คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทพ ศิริพากย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คผู้ถือ โอนด้วยการส่งมอบ ทายาทผู้สั่งจ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบตามเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยการส่งมอบให้แก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 918 ประกอบมาตรา 989 เมื่อ ศ. นำเช็คพิพาทมาขายลดให้แก่โจทก์โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท เมื่อโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยในฐานะทายาทของ พ. จึงต้องร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คแก่โจทก์ แต่ต้องไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7174/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการคาร์แคร์ในการส่งมอบรถยนต์ให้บุคคลอื่นโดยไม่ตรวจสอบ
การรับรถยนต์ไว้เพื่อล้างทำความสะอาดโดยจำเลยมิได้ออกใบรับให้แก่ จ. ผู้นำรถยนต์มาล้าง ตามวิสัยของผู้ประกอบการดังกล่าวควรจะคืนรถยนต์ให้แก่ผู้นำรถยนต์มาล้างเท่านั้น หรือสอบถามให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อนจึงจะมอบรถยนต์ให้ผู้อื่นไป พฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นแต่จำเลยหาได้ใช้เพียงพอไม่จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7149-7150/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีและการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์เลื่อนการสืบพยานหลายครั้งและทุกครั้งก็ได้กำชับโจทก์ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ แต่โจทก์ก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม ครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นได้กำชับโจทก์อีกว่าหากมีเหตุขัดข้องเกี่ยวกับพยานจะถือว่าโจทก์ประวิงคดี แต่โจทก์ก็ขอเลื่อนคดีอีกโดยอ้างว่าทนายโจทก์ป่วย แต่เมื่อตรวจดูใบความเห็นแพทย์ท้ายคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายโจทก์แล้ว ปรากฏว่าทนายโจทก์เป็นไข้หวัดและคออักเสบ เป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อย มิได้มีอาการหนักถึงกับไปศาลไม่ได้ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องให้แพทย์ไปตรวจแล้วจึงมีคำสั่งดังโจทก์อ้าง อีกทั้งยังปรากฏอีกว่าโจทก์ไม่มีพยานไปศาลและโจทก์ไม่ได้ขอหมายเรียกพยานไว้ พฤติการณ์ของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์ที่เหลือจึงชอบแล้ว
พยานโจทก์ทุกปากต่างเบิกความว่าไม่รู้เห็นและไม่อาจยืนยันได้ว่าลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์อ้างเป็นพยานนั้นเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานเอกสารของโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยได้ทำคำขอเปิดบัญชี สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และสัญญาอื่นกับโจทก์ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธว่าลายมือชื่อในเอกสารของโจทก์มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย ผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญก็ลงความเห็นว่าลายมือชื่อในตัวอย่างและเอกสารของโจทก์ไม่ใช่ลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน พยานหลักฐานจำเลยจึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยไม่ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันและทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงปรับขึ้นดอกเบี้ยไม่ใช่เบี้ยปรับ, คิดดอกเบี้ยตามสัญญาก่อนบอกเลิก
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินบัญชีได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ว่า จำเลยยอมเสีย ดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (FLOATING RATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคาร และจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตรา ดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาอันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.6 และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 กำหนดอัตรา ดอกเบี้ยไว้ไม่เท่ากัน กล่าวคือ ร้อยละ 19 และ 18 ตามลำดับ แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ความชัดแจ้งว่ายอดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ณ วันถัดจากวันที่เลิกสัญญาถึงวันฟ้องที่ขอมานั้นแบ่งเป็นยอดดอกเบี้ยตามสัญญา เอกสารหมาย จ.6 เท่าใด และสัญญาเอกสารหมาย จ.8 เท่าใด จึงต้องคิดในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี ตามที่โจทก์ประสงค์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดดอกเบี้ยได้ตามควร
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ ฉะนั้นคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้โดยชอบแล้ว ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันพ้นกำหนดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญาดังกล่าว
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในสัญญาว่ามีข้อความระบุให้เจ้าหนี้เรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้เพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรหรือไม่ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารและถ้าต่อไปธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้แล้วจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ส่วนสัญญากู้เงินและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินก็ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้มีเนื้อความในทำนองเดียวกันอีกทั้งสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองก็ระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ จากข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 2 อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6944/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาเช่าซื้อ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกคำให้การ และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
จำเลยให้การว่าสัญญาเช่าซื้อระงับแล้วตั้งแต่วันที่จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 17 เนื่องจากโจทก์แจ้งว่าไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยได้เพราะโจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวกับบริษัท พ. โดยจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์ผิดสัญญาเช่าซื้อเนื่องจากโจทก์ไม่ต่อทะเบียนรถยนต์ให้จำเลยทำให้จำเลยไม่สามารถนำรถยนต์ออกใช้ได้ตามทางนำสืบของจำเลยแต่ประการใด ทางนำสืบของจำเลยจึงนอกเหนือจากคำให้การของจำเลยแม้ศาลล่างทั้งสองจะรับวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งจ่ายเช็ค, ความรับผิดส่วนบุคคลกรรมการ, และการกู้ยืมเงินเพื่อหาเสียงเลือกตั้ง
แม้บริษัทจำเลยที่ 1 จดทะเบียนโดยปรากฏข้อความในรายการเอกสารทะเบียนว่า ป. ผู้ตายเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ป. กับกรรมการอื่นอีก 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันประทับตราของบริษัท จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกพันจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคารตามเช็ค โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาท เป็นการส่วนตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900
ป.วิ.พ. มาตรา 97 บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายหนึ่งจะอ้างคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพยานของตนหรือจะอ้างตนเอง เป็นพยานก็ได้ การที่โจทก์อ้างจำเลยที่ 2 เบิกความเป็นพยานโจทก์ จึงไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตาม ป.พ.พ. มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง และเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น
ความเสียหายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทในการกำหนดตามมาตรา 990 วรรคหนึ่ง เป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ที่ว่า โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ไปใช้ในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการสนับสนุนให้มีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 มาตรา 15 ที่บัญญัติว่า ผู้สมัครแต่ละคนจะใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งหมดเกิน 1,000,000 บาท ไม่ได้ การกู้ยืมเงินตามเช็คพิพาทจึงตกเป็นโมฆะ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จำเลยที่ 4 ก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ให้ ป. ยืมเงิน 4,500,000 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2539 เป็นการยืมเงินก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มี การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประมาณ 6 เดือน และเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่ง ป. ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ก็มีกำหนดสั่งจ่ายในวันที่ 17 เมษายน 2539 ก่อนประกาศ พ.ร.ฎ. ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 5 เดือนเศษ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ให้ ป. ยืมเงินเพื่อสนับสนุนให้มีการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ที่แก้ไขแล้ว การออกเช็คพิพาทแลกกับเช็คตามเอกสารหมาย จ.5 จึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็ค, ความล่าช้าในการเรียกเก็บ, และการสนับสนุนทางการเงินในการเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ชำระเงินตามเช็คพิพาทซึ่ง ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท โดยระบุรายละเอียดของเช็คพิพาทและแนบสำเนาภาพถ่ายเช็คพิพาทมาท้ายคำฟ้อง พร้อมทั้งคำขอบังคับที่ให้จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป. ร่วมรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นสำหรับจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง ครบถ้วนแล้ว ส่วนมูลหนี้ตามเช็คพิพาทจะเป็นการชำระหนี้อะไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 จึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยที่ 1 จะได้จดทะเบียนนิติบุคคลว่า ป. เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เปิดบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร น. โดยให้ตัวอย่างลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเฉพาะกรรมการอื่น 4 คน โดยไม่ปรากฏตัวอย่างลายมือชื่อของ ป. ด้วย ป. จึงไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คของธนาคาร น. แทนจำเลยที่ 1 การที่ ป. ร่วมลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่มีอำนาจสั่งจ่ายแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ระบุว่าการกระทำการแทนจำเลยที่ 1 แล้วนำเช็คพิพาทไปแลกกับเช็คฉบับอื่นซึ่ง ป. สั่งจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ส่วนตัว ป. จึงต้องร่วมรับผิดตามเช็คพิพาทเป็นการส่วนตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 900
การที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด 1 เดือน หรือ 3 เดือน นับแต่วันออกเช็คตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 990 วรรคหนึ่ง คงมีผลเพียงทำให้โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลังและเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการละเลยไม่ยื่นเช็คนั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้สั่งจ่ายจะต้องพิสูจน์เพื่อให้พ้นความรับผิด แต่จำเลยที่ 4 ไม่ได้นำสืบว่าการที่โจทก์ละเลยไม่ยื่นเช็คพิพาทภายในกำหนดทำให้เกิดความเสียหายแก่ ป. ในฐานะผู้สั่งจ่าย ป. จึงไม่พ้นความรับผิดตามเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6761/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสินสมรสระหว่างคดีแพ่งเข้าข่ายโกงเจ้าหนี้ แม้กรรมสิทธิ์ยังพิพาทอยู่
การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ภรรยาของโจทก์ซึ่งมีชื่อในโฉนดที่ดินได้ร่วมกันขายที่ดินอันเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 2 ให้กับผู้อื่นภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ขอหย่าแบ่งสินสมรส และฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่ง ขอให้โอนที่ดินแปลงพิพาทให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้มีนิติกรรมผูกพันที่จะต้องขายมาก่อน มิใช่เป็นการขายไปในลักษณะปกติแม้คดีแพ่งจะยังมีข้อโต้เถียงกรรมสิทธิ์ และอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ตาม ก็ถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีอำนาจจะฟ้องจำเลยทั้งสองแล้ว เข้าองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6737/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบัตรเครดิต: เริ่มนับจากวันที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเมื่อมีการชำระหนี้บางส่วนหรือไม่ชำระ
จำเลยได้ใช้บัตรเครดิตซิตี้แบงก์วีซ่าครั้งสุดท้ายวันที่ 13สิงหาคม 2540 จากนั้นมิได้ใช้อีกต่อไป แต่ได้ชำระหนี้บางส่วนให้แก่โจทก์รวม 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2540 และวันที่ 6ตุลาคม 2540 โดยยอดหนี้ที่เหลือ จำเลยจะต้องชำระภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้สิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ส่วนหนี้ตามบัตรเครดิตซิตี้แบงก์มาสเตอร์การ์ด จำเลยใช้ครั้งสุดท้ายวันที่ 4 ตุลาคม 2510 และไม่เคยผ่อนชำระหนี้ที่เหลือแก่โจทก์ หนี้ถึงกำหนดชำระวันที่ 1ธันวาคม 2540 ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ตั้งแต่วันที่ 2ธันวาคม 2540 อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/34(7) ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวได้
ข้อกำหนดและเงื่อนไขในสัญญาซึ่งระบุว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระตามใบแจ้งยอดบัญชีถือว่าลูกหนี้ขอผัดผ่อนการชำระหนี้ เป็นเพียงการที่โจทก์ผ่อนปรนยังไม่ใช้สิทธิเรียกร้องแก่จำเลยเท่านั้น แต่หาเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
of 54