คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิเทพ ศิริพากย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 538 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4352/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงเรื่องค่านายหน้าโดยปริยาย แม้มิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพัน
โจทก์ติดต่อกับจำเลยและเจ้าของที่ดินทั้ง 4 แปลง เรื่องการเช่าและซื้อขายที่ดินดังกล่าว ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เจรจาติดต่อกันนั้นได้ใช้บ้าน ร. มารดาจำเลยเป็นสถานที่นัดพบเสมอทั้ง ร. ก็ร่วมเจรจาอยู่ด้วย แม้บางครั้งจำเลยไม่มาแต่ ร. ก็เป็นผู้จัดการแทนจำเลยเพื่อนำไปสู่การทำสัญญาในที่สุด ดังนั้น ข้อตกลงใด ๆ ที่อยู่ในกรอบของการเช่าหรือซื้อขายที่ดินของจำเลยย่อมเห็นเป็นปริยายว่าจำเลยได้เชิด ร. เป็นตัวแทนในการเจรจาตกลงกับโจทก์ ทำให้เจ้าของที่ดินอีก 4 แปลง ตกลงยินยอมให้เช่าและขายที่ดินเรื่องค่านายหน้าก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงด้วยแม้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันจำเลยแล้ว ดังนั้น จำเลยต้องให้ค่านายหน้า และเงินค่าที่ดินที่ให้เช่าหรือขายเกินกว่าราคาที่กำหนดแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3750/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากรถบรรทุก: นายจ้างไม่ต้องรับผิดหากลูกจ้างก่อเหตุจากความโกรธส่วนตัว และผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากนายจ้างไม่ต้องรับผิด
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้ว่าในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้น ข้อเท็จจริงในคำพิพากษาของศาลคดีส่วนอาญาที่ฟังว่า จำเลยที่ 1 ขับรถบรรทุกโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัส มีผลผูกพันเฉพาะจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังข้อเท็จจริงกันใหม่
การที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุไปบรรทุกผักและผลไม้ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้แวะรับประทานอาหารและดื่มสุราจนถูกทำร้ายร่างกาย ด้วยความโกรธแค้นเพราะเหตุส่วนตัวที่ถูกทำร้ายดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงขับรถบรรทุกพุ่งชนโจทก์ที่ 5 และผู้ตายกับพวกที่ทำร้ายตนจนเป็นเหตุให้มีคนตายและบาดเจ็บเช่นนี้ เป็นเหตุส่วนตัวที่เกิดขึ้นต่างหากไม่เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างหรือกรอบแห่งการจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 นายจ้างที่มอบหมายให้จำเลยที่ 1 ลูกจ้างไปกระทำ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดขึ้นต่อโจทก์ทั้งห้า ส่วนจำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยรถบรรทุกคันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 3 ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งจำเลยที่ 4 ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ.มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ที่กระทำต่อโจทก์ทั้งห้า จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยค้ำจุน จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งห้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายและการพยายามฆ่า: ศาลยกฟ้องข้อหาพยายามฆ่า คงความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าโดยใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายซึ่งกันและกันและกระสุนปืนที่จำเลยที่ 2ยิงไม่ถูกจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายแก่กายอย่างไร และทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนตีศีรษะของจำเลยที่ 1 จนได้รับอันตรายแก่กายโดยไม่มีเจตนาฆ่าแต่การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย และเป็นความผิดได้ในตัวเองดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายร่างกาย vs. พยายามฆ่า: ศาลฎีกาชี้ขาดความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แม้ฟ้องฐานพยายามฆ่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า โดยใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายซึ่งกันและกันและกระสุนปืนที่จำเลยที่ 2 ยิงไม่ถูกจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ได้รับอันตรายแก่กายอย่างไร และทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนตีศีรษะของจำเลยที่ 1 จนได้รับอันตรายแก่กาย แต่การกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นรวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายด้วย และเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธความรับผิดของประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยแจ้งความล่าช้าหลังรถหาย ทำให้ไม่ถือว่าปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขกรมธรรม์
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารซึ่งผู้รับประกันภัยได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคสองบัญญัติให้ผู้รับประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหนึ่งฉบับ ดังนั้น การที่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าเงื่อนไขต่าง ๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ตรงกับสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงอ้างเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใดซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่นำมาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการแจ้งความคดีรถหาย ทำให้ประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบตามเงื่อนไขกรมธรรม์
การที่ ฉ. เอารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไปในครั้งเกิดเหตุแล้วไม่นำมาคืนภายในเวลาที่เคยยืมไปใช้ จำเลยที่ 1 ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของ ฉ. อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์สมควรที่จำเลยที่ 1 จะต้องแจ้งความดำเนินคดีแก่ ฉ. โดยไม่ชักช้า แต่จำเลยที่ 1 กลับเพิ่งแจ้งความหลังจากที่ ฉ. เอารถยนต์ไปใช้แล้วนานถึง 6 เดือน ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียหายแก่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ผู้เอาประกันภัยต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า จำเลยที่ 3 จึงอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยแจ้งความล่าช้าหลังรถหาย
กรมธรรม์ประกันภัยเป็นเอกสารซึ่งผู้รับประกันภัยได้ทำขึ้นภายหลังที่ได้มีสัญญาประกันภัยเกิดขึ้นแล้ว และ ป.พ.พ.มาตรา 867 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยอันมีเนื้อความต้องตามสัญญาประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหนึ่งฉบับ ดังนั้น การที่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยฟ้องผู้รับประกันภัยให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่มีข้อโต้แย้งว่าเงื่อนไขต่างๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยไม่ตรงกับสัญญาประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงอ้างเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้
ตามกรมธรรม์ประกันภัยมีเงื่อนไขว่าเมื่อมีการกระทำความผิดในทางอาญาโดยบุคคลใด ซึ่งทำให้เกิดสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ผู้เอาประกันต้องแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่ชักช้า และผู้รับประกันภัยอาจจะไม่รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ การที่มีผู้ยืมเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปแล้วไม่เอามาคืนภายในระยะเวลาที่เคยยืมไปใช้ ย่อมต้องสันนิษฐานได้ว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย การกระทำของผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อไป อาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์ สมควรที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องแจ้งความให้ดำเนินคดีโดยไม่ชักช้า การที่ผู้เอาประกันภัยเพิ่งแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้เอารถยนต์ที่เช่าซื้อในความผิดฐานลักทรัพย์หลังจากเกิดเหตุนานถึง 6 เดือน อาจเกิดผลเสียหายแก่ผู้รับประกันภัยได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันภัยจึงยกขึ้นอ้างเป็นเหตุไม่ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเล่นแชร์ผิดกฎหมายทำให้เช็คไม่มีมูลหนี้ ผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังไม่ต้องรับผิด
เมื่อวงแชร์ที่เป็นมูลหนี้ในการสั่งจ่ายเช็คพิพาทมีห้างหุ้นส่วนจำกัดพ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นนายวงแชร์ อันต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ฯ มาตรา 5 นิติกรรมการเล่นแชร์ดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 เช็คพิพาทจึงไม่มีมูลหนี้ที่จะบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้สั่งจ่ายรับผิดตามเช็คพิพาท และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้สลักหลังให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ใช้เงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวแก่โจทก์ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 ฎีกาเพียงผู้เดียว ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8909/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษาหรือประกันให้ได้ตามกฎหมาย
ในคดีแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จำเลยจะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ทั้งจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 การที่จำเลยเพียงยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับไว้ชั่วคราว โดยที่ศาลยังมิได้อนุญาตให้ทุเลาการบังคับได้ จะถือว่าจำเลยได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลแล้วมิได้ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องยกคำร้อง แม้จำเลยไม่นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในเวลาที่ศาลกำหนดก็มิใช่กรณีทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8901/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อ/ค้ำประกัน: ผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ทำหนังสือ ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ภริยาทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หนังสือยินยอมสองฉบับมีข้อความว่า ผู้ให้ความ ยินยอมยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ นอกจากเป็นหลักฐานแสดงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างรับว่าให้ความยินยอมในการที่คู่สมรสของตนทำนิติกรรมแล้ว ยังแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ยอมผูกพันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลชั้นต้นจะด่วนวินิจฉัยไปล่วงหน้าว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทราบความหมายหรือสาระสำคัญของเอกสารที่ทำทั้งที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยังไม่ได้เข้าเป็นคู่ความต่อสู้คดีนั้นไม่ถูกต้อง ส่วนข้อที่ตำหนิว่าหากต้องการให้ รับผิดก็ควรให้ทำสัญญาค้ำประกันเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 นั้น การทำข้อตกลงอย่างไร ให้ริบผิดแค่ไหนเพียงใดเป็นสิทธิของคู่สัญญา การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่รับคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไว้พิจารณา จึงไม่ชอบ
of 54