พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมาย – การสอบถามทนายความก่อนพิจารณาคดีในศาลแขวง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2539ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลย มีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณา ให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการ ทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนด อำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิด ที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณา คดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลย ให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็ว เท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความ ช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติ ที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาส ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มี จำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการมีทนายความ: ศาลต้องสอบถามก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาที่มีโทษจำคุก
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ.(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2539 ที่บัญญัติว่า "ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก หรือในคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาล ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและจำเลยต้องการทนายความก็ให้ศาลตั้งทนายความให้" เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามจำเลยในเรื่องการมีทนายความเสียก่อนในกรณีที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกทุกกรณี และต้องนำมาใช้ในการพิจารณาคดีอาญาทุกคดี ส่วนบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 แม้จะเป็นบทบัญญัติที่ใช้ในศาลแขวงโดยเฉพาะแต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงบทบัญญัติเกี่ยวกับการดำเนินการของพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ และวิธีพิจารณาคดีของศาลในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพเพื่อให้การพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยเร็วเท่านั้น มิใช่เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในการดำเนินคดี การต่อสู้คดี และการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายแต่อย่างใด ดังนี้ เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงไม่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของจำเลยในกรณีที่ให้จำเลยมีโอกาสได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายจากทนายความในการดำเนินคดี กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง มาใช้บังคับตามนัยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ดังนี้ เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุก แต่ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ และถ้าไม่มีจำเลยต้องการทนายความหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้า
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้รับประกันภัยชำระแก่องค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศจำนวน 2,916,850.29 บาทสำหรับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกน้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตัน เป็นค่าเสียหายเฉพาะความเสียหายกรณีปูนซีเมนต์ที่ถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง น้ำหนัก1,769.30 เมตริกตัน โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิจากองค์การคลังสินค้าเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง เท่านั้น โจทก์หาได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายสำหรับกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวจำนวน 1,372 ถุง และปูนซีเมนต์ขาดหายอีก 16 ถุง มาด้วยดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับหนี้ความเสียหายตามฟ้องในกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวและขาดหายจำนวนดังกล่าว ซึ่งปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246และ 247
ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือ ช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้น จำเลยที่ 3ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขนปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึงกรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งก็ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือองค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่งเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญารับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน
ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือ ช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้น จำเลยที่ 3ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขนปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึงกรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งก็ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือองค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่งเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญารับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีความเสียหายปูนซีเมนต์จากการขนถ่ายสินค้า
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้รับประกันภัยชำระแก่องค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศจำนวน 2,916,850.29 บาท สำหรับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกน้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตันเป็นค่าเสียหายเฉพาะความเสียหายกรณีปูนซีเมนต์ที่ถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง น้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตัน โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิจากองค์การคลังสินค้าเฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกจำนวน41,574 ถุง เท่านั้น โจทก์หาได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายสำหรับกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวจำนวน 1,372 ถุง และปูนซีเมนต์ขาดหายอีก 16 ถุง มาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับหนี้ความเสียหายตามฟ้องในกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวและขาดหายจำนวนดังกล่าว ซึ่งปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้นจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขน ปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลาย ในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึง กรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่ง ก็ ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้น จากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์ รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือ องค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณี ที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้น ในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่ง เป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิด ชอบ ของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญา รับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อ องค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.เช็คหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลไม่รับฎีกา
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามป.วิ.อ.มาตรา 220 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งมีผลระงับคดีอาญาเช็คที่เกี่ยวข้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์และจำเลย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้หนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 จึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาโดยไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท ออกเช็คแล้วไม่จ่าย ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ซ. มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกแล้วนำมาแบ่งให้แก่ทายาทของ ซ. เมื่อบรรดาทายาทได้ตกลงกันให้จำเลยขายที่ดินทรัพย์มรดก จำเลยขายได้แล้วจึงออกเช็คสั่งจ่ายเงินส่วนแบ่งล่วงหน้าให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของ ซ. ตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมแบ่งเงินที่ขายทรัพย์มรดกได้ให้แก่ผู้เสียหายและบรรดาทายาทของ ซ.และแม้จะปรากฏว่ายังมีที่ดินมรดกอีกส่วนหนึ่งยังขายไม่ได้แต่ก็ปรากฏว่า เมื่อจำเลยตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่บรรดาพี่น้องที่เป็นชายเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ผู้เสียหายและพี่น้องจึงไม่ติดใจทรัพย์มรดกส่วนนั้น ซึ่งหมายความว่าพร้อมใจกันยกให้แก่จำเลยนั่นเอง การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกขายทรัพย์มรดกได้แล้วตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ผู้เสียหายแล้ว และเมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะแบ่งให้แก่ผู้เสียหาย ดังนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ยืมและจำนองไม่เป็นนิติกรรมอำพราง เมื่อมีหลักฐานการรับเงินจริงและสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ซื้อขายหลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินและจำนองประกันการกู้ยืมไว้กับโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ฝากเงินไว้กับโจทก์เพื่อวัตถุประสงค์ ในการที่จะให้โจทก์ดำเนินการเป็นนายหน้าและตัวแทนในการ ซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นหลักประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่อง นิติกรรมอำพรางหรือนิติกรรมทำขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวงสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมกู้ยืมเงินและจำนองไม่เป็นนิติกรรมอำพราง ตราบเท่าที่เจตนาถูกต้องตามหลักเกณฑ์ตลาดหลักทรัพย์
โจทก์เป็นนายหน้าและตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ของจำเลยที่ 2โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับมอบอำนาจแจ้งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์แทนจำเลยที่ 2ในการซื้อขายหลักทรัพย์โจทก์จะเป็นผู้ออกเงินทดรองเป็นค่าซื้อหลักทรัพย์และค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นให้แก่จำเลยที่ 2 ภายในวงเงิน 2,500,000 บาท และเพื่อเป็นหลักประกันในการออกเงินทดรองเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ จำเลยที่ 2จะต้องนำตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ ตามที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ระเบียบหรือประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลังกำหนดไว้ในแต่ละครั้งมาจำนำเพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้และค่าอุปกรณ์ไว้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญากู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 3,500,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ผิดนัดคิดดอกเบี้ยร้อยละ21 ต่อปี โดยจำเลยที่ 2 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการกู้ยืมไว้ ในการกู้ยืมเงินโจทก์ได้สั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน3,500,000 บาท เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2534 เช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินได้และในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 2 ก็ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์จำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 และโจทก์ได้นำไปเรียกเก็บเงินได้ในวันดังกล่าวในวันนั้นโจทก์ก็ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวนเงิน 3,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ได้ชำระเงินกู้จำนวน 3,500,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2แล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ได้รับเงินจำนวนที่กู้จากโจทก์ไปแล้วตามวิธีการโอนเงินทางธนาคาร ซึ่งต่อมาจำเลยที่ 2 ก็ได้จ่ายเงินคืนให้แก่โจทก์ก็เพราะจำเลยที่ 2 นำเงินดังกล่าวฝากไว้กับโจทก์ตามวิธีการโอนเงินทางธนาคารเช่นเดียวกัน โจทก์จึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยที่ 2 จะทำการซื้อขายหุ้นกับโจทก์ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองกู้ยืมเงินและจำนองประกันการกู้ยืมไว้กับโจทก์ แล้วจำเลยที่ 2 ฝากเงินไว้กับโจทก์เพื่อวัตถุประสงค์ในการที่จะให้โจทก์ดำเนินการเป็นนายหน้าและตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยใช้ตั๋วสัญญาใช้เงินเป็หลักประกันการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเรื่องนิติกรรมอำพรางหรือนิติกรรมทำขึ้นด้วยการแสดงเจตนาลวง สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมและการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ โจทก์อ้างผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งตกทอดได้แก่โจทก์ และโจทก์ได้มอบให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ เพราะโจทก์กู้เงินจำเลยไป600 บาท เป็นคำฟ้องเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของโจทก์ ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อปรากฏว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว โดยพิพากษาว่า ไม่มีการกู้ยืมเงินกันระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีการคิดดอกเบี้ยโดยมอบที่ดินพิพาทให้ทำกินต่างดอกเบี้ยได้ จึงเป็นคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ.ดังกล่าวข้างต้น การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148