พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีคำพิพากษาล่าช้า: เหตุพิเศษนอกเหนือการควบคุมของโจทก์
การเรียงอุทธรณ์จะต้องตรวจดูข้อความในคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ผู้อุทธรณ์จึงจำต้องมีสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ประกอบการเรียงอุทธรณ์ เมื่อคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ อ้างเหตุที่โจทก์ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดว่า โจทก์ได้ขอคัดคำพิพากษาไว้แล้วเพิ่งพิมพ์แล้วเสร็จและได้รับในวันนั้น จึงเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการต้องแจ้งให้ศาลทราบก่อนฟ้อง หากเพิกเฉย ศาลไม่จำหน่ายคดี
จำเลยให้การลอย ๆ ว่ามีสัญญาอนุญาโตตุลาการและมิได้โต้แย้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนให้ปรากฏว่ามีสัญญาระงับข้อพิพาทอยู่หรือไม่ แต่กลับต่อสู้คดีตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องตลอดมาโดยมิได้ส่งหนังสือสัญญาการระงับข้อพิพาทต่อศาลเพื่อขอให้จำหน่ายคดี จำเลยเพิ่งจะส่งสำเนาสัญญาดังกล่าวต่อศาลในชั้นยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์แสดงว่า จำเลยมิได้ประสงค์จะขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10ศาลจึงไม่ต้องสั่งจำหน่ายคดีเพื่อให้โจทก์เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การไม่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง และผลต่อการพิจารณาคดี
ในกรณีที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดให้เสนอข้อพิพาททางแพ่งให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากคู่สัญญาฝ่ายใดนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเสียก่อนตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องก็อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยาน หรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีได้ แต่คดีนี้คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 3 ให้การลอย ๆ อ้างว่ามีสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งมิได้โต้แย้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนให้ปรากฏว่า กรณีมีสัญญาระงับข้อพิพาทอยู่หรือไม่ แต่กลับต่อสู้คดีตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องตลอดมา พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 3 หาได้ประสงค์จะขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2668/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การไม่เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดี และการเพิกเฉยต่อการขอให้จำหน่ายคดี
ในกรณีที่มีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการกำหนดให้เสนอข้อพิพาททางแพ่งให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด หากคู่สัญญาฝ่ายใดนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเสียก่อนตามสัญญา คู่สัญญาฝ่ายที่ถูกฟ้องก็อาจอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาลก่อนวันสืบพยาน หรือก่อนมีคำพิพากษาในกรณีที่ไม่มีการสืบพยาน ให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีได้ แต่คดีนี้คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 3 ให้การลอย ๆ อ้างว่ามีสัญญาอนุญาโตตุลาการ โดยมิได้แสดงพยานหลักฐานต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งมิได้โต้แย้งการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการไต่สวนให้ปรากฏว่า กรณีมีสัญญาระงับข้อพิพาทอยู่หรือไม่ แต่กลับต่อสู้คดีตามประเด็นที่โจทก์ฟ้องตลอดมา พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 3 หาได้ประสงค์จะขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นความรับผิดกรมธรรม์ประกันภัย: การเคลือบสีไม่ใช่การซ่อม และอู่ตามพจนานุกรม
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันที่ ช. ขับไปชนรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไว้กับจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยเนื่องจากรถยนต์คันที่โจทก์ที่ 1 เอาประกันภัยไว้และรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 เสียหาย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ"เมื่อโจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการนำไปให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดค.ทำการซ่อมแล้วให้ช. ซึ่งเป็นบุคคลของห้างดังกล่าวใช้อันจะเป็นเหตุต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้โดยบุคคลของอู่เมื่อรถยนต์ได้มอบให้อู่ซ่อม
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ"เมื่อโจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมเท่านั้น จึงมิใช่เป็นการนำไปให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดค.ทำการซ่อมแล้วให้ช. ซึ่งเป็นบุคคลของห้างดังกล่าวใช้อันจะเป็นเหตุต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่า ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้โดยบุคคลของอู่เมื่อรถยนต์ได้มอบให้อู่ซ่อม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: การคุ้มครองบุคคลภายนอกและข้อยกเว้นความรับผิดกรณีอู่
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มอบหมายให้ ช.ขับรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 ที่เอาประกันภัยไว้ต่อจำเลย ช. ขับไปชนรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 2 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ที่ 1 ผู้เอาประกันภัยและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยโจทก์ทั้งสองได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำฟ้อง ซึ่งระบุว่าจำเลยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 ต้องรับผิดตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ที่ 1 สภาพแห่งข้อหาในกรณีของโจทก์ที่ 2 คือ จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัยที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ที่ 1 โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ช. ขับรถยนต์กระบะที่โจทก์ที่ 1 ประกันภัยไว้ต่อจำเลยชนรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 2 เสียหายและมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระค่าซ่อมแซมแก่โจทก์ที่ 2 คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ที่ 1 ทำไว้ต่อจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1 ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ" การที่โจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมจึงหาเป็นการนำไปให้ซ่อมไม่
โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ที่ 1 ทำไว้ต่อจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1 ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ" การที่โจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมจึงหาเป็นการนำไปให้ซ่อมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์กรณีรถหายจากการลักทรัพย์ แม้ผู้เอาประกันภัยทราบว่ารถถูกนำไปจำนำ
ตารางกรมธรรม์ประกันภัยระบุการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาในรายการของตาราง เมื่อได้ความว่ารถยนต์พิพาทถูก ภ. ภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของน้องชายจำเลยที่ 1 ลักไปโดยจำเลยที่ 1 มิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะทราบว่าภ. นำรถยนต์พิพาทไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน แต่เมื่อจำเลยที่ 1ไม่สามารถนำรถยนต์คันพิพาทกลับคืนมาได้ย่อมถือได้ว่ารถยนต์คันพิพาทได้สูญหายไปโดยเหตุอันเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์สูญหายจากลักทรัพย์: ศาลมีอำนาจพิพากษาให้บริษัทประกันภัยรับผิดได้ แม้จะไม่ได้เป็นคู่สัญญาโดยตรง
ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(3) จำเลยร่วมจึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่สามารถยกข้อต่อสู้ขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้อย่างไม่มีจำกัด และศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาถึงความรับผิดของคู่ความทุกฝ่ายไปได้ในคราวเดียวกันโดยไม่จำต้องให้โจทก์ไปฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีเรื่องใหม่ เมื่อจำเลยร่วมมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีรถยนต์สูญหายแก่โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่ถือว่าเกินคำขอของโจทก์
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูกภ. ลักไปโดยจำเลยที่1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่1 จะทราบว่าภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูกภ. ลักไปโดยจำเลยที่1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่1 จะทราบว่าภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมถูกเรียกเข้าเป็นคู่ความในคดีเช่าซื้อรถยนต์ ศาลมีอำนาจพิจารณาถึงความรับผิดได้ และการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยกรณีรถยนต์สูญหาย
ศาลชั้นต้นเรียกจำเลยร่วมเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วมจึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่สามารถยกข้อต่อสู้ขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้อย่างไม่มีจำกัดและศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาถึงความรับผิดของคู่ความทุกฝ่ายไปได้ในคราวเดียวกันโดยไม่จำต้องให้โจทก์ไปฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีเรื่องใหม่ เมื่อจำเลยร่วมมีหน้าที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีรถยนต์สูญหายแก่โจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ไม่ถือว่าเกินคำขอของโจทก์
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูก ภ. ลักไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะทราบว่า ภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ เมื่อรถยนต์ถูก ภ. ลักไปโดยจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนรู้เห็นด้วย แม้จำเลยที่ 1 จะทราบว่า ภ. นำรถยนต์ไปจำนำไว้ที่บ่อนย่านคลองตัน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถนำรถยนต์กลับคืนมาได้ ย่อมถือได้ว่ารถยนต์ได้สูญหายไปโดยเหตุเนื่องจากการลักทรัพย์ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2424/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย: เจตนาสำคัญกว่าปริมาณ หากมีหลักฐานการจำหน่ายแล้วไม่ต้องอาศัยข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
บทบัญญัติมาตรา 15 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มีความหมายว่าถ้าผู้ครอบครองยาเสพติดให้โทษมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป กฎหมายให้สันนิษฐานโดยเด็ดขาดว่าเป็นการครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย แม้จำเลยจะมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 7 เม็ด และไม่ปรากฏว่าคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เพียงใด แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายก็เป็นความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง,66 วรรคหนึ่งไม่จำเป็นต้องเข้าข้อสันนิษฐานตามมาตรา 15 วรรคสอง