พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และการพิจารณาว่าการกระทำเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำเลยข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะมิได้บรรยายถึงว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์มีน้ำหนักเท่าใด ก็หาทำให้กลายเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ไม่ เพราะข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องที่จะ นำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น การที่จำเลยจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับโดย จำหน่ายหมดในคราวเดียวกันไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ ที่จำเลยอีก เป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน อันเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 5 การระบุประเภทของยาเสพติดเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงในประเภท 1 จำนวน 2 เม็ด น้ำหนักเมทแอมเฟตามีน0.17 กรัม ไว้ในครอบครองของจำเลยเพื่อจำหน่าย และจำเลยจำหน่ายขายเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายดังกล่าวให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อในราคา200 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ขอให้ศาลลงโทษจำเลยในข้อหาจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการบรรยายฟ้องถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5) แห่ง ป.วิ.อ.ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วส่วนเมทแอมเฟตามีนของกลางที่เป็นสารบริสุทธิ์จะมีน้ำหนักเท่าใดเป็นเรื่องที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลเท่านั้น
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เป็นประกาศชื่อและประเภทของยาเสพติดให้โทษซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษว่ายาเสพติดให้โทษชื่อใด อยู่ในประเภทใดของยาเสพติดที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งยาเสพติดให้โทษแต่ละประเภทมีความร้ายแรงและมีบทกำหนดโทษที่แตกต่างกันและไม่เท่ากันดังนี้ ชื่อและประเภทของยาเสพติดจึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว กับกล่าวในฟ้องข้อ ข.ว่า จำเลยมีพืชกระท่อม อันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดและเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง และส่งประกาศดังกล่าวในการสืบพยานของโจทก์ ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับนั้นไปทั้งหมดในคราวเดียวกัน ไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ที่จำเลยอีก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เป็นประกาศชื่อและประเภทของยาเสพติดให้โทษซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษว่ายาเสพติดให้โทษชื่อใด อยู่ในประเภทใดของยาเสพติดที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ซึ่งยาเสพติดให้โทษแต่ละประเภทมีความร้ายแรงและมีบทกำหนดโทษที่แตกต่างกันและไม่เท่ากันดังนี้ ชื่อและประเภทของยาเสพติดจึงเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
คำฟ้องของโจทก์ในข้อ ก. กล่าวว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงประเภท 1 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าวซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศนี้แล้ว กับกล่าวในฟ้องข้อ ข.ว่า จำเลยมีพืชกระท่อม อันเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ.2539) เรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ตามบัญชีท้ายประกาศดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและจำเลยได้ทราบประกาศดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดและเป็นการยืนยันว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว แม้โจทก์จะไม่แนบประกาศดังกล่าวมาพร้อมคำฟ้อง และส่งประกาศดังกล่าวในการสืบพยานของโจทก์ ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำเลยได้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับนั้นไปทั้งหมดในคราวเดียวกัน ไม่มีเมทแอมเฟตามีนเหลืออยู่ที่จำเลยอีก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์หลายราย หากไม่มีเจตนาต่างกัน ถือเป็นกรรมเดียว
ลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกัน ไม่แน่ว่า จะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไป แม้โจทก์จะบรรยาย ฟ้องโดยแยกการกระทำที่อ้างว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ของ ผู้เสียหายทั้งสองเป็นข้อ (ก) และข้อ (ข) ต่างหากจากกัน แต่เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นชัดเจนว่า จำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก)และข้อ(ข) ต่างหากจากกันอย่างไร จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยกระทำ ความผิดตามฟ้องในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิด กรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์: ความผิดกรรมเดียว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2541 เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรม กล่าวคือ (ก)จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขาย เสนอขายเพื่อการค้าหากำไรซึ่งตุ๊กตากล้วยหอมบี 1 จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์ อิน พิจามัส" ที่มีผู้ทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์ อิน พิจามัส" โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 (ข) จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขายเสนอขายเพื่อการค้าหากำไรซึ่งตุ๊กตาเครยอง ชินจัง จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "เครยอง ชินจัง" ที่มีผู้อื่นทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ "เครยอง ชินจัง" โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ตามคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นได้ชัดเจนว่า จำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก) และข้อ (ข) ต่างหากจากกันอย่างไร เช่น มีการขาย เสนอขาย แก่ผู้ซื้อต่างคราวกันหรือต่างรายกันอย่างใดหรือไม่ หรือโจทก์เห็นว่าการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมกันเพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้นลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไป หากแต่ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดว่าต่างกันหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก) และข้อ (ข) โดยเจตนาต่างหากจากกันดังกล่าว จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกัน จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า: การพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดเพื่อตัดสินว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2541เวลากลางวัน จำเลยได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบท หลายกรรม กล่าวคือ (ก) จำเลยซึ่งประกอบอาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขาย เสนอขายเพื่อการค้า หากำไรซึ่งตุ๊กตากล้วยหอมบี 1 จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ ตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด"บานาน่าส์อินพิจามัส"ที่มีผู้ทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์ชุด "บานาน่าส์อินพิจามัส"โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1(ข) จำเลยซึ่งประกอบ อาชีพค้าขายสินค้าทั่วไป ได้ขายเสนอขายเพื่อการค้าหากำไร ซึ่งตุ๊กตาเครยองชินจัง จำนวน 1 ตัว ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประยุกต์ ตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด"เครยองชินจัง"ที่มีผู้อื่นทำขึ้นโดยดัดแปลงทำเป็นหุ่นเหมือนตัวแสดงในภาพยนตร์โทรทัศน์ "เครยองชินจัง"โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ทั้งนี้ โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่างานศิลปกรรมประยุกต์ ดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 2 ตามคำฟ้อง ของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏรายละเอียดให้เห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องข้อ (ก)และข้อ(ข)ต่างหากจากกันอย่างไร เช่น มีการขาย เสนอขายแก่ผู้ซื้อต่างคราวกันหรือต่างรายกันอย่างใดหรือไม่หรือโจทก์เห็นว่าการกระทำตามฟ้องเป็นความผิดต่างกรรมกันเพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันเท่านั้นลำพังการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายต่างรายกันไม่แน่ว่าจะต้องเป็นการกระทำผิดต่างกรรมกันเสมอไปหากแต่ต้องพิจารณาเจตนาในการกระทำผิดว่าต่างกันหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องแต่เมื่อคำฟ้องไม่ปรากฏชัดเจนว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ข้อ (ก)และข้อ(ข) โดยเจตนาต่างหากจากกันดังกล่าว จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องดังกล่าวในลักษณะที่มีเจตนาเดียวกันจึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษซ้ำจากความผิดเดิม: โทษปรับถือเป็นโทษ, ระยะเวลาคำนวณจากวันชำระค่าปรับ
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 113 ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปี โดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมากระทำความผิดในคดีนี้ เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปี จึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกและปรับในความผิดเครื่องหมายการค้าซ้ำ หากพ้นโทษเดิมยังไม่ครบ 5 ปี การปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 113ได้กำหนดเรื่องการเพิ่มโทษไว้โดยเฉพาะในกรณีที่จำเลยเคยต้องโทษและพ้นโทษมาไม่ครบกำหนดห้าปีโดยไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุก การปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง ดังนี้เมื่อศาลลงโทษปรับจำเลยและมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว การที่จำเลยเคยกระทำความผิดในข้อหาเดียวกันนี้ และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย และจำเลยมา กระ ทำความผิดในคดีนี้เมื่อจำเลยพ้นโทษมาแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีจึงต้องวางโทษทวีคูณแก่จำเลย ตามมาตรา 113 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษทวีคูณเครื่องหมายการค้า: โทษปรับถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง การกระทำผิดซ้ำภายใน 5 ปี ต้องรับโทษทวีคูณ
การวางโทษทวีคูณตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มาตรา 113 ไม่ได้ระบุว่าจะต้องเคยต้องโทษจำคุกและการปรับก็ถือเป็นโทษอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยเคยกระทำความผิด ในข้อหาเดียวกันนี้และศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลยแล้ว จำเลยกลับกระทำความผิดในคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่ วันพ้นโทษ จึงต้องระวางโทษทวีคูณแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นพบยาเสพติดหลังบ้าน: ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัยเมื่อหลักฐานไม่ชัดเจน
โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า ที่อ้างว่าสืบทราบว่าจำเลยลักลอบจำหน่ายเฮโรอีนนั้นสืบทราบด้วยวิธีใดและจำเลยมีพฤติการณ์อย่างใด การไปจับกุมจำเลยมานี้ไม่ได้ใช้วิธีล่อซื้อแต่เป็นการนำหมายค้นไปค้นเพื่อพบและยึดสิ่งของผิดกฎหมาย ซึ่งการที่ร้อยตำรวจโท ป.ยันยันว่า มีชายซึ่งไม่ได้สอบถามชื่อมา กระซิบ บอกว่ามี เฮโรอีนอยู่หลังบ้านจำเลยนั้นถือเป็นการเลื่อนลอยทั้งการค้นของเจ้าพนักงานก็มิได้เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้ว่า การค้นในที่รโหฐานเท่าที่สามารถจะทำได้ให้ค้นต่อหน้าผู้ครอบครองสถานที่หรือบุคคลในครอบครัว ฯลฯแต่ในขณะที่ไปตรวจค้นนั้นมีจำเลยอยู่ที่บ้านคนเดียวและไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องอย่างใด เมื่อค้นในบ้านไม่พบสิ่งผิดกฎหมายก็สมควรจะนำจำเลยไปหลังบ้านด้วยและค้นต่อหน้าจำเลยเพื่อแสดงความบริสุทธิ์และเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่ค้นพบเฮโรอีนของกลางลับหลัง อย่างนี้ทำให้ยังเป็นที่น่าเคลือบแคลงสงสัย จำเลยประกอบอาชีพมีงานทำเป็นกิจจะลักษณะโดยเป็นเจ้าของร้านรับซ่อมรถจักรยานยนต์อยู่ ณ บ้านที่เกิดเหตุนั้นเองมี ช. กำนันตำบลที่เกิดเหตุรับรองว่าจำเลยไม่เคยเสพหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และทางพิจารณาได้ความว่าบริเวณที่พบเฮโรอีนของกลางมิได้อยู่ในบ้าน แต่อยู่นอกบ้านออกไปในที่โล่ง ไม่มีหลังคาคลุม เพียงแต่มีรั้วลวดหนามกั้นอยู่โดยรอบ ซึ่งก็สามารถเดินผ่านข้ามได้แสดงว่ารั้วนี้กั้นคนไม่ได้ทั้งจุดที่ค้นพบถุงเฮโรอีนซึ่งอยู่ห่างรั้วประมาณ 1 ศอกนั้น ก็ง่ายต่อการที่ ผู้อื่นจะนำถุงเฮโรอีนของกลางไปวางซุก ไว้อย่างยิ่งโดยไม่ถึงกับต้องเข้าไปข้างในรั้วเพียงแต่เดินมาข้างรั้ว แล้วยื่นมือเข้าไปวางก็ทำได้ทุกเวลาอยู่แล้ว จะฟังว่า ค้นพบเฮโรอีนของกลางหลังบ้านจำเลยก็ต้องเป็นของจำเลย ยังฟังได้ไม่ถนัด กรณีมีเหตุสงสัยจึงเห็นสมควรยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 127/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้า กรณีเหตุสุดวิสัยและสภาพเรือ
ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 52 จำเลยในฐานะผู้ขนส่งจะไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้า ที่ตนขนส่งต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุตาม มาตรา 52(1) หรือ (11) จริง จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ เพื่อให้ได้ความเช่นนั้น ซึ่งกรณีเป็นเหตุสุดวิสัยต้องปรากฏว่า เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือ ใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น สินค้าเกลือพิพาทได้รับความเสียหายเนื่องจากน้ำทะเลรั่ว ผ่านรอยแตกผุกร่อนที่ดาดฟ้าและท่อระบายอากาศถังน้ำอับเฉา เข้าไปถึงสินค้าที่เก็บในระวางที่ 2 ซึ่งในระหว่างเดินทาง เรือประสบคลื่นลมแรง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าคลื่นลมนั้นมีความรุนแรงเกินความคาดหมายในสภาพท้องทะเลช่วงนั้น ถึงขนาดที่ไม่อาจป้องกันมิให้น้ำทะเลรั่วซึม เข้าไปในเรือ ได้แต่อย่างใด จำเลยในฐานะผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องทำให้เรือ อยู่ในสภาพที่สามารถเดินทะเลได้อย่างปลอดภัยในเส้นทาง เดินเรือนั้น จัดให้มีคนประจำเรือ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องอุปกรณ์ และสิ่งจำเป็นให้เหมาะสมแก่ความต้องการ สำหรับเรือนั้น และจัดระวางบรรทุกและส่วนอื่น ๆ ที่ใช้บรรทุก ของให้เหมาะสมและปลอดภัยตามสภาพแห่งของที่จะรับขนส่ง และรักษาตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 8 แม้ก่อนหน้าที่จำเลยจะนำเรือดังกล่าวมาใช้ ขนส่งสินค้าพิพาทเพิ่งจะได้รับการตรวจสภาพโครงสร้าง ของตัวเรือมาก่อนก็ตาม แต่หลังจากการตรวจสภาพโครงสร้างเรือ แล้วก็อาจมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับโครงสร้างหรือส่วนอื่นที่ไม่ใช่โครงสร้างของเรือเกิดขึ้นได้ซึ่งหากมีข้อบกพร่องดังกล่าวจำเลยก็มีหน้าที่ต้องแก้ไขเสียก่อนบรรทุก ของลงเรือหรือก่อนนำเรือออกเดินทางเพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 8 ปรากฏว่าหลังเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยเจ้าหน้าที่ สำรวจความเสียหายของสินค้าก็สามารถตรวจพบรอยผุกร่อน ที่ดาดฟ้าและท่อระบายอากาศถังน้ำอับเฉาได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นขณะอยู่ในความดูแลของจำเลย