พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ด้วยกลอุบายร้ายแรง ศาลลดโทษจำคุกจากเดิม
จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาทรัพย์หลายรายการใส่ในกล่องกระดาษใส่พัดลม และนำผ่านเครื่องเก็บเงินของผู้เสียหาย และชำระราคาสินค้าเท่ากับราคาค่าพัดลม 3 เครื่อง ซึ่งมีราคา น้อยกว่าราคาสินค้าในกล่องกระดาษเป็นการลักทรัพย์โดยใช้ กลอุบาย แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันคบคิด แสวงหาวิธีการ หลอกลวงตบตาผู้เสียหายไว้ก่อน ลักษณะและพฤติการณ์แห่งความผิด จึงถือได้ว่าร้ายแรง จำเลยทั้งสองเป็นผู้ใหญ่ และจำเลยที่ 2 มีครอบครัวและบุตรแล้ว ถือได้ว่ามีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี พอสมควรกลับมากระทำผิดจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: ความผิดเฉพาะตัวของผู้กระทำ และอำนาจศาลตามบทบัญญัติกฎหมายอาวุธปืน
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนที่มีใบอนุญาตให้มีและ ใช้เป็นของผู้ร้องโดยถูกต้อง ความผิดของจำเลยอยู่ที่ การมีอาวุธปืนของผู้อื่นไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืน ดังกล่าวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดเฉพาะตัว อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้น และแม้จะถือว่าเป็นอาวุธ ซึ่งเมื่อจำเลยพาไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุสมควรแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 แต่ในเมื่อคดีนี้ โจทก์ฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ ซึ่งมีบทลงโทษตามมาตรา 72 ทวิ อีกบทหนึ่ง และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษจำเลยตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 ทวิ ซึ่งเป็นบทที่มีโทษ หนักที่สุดแล้วศาลก็ย่อมไม่อาจพิพากษาให้ริบอาวุธปืน ของกลางได้ เพราะมาตรา 72 ทวิ มิได้บัญญัติให้อำนาจศาล สั่งริบอาวุธปืนที่พาไปโดยผิดกฎหมายได้เลย และจะสั่ง ให้ริบอาวุธปืนโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องซึ่งเป็นบทเบาก็ไม่ได้ด้วย เพราะศาล ไม่ได้ลงโทษจำเลยตามบทนี้ เมื่ออาวุธปืนของกลางริบไม่ได้ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำ ความผิดของจำเลยหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลพิพากษาให้ริบอาวุธปืน ของกลางไปแล้ว ต่อมาผู้ร้องมาร้องขอคืน ก็ต้องคืนอาวุธปืน ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมใช้เอกสาร, มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนในเมือง ศาลฎีกาตัดสินแก้โทษจำคุก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำอันเป็นความผิด ของจำเลยว่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหา ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยให้การ รับสารภาพในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อ ศาลฎีกาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา พิพากษาใหม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัย ในปัญหานี้ไปเสียเลย การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูหลักฐานเพราะมี พฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจากแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้าย ทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นเอกสาร ที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และ อ้างแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสีย ภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐาน ที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏ ว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็น รถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็นกรรมเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาต ขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อ เจ้าพนักงานตำรวจในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกันโดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสารดังกล่าว มีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้าง แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ พ.ศ. 2535 จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1 มีความสามารถขับรถยนต์ ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่จำเลยแล้วและการใช้ หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอมเพื่อ ให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและ ใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1 ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้แผ่นป้ายแสดงการประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 วรรคแรก,268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 โดยไม่ได้ระบุ บทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรคในความผิดอื่น ๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน กรณีใช้เอกสารปลอมและการปลอมแปลงเอกสารประเภทต่างๆ
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยในการกระทำอันเป็นความผิดของจำเลยว่าเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกัน ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้จำเลยให้การรับสารภาพในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและเมื่อศาลฎีกาเห็นว่าไม่จำเป็นต้องส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัย ในปัญหานี้ไปเสียเลย
การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูหลักฐานเพราะมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจากแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และอ้างแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐานที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็นกรรมเดียวตาม ป.อ.มาตรา 90
สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกันโดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสารดังกล่าวมีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1มีความสามารถขับรถยนต์ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่จำเลยแล้วและการใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91
แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ.มาตรา 268โดยไม่ได้ระบุบทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรคในความผิดอื่น ๆ ให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
การที่จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจตรวจดูหลักฐานเพราะมีพฤติการณ์เป็นที่น่าสงสัยเนื่องจากแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่ทะเบียนที่ทางราชการออกให้ โดยตรวจพบว่าแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น การกระทำของจำเลยทั้งหมดคือ การปลอมใช้และอ้างแผ่นป้ายทะเบียนรถยนต์ปลอม แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีปลอมเป็นความผิดกรรมเดียวเพราะเป็นเอกสารและหลักฐานที่ติดอยู่ที่รถยนต์คันเดียวกันและตามฟ้องของโจทก์ก็ปรากฏว่าจำเลยแสดงเอกสารดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานตำรวจในเวลาเดียวกัน ซึ่งตามพฤติการณ์เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาอย่างเดียวกันคือเพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจเห็นว่ารถยนต์คันดังกล่าวเป็นรถยนต์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยในจึงเป็นกรรมเดียวตาม ป.อ.มาตรา 90
สำหรับข้อหาใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอม ใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอม และใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอม แม้ตามฟ้องจะปรากฏว่าจำเลยได้แสดงต่อเจ้าพนักงานตำรวจในคราวเดียวกัน แต่ก็เป็นเอกสารคนละประเภทกันโดยเจตนาของการปลอม การใช้และอ้างซึ่งเอกสารดังกล่าวมีเจตนาก่อให้เกิดผลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ การใช้หรืออ้างแผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่ารถยนต์คันดังกล่าวมีการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535จริง การใช้หรืออ้างใบอนุญาตขับรถยนต์ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าจำเลยที่ 1มีความสามารถขับรถยนต์ได้ซึ่งทางราชการได้ออกใบอนุญาตให้แก่จำเลยแล้วและการใช้หรืออ้างใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) ปลอมเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวได้ ซึ่งทางราชการได้อนุญาตให้จำเลยที่ 1 มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 1ส่วนนี้จึงเป็นคนละกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91
แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถมิใช่เอกสารซึ่งเจ้าพนักงานได้ทำขึ้นหรือรับรองในหน้าที่ จึงมิใช่เอกสารราชการการปลอมและใช้แผ่นป้ายแสดงการประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นเพียงความผิดตาม ป.อ.มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา264 วรรคแรก การที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ.มาตรา 268โดยไม่ได้ระบุบทมาตราประกอบ และไม่ได้ระบุวรรคในความผิดอื่น ๆ ให้ครบถ้วนถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน กรรมสิทธิ์ยังอยู่เจ้าของเดิมจนกว่าจะโอนกรรมสิทธิ์ การครอบครองไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
โจทก์ที่ 1 ที่ 3 และ ม. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยในสัญญาซื้อขายระบุว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่ยังไม่ไปโอนกรรมสิทธิ์ เนื่องจากโจทก์ที่ 2 และที่ 5ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วจะโอนทันทีแสดงว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเท่านั้นเพราะยังมีข้อตกลงจะไปโอนกรรมสิทธิ์ในภายหลัง ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์กันตามข้อตกลงในสัญญากรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงอยู่แก่โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของเดิม ถึงจำเลยจะเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองแทนโจทก์ทั้งห้า จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้ว่าศาลจะมีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้ยันกับโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทได้จำเลยไม่มีสิทธิที่จะขับไล่โจทก์ทั้งห้าออกจากที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7221/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะ และส่งผลถึงสัญญาขายฝากที่ทำภายหลัง
จำเลยที่ 1 กับพวกวางแผนทำทีติดต่อขอซื้อที่ดินจากโจทก์ แล้วขอยืมโฉนดที่ดินพิพาทจากโจทก์เพื่อเอาไปถ่ายเอกสารแล้วทำโฉนดที่ดินพิพาทปลอมขึ้นมาอีกฉบับหนึ่ง พร้อมทั้งหลอกโจทก์ให้พิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือสัญญาขายที่ดินและเอกสารต่าง ๆ นำไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ต่อจากนั้นจำเลยที่ 1 จึงทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทไว้กับจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนามาแต่ต้นว่าจะซื้อที่ดินของโจทก์ การที่โจทก์ไปทำสัญญาขายที่ดินกับจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์แสดงเจตนาไปด้วยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 119 เดิม จึงต้องถือเสมือนว่ามิได้มีการซื้อขายกันเกิดขึ้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์อยู่ตามเดิม และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะเอาที่ดินพิพาทไปทำสัญญาขายฝากกับจำเลยที่ 2 ได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับซื้อฝากที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ผู้ไม่มีสิทธิจึงไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามสัญญาขายฝากนั้น โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการหักหนี้จากเงินได้หลังพ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง และอำนาจฟ้องของเจ้าหนี้
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจากเงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้) ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อน เป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้ง จึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7091/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์หักเงินสะสมสวัสดิการชำระหนี้กู้ยืม การมีอำนาจฟ้อง และการต่อสู้คดีด้วยสิทธิอื่น
สัญญากู้ฉบับพิพาทระบุว่า ในกรณีผู้กู้สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของผู้ให้กู้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ และผู้กู้ ยังมีเงินกู้ค้างชำระอยู่ผู้ให้กู้อาจเลือกพิจารณาได้ดังนี้ คือ ให้จ่ายเงินกู้ค้างชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนที่ค้างชำระโดยหักจาก เงินเดือน เงินโบนัสหรือเงินได้อื่น ๆ ที่ผู้กู้มีสิทธิพึงได้รับจากบริษัท (ผู้ให้กู้)ถ้าหากจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้กู้จะต้องหาเงินจากที่อื่นมาเพื่อปิดยอดเงินกู้ที่ค้างชำระทั้งสิ้นต่อไป ตามข้อสัญญาดังกล่าว เป็นกรณีที่เมื่อจำเลยมีเงินที่จะได้รับจากโจทก์ ก็ให้ โจทก์หักเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้จากโจทก์ออกจากเงินกู้เพื่อหักกลบลบหนี้กันก่อน เหลือเท่าใด จำเลยก็จะต้องชำระให้โจทก์จนหมดสิ้น เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ที่จะหักเงินจำนวนใด ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากโจทก์ชำระหนี้ที่ค้างชำระแก่โจทก์ได้เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์ กรณีมิใช่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์โดยจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์ตามสัญญา และจำเลยไม่ชำระหนี้ เงินกู้ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อม มี อำนาจฟ้องจำเลยได้ ส่วนการที่จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสะสมสวัสดิการ โดยโจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเมื่อจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานของโจทก์ไปหักชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมตามฟ้องก่อนเป็นการยกข้อต่อสู้ซึ่งสิทธิที่จำเลยจะพึงได้รับเงินสะสมสวัสดิการจากโจทก์ ซึ่งโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ และจำเลยมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาแก่โจทก์โดยการฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจบังคับให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6968/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มนับโทษจำคุกเมื่อจำเลยหลบหนี และการสอบคำให้การเพื่อเพิ่มโทษไม่ผูกพันการรับโทษเดิม
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลย แต่จำเลยหลบหนีไม่ไปฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับจำเลยเพื่อมารับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าจำเลยอยู่ในระหว่างหลบหนีนับแต่วันออกหมายจับเป็นต้นมา แม้ต่อมาจำเลยถูกจับและคุมขังในคดีอื่นอีกคดีหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการแจ้งการควบคุมในคดีนี้ไว้ด้วย จึงต้องฟังว่าที่จำเลยถูกควบคุมตัวนับแต่วันที่ถูกจับตลอดมาเป็นการควบคุมในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งเท่านั้นไม่เกี่ยวกับคดีนี้จึงต้องเริ่มนับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้ออกหมายขังจำเลยไว้ในคดีนี้
การที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งซึ่งรวมถึงในข้อที่จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกด้วย ก็เป็นการสอบข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์ขอเพิ่มโทษจำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีนี้แล้วข้อเท็จจริงตามคำฟ้องจึงเป็นยุติ ไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องตรวจสอบการรับโทษของจำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะรับตัวจำเลยไว้รับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ได้
การที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยในคดีอื่นอีกคดีหนึ่งซึ่งรวมถึงในข้อที่จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกด้วย ก็เป็นการสอบข้อเท็จจริงในข้อที่โจทก์ขอเพิ่มโทษจำเลยเท่านั้น เมื่อจำเลยรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีนี้แล้วข้อเท็จจริงตามคำฟ้องจึงเป็นยุติ ไม่จำเป็นที่ศาลชั้นต้นจะต้องตรวจสอบการรับโทษของจำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะรับตัวจำเลยไว้รับโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการจดทะเบียนโอนมรดกผิดพฤติกรรม ผู้จัดการมรดกสวมบทเป็นผู้รับมรดกเอง
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 352 ผู้กระทำผิดต้องเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และได้เบียดบังเอาทรัพย์เป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ส่วนความผิดตามมาตรา 353ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนทำให้เกิดความเสียหายสำหรับความผิดตามมาตรา 354 ต้องเป็นกรณีที่ผู้กระทำความผิดมาตรา 352 หรือ 353ได้กระทำในฐานะที่เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือ ว. เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่น และไม่ได้มีฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตรา 352 มาตรา 353 และมาตรา 354 ได้ เมื่อจำเลยไม่สามารถกระทำผิดตามมาตราดังกล่าวได้ จำเลยจึงเป็นตัวการร่วมกับ ว.ในการกระทำความผิดตามมาตรา83 ไม่ได้
การจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องสอบถามทายาทอื่น แตกต่างกับการจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้รับมรดกเอง ซึ่งจะต้องมีการบันทึกการยินยอมของทายาทเจ้ามรดกไว้ด้วย และเป็นการจดทะเบียนที่ดินประเภทมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่า ว. ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า เหตุที่ไม่ได้โอนมรดกรายนี้ให้ทายาทอื่นด้วยนั้น เนื่องจาก ว.ได้แบ่งมรดกส่วนอื่นให้ไปแล้ว และจำเลยในฐานะทายาทได้ทำบันทึกให้ความยินยอมโดยที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกรายอื่นให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทอื่นเลย จึงเป็นการที่จำเลยช่วยเหลือให้ ว. ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จดทะเบียนโอนมรดกเป็นของ ว.ในฐานะผู้รับมรดกเองอันเป็นการกระทำที่มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ.มาตรา 353, 354 ประกอบ 86 แล้ว
การจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องสอบถามทายาทอื่น แตกต่างกับการจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้รับมรดกเอง ซึ่งจะต้องมีการบันทึกการยินยอมของทายาทเจ้ามรดกไว้ด้วย และเป็นการจดทะเบียนที่ดินประเภทมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่า ว. ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า เหตุที่ไม่ได้โอนมรดกรายนี้ให้ทายาทอื่นด้วยนั้น เนื่องจาก ว.ได้แบ่งมรดกส่วนอื่นให้ไปแล้ว และจำเลยในฐานะทายาทได้ทำบันทึกให้ความยินยอมโดยที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกรายอื่นให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทอื่นเลย จึงเป็นการที่จำเลยช่วยเหลือให้ ว. ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จดทะเบียนโอนมรดกเป็นของ ว.ในฐานะผู้รับมรดกเองอันเป็นการกระทำที่มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ.มาตรา 353, 354 ประกอบ 86 แล้ว