คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6870/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการโอนมรดกโดยมิชอบของผู้จัดการมรดก ผู้จัดการมรดกให้ถ้อยคำเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ผู้กระทำผิดต้องเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และได้เบียดบัง เอาทรัพย์เป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ส่วนความผิดตามมาตรา 353 ผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่นหรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนโดยทุจริตจนทำให้เกิดความเสียหาย สำหรับความผิดตามมาตรา 354 ต้องเป็นกรณี ที่ผู้กระทำความผิดมาตรา 352 หรือ 353 ได้กระทำในฐานะ ที่เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือ ตามพินัยกรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยหรือ ว.เป็นผู้ครอบครองทรัพย์ของผู้อื่น และจำเลยไม่ได้เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์ของผู้อื่น และไม่ได้ มีฐานะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลหรือตามพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้กระทำความผิด ตามมาตรา 352 มาตรา 353 และมาตรา 354 ได้ เมื่อจำเลย ไม่สามารถกระทำผิดตามมาตราดังกล่าวได้ จำเลยจึงเป็นตัวการ ร่วมกับ ว. ในการกระทำความผิดตามมาตรา 83 ไม่ได้ การจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดกในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้โดยไม่ต้องสอบถามทายาทอื่น แตกต่างกับการจดทะเบียนโอนมรดกให้แก่ผู้จัดการมรดก ในฐานะเป็นผู้รับมรดกเอง ซึ่งจะต้องมีการบันทึกการยินยอม ของทายาทเจ้ามรดกไว้ด้วย และเป็นการจดทะเบียนที่ดิน ประเภทมีทุนทรัพย์ เมื่อปรากฏว่า ว.ได้ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า เหตุที่ไม่ได้โอนมรดกรายนี้ให้ทายาทอื่นด้วยนั้น เนื่องจาก ว. ได้แบ่งมรดกส่วนอื่นให้ไปแล้ว และจำเลยในฐานะทายาทได้ทำบันทึกให้ความยินยอม โดยที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ได้แบ่งมรดกรายอื่นให้แก่โจทก์ ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทอื่นเลย จึงเป็นการที่จำเลยช่วงเหลือ ให้ ว. ผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จดทะเบียนโอนมรดกเป็นของ ว. ในฐานะผู้รับมรดกเองอันเป็นการกระทำที่มีมูลความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353,354 ประกอบ 86 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6647/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องพิสูจน์สถานะภาคีอนุสัญญาในเวลาที่กระทำผิด
แม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องว่า บริษัท ก.(เมืองฮ่องกง)เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานโสตทัศนวัสดุแถบบันทึกเสียงและภาพ (วีดีทัศน์) เรื่อง โหด เลว ดี ภาค 3 ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกง ซึ่งเมืองฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นซึ่งแก้ไข ณ กรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายนค.ศ. 1908 และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคอล เพิ่มเติมลงนาม ณ กรุงเบอร์น เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1914ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอนุสัญญาดังกล่าว และกฎหมายของ เมืองฮ่องกงให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โดยโจทก์ไม่ต้องนำสืบข้อเท็จจริง เพราะพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2536 ได้มีบัญชีรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย การคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว และข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกัน ทั่วไปว่า เมืองฮ่องกงอยู่ภายใต้อาณัติ ของ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ดังนั้นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงจึงได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ด้วยนั้นก็เป็นการบรรยาย ข้อเท็จจริงให้ครบองค์ประกอบของความผิดในกรณีที่ผู้มีลิขสิทธิ์ ได้สร้างสรรค์งานของตนตามกฎหมายในต่างประเทศที่มีกฎหมาย ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ เพื่อ ให้เห็นว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ฯ ให้ความคุ้มครองไว้เท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบ ให้เห็นว่า เมืองฮ่องกง เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ทำ ณ กรุงเบอร์นในเวลาที่จำเลยกระทำผิด ทั้งรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ดังกล่าวตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อ คุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2536 ที่โจทก์ กล่าวอ้างนั้น ก็เป็นรายชื่อประเทศที่เป็นภาคีในเวลา พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับคือในปี 2536 ไม่อาจรับฟัง เป็นยุติว่าประเทศตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกานั้นจะเป็น ภาคีอนุสัญญาในเวลาที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในคดีนี้คือ ในช่วงปี 2533 ด้วย จึงยังฟังไม่ได้ว่าเมืองฮ่องกงเป็นภาคีอนุสัญญาในเวลาที่จำเลยกระทำผิดตามที่โจทก์กล่าวอ้าง อันจะมีผลให้วีดีโอเทปภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวได้รับ ความคุ้มครองพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 42 ดังนี้ ย่อมไม่อาจฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์ ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6558/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์, การมอบอำนาจ, พยานหลักฐาน, และความรับผิดของผู้ขาย
ในกรณีความผิดอาญาซึ่งกระทำต่อนิติบุคคลนั้น ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคลมีอำนาจร้องทุกข์แทนนิติบุคคลได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 และมาตรา 5 แต่ตาม ป.วิ.อ. ไม่ได้บัญญัติการมอบอำนาจให้ผู้แทนนิติบุคคลไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้เท่าที่พอจะใช้บังคับได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม บัญญัติเกี่ยวกับใบมอบอำนาจที่ได้ทำในต่างประเทศ ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศที่มีกงสุลสยามต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน แต่ถ้าได้ทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยาม ต้องให้เจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ดหรือบุคคลอื่น ซึ่งกฎหมายแห่งท้องถิ่นตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านี้และต้องมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ โดยไม่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น เมื่อหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่จำเลยได้ลงนามโดยมีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล และมีพยานตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ลงลายมือชื่อไว้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ผู้รับมอบอำนาจจากนิติบุคคลผู้เสียหาย ย่อมมีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้แจ้งความร้องทุกข์ได้
แม้ว่าภาพโปรแกรมไมโครซอฟท์มันนี่ ภาพโปรแกรมอโดเบ ไทป์เมเนเจอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลเพื่อใช้ในทางติดตั้งสำเนาโปรแกรมลงบนสื่อบันทึกถาวรในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างแฟ้มข้อมูลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์เมื่อติดตั้งบนสื่อบันทึกถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะเป็นเอกสารที่ผู้เสียหายจัดทำขึ้นเอง และได้ทำขึ้นภายหลังจากที่มีการจับกุมจำเลยแล้วก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวไม่ใช่ของกลางในคดีอาญาหากแต่เป็นเอกสารที่ผู้เสียหายได้จัดทำขึ้นจากโปรแกรมของผู้เสียหายเพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้สร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวและแผ่นซีดีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อันเป็นวัตถุพยาน ซึ่งได้กระทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งมีอยู่แล้วเท่านั้น ดังนั้น เอกสารที่ผู้เสียหายทำขึ้นจึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
ไมโครซอฟท์มันนี่ได้เริ่มจัดพิมพ์ตั้งแต่ ค.ศ.1991 แล้วพัฒนาเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันมีไมโครซอฟท์มันนี่ 97, 98 แล้ว ซึ่งหลังจาก ค.ศ.1991 ได้มีโปรแกรมที่พัฒนาเพิ่มเติมเป็นการวางรากฐานส่วนใหญ่มาจากโปรแกรมแรก หรือแก้ไขเพิ่มเติมจากโครงสร้างโปรแกรมหลักให้แก่โปรแกรมปี 91 โปรแกรมที่จำเลยจำหน่ายเป็นโปรแกรมปี 95 แต่โปรแกรมที่โจทก์จัดพิมพ์เพื่อใช้เปรียบเทียบนั้นเป็นโปรแกรมปี 97 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานสร้างสรรค์ และมีการพัฒนาจากรากฐานเดิมไปเรื่อย ๆ โดยอาศัยโครงสร้างโปรแกรมหลักอันเดิม การที่โจทก์ฟ้องว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ไมโครซอฟท์มันนี่ 95 แต่นำโปรแกรมปี 97 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากปี 95 มาแสดงต่อศาล เมื่อศาลได้ตรวจดูวัตถุพยานแล้วก็ปรากฏภาพโปรแกรมตรงกับเอกสารที่โจทก์จัดพิมพ์เปรียบเทียบ กรณีจึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (1) บัญญัติถึงกรณีผู้ที่กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้มีความหมายรวมถึงผู้ขาย มีไว้เพื่อขายเสนอขายไว้ด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ขายแผ่นซีดีของกลางให้แก่ผู้ซื้อ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อันจึงเป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5883/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบของกลางในคดีอาญา แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 144, 33และให้ริบเงินสดของกลางที่จำเลยได้ให้แก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้เจ้าพนักงานปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่ต้องนำส่งพนักงานสอบสวน การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186(9) ปัญหาข้อนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องและพิพากษาให้ริบของกลางได้ ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5838/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์ต่อเนื่องกัน ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษแม้โจทก์มิได้ฟ้อง
ขณะที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายนั้นนาฬิกาของผู้เสียหายหลุดจากข้อมือ จำเลยที่ 1 กับพวกมิได้เข้าหยิบฉวยนาฬิกาแต่อย่างใด กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับพวกวิ่งไล่ตามผู้เสียหายไปจนถึงปากซอย แสดงว่าจำเลยที่ 1 กับพวกมิได้ประสงค์ต่อทรัพย์ของผู้เสียหาย แต่เมื่อทำร้ายผู้เสียหาย แล้วเห็นนาฬิกาของผู้เสียหายตกอยู่จึงมีเจตนาที่จะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตน และเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายและฐานลักทรัพย์เท่านั้น การทำร้ายร่างกายและการลักทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องให้ลงโทษในการกระทำความผิดดังกล่าว ศาลก็มีอำนาจพิพากษาลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคท้าย การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่เป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและลักทรัพย์อันเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีผลถึงจำเลยอื่นที่ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 89 แม้จำเลยอื่นจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิดทายาท, ค่าขึ้นศาล, ปัญหาความสงบเรียบร้อย
เมื่ออายุความละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 ซึ่งเป็นคุณแก่ ส.ผู้ตายจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ส.ตาย สิทธิของโจทก์ผู้ถูกกระทำละเมิดที่จะฟ้องทายาทผู้รับมรดกของ ส.จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 193/23 โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส.ในวันที่ยังไม่ครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันอันเป็นวันที่ ส.ตาย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้าย ป.วิ.พ. มิใช่เสียตามทุนทรัพย์ แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดและการฟ้องทายาท: คดีไม่ขาดอายุความหากฟ้องภายในหนึ่งปีนับจากวันตายของผู้ถูกละเมิด
เมื่ออายุความละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 ซึ่งเป็นคุณแก่ ส. ผู้ตายจะครบกำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ส. ตาย สิทธิของโจทก์ผู้ถูกกระทำละเมิดที่จะฟ้องทายาทผู้รับมรดกของ ส. จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา193/23 โจทก์ ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ส. ในวันที่ยังไม่ครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันอันเป็นวันที่ ส. ตาย คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 การที่โจทก์อุทธรณ์และจำเลยฎีกาต่อมาจึงเป็นการอุทธรณ์และฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นละ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียตามทุนทรัพย์แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาเห็นสมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์จำกัดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง: การคำนวณมูลค่าที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาสร้างโรงเรือนในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่าตนเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน เนื้อที่เท่ากันคนละ 77ตารางวา เนื้อที่ดินทั้งแปลงมีราคา 52,000 บาท ที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยแต่ละคนจึงมีราคาครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาททั้งแปลงคือมีราคาแปลงละ 26,000 บาท ซึ่งต้องถือราคานี้เป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคนจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 26,000 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5762/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์จำกัดเกิน 50,000 บาท ทำให้ไม่อาจอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีมิชอบ
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาสร้างโรงเรือนในที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองให้การและฟ้องแย้งว่าตนเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทคนละส่วนแยกต่างหากจากกัน เนื้อที่เท่ากันคนละ 77 ตารางวา เนื้อที่ดินทั้งแปลงมีราคา 52,000 บาทที่ดินพิพาทส่วนของจำเลยแต่ละคนจึงมีราคาครึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาททั้งแปลงคือมีราคาแปลงละ 26,000 บาทซึ่งต้องถือราคานี้เป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยแต่ละคนจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 26,000 บาท ไม่เกิน 50,000 บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5640/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเมื่อผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดิน และผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหลักฐานเป็นแบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) และสละสิทธิครอบครองให้ แก่โจทก์แล้ว ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 อีกต่อไปจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำไปขายให้แก่จำเลยที่ 3 แม้จำเลยที่ 3จะได้ออก น.ส. 3 ก. แต่จำเลยที่ 3 ก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยที่ 3 มีชื่อใน น.ส.3 ก. จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 4 ไป แม้จำเลยที่ 4 ซื้อไว้โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4ก็ไม่มีสิทธิอย่างใดในที่ดินพิพาท ตามหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และระหว่างจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 4 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองไปขายโดยไม่ชอบ และขอให้เพิกถอน น.ส. 3 ก.ที่จำเลยที่ 3 ออกโดยไม่ชอบ กรณีจึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันทราบมูลคดีนี้ คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
of 33