พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้ซื้อที่ยังไม่ได้รับกรรมสิทธิ์แต่ครอบครองทำประโยชน์ และความรับผิดของผู้เช่าต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและโรงสีข้าจากธนาคารแล้วนำไปให้จำเลยเช่า ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงสีข้าวและเครื่องจักรอุปกรณ์โรงสีข้าวได้รับความสียหายทั้งหมด แม้ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้คดีนี้ โจทก์ยังชำระราคาค่าที่ดินและโรงสีข้าวให้แก่ธนาคารยังไม่ครบตามสัญญา ธนาคารยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงสีข้าวก็ตามแต่โจทก์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและโรงสีข้าวตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าอาคารโรงสีข้าว เครื่องจักร อุปกรณ์โรงสีข้าวพร้อมทั้งยุ้งฉาง สำนักงาน บ้านพักคนงาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากธนาคารอีกทั้งเมื่อโจทก์ชำระราคาที่ดินและโรงสีข้าวครบ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์นั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์ดังกล่าวให้รับผิดได้
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2850/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่าก่อนโอนกรรมสิทธิ์ และความรับผิดในเหตุเพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายที่ดินและโรงสีข้าวจากธนาคารแล้วนำไปให้จำเลยเช่า ต่อมาเกิดเพลิงไหม้โรงสีข้าวและเครื่องจักรอุปกรณ์โรงสีข้าวได้รับความเสียหายทั้งหมดแม้ขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้คดีนี้ โจทก์ยังชำระราคาค่าที่ดินและโรงสีข้าวให้แก่ธนาคารยังไม่ครบตามสัญญา ธนาคารยังไม่ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ โจทก์จึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงสีข้าวก็ตาม แต่โจทก์เข้าครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินและโรงสีข้าวตั้งแต่วันทำสัญญาซื้อขาย โดยโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าอาคารโรงสีข้าวเครื่องจักร อุปกรณ์โรงสีข้าวพร้อมทั้งยุ้งฉาง สำนักงาน บ้านพักคนงาน ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาจากธนาคาร อีกทั้งเมื่อโจทก์ชำระราคาที่ดินและโรงสีข้าวครบ โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามสัญญา โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเกิดเพลิงไหม้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิในทรัพย์นั้นแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์ดังกล่าวให้รับผิดได้
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่า
เหตุเพลิงไหม้โรงสีข้าวเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร และเมื่อไม่ปรากฏว่าเหตุไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นเพราะความผิดของฝ่ายจำเลยผู้เช่า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้ให้เช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางสัญญาและการละเมิดจากการส่งมอบสินค้าล่าช้าและประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาโดยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์ช้ากว่าวันเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ ซึ่งจะต้องถูกปรับตามสัญญาข้อ 10 รวมเป็นเงินค่าปรับทั้งสิ้น 268,056 บาทมิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดแต่เพียงอย่างเดียว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" นั้น หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องทราบว่ามีการผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญาหรือใบสั่งซื้อแล้วยังยินยอมที่จะรับเอายางแอสฟัลต์นั้นไว้โดยไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิ โจทก์จึงจะหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเอกสารให้เห็นเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ตามกำหนดกรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นคดีต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในข้อเท็จจริงแล้ว ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อเท็จจริงมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทราบว่าจำเลยที่ 1 ส่งของล่าช้า แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยที่ 1ส่งมอบสิ่งของล่าช้าในทันทีตามหน้าที่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ แม้จะไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการส่งของล่าช้าหรือมีหน้าที่ในการบอกสงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ในฐานะเป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องตรวจรับยางแอสฟัลต์ให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายทุกประการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จะต้องบันทึกแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออย่างน้อยก็จะต้องบันทึกแจ้งเหตุไว้ให้ปรากฏเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบจะได้บอกสงวนสิทธิในการที่จะเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่ได้บันทึกแจ้งเหตุไว้จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้น ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องแล้ว หาใช่เป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่
จำเลที่ 5 เป็นผู้อำนวยการกองการบัญชีและการเงินของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยังส่งยางแอสฟัลต์ไม่ครบได้แจ้งกองการพัสดุให้ระงับการคืนหลักประกันของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน จำเลยที่ 5 จึงชอบที่จะระงับหรือชะลอการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน การที่จำเลยที่ 5 ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว หาใช่เป็นผลที่ไกลเกินกว่าเหตุ หรือมิใช่เป็นผลโดยตรงไม่ และจำเลยที่ 5 ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการนัดจ่ายเงินเหลื่อมปีงบประมาณจะต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกานั้นเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247แต่เมื่อมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมคนหนึ่งได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้วจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการใช้สิทธิยื่นฎีกานี้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมฎีกา จึงไม่ถูกต้อง สมควรสั่งให้คืนเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกาให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" นั้น หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องทราบว่ามีการผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญาหรือใบสั่งซื้อแล้วยังยินยอมที่จะรับเอายางแอสฟัลต์นั้นไว้โดยไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิ โจทก์จึงจะหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเอกสารให้เห็นเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่งยางแอสฟัลต์ให้แก่โจทก์ตามกำหนดกรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับตามสัญญาได้
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นคดีต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในข้อเท็จจริงแล้ว ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาข้อเท็จจริงมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทราบว่าจำเลยที่ 1 ส่งของล่าช้า แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยที่ 1ส่งมอบสิ่งของล่าช้าในทันทีตามหน้าที่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ แม้จะไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการส่งของล่าช้าหรือมีหน้าที่ในการบอกสงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ในฐานะเป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องตรวจรับยางแอสฟัลต์ให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายทุกประการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จะต้องบันทึกแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออย่างน้อยก็จะต้องบันทึกแจ้งเหตุไว้ให้ปรากฏเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบจะได้บอกสงวนสิทธิในการที่จะเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่ได้บันทึกแจ้งเหตุไว้จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้น ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้องแล้ว หาใช่เป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่
จำเลที่ 5 เป็นผู้อำนวยการกองการบัญชีและการเงินของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยังส่งยางแอสฟัลต์ไม่ครบได้แจ้งกองการพัสดุให้ระงับการคืนหลักประกันของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน จำเลยที่ 5 จึงชอบที่จะระงับหรือชะลอการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน การที่จำเลยที่ 5 ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว หาใช่เป็นผลที่ไกลเกินกว่าเหตุ หรือมิใช่เป็นผลโดยตรงไม่ และจำเลยที่ 5 ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการนัดจ่ายเงินเหลื่อมปีงบประมาณจะต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้
เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกานั้นเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247แต่เมื่อมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมคนหนึ่งได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้วจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการใช้สิทธิยื่นฎีกานี้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมฎีกา จึงไม่ถูกต้อง สมควรสั่งให้คืนเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกาให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของคณะกรรมการตรวจรับและผู้เบิกจ่ายเงิน กรณีผู้รับเหมาส่งมอบงานล่าช้าและประมาทเลินเล่อ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาโดยส่งมอบสิ่งของแก่โจทก์ช้ากว่าวันเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งซื้อ ซึ่งจะต้องถูกปรับตามสัญญาข้อ 10 รวมเป็นเงิน ค่าปรับทั้งสิ้น 268,056 บาท มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดแต่เพียงอย่างเดียว คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 วรรคท้ายที่บัญญัติว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้นในเวลารับชำระหนี้" นั้น หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จะต้องทราบว่ามีการผิดสัญญาเพราะจำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญาหรือใบสั่งซื้อแล้วยังยินยอมที่จะรับเอายางแอสฟัลต์นั้นไว้โดยไม่ได้บอกกล่าวสงวนสิทธิ โจทก์จึงจะหมดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับ จากจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขเอกสารให้เห็นเป็นว่า จำเลยที่ 1 ได้ส่ง ยางแอสฟัลต์ ให้แก่โจทก์ตามกำหนด กรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยอมรับชำระหนี้โดยไม่ได้บอกสงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าปรับ ตามสัญญาได้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5กระทำโดยประมาทเลินเล่อและเป็นคดีต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ในข้อเท็จจริงแล้ว ดังนั้น ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 กระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่มีสิทธิฎีกา ต่อมา แม้ศาลชั้นต้น จะรับฎีกาข้อเท็จจริงมาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีนี้โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ทราบว่าจำเลยที่ 1 ส่งของล่าช้า แต่ไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสิ่งของล่าช้าในทันทีตามหน้าที่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองฟังว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ แม้จะไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งเรื่องการส่งของล่าช้าหรือมีหน้าที่ในการบอก สงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1ส่งมอบยางแอสฟัลต์เกินกำหนดเวลาตามสัญญา จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 ในฐานะเป็นคณะกรรมการตรวจรับยางแอสฟัลต์ซึ่งมีหน้าที่ที่สำคัญที่จะต้องตรวจรับยางแอสฟัลต์ให้เป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายทุกประการ จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จะต้องบันทึกแจ้งให้โจทก์ทราบหรืออย่างน้อยก็จะต้อง บันทึกแจ้งเหตุไว้ให้ปรากฏเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบจะได้บอกสงวนสิทธิในการที่จะเรียกค่าปรับ จากจำเลยที่ 1 ได้ แต่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ก็ไม่ได้บันทึก แจ้งเหตุไว้จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อนั้นถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมา ในฟ้องแล้ว หาใช่เป็นเรื่องนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จำเลยที่ 5 เป็นผู้อำนวยการกองการบัญชีและการเงินของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 5 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ยังส่งยางแอสฟัลต์ไม่ครบได้แจ้งกองการพัสดุให้ระงับการคืนหลักประกันของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อน จำเลยที่ 5 จึงชอบที่จะระงับหรือชะลอการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไว้ก่อน การที่จำเลยที่ 5 ปล่อยปละละเลยหรือประมาทเลินเล่อจ่ายเงินให้จำเลยที่ 1 ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว หาใช่เป็นผลที่ไกลเกินกว่าเหตุ หรือมิใช่เป็นผลโดยตรงไม่ และจำเลยที่ 5 ก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการนัดจ่ายเงินเหลือปีงบประมาณ จะต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ก่อนขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้ เงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกานั้นเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 แต่เมื่อมูลความแห่งคดีนี้เป็นการชำระหนี้อันแบ่งแยกมิได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยร่วม คนหนึ่งได้นำเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลครบถ้วนแล้วจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่จำต้องวางเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แก่โจทก์ในการใช้สิทธิยื่นฎีกานี้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ มาวางศาลพร้อมฎีกา จึงไม่ถูกต้อง สมควรสั่งให้คืนเงิน ค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่โจทก์ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้วางต่อศาลพร้อมฎีกาให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2559/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหายและข้อตกลงยกเว้นความรับผิดที่ตกเป็นโมฆะ
เมื่อปรากฏว่าสินค้าประตูอัตโนมัติซึ่งจำเลยเป็นผู้ขนส่งได้สูญหายไปบางส่วนและจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า การสูญหายดังกล่าวเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่ง หรือผู้รับตราส่งเช่นนี้ จำเลยก็ต้องรับผิดในการที่สินค้าประตูอัตโนมัติสูญหายไปบางส่วนดังกล่าวต่อผู้รับตราส่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
ข้อกำหนดในใบตราส่งที่ว่าในกรณีที่ความเสียหายต่อสินค้าที่สามารถเห็นได้ บุคคลที่มีสิทธิรับสินค้าจะต้องทำคำร้องเรียนต่อผู้ขนส่งเป็นหนังสืออย่างช้าที่สุดภายใน 14 วัน จากวันรับสินค้านั้น เป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่ง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา625
เมื่อปรากฏว่าชิ้นส่วนของสินค้าสูญหายไป ผู้รับตราส่งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่รายงานความเสียหายของคลังสินค้า ทำรายงานความเสียหายของสินค้าไว้แล้ว ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าเอาไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 621 วรรคหนึ่ง
จำเลยผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าต่อผู้รับตราส่ง และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้รับตราส่งในฐานะผู้รับประกันภัยไป โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 880วรรคแรก
ข้อกำหนดในใบตราส่งที่ว่าในกรณีที่ความเสียหายต่อสินค้าที่สามารถเห็นได้ บุคคลที่มีสิทธิรับสินค้าจะต้องทำคำร้องเรียนต่อผู้ขนส่งเป็นหนังสืออย่างช้าที่สุดภายใน 14 วัน จากวันรับสินค้านั้น เป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่ง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา625
เมื่อปรากฏว่าชิ้นส่วนของสินค้าสูญหายไป ผู้รับตราส่งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่รายงานความเสียหายของคลังสินค้า ทำรายงานความเสียหายของสินค้าไว้แล้ว ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าเอาไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อนความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 621 วรรคหนึ่ง
จำเลยผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าต่อผู้รับตราส่ง และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้รับตราส่งในฐานะผู้รับประกันภัยไป โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 880วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2555/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าสูญหาย/เสียหาย และการรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย
เมื่อปรากฏว่าสินค้าประตูอัตโนมัติซึ่งจำเลยเป็นผู้ขนส่งได้สูญหายไปบางส่วนและจำเลยไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า การสูญหายดังกล่าวเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเองหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่ง เช่นนี้ จำเลยก็ต้องรับผิดในการที่สินค้าประตูอัตโนมัติสูญหายไปบางส่วนดังกล่าวต่อผู้รับตราส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ข้อกำหนดในใบตราส่งที่ว่าในกรณีที่ความเสียหายต่อสินค้าที่สามารถเห็นได้ บุคคลที่มีสิทธิรับสินค้าจะต้องทำคำร้องเรียนต่อผู้ขนส่งเป็นหนังสืออย่างช้าที่สุดภายใน14 วัน จากวันรับสินค้านั้น เป็นข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่ง เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น ข้อความดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 เมื่อปรากฏว่าชิ้นส่วนของสินค้าสูญหายไป ผู้รับตราส่งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรและเจ้าหน้าที่รายงานความเสียหายของคลังสินค้า ทำรายงานความเสียหายของสินค้าไว้แล้ว ถือไม่ได้ว่าผู้รับตราส่งได้รับสินค้าเอาไว้แล้วโดย ไม่อิดเอื้อนความรับผิดของจำเลยผู้ขนส่งจึงไม่สิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 วรรคหนึ่ง จำเลยผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าต่อ ผู้รับตราส่ง และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่ผู้รับตราส่งในฐานะผู้รับประกันภัยไป โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาเรียกร้องเอาค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวจากจำเลยได้ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้าประเวณี – พยานหลักฐานขัดแย้ง – เจ้าพนักงานตำรวจล่อลวง – ยกประโยชน์แห่งความสงสัย
จำเลยเป็นหญิงบริการในสถานบริการที่มีอาหาร สุรา น้ำชาหรือเครื่องดื่มอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอปรนนิบัติลูกค้า ตามวัน เวลาและสถานที่ตามฟ้อง ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสามในข้อหาค้าประเวณีแต่คำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมทั้งสามปากที่เบิกความเกี่ยวกับการชักชวนให้มีการร่วมเพศของจำเลยนั้นแตกต่างขัดแย้งกัน ไม่อาจรับฟังได้เป็นที่แน่ชัดว่า จำเลยได้ชักชวนให้พยานโจทก์ร่วมเพศจริงหรือไม่ และจำเลยได้พูดชักชวนให้ร่วมเพศ หรือเจ้าพนักงานตำรวจเพียงแต่สอบถามราคาการร่วมเพศกับจำเลยการที่พยานโจทก์เข้ามาที่ร้านที่เกิดเหตุก็เพื่อจับกุมหญิงให้บริการการค้าประเวณีโดยที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่รู้ว่าใครให้บริการการค้าประเวณีและจำเลยให้บริการการค้าประเวณีหรือไม่ เจ้าพนักงานตำรวจจึงล่อให้จำเลยเพื่อให้จำเลยบริการการค้าประเวณีย่อมเป็นการไม่ชอบ ทั้งร้านที่เกิดเหตุก็เป็นสถานบริการที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการการที่เจ้าพนักงานตำรวจเรียกจำเลยมาให้บริการ มีการพากันไปให้บริการในห้องไม่ว่าจำเลยจะเข้าไปในห้องให้บริการด้วยความเต็มใจ หรือเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสามนายล่อให้ไปบริการในห้องหรือไม่ก็ตาม กรณียังไม่อาจรับฟังได้ว่า ที่จำเลยเข้าไปในห้องกับเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสามนายนั้นเป็นการเข้าไปเพื่อให้บริการการค้าประเวณี ทั้งยังปรากฏในทางนำสืบของโจทก์อีกว่า มีการลวนลามจำลยเพื่อให้มีการร่วมประเวณีเกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่จะจับหญิงค้าประเวณีตามที่ได้รับมอบหมายมา ดังนี้ คำเบิกความของพยานโจทก์ที่อ้างว่าได้มีการร่วมประเวณีกับจำเลยโดยจำเลยคิดค่าบริการจึงมีกรณีเป็นที่น่าสงสัย อีกทั้งเงินที่อ้างว่าเป็นค่าร่วมประเวณีก็ไม่ปรากฏว่าได้ยึดเป็นของกลางไว้ พยานหลักฐานโจทก์มีเหตุแห่งความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยเป็นผู้ให้บริการการค้าประเวณีอันเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตาม ป.วิ.อ.มาตรา227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล่อลวงเพื่อจับกุมคดีค้าประเวณี: พยานหลักฐานขัดแย้งและขาดความน่าเชื่อถือ ศาลยกประโยชน์แห่งความสงสัย
จำเลยเป็นหญิงบริการในสถานบริการที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอปรนนิบัติลูกค้า ตามวัน เวลา และสถานที่ตามฟ้องซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยทั้งสามในข้อหาค้าประเวณีแต่คำเบิกความของพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมทั้งสามปากที่เบิกความเกี่ยวกับการชักชวนให้มีการร่วมเพศของจำเลยนั้นแตกต่างขัดแย้งกัน ไม่อาจรับฟังได้เป็นที่แน่ชัดว่าจำเลยได้ชักชวนให้พยานโจทก์ร่วมเพศจริงหรือไม่ และจำเลยได้พูดชักชวนให้ร่วมเพศ หรือเจ้าพนักงานตำรวจเพียงแต่สอบถามราคาการร่วมเพศกับจำเลย การที่พยานโจทก์เข้ามาที่ร้านที่เกิดเหตุก็เพื่อจับกุมหญิงให้บริการการค้าประเวณีโดยที่เจ้าพนักงานตำรวจไม่รู้ว่าใครให้บริการการค้าประเวณีและจำเลย ให้บริการการค้าประเวณีหรือไม่ เจ้าพนักงานตำรวจจึงล่อให้จำเลย เพื่อให้จำเลยบริการค้าประเวณีย่อมเป็นการไม่ชอบ ทั้งที่เกิดเหตุ ก็เป็นสถานบริการที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ การที่ เจ้าพนักงานตำรวจเรียกจำเลยมาให้บริการ มีการพากันไป ให้บริการในห้องไม่ว่าจำเลยจะเข้าไปในห้องให้บริการด้วย ความเต็มใจ หรือเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสามนายล่อให้ไปบริการในห้องหรือไม่ก็ตาม กรณียังไม่อาจรับฟังได้ว่า ที่จำเลยเข้าไปในห้องกับเจ้าพนักงานตำรวจทั้งสามนายนั้นเป็นการเข้าไปเพื่อให้บริการการค้าประเวณี ทั้งยังปรากฏในทางนำสืบของโจทก์อีกว่า มีการลวนลามจำเลยเพื่อให้มีการร่วมประเวณีเกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่จะจับหญิงค้าประเวณีตามที่ได้ รับมอบหมายมา ดังนี้ คำเบิกความของพยานโจทก์ที่อ้างว่า ได้มีการร่วมประเวณีกับจำเลยโดยจำเลยคิดค่าบริการจึงมีกรณี เป็นที่น่าสงสัย อีกทั้งเงินที่อ้างว่าเป็นค่าร่วมประเวณี ก็ไม่ปรากฏว่าได้ยึดเป็นของกลางไว้ พยานหลักฐานโจทก์ มีเหตุแห่งความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยเป็นผู้ให้บริการ การค้าประเวณีอันเป็นความผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลให้ยกประโยชน์ แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินแทนกันและผลกระทบต่อผู้มีหนี้สินจริง กรณีจำนองที่ดินเพื่อชำระหนี้
เมื่อนาย ภ. และนาง ล. กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยเป็นผู้นำที่ดินไปจดจำนองเป็นประกัน แม้สัญญาจำนองจะ เขียนว่าจำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ก็เป็นการเขียนข้อความ ลงไว้ไม่ตรงตามความเป็นจริง ต้องถือว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าว เป็นกรณีที่จำเลยทำแทนนาย ภ.และนางล.ต่อมาเมื่อนายภ. และนางล. มอบเงินให้จำเลยไปไถ่ถอนจำนองจากโจทก์ ปรากฏว่ายังมีหนี้เงินยืมค้างชำระบางส่วน จำเลยจึงทำสัญญากู้ยืมเงินให้ไว้กับโจทก์ ก็ต้องถือว่าจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวกับโจทก์แทนนาย ภ.และนาง ล.หาใช่จำเลยเป็นผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไม่ ดังนั้นบุคคลผู้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญาฉบับดังกล่าวคือ นายภ. และนาง ล. มิใช่จำเลย เมื่อนายภ.กับนางล.ชำระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์เรียบร้อยแล้วหนี้ตามฟ้องจึงระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และการยกข้อเท็จจริง/กฎหมายใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลต้องรับฟังหากคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ให้เหตุผล
อุทธรณ์เป็นคำฟ้องชนิดหนึ่ง ดังนั้น คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อใดขึ้นมาอุทธรณ์ คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องบรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อนั้นให้ชัดแจ้งมาในคำฟ้องอุทธรณ์ ซึ่งหมายความรวมตลอดไปถึงคำคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร ส่วนเนื้อหาของคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลยและคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น หากไม่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อุทธรณ์แล้วก็ไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องอุทธรณ์โดยละเอียด
ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยแล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยบรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ใจความว่า โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลย 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำฟ้องโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยค้างดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด มิใช่นับแต่วันกู้ และดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปแล้วมิใช่อัตราร้อยละ 15 ต่อปีหากแต่เป็นอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งขัดต่อกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามโดยมิชอบ จำเลยมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะสืบแสดงตามข้อต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานจึงเป็นการตัดสิทธิของจำเลย ดังนี้ เห็นได้แล้วว่าจำเลยอุทธรณ์เรื่องอะไรด้วยเหตุผลอะไร ทั้งในคำสั่งของศาลชั้นต้นก็มิได้ให้เหตุผลอันจะทำให้จำเลยสามารถยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นมาโต้แย้งได้ อุทธรณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ส่วน ป.วิ.พ.มาตรา 246 ที่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาบังคับใช้ในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลมนั้น หมายถึงให้อนุโลมใช้บางเรื่องเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยอ้างว่าไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 จึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยแล้ว เห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยบรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ใจความว่า โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลย 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำฟ้องโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยค้างดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด มิใช่นับแต่วันกู้ และดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปแล้วมิใช่อัตราร้อยละ 15 ต่อปีหากแต่เป็นอัตราร้อยละ 24 ต่อปี ซึ่งขัดต่อกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามโดยมิชอบ จำเลยมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะสืบแสดงตามข้อต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานจึงเป็นการตัดสิทธิของจำเลย ดังนี้ เห็นได้แล้วว่าจำเลยอุทธรณ์เรื่องอะไรด้วยเหตุผลอะไร ทั้งในคำสั่งของศาลชั้นต้นก็มิได้ให้เหตุผลอันจะทำให้จำเลยสามารถยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นมาโต้แย้งได้ อุทธรณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ส่วน ป.วิ.พ.มาตรา 246 ที่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาบังคับใช้ในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลมนั้น หมายถึงให้อนุโลมใช้บางเรื่องเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยอ้างว่าไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 จึงเป็นการไม่ชอบ