คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษสามเท่าสำหรับข้าราชการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การตีความบทบัญญัติและหลักกฎหมายที่ใช้
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอีเฟดรีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2จำนวน 40,000 เม็ด น้ำหนักสุทธิรวม 3,584 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนักรวม45.2 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันขายอีเฟดรีนดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวข้องเป็นตัวการในการขายวัตถุออกฤทธิ์ครั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา6 (7 ทวิ), 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89, 106 ทวิ, 116 พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา10 ป.อ.มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนตาม ป.อ.มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามบทกำหนดโทษ ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอีเฟดรีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน40,000 เม็ด น้ำหนักสุทธิรวม 3,584 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนักรวม 45.2 กรัมอันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันขายอีเฟดรีนดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวข้องเป็นตัวการในการขายวัตถุออกฤทธิ์ครั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 6(7 ทวิ),13 ทวิวรรคหนึ่ง,62 วรรคหนึ่ง,89,106 ทวิ,116 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับขน: แม้ไม่ได้ออกใบตราส่ง ก็อาจเป็นผู้ร่วมขนส่งและรับผิดชอบความเสียหายได้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง แต่ใบตราส่งเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแห่งสัญญารับขนเท่านั้น โจทก์ย่อมนำสืบพยานหลักฐานอื่นแสดงถึงการทำสัญญารับขนได้ โจทก์ได้นำสืบถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ติดต่อทำธุรกิจส่งสินค้าทั้งทางอากาศและทางเรือให้แก่ผู้ซื้อสินค้าทั้งสองรายมาเป็นเวลานาน โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอค่าจ้างขนส่งและแจ้งชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งในต่างประเทศ จำเลยที่ 1เป็นผู้เก็บค่าจ้างขนส่งเมื่อทำการขนส่งเสร็จสิ้น และการที่จำเลยที่ 2 ระบุชื่อจำเลยที่1เป็นผู้รับสินค้าที่ปลายทางการขนส่งทางอากาศเพื่อที่จะเป็นผู้มีสิทธิไปขอรับสินค้าออกจากโกดังส่งมอบให้แก่ลูกค้าซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอตัวและดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าให้บริษัทผู้ซื้อทั้งสอง บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้ทำสัญญารับขนสินค้ากับจำเลยที่ 1 โดยตกลงว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าจากสนามบินต่างประเทศมายังประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัททั้งสอง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าเมื่อสินค้าสูญหายระหว่างการรับขนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าต่อบริษัททั้งสองตามสัญญารับขน และเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัทผู้ซื้อสินค้าทั้งสองผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวแล้ว ย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือคอสแมน 1 และปรากฏตามใบตราส่งสินค้าว่าบริษัทเอฟ.เอช.เบิร์ตเทิลลิ่งเกเซลล์ชาฟต์เอ็ม.บี.เอช. จำกัด ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งคือบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกใบตราส่งทั้งสองฉบับดังกล่าว ใบตราส่งเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของและเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัยภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเล การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้และคำแปลเอกสารโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนทั้งไม่ปรากฏว่าตัวเรือหรือสิ่งของในเรือได้รับความเสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัย ภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง แม้โนตารีปับลิกของประเทศไทยจะได้ลงชื่อรับรองในหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลของนายเรือ ก็มีหน้าที่รับรองแต่เพียงว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้เท่านั้น ส่วนข้อความในหนังสือดังกล่าวจะตรงกับความจริงหรือไม่ โนตารีปับลิกไม่อาจให้การรับรองหรือยืนยันได้เพราะไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ที่นายเรือประสบมาจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งต่อผู้รับตราส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
++ เรื่อง รับขนของทางทะเล ประกันภัยทางทะเล รับช่วงสิทธิ
++ จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 216 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาและการคิดดอกเบี้ยตามสัญญา การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและการลดเบี้ยปรับ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์ หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไป และศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาแล้วจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสามแม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับ ศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่ไม่ใช่เบี้ยปรับ
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไปและศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน 15 วันนับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันนี้ มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ จำเลยมิได้คัดค้านคำร้องภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้ จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 148 วรรคสาม แม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปีก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไป โดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามข้อตกลงในสัญญาได้อีกข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้นมิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5295/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยตามสัญญา แม้จำเลยไม่ผิดนัด ไม่ถือเป็นเบี้ยปรับ ศาลฎีกาแก้คำพิพากษา
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาของโจทก์เพียงว่าส่งสำเนาคำร้องนี้ให้จำเลยพร้อมสำเนาอุทธรณ์ หากจะคัดค้านประการใดให้แถลงคัดค้านภายใน15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ แล้วจึงจะพิจารณาสั่งต่อไปและศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ว่ารับอุทธรณ์ของโจทก์ หมายส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยแก้ภายใน 15 วัน นับแต่รับสำเนาอุทธรณ์ไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิดหมาย ให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน ดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่เมื่อจำเลยไม่คัดค้านคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาภายในกำหนดเวลาแก้อุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนมายังศาลฎีกาแล้วจึงอนุโลมได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิวรรคหนึ่ง แล้ว
หนังสือสัญญากู้เงินมีใจความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ตามสัญญานี้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือตามอัตราดอกเบี้ยใหม่ซึ่งผู้ให้กู้อาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ข้างต้นนี้ และผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามประกาศของธนาคาร สัญญาข้อนี้เป็นข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีในระหว่างสัญญาได้แม้จำเลยมิได้ผิดนัดชำระหนี้จึงเป็นดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสามแม้ในทางปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยปรากฏว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในครั้งแรกเพียงอัตราร้อยละ 12.5 ต่อปี ก็เป็นข้อปฏิบัติในลักษณะที่โจทก์ให้ประโยชน์แก่จำเลยนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญา จึงยังเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะไม่ยอมให้ประโยชน์แก่จำเลยอีกต่อไปโดยกลับไปคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีตามข้อตกลงในสัญญาได้อีก ข้อสัญญาดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าอันจะถือเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และแม้ตามหนังสือสัญญากู้เงินจะระบุว่า หากผู้กู้ผิดนัดยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าที่กำหนดได้ก็ตามแต่ดอกเบี้ยนับถัดจากวันฟ้องที่โจทก์เรียกจากจำเลยในอัตราเท่ากับอัตราตามข้อตกลงในสัญญาเท่านั้น มิได้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจึงมิใช่เบี้ยปรับศาลย่อมไม่มีอำนาจลดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินไม่เป็นโมฆะ แม้พื้นที่อยู่ในสีเขียว และไม่มีลักษณะเป็นนิติกรรมอำพราง
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ก่อสร้างโรงงานและที่พักอาศัย เมื่อกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 116 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. การผังเมืองฯ ไม่ได้กำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างโรงงานเด็ดขาด ทั้งจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อกระทรวงอุตสาหกรรมจนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
นิติกรรมอำพรางตาม ป.พ.พ. มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพราง ปกปิดไว้ โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้ คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้นสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน, นิติกรรมอำพราง, การบอกเลิกสัญญา, และการผิดสัญญาเช่า
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ก่อสร้างโรงงานและที่พักอาศัย เมื่อกฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 116 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ ไม่ได้กำหนดห้ามมิให้ก่อสร้างโรงงานเด็ดขาดทั้งจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อกระทรวงอุตสาหกรรมจนได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวแล้วจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงไม่ตกเป็นโมฆะโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ นิติกรรมอำพรางตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคสอง เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมขึ้นสองนิติกรรม นิติกรรมหนึ่งแสดงให้ปรากฏออกมาโดยไม่ประสงค์จะให้มีผลบังคับตามกฎหมาย ส่วนอีกนิติกรรมหนึ่งอำพรางปกปิดไว้โดยคู่กรณีประสงค์จะให้นิติกรรมที่อำพรางปกปิดไว้นั้นใช้บังคับระหว่างกันเองได้คู่กรณีในเรื่องนิติกรรมอำพรางจึงมีอยู่เพียงคู่เดียว ดังนั้น สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และสัญญาเช่าช่วงระหว่างจำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 2 แม้จะทำในวันเดียวกัน แต่เมื่อคู่กรณีเป็นคนละคู่กันจึงไม่มีทางที่จะเป็นนิติกรรมอำพรางตามความหมายของกฎหมายได้
of 33