คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2097/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องระบุข้อเท็จจริง/กฎหมายที่อุทธรณ์ชัดเจน ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกอุทธรณ์
อุทธรณ์เป็นคำฟ้องชนิดหนึ่ง ดังนั้น คู่ความฝ่ายใดประสงค์จะยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อในขึ้นมาอุทธรณ์คู่ความฝ่ายนั้นจะต้องบรรยายข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายข้อนั้นให้ชัดแจ้งมาในคำฟ้องอุทธรณ์ ซึ่งหมายความรวมตลอดไปถึงคำคัดค้านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นอันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ด้วยเหตุผลอะไร ส่วนเนื้อหาของคำฟ้องโจทก์ คำให้การจำเลย และคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น หากไม่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อุทธรณ์แล้วก็ไม่จำต้องกล่าวมาในคำฟ้องอุทธรณ์โดยละเอียด ศาลชั้นต้นพิจารณาคำฟ้องโจทก์และคำให้การจำเลยแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งให้งดชี้สองสถานและงวดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้วมีคำพิพากษาในวันเดียวกันนั้นเอง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว โดยบรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์ใจความว่า โจทก์ฟ้องเรียกหนี้เงินกู้จากจำเลย500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามคำฟ้องโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยค้างดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด มิใช่นับแต่วันกู้ และดอกเบี้ยที่จำเลยชำระไปแล้วมิใช่อัตราร้อยละ 15 ต่อปี หากแต่เป็นอัตราร้อยละ 25 ต่อปี ซึ่งขัดต่อกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามโดยมิชอบ จำเลยมีพยานหลักฐานพร้อมที่จะสืบแสดงตามข้อต่อสู้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงวดชี้สองสถานและงดสืบพยานจึงเป็นการตัดสิทธิของจำเลยดังนี้ เห็นได้แล้วว่าจำเลยอุทธรณ์เรื่องอะไรด้วยเหตุผลอะไรทั้งในคำสั่งของศาลชั้นต้นก็มิได้ให้เหตุผลอันจะทำให้จำเลยสามารถยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นมาโต้แย้งได้อุทธรณ์ของจำเลยถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 246ที่ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในศาลชั้นต้นมาบังคับใช้ในชั้นอุทธรณ์โดยอนุโลมนั้นหมายถึงให้อนุโลมใช้บางเรื่องเท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยอ้างว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนุญาโตตุลาการ: สิทธิอุทธรณ์จำกัดตาม พรบ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 การวินิจฉัยข้อพิพาทภายในสัญญา
ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ทำสัญญาตกลงกันไว้ว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาเกี่ยวกับสัญญาจ้างเหมาให้คู่สัญญาเสนอข้อพิพาทนั้นให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาตกลงใช้วิธีระงับข้อพิพาทกับอนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทนั้น ซึ่งการระงับข้อพิพาทดังกล่าวมีพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 22 ได้บัญญัติบังคับไว้แล้วว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุด และผูกพันคู่กรณีเมื่อผู้คัดค้านไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีเขตอำนาจให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดนั้น กรณีของผู้คัดค้านจะอุทธรณ์ได้หรือไม่ จึงต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 26 เท่านั้น เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น สรุปได้ว่า อนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตาม ข้อเท็จจริงและสัญญา ไม่หยิบยกพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้าน เห็นว่าสำคัญขึ้นวินิจฉัย ไม่รับฟังความเห็นของร. ซึ่งเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญกลางที่อนุญาโตตุลาการแต่งตั้งขึ้น จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการทั้งสิ้นการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ ส่วนการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยนอกเหนือความรับผิดของสัญญาและกำหนดความรับผิดในดอกเบี้ยผิดกฎหมายอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยนั้น ตามสัญญาก่อสร้างคลองฝั่งซ้ายระบุให้เสนอข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวต่ออนุญาโตตุลาการ การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านรับผิดตามข้อเรียกร้องที่ 13 ค่างานเพิ่มเติมและข้อ 18 ค่าเร่งรัดงาน จึงเป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาแล้ว หาใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาไม่ส่วนข้อที่อนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยให้ผู้คัดค้านรับผิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2535 แต่ผู้คัดค้านอ้างว่ายังฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านผิดนัดและวันที่ดังกล่าวมิใช่วันอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการกะประมาณราคานั้นก็เป็นการโต้เถียงในข้อเท็จจริงว่าจะฟังว่าจำเลยผิดนัดแล้วหรือไม่เท่านั้น จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไม่ต้องตามหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นของบทบัญญัติมาตรา 26 ดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงไม่มี สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศและฉ้อโกง: ความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี แม้ถอนฟ้องคดีฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถหางานและส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ ตามฟ้องโจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528มาตรา 30 วรรคหนึ่ง,82 การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวงการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าว ข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐาน ฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิด อันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ไม่มีเจตนาแต่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฐานฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถหางานและส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ ตามฟ้องโจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าวข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากสินค้าอันตรายต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัย กวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไร ได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่ และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่ เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้าอันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใดกรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลย เมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลย จำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน พ.ร.บ.การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 29 (1) และมาตรา 9 (4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์ต่อความเสียหายจากเพลิงไหม้ และข้อจำกัดความรับผิดที่ไม่ผูกพันเจ้าของสินค้า
จำเลยรับฝากสินค้าที่พิพาทโดยมีบำเหน็จ แม้จำเลยได้ดำเนินการจัดเก็บสินค้าเต็มความสามารถโดยจัดเก็บสินค้าอันตรายตามระบบซึ่งสำนักที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนดใช้ในกลุ่มประเทศที่เป็นสมาชิกทั่วโลก นอกจากนี้จำเลยยังได้วางข้อกำหนดในเรื่องความปลอดภัยกวดขันการสูบบุหรี่ จัดให้มียามรักษาความปลอดภัยตลอด24 ชั่วโมง จัดให้มีเครื่องดับเพลิงอัตโนมัติประจำทุกอาคารซึ่งเป็นไปตามหลักสากลก็ตาม แต่จำเลยมิได้นำสืบว่าในการจัดเก็บสินค้ารายพิพาทนี้ได้จัดเก็บตามระบบอย่างไรได้แยกสินค้าให้ถูกต้องตรงตามระบบการจัดเก็บหรือไม่และได้ตรวจสอบสิ่งที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารเคมีโดยปลอดภัยแล้วหรือไม่ กลับปรากฏว่าในวันเกิดเหตุ ได้มีการเปิดคลังสินค้าอันตรายเพื่อทำงาน แม้ขณะเกิดเพลิงไหม้จะมีแต่เฉพาะพนักงานของจำเลยอยู่ปฏิบัติหน้าที่เมื่อจำเลยมิได้นำสืบเลยว่า จำเลยได้ป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่สินค้า อันตรายด้วยการควบคุมดูแลคลังสินค้าอันตรายในขณะที่มีพนักงานปฏิบัติหน้าที่อยู่นั้นดีแล้วหรือการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานนั้นไม่อาจก่อให้เกิดเพลิงไหม้ได้ไม่ว่าในกรณีใด กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่า เหตุเพลิงไหม้นั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย มิใช่ความประมาทของจำเลยเมื่อจำเลยรับฝากสินค้าอันตรายไว้ในทางธุรกิจของจำเลยจำเลยย่อมมีหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังในทางธุรกิจของตนที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายหรือเพลิงไหม้ขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยว่าด้วยระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือ บริการและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือที่จำกัดความรับผิดไม่เกิน 5,000 บาท ได้ออกโดย อาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2494 มาตรา 29(1) และมาตรา 9(4) ที่ให้คณะกรรมการวางข้อบังคับระเบียบความปลอดภัยการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่าง ๆ ของกิจการท่าเรือเท่านั้น กฎหมายหาได้ให้อำนาจออกข้อบังคับจำกัดความรับผิดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดทั้งข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าว จำเลยเป็นผู้กำหนดขึ้น ฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าเจ้าของสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในข้อจำกัดความรับผิดนั้น จำเลยจึงไม่อาจยกข้อจำกัดความรับผิดในข้อบังคับดังกล่าวนั้นขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาตามยอมและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอม
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความและในวันทำสัญญาดังกล่าวจำเลยก็มาศาลและทราบเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาด้วย หลังจากที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอม-ยอมความกับโจทก์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยเหตุที่อ้างว่าโจทก์และทนายจำเลยฉ้อฉลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138(1)จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และโจทก์ทำการยึดทรัพย์ที่จำนองของจำเลยแล้ว คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147วรรคหนึ่ง และผูกพันโจทก์จำเลยตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่ความ แม้จะอ้างว่าทำสัญญาโดยถูกฉ้อฉลภายหลัง
ทนายความของจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตามอำนาจที่ระบุไว้ในใบแต่งทนายความและในวันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยก็มาศาลและทราบเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาด้วยหลังจากที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วยเหตุที่อ้างว่าโจทก์และทนายจำเลยฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1)จนล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ และโจทก์ทำการยึดทรัพย์ที่จำนองของจำเลยแล้ว คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 147 วรรคหนึ่ง และผูกพันโจทก์จำเลยตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนในบ้านผู้กระทำ ไม่ถือว่าพรากผู้เยาว์หากยังอยู่ในความดูแลของผู้ปกครอง
ผู้เสียหายอายุ 9 ปี บ้านจำเลยกับบ้านผู้เสียหายอยู่ใกล้กันก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายโดยสารรถของจำเลยไปและกลับจากโรงเรียนเป็นประจำทุกวัน เมื่อกลับจากโรงเรียนแล้วมีบ่อยครั้งที่ผู้เสียหายเล่นอยู่กับบุตรสาวจำเลยก่อนจะกลับบ้านหรือบางครั้งกลับมาถึงบ้านแล้วก็ไปเล่นกับบุตรสาวจำเลยที่บ้านจำเลย พฤติการณ์เช่นนี้แม้ขณะที่ผู้เสียหายเล่นอยู่ที่บ้านจำเลยก็ถือว่าผู้เสียหายยังอยู่ในความปกครองดูแลของ ช.ผู้ปกครองของผู้เสียหายเองก็ตาม แต่การที่จำเลยเรียกผู้เสียหายให้เข้าไปในบ้านจำเลยแล้วพาไปข่มขืนกระทำชำเราในห้องนอนของจำเลย เมื่อเป็นการกระทำในบริเวณบ้านจำเลยนั้นเอง จำเลยมิได้พาผู้เสียหายไปยังสถานที่อื่น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยพรากผู้เสียหายไปเสียจากความปกครองดูแลของ ช. การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 722/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรู้ร่วมคิดทำละเมิดและผิดสัญญาซื้อขาย การรับผิดของลูกหนี้ร่วม และการหักกลบลดหนี้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมรู้กันเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้เพื่อฟ้องคดีให้มีการยึดที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายออกขายทอดตลาดป้องกันมิให้โจทก์บังคับคดีให้จำเลยที่ 1 โอนขายให้ นับว่าเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย นอกจากจำเลยที่ 1 จะผิดสัญญาต่อโจทก์แล้ว ยังถือว่าได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ด้วย
จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับมีจำนวนเดียวกัน จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมที่จะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ โดยยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้แก่โจทก์จำนวน 9,500,000 บาท โจทก์ยอมรับและไม่ติดใจเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยที่ 2 อีก จำเลยที่ 2 ขอถอนอุทธรณ์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วจำนวน 9,500,000 บาท จำเลยที่ 1 จึงหลุดพ้นจากหนี้จำนวนดังกล่าวด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 292 ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จึงต้องนำเอาราคาที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับหนี้ที่จำเลยที่ 2 ชำระให้แก่โจทก์แล้วมาหักออกจากราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ คงเหลือเป็นจำนวนค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์
ตามพฤติการณ์จำเลยที่ 1 คาดเห็นแล้วว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่โอนขายที่ดินให้โจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายคือไม่สามารถนำที่ดินที่จะซื้อไปขายได้ ค่าเสียหายของโจทก์ก็คือเงินกำไรจากการขายที่ดินดังกล่าว
of 33