษายน 2540 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์2540 และจำเลยที่ 1 มียอดหนี้จำนวนเพียง 3,590,068.50 บาท นั้นไม่ถูกต้อง ++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 25 ต่อปี ได้หรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24 และ 25 ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 ข้อ 2 นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว
++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ 500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.7 และ3,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.8 รวมจำนวน 3,500,000 บาทในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ19 ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน3,636,342.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 3,500,000 บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 136,342.95 บาท นับถัดจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2532จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ 599 - 5 ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2534จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 กันยายน 2535 เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2539 จำเลยที่ 1ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก 3,000,000 บาท รวมเป็นวงเงิน3,500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 16.75 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 87365 และ 87366 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน 2,500,000 บาทต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก 3,000,000 บาทรวมเป็น 5,500,000 บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 3,500 บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,590,068.50 บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์
++ ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงเมื่อใด
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2539 ตามเอกสารหมาย จ.8 ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.16แผ่นที่ 4 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2540 ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน 3,590,068.50 บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินได้ไม่เกิน 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน 3.636,342.95 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่25 เมษายน 2540 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์2540 และจำเลยที่ 1 มียอดหนี้จำนวนเพียง 3,590,068.50 บาท นั้นไม่ถูกต้อง ++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 25 ต่อปี ได้หรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24 และ 25 ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 ข้อ 2 นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว
++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ 500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.7 และ3,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.8 รวมจำนวน 3,500,000 บาทในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ19 ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน3,636,342.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 3,500,000 บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 136,342.95 บาท นับถัดจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้อง, ตั๋วแลกเงิน,เลตเตอร์ออฟเครดิต,หน้าที่ตัวแทน,การปฏิบัติหน้าที่
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ เลตเตอร์ออฟเครดิต ++
++ ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำการเป็นตัวแทนของธนาคาร ซ. โจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินที่จ่ายทดรองไปคืนจากธนาคารนั้นตามหลักเรื่องตัวการตัวแทนขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้ ดังนี้ข้อเท็จจริงที่จำเลยอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยนำเลตเตอร์ออฟเครดิตและเอกสารต่าง ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้พร้อมทั้งตั๋วแลกเงินมามอบให้โจทก์เรียกเก็บค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแทนจำเลยและขอรับเงินค่าสินค้าไปจากโจทก์ก่อน โดยโจทก์ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินและไม่ได้หักส่วนลดเงินจำนวนที่นำเข้าบัญชีกระแสรายวันให้แก่จำเลยตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์หักเพียงค่าอากรแสตมป์และค่าไปรษณียากรเท่านั้น ดังนั้น ตั๋วแลกเงินจึงเป็นเพียงเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารตัวแทนผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีจึงเป็นเรื่องที่พิพาทกันเกี่ยวกับเงินค่าสินค้าจำนวนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งโจทก์ได้จ่ายทดรองให้แก่จำเลยไปก่อน แม้โจทก์เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินและโจทก์เป็นผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวก็ตาม ข้อความและการสลักหลังดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยผู้ส่งสินค้า โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามกฎหมาย
การที่โจทก์จ่ายเงินล่วงหน้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยไปก่อนและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่
โจทก์ได้แจ้งเหตุขัดข้องที่รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้เพื่อให้จำเลยดำเนินการแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแล้ว การกระทำของโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างร้ายแรง
++ ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำการเป็นตัวแทนของธนาคาร ซ. โจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินที่จ่ายทดรองไปคืนจากธนาคารนั้นตามหลักเรื่องตัวการตัวแทนขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้ ดังนี้ข้อเท็จจริงที่จำเลยอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยนำเลตเตอร์ออฟเครดิตและเอกสารต่าง ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้พร้อมทั้งตั๋วแลกเงินมามอบให้โจทก์เรียกเก็บค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแทนจำเลยและขอรับเงินค่าสินค้าไปจากโจทก์ก่อน โดยโจทก์ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินและไม่ได้หักส่วนลดเงินจำนวนที่นำเข้าบัญชีกระแสรายวันให้แก่จำเลยตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์หักเพียงค่าอากรแสตมป์และค่าไปรษณียากรเท่านั้น ดังนั้น ตั๋วแลกเงินจึงเป็นเพียงเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารตัวแทนผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีจึงเป็นเรื่องที่พิพาทกันเกี่ยวกับเงินค่าสินค้าจำนวนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งโจทก์ได้จ่ายทดรองให้แก่จำเลยไปก่อน แม้โจทก์เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินและโจทก์เป็นผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวก็ตาม ข้อความและการสลักหลังดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยผู้ส่งสินค้า โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามกฎหมาย
การที่โจทก์จ่ายเงินล่วงหน้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยไปก่อนและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่
โจทก์ได้แจ้งเหตุขัดข้องที่รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้เพื่อให้จำเลยดำเนินการแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแล้ว การกระทำของโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดคำนวณทุนทรัพย์คดีแพ่ง ต้องพิจารณาจากราคาที่โจทก์ฟ้อง มิใช่จากคำต่อสู้ของจำเลย
การคิดคำนวณทุนทรัพย์นั้นพึงคิดจากราคาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องในศาลชั้นต้นหรือผู้อุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือผู้ฎีกาในชั้นศาลฎีกา มิใช่คิดคำนวณทุนทรัพย์จากผู้ที่มิได้ฟ้องหรือมิได้อุทธรณ์หรือมิได้ฎีกา โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่าๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้งคือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง