คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8746/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท: ช่วยคนต่างด้าวและรับทำงานโดยไม่มีใบอนุญาต
ความผิดตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 64วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงการกระทำที่เป็นความผิดคือ ให้คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายเข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม คดีนี้ตามคำฟ้องข้อ (ก) โจทก์กล่าวหาจำเลยว่า ช่วยด้วยประการใด ๆ แก่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยการให้เข้าทำงานในร้านอาหารของจำเลยเท่านั้น มิได้มีการช่วยอย่างอื่นอีก ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ตามคำฟ้องข้อ (ข) โจทก์กล่าวหาจำเลยว่า รับคนต่างด้าวซึ่งไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงานเป็นลูกจ้างในร้านอาหารของจำเลย จะเห็นได้ว่า การที่จำเลยรับคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนกฎหมายเข้าทำงานในร้านอาหารของจำเลยโดยคนต่างด้าวนั้นไม่มีใบอนุญาตทำงาน เป็นการกระทำที่จำเลยมีเจตนาในผลการกระทำเป็นอย่างเดียวกันคือรับคนต่างด้าวเข้าทำงาน แม้จะเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ก็เป็นการกระทำโดยเจตนาเดียวกัน จึงต้องถือว่าเป็นกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากความเหมือน/คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว และการฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.25374 อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องกรมจำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามคำสั่งแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้ว ประกอบกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 95 ย่อมถือได้ว่า การฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว ไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน
การที่นายทะเบียนพิจารณาออกคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หาได้ตัดรูปแผนที่ออกเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายแล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวไม่ การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมด ส่วนการที่นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอสละสิทธิในรูปแผนที่มีผลเพียงให้โจทก์ไม่อาจขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้รูปแผนที่นั้นเท่านั้น หาได้เป็นการให้โจทก์ต้องตัดรูปแผนที่ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกไม่ ซึ่งนายทะเบียนยังระบุแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิของโจทก์ไว้ชัดเจนว่า หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง อันเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ต่อมาบริษัท ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอีกสองเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ภาพรวมถึงเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. เหมือนหรือคล้ายกับภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ที่จะโต้แย้งและพิสูจน์กันว่าผู้ใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่ากัน หาใช่เรื่องที่แสดงว่านายทะเบียนมีคำสั่งไปโดยไม่ชอบหรือมีเจตนาไม่สุจริตไม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวได้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96 (1) ประกอบมาตรา 16 และ 18 เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว โดยมิได้พิจารณาว่ารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ยังถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเหตุผลในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่มีได้หลายประการ และเหตุผลที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบและพยานหลักฐานของโจทก์ว่าความเห็นของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกิดจากการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาโดยไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือมีเจตนาจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวดีกว่าบริษัท ส. โจทก์ก็ต้องฟ้องบริษัทดังกล่าวขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือบริษัท ส. หาใช่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ได้ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า, การฟ้องเพิกถอนทะเบียน, และอำนาจฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญา
มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลย เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องกรมจำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามคำสั่งแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้วและประกอบกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 95 ย่อมถือได้ว่าการฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว ไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน
การที่นายทะเบียนพิจารณาและออกคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วนั้นหาได้ตัดรูปแผนที่ออกเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายแล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวไม่การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมด ส่วนการที่นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอสละสิทธิในรูปแผนที่มีผลเพียงให้โจทก์ไม่อาจขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้รูปแผนที่นั้นเท่านั้น หาได้เป็นการให้โจทก์ออกไม่ ซึ่งนายทะเบียนยังระบุแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิของโจทก์ไว้ชัดเจนว่า หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง อันเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ต่อมาบริษัท ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอีกสองเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ภาพรวมเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. เหมือนหรือคล้ายกับภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ที่จะโต้แย้งและพิสูจน์กันว่าผู้ใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่ากัน หาใช่เรื่องที่แสดงว่านายทะเบียนมีคำสั่งไปโดยไม่ชอบหรือมีเจตนาไม่สุจริตอย่างใดไม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวได้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96(1) ประกอบมาตรา 16 และ 18 เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว โดยมิได้พิจารณาว่ารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่นั้น ยังถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเหตุผลในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่มีได้หลายประการ และเหตุผลที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบและพยานหลักฐานของโจทก์ว่าความเห็นของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกิดจากการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือมีเจตนาจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวดีกว่าบริษัท ส. โจทก์ก็ต้องฟ้องบริษัทดังกล่าวขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 67แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือบริษัท ส. หาใช่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 222
จำเลยลงชื่อในสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงว่า ถ้ามีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายฉบับดังกล่าว ให้นำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการของสมาคมสินค้าแห่งเมืองฮัมบูร์ก เมื่อข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อย การที่คู่กรณีได้นำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยโดยถูกต้องตามขั้นตอนเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสมาคมสินค้าแห่งเมืองฮัมบูร์ก และข้อความแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2501 คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงฟ้องร้องบังคับกันได้ในศาลไทย และเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 อันเป็นเวลาก่อนที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ บทกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นไปตามความในมาตรา 222 แห่ง ป.วิ.พ. การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าบริษัท ว. เป็นตัวแทนของโจทก์หรือไม่ก็ดี โจทก์ให้สัตยาบันสัญญาซื้อขายหรือไม่ก็ดี จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ก็ดี หรืออนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดครบประเด็นหรือไม่ก็ดี ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8151/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการต่างประเทศมีผลผูกพัน เมื่อจำเลยลงนามในเอกสารและติดต่อเรื่องค่าเสียหาย
โจทก์นำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการแห่งเมืองฮัมบูร์ก ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ซึ่งได้ชี้ขาดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ ตามฟ้อง แต่จำเลยเพิกเฉย โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาล เมื่อปรากฏว่า ในการติดต่อซื้อขายสินค้ารายพิพาทจำเลยและบริษัท ว. จำกัดได้ ลงชื่อในเอกสารว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อ รวมทั้งระบุข้อความให้เสนอข้อพิพาท ตามสัญญาให้อนุญาโตตุลาการแห่งเมืองฮัมบูร์ก วินิจฉัยไว้ด้วยเมื่อ จำเลยได้ร่วมลงชื่อในเอกสารดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ จำเลย จึงต้องผูกพันในเนื้อความของเอกสารดังกล่าวต่อโจทก์ อีกทั้งเมื่อโจทก์แจ้งจำเลยว่าโจทก์ได้นำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการแล้วจำเลย ได้ติดต่อกับโจทก์เรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยตลอดและได้ส่ง คำแถลงเกี่ยวกับคดีไปยังอนุญาโตตุลาการเพื่อปฏิเสธความรับผิด การที่ ทางอนุญาโตตุลาการแจ้งให้จำเลยไปสู้คดี จำเลยมิได้ไปสู้คดีเพราะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายสูงมาก พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยตกลงให้นำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อยจึงใช้บังคับได้ การที่คู่กรณีได้นำข้อพิพาทเสนอให้ อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยโดยถูกต้องตามขั้นตอนและระเบียบของสมาคมสินค้า แห่งเมืองฮัมบูร์กและข้อความแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและ การใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์คฯ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว จึงฟ้องร้องบังคับกันได้ในศาลไทย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับ บทกฎหมายว่าด้วย การอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 222 อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามอุทธรณ์ การที่จำเลยนำปัญหาข้อห้าม อุทธรณ์มาฎีกาจึงเป็นการฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8076/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คดีประกันภัยขนส่งระหว่างประเทศ และความรับผิดร่วมของลูกจ้าง
โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ขนส่งสินค้ารับผิดต่อโจทก์ และฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดเนื่องจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยโดยประมาทในทางการที่จ้างชนกำแพงทำให้รถยนต์คันนั้นเสียหาย และคู่ความขอให้โอนคดีไปยังศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยมีการสืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้ เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับการประกันภัยที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งระหว่างประเทศอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ส่วนฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ก็เป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้เดียวกันและเกี่ยวข้องกับที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญารับขนดังกล่าว ดังนั้น คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7444/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หลังการส่งคำบังคับตามคำพิพากษา
พนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2540 การส่งคำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง ดังนั้น คำบังคับที่ส่งให้แก่จำเลย จึงมีผลในวันที่ 18 กันยายน 2540 จำเลยอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่การส่งคำบังคับตามคำพิพากษามีผล จึงครบกำหนดในวันที่ 2 ตุลาคม 2540 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 27 ตุลาคม2540 ล่วงเลยระยะเวลา 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 บัญญัติไว้แต่เพียงว่า คำขอให้พิจารณาใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา หาได้บัญญัติให้นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับเข้าไว้ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7444/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาการยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องนับจากวันที่ส่งคำบังคับ ไม่ใช่วันที่พ้นกำหนดปฏิบัติตามคำบังคับ
พนักงานเดินหมายได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2540 การส่งคำบังคับดังกล่าวมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วันได้ล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองดังนั้น คำบังคับที่ส่งให้แก่จำเลย จึงมีผลในวันที่ 18 กันยายน 2540 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายใน 15 วัน นับจากวันที่การส่งคำบังคับตามคำพิพากษามีผล จึงครบกำหนดในวันที่ 2 ตุลาคม 2540จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ในวันที่ 27 ตุลาคม 2540 ล่วงระยะเวลา 15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยจึงขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 บัญญัติไว้แต่เพียงว่าคำขอให้พิจารณาใหม่นั้น ให้ยื่นต่อศาลภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษา หาได้บัญญัติให้นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามคำบังคับเข้าไว้ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7423/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดจากพยานหลักฐานหลายส่วน ทั้งพยานบุคคล, ธนบัตร, และคำรับสารภาพ
พยานโจทก์ผู้จับกุมเบิกความสอดคล้องว่าได้ไปร่วมจับกุมจำเลยในซอยที่เกิดเหตุจริง แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบสายลับเป็นพยาน แต่ตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่อ้างส่งก็ปรากฏว่าได้มีการลงหมายเลขธนบัตรที่ใช้ล่อซื้อทั้งสามฉบับไว้ตั้งแต่เวลา 14.15 นาฬิกา ซึ่งมีหมายเลขธนบัตรทั้งสามฉบับที่ตรวจค้นพบอยู่ในกระเป๋ากางเกงของจำเลย ตามสำเนาภาพถ่ายที่เจ้าพนักงานตำรวจถ่ายสำเนาหลังจากยึดได้จากจำเลยและจำเลยลงลายมือชื่อรับรองไว้ ทั้งเวลาที่เข้าจับกุมและตรวจค้น ธนบัตรที่ใช้ล่อซื้ออยู่ในกระเป๋ากางเกงของจำเลยซึ่งตามบันทึกการจับกุมว่าเป็นเวลา 15.40 นาฬิกา ห่างจากเวลาที่ลงหมายเลขธนบัตรในบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีไม่นาน และใกล้ ๆ กับจุดที่ตรวจค้นตัวจำเลยพบธนบัตรของกลางนั้นยังพบเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 6 เม็ด ซุกซ่อนอยู่ใกล้เคียงบริเวณที่จำเลยยืนมีลักษณะตรงกับเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยขายให้แก่สายลับนอกจากนี้จำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนและนำร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานสอบสวนไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งถ้าไม่เป็นความจริงก็คงจะไม่ยอมกระทำเช่นนี้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยตามกฎหมาย: ศาลฎีกาแก้ไขวันเริ่มดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามวันผิดนัด
โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะมีผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยก่อนวันผิดนัดเป็นการให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
of 33