คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทพ ศิริพากย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามข่มขืนกระทำชำเรา: แม้ไม่สำเร็จ แต่มีเจตนาและลงมือกระทำแล้ว ถือเป็นความผิด
แม้จะปรากฏจากพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่าจำเลยยังมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่จำเลยพาผู้เสียหายเข้าไปในโรงแรมแล้วกอดปล้ำผู้เสียหาย ถอดเสื้อผ้าเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเรา โดยมีเจตนาจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย อวัยวะเพศของจำเลยคงจะเสียดสีกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายจนทำให้เกิดรอยแดงด้านนอกของอวัยวะเพศของผู้เสียหาย และหากอวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายคงต้องมีร่องรอยฉีกขาด การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิด แต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปโดยตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นความผิดเพียงฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6510/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามข่มขืนกระทำชำเรา: การลงมือกระทำความผิดแต่ไม่สำเร็จ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
ผู้เสียหายเบิกความว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานทางวิชาการที่ น่าเชื่อถือและเชื่อได้ว่าจำเลยยังมิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การที่จำเลยพาผู้เสียหายเข้าไปในโรงแรมแล้วกอดปล้ำ ผู้เสียหาย ถอดเสื้อผ้าของผู้เสียหายออกเพื่อจะข่มขืนกระทำชำเราโดยมีเจตนาจะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย อวัยวะเพศของจำเลยคงจะเสียดสีกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายจนทำให้เกิดรอยแดงด้านนอกของอวัยวะเพศของผู้เสียหายและหากอวัยวะเพศของจำเลยล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเยื่อพรหมจารีของผู้เสียหายคงต้องมีร่องรอยฉีกขาด การกระทำของจำเลยเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิด แต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล จึงเป็นเพียงความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
ปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จหรืออยู่ในขั้นพยายามกระทำความผิดเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6392/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานวิทยุคมนาคมหลายกรรมต่างกัน การปรับคลื่นวิทยุและเรียกเก็บค่าบริการ
การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคมเป็นของบุคคลอื่นได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตแล้วนำออกให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยจำเลยทั้งสามคิดค่าบริการจากผู้ใช้บริการแม้จะกระทำในเวลาเดียวกัน แต่ก็เป็นการกระทำที่สามารถแยกจากกันเป็นราย ๆ ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยทั้งสามร่วมกันลักลอบปรับคลื่นและนำออกให้บุคคลทั่วไปใช้บริการโดยเรียกค่าบริการได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน จำเลยให้การรับสารภาพถือว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันมีเจตนาแยกเป็นราย ๆ ไป ตามจำนวนเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยทั้งสามร่วมกันลักลอบปรับคลื่นวิทยุคมนาคม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยทั้งสามร่วมกันนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่ปรับคลื่นวิทยุคมนาคมของผู้ที่ได้รับอนุญาตเปลี่ยนให้ใช้คลื่นวิทยุคมนาคมจากเจ้าพนักงานให้บริการแก่บุคคลโดยทั่วไปโดยเรียกค่าบริการจากผู้ใช้บริการเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของคลื่นวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนับว่าเป็นพฤติการณ์ที่ร้ายแรงจำเลยทั้งสามเป็นนักศึกษาย่อมจะมีความยับยั้งชั่งใจมากกว่าผู้ที่มิได้เป็นนักศึกษากลับมากระทำผิดอันเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดีแก่เยาวชนโดยทั่วไป สมควรลงโทษเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่นที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสามนั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6358/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ในการนัดพิจารณาครั้งแรกศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ในวันนัดโจทก์และจำเลยที่ 2 มาศาลส่วนจำเลยที่ 1 ไม่มาศาล จึงไม่อาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันได้ ศาลชั้นต้นเริ่มต้นทำการสืบพยานโจทก์ในวันนัดดังกล่าว แต่มิได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา ให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ไปฝ่ายเดียว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202(ก่อนแก้ไข) จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา การดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ จำต้องให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสำหรับจำเลยที่ 1 เสียใหม่ให้ถูกต้อง และโดยที่จำเลยที่ 2 ถูกฟ้องในฐานะผู้ค้ำประกันให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ความรับผิดของจำเลยที่ 2 เป็นเช่นเดียวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น จึงต้องยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองรวมตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6358/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
จำเลยที่ 1 ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบเป็นการที่จำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งแสดงว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา ให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ไปฝ่ายเดียว ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 202 จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกมากล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6079/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดพิจารณาคดี, การแจ้งความประสงค์ให้พิจารณาต่อไป, คำร้องขอเลื่อนคดี, ดุลพินิจศาล, การจำหน่ายคดี
กรณีที่โจทก์ขาดนัดพิจารณาตามมาตรา 201 วรรคหนึ่ง เดิม จำเลยที่ 2แถลงในวันสืบพยานแต่เพียงว่า "การดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วแต่ศาลจะพิจารณาสั่ง" เพียงเท่านี้ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งต่อศาลแล้วว่าตนตั้งใจจะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลไม่มีหน้าที่ที่จะต้องสอบถามจำเลยที่ 2 เสียก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันสืบพยานด้วยนั้นไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่า หากมีกรณีดังกล่าว ศาลจะต้องสอบคำร้องขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนจึงจะมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 เท่ากับเป็นการแปลความเพิ่มหลักเกณฑ์ลงไปในมาตรา 197 วรรคสอง เดิม ซึ่งไม่ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นจะสอบคำขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจหากศาลใช้ดุลพินิจสอบคำขอเลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งให้เลื่อนคดี วันนัดดังกล่าวก็มิใช่วันสืบพยานตามกฎหมายอีกต่อไป แต่สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ไปแล้วตามมาตรา 197 วรรคสอง เดิม ประกอบกับมาตรา 201 วรรคหนึ่ง เดิมคำขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 1 ย่อมตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6079/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: ศาลมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้ แม้จำเลยขอเลื่อนคดีในวันนัด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาแล้วสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ โดยไม่พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 เสียก่อนนั้น ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับว่า หากมีกรณีดังกล่าวศาลจะต้องสอบคำร้องขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อน จึงจะมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาได้เพราะเท่ากับเป็นการแปลความเพิ่มหลักเกณฑ์ลงไปในมาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง การที่ศาลชั้นต้นจะสอบคำขอเลื่อนคดีของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เป็นดุลพินิจของศาล หากศาลใช้ดุลพินิจสอบคำขอเลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งให้เลื่อนคดี วันนัดดังกล่าวก็มิใช่วันสืบพยานตามกฎหมายอีกต่อไปและเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 วรรคสอง (เดิม) ประกอบกับมาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) คำขอเลื่อนคดีของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ย่อมตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม การแก้ไขคำฟ้อง และการโอนขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงการคืนทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นมารดาจำเลยที่ 2 และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับถ้อยคำต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ให้เห็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อย่างไรด้วย และว่า จำเลยที่ 1 ขายที่ดินที่โจทก์ยกให้จำเลยที่ 1 โดยขายให้จำเลยที่ 2 เป็นการทำนิติกรรมที่มีเจตนาไม่สุจริตและฉ้อฉลที่จะไม่ให้ที่ดินกลับคืนเป็นของโจทก์ ขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดิน จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่าการไม่สุจริตและฉ้อฉลคือการที่จำเลยที่ 1 สมรู้กับจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดิน เพื่อมิให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากันจำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่า ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าโจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่มีการกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง อันเป็นการแสดงให้เห็นด้วยว่า วันเวลาดังกล่าวมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดี แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้อง ก็ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ การแก้ไขคำฟ้อง และการฟ้องที่ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยบรรยายว่า โจทก์เป็นมารดาจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นมารดาจำเลยที่ 2 และบรรยายถ้อยคำต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 กล่าวหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะให้เห็นเหตุประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินโฉนดพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ยกให้จำเลยที่ 1 โดยขายให้จำเลยที่ 2 เป็นการทำนิติกรรมที่มีเจตนาไม่สุจริตและฉ้อฉล โดยร่วมกันที่จะไม่ให้ทรัพย์สินตกกลับคืนเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสองย่อมเข้าใจได้ว่า การไม่สุจริตและฉ้อฉลคือการที่จำเลยที่ 1 สมรู้กับจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อมิให้โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณ จึงเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องโจทก์หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกถอนคืนการให้เพราะจำเลยที่ 1 ประพฤติเนรคุณด้วยการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงรวม 3 ครั้ง ต่างวันเวลากัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่าไม่เคยประพฤติเนรคุณให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่โจทก์ ไม่เคยดูหมิ่นโจทก์อย่างร้ายแรง ย่อมหมายความว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยกล่าวคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงไม่ว่าจะเป็นวันเวลาใด ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องในระหว่างการสืบพยานโจทก์แล้ว ในการนัดสืบพยานจำเลยทั้งสองในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 เบิกความเพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่เคยด่าว่าหยาบคายแก่โจทก์ โดยมิได้เบิกความถึงวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงทั้ง 3 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า วันเวลาในการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงมิได้เป็นสาระสำคัญในการต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสอง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่จำเลยทั้งสองทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันก่อนกำหนดนัดพิจารณาคำร้องก็ตาม แต่การที่จะให้มีการแก้ไขในข้อนี้ย่อมไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะเป็นการมีคำสั่งให้แก้ไขในประเด็นที่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญในคดี ทั้งศาลล่างทั้งสองก็มิได้หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับวันเวลาที่มีการแก้ไขดังกล่าวมาเป็นประเด็นชี้ขาดพิพากษาให้เพิกถอนคืนการให้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5959/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าลิสซิ่งกับสัญญาค้ำประกัน: การใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายและการปิดอากรแสตมป์
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่พิพาทมีข้อความและรายละเอียดเช่นสัญญาเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อหรือเช่าซื้อทรัพย์สินที่เช่าและไม่ปรากฏว่าค่าเช่าที่ชำระให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินที่เช่าแม้จะมีข้อตกลงที่ให้ผู้เช่ามีสิทธิเลือกซื้อทรัพย์สินที่เช่าก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า หากผู้เช่าประสงค์จะซื้อในอนาคตโดยเสนอราคาจะขายไว้ล่วงหน้า สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่พิพาทจึงเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ลักษณะแห่งตราสาร 1 กำหนดให้สัญญาเช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพเท่านั้นที่ต้องปิดอากรแสตมป์ สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งที่พิพาทเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
สัญญาค้ำประกันพิพาทเป็นการค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ ลักษณะแห่งตราสาร 17(ก) โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน เมื่อสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำสืบเป็นพยานหลักฐานมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นผู้ค้ำประกันตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 เป็นผลให้โจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการค้ำประกันเป็นหนังสือที่จะฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2และที่ 3 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันได้
of 54