คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทพ ศิริพากย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2883/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม กรณีจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นรับสารภาพ ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
จำเลยขอถอนคำให้การเดิมที่ปฏิเสธและขอให้การรับสารภาพตามฟ้องตลอดข้อกล่าวหา จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าไม่มีประจักษ์พยานเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15แม้จำเลยจะได้รับอนุญาตให้ฎีกาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามในคดีรับช่วงสิทธิ กรณีจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องความประมาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกไว้กับ ร.ต่อมารถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวซึ่งมีส. เป็นผู้ขับชนกับรถยนต์บรรทุกซึ่งมี ว. เป็นผู้ขับ เพราะความประมาทของ ว.เป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตายและรถยนต์บรรทุกเสียหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นนายจ้าง หรือตัวการ หรือผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานของ ว. ร่วมกันชดใช้เงินแก่โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิ ส่วนจำเลยให้การว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานของ ว. ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่า จำเลยทั้งสามเป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้จ้างวานว.หรือไม่ส่วนประเด็นที่ว่าความประมาทเกิดจากว. หรือไม่นั้นเมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ ต้องฟังว่า ว. เป็นฝ่ายประมาทและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ประกอบมาตรา 84(1) การที่ศาลอุทธรณ์ยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นวินิจฉัยอีกเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามมาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นความประมาท ทั้งที่จำเลยไม่ได้ต่อสู้ ศาลฎีกายกคำพิพากษา
ตามคำฟ้องและคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงประการเดียวว่าจำเลยทั้งสามเป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือ ผู้ว่าจ้างวาน ส.หรือไม่ ส่วนประเด็นที่ว่าความประมาทเกิดจาก ส.ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ จำเลยทั้งสามไม่ได้ให้การ ต่อสู้ไว้ ต้องฟังว่า ส. เป็นฝ่ายประมาทและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบกับ มาตรา 84 (1) การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยอีก เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: การคำนวณค่าเสียหาย, ค่าเสื่อมราคา, และดอกเบี้ยที่เหมาะสม
ข้อสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าเจ้าของได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปแล้วยังไม่คุ้มราคาเช่าซื้อที่ต้องชำระทั้งหมดตามสัญญากับค่าเสียหายอื่น ๆ ผู้เช่าซื้อจะชดใช้เงินให้เจ้าของจนครบถ้วน เป็นวิธีการคำนวณค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อ มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อมีข้อตกลงกันไว้ในสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัด เงินที่ผิดนัดค้างชำระหมายถึงหนี้เงินที่ผู้เช่าซื้อต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา แต่ค่าเสียหายในกรณีที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาไม่ใช่หนี้เงินตามที่สัญญาเช่าซื้อระบุไว้ ศาลจึงบังคับให้ผู้เช่าซื้อชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อคงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้เช่าซื้อใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาเช่าซื้อ: ศาลวินิจฉัยดอกเบี้ยค่าเสียหายอ้างอิงอัตราตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยในสัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ที่ว่าถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันผิดนัดนั้นเงินที่ผิดนัดค้างชำระ หมายถึงหนี้เงินที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา แต่ค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยชำระหนี้ไม่ตรงตามเวลาไม่ใช่หนี้เงินตามที่สัญญาเช่าซื้อข้อ 9 ระบุไว้จึงบังคับให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวไม่ได้คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางประกันตามมาตรา 234 เมื่อมีหนี้หักกลบกัน จำเลยไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่ต้องวางประกัน
นอกจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงิน 257,565 บาทแก่จำเลยแล้วยังพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 454,400 บาท แก่โจทก์ด้วยดังนี้ หากต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์ คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์และเป็นผลให้คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้วจำเลยกลับมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์อีก จำเลยย่อมไม่ได้รับความเสียหายจากการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะให้โจทก์นำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 234

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินประกันเพื่ออุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: พิจารณาจากหนี้คงเหลือหลังหักกลบ
การที่ ป.วิ.พ. มาตรา 234 บัญญัติให้ผู้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์นำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นนั้น สืบเนื่องจากเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ผู้แพ้คดีจะต้องถูกบังคับคดีตาม คำพิพากษา หากผู้แพ้คดีจะให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาอีกชั้นหนึ่งว่าคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่ กระบวนการในการบังคับคดีย่อมต้องล่าช้าไป โดยเฉพาะหากศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ผู้ชนะคดีอาจต้องเสียประโยชน์เพราะความล่าช้าดังกล่าวโดยมิใช่ความผิดของตน จึงควรให้ผู้ชนะคดีมีหลักประกันการชำระหนี้ตามคำพิพากษา มิฉะนั้น ผู้แพ้คดีอาจใช้บทบัญญัติของกฎหมายในส่วนนี้เพื่อประวิงการบังคับคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินจำนวน 257,565 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2540 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่จำเลย และพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 454,400 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2539 จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ด้วย หากต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์และเป็นผลให้คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อหักกลบลบหนี้ตามคำพิพากษาระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว จำเลยยังกลับมีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์อีก จำเลยย่อมไม่ได้รับความเสียหายจากการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะให้โจทก์นำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษา มาวางหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ความเสียหายจากการไม่ชำระค่าเช่าซื้อ และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและรับมอบรถที่เช่าซื้อไปจากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 จะชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เป็นรายเดือน 24 งวด จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อเป็นการตอบแทน แต่เช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายชำระค่าเช่าซื้อก่อนเลิกสัญญาในงวดที่ 1 ถึงที่ 3 และงวดที่ 5 ถึงที่ 7 ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าซื้อย่อมได้รับความเสียหายที่ไม่ได้รับชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญา ส่วนที่โจทก์ได้รับชำระค่าเช่าซื้อไปแล้วเพียงใด และโจทก์นำรถที่เช่าซื้อไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อในราคาเท่าใด เป็นข้อพิจารณาในชั้นกำหนดค่าเสียหายให้เป็นจำนวนที่พอสมควร
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระและนำสืบว่าค่าเช่าซื้อที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระ 6 งวดเป็นเงิน 900,000 บาท ที่โจทก์นำสืบด้วยว่าหากโจทก์นำรถที่เช่าซื้อออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท เป็นการนำสืบให้เห็นถึงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินของโจทก์อีกทางหนึ่ง จึงหาเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษจากการได้รับสำเนาคำพิพากษาล่าช้า
การเรียงอุทธรณ์จะต้องตรวจดูข้อความในคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัย มิฉะนั้นอาจไม่เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ผู้อุทธรณ์จึงจำต้องมีสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ประกอบการเรียงอุทธรณ์ เมื่อคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ได้อ้างเหตุที่โจทก์ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดว่าโจทก์ได้ขอคัดคำพิพากษาไว้แล้ว เพิ่งพิมพ์แล้วเสร็จและได้รับในวันนั้น จึงเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ การที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เพิ่งพิมพ์แล้วเสร็จ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์กรณีคำพิพากษาล่าช้า: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลควรพิจารณา
การเรียงอุทธรณ์จะต้องตรวจดูข้อความในคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัย มิฉะนั้นอาจไม่เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ผู้อุทธรณ์จึงจำต้องมีสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ประกอบการเรียงอุทธรณ์ เมื่อคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ได้อ้างเหตุที่โจทก์ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดว่า โจทก์ได้ขอคัดคำพิพากษาไว้แล้ว เพิ่งพิมพ์แล้วเสร็จและได้รับในวันนั้น จึงเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ การที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เพิ่งพิมพ์แล้วเสร็จ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
of 54