พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การยินยอมโดยปริยาย การบอกกล่าวบังคับจำนอง และการกำหนดค่าทนายความ
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดย มิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่าง บุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป. มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป. ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้ จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 มิได้บัญญัติ ไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควรการบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์72,059.57 บาท แล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6อัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7630/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, การยินยอมโดยปริยาย, และการกำหนดค่าทนายความในคดีแพ่ง
ในส่วนการบอกกล่าวบังคับจำนองนั้น โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจและสำเนาหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้เงินกู้ หนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ค้ำประกัน และให้ไถ่ถอนการจำนองไว้ท้ายคำฟ้องด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง นอกจากนี้แล้วคำขอบังคับท้ายคำฟ้องโจทก์ก็ระบุไว้ชัดเจน ทั้งจำเลยทั้งห้าก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องโดยมิได้หลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว
ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องประทับตราของโจทก์ การที่ ธ.กรรมการผู้จัดการใหญ่ของโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ป.ดำเนินคดีนี้แทน รวมทั้งให้บอกกล่าวทวงถามให้จำเลยทั้งห้าชำระหนี้ด้วย หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นหนังสือมอบอำนาจเป็นการทั่วไป ซึ่ง ป.สามารถใช้ในการดำเนินคดีแก่บุคคลใดก็ได้เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างบุคคลนั้น ๆ กับโจทก์เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ตามที่ได้รับมอบหมายไว้ โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุให้ ป.มีอำนาจฟ้องจำเลยคนใดโดยเฉพาะเจาะจง ดังนี้ ป.ผู้รับมอบอำนาจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์โดยวิธีหักทอนบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้ ซึ่งโจทก์จะออกหลักฐานใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ทุกครั้งและจะมีใบแจ้งการหักทอนบัญชีให้จำเลยที่ 1 ทราบ รวมข้อตกลงเมื่อได้มีการหักเงินจากบัญชีเดินสะพัดมาเข้าบัญชีเงินกู้โดยวิธีดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมโดยปริยายให้มีการกระทำดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่โจทก์หักทอนบัญชีไปดังกล่าว
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้การที่โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ผู้กู้ชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือแล้วแต่ละเลยไม่ชำระหนี้ จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ อันเป็นผลให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันซึ่งเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันนั้น
ป.พ.พ.มาตรา 728 มิได้บัญญัติไว้ว่าระยะเวลามากน้อยเพียงใดเป็นเวลาอันสมควร จึงต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป
โจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ภายใน 30 วัน แม้จำนวนหนี้ที่โจทก์เรียกร้องทวงถามให้จำเลยที่ 1ชำระมีจำนวนมากถึง 9,799,838.75 บาท ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เพียงพอในอันที่จำเลยที่ 1 จะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเวลาอันสมควร การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงชอบแล้ว
คดีนี้นอกจากโจทก์อุทธรณ์ในทุนทรัพย์ชั้นอุทธรณ์ 72,059.57 บาทแล้ว จำเลยก็ได้อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ซึ่งคิดเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เกินกว่า 5,549,409.85 บาท อีกด้วย การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์จึงต้องถือตามทุนทรัพย์ทางฝ่ายจำเลย และแม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ แต่ผลคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์จำเลยก็ยังคงแพ้คดีอยู่ ดังนี้ ศาลอุทธรณ์จึงอาจกำหนดค่าทนายความใช้แทนได้สูงกว่า 10,000 บาท ได้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความให้จำเลยทั้งห้าใช้แทนโจทก์เป็นเงิน 10,000 บาท จึงถูกต้องตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความท้าย ป.วิ.พ.แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7439/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาต่ำกว่าความเป็นจริง การบังคับคดีต้องได้ราคาสูงสุด
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าราคาที่พิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายแก่ผู้ซื้อทรัพย์นั้น ยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง และน่าจะขายทอดตลาดได้ในราคาที่สูงกว่านี้ การที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาเพียงว่าผู้ซื้อทรัพย์เสนอราคาสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินซึ่งโจทก์ได้ลงลายมือชื่อเห็นชอบแล้ว ราคาที่ประมูลได้จึงเป็นราคาที่เหมาะสมแล้วเท่านั้น โดยมิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลใด และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรจึงต้องฟังว่าราคาที่พิพาทที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายนั้นเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น นอกจาก ป.วิ.พ.มาตรา 308 บังคับไว้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.และกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้นและตามข้อกำหนดของศาลแล้ว ในการขายทอดตลาดยังมีเจตนารมณ์เป็นประการสำคัญว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ และหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาที่ผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นยังต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เมื่อราคาที่พิพาทที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอในการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายได้ ยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจำเลยชอบแล้ว
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลของเจ้าพนักงานบังคับคดีนั้น นอกจาก ป.วิ.พ.มาตรา 308 บังคับไว้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.และกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้นและตามข้อกำหนดของศาลแล้ว ในการขายทอดตลาดยังมีเจตนารมณ์เป็นประการสำคัญว่าจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ และหากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาที่ผู้ประมูลสูงสุดในครั้งนั้นยังต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควรหรือควรจะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เมื่อราคาที่พิพาทที่ผู้ซื้อทรัพย์เสนอในการขายทอดตลาดและเจ้าพนักงานบังคับคดีอนุมัติให้ขายได้ ยังเป็นราคาที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น กรณีถือได้ว่าการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของบทกฎหมายโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอาศัยเหตุดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ที่ศาลล่างทั้งสองที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีจำเลยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีและการยกคำร้องขอพิจารณาใหม่
จำเลยให้การต่อสู้คดี แต่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2534คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2534 กล่าวแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดเพียงประการเดียว ไม่ได้กล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำชี้ขาดของศาล ส่วนข้ออ้างในคำร้องขอว่า จำเลยมาขอตรวจสำนวนเมื่อวันที่ 22พฤศจิกายน 2538 และไม่สามารถขอคัดคำพิพากษาได้เพราะอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์คำพิพากษานั้น ขัดต่อข้อเท็จจริง เพราะปรากฏในสำนวนว่าทนายจำเลยเพิ่งยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารคำพิพากษาวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้ออ้างตามคำร้องขอของจำเลยจึงไม่มีเหตุควรรับฟัง ดังนี้ เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำพิพากษาอย่างชัดเจน หากไม่เป็นไปตามกฎหมาย ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน
จำเลยให้การต่อสู้คดี แต่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2538 ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามฟ้องเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2534 คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2534 กล่าวแต่เหตุที่จำเลยขาดนัดเพียงประการเดียว ไม่ได้กล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำชี้ขาดของศาล ส่วนข้ออ้างในคำร้องขอว่า จำเลยมาขอตรวจสำนวนเมื่อวันที่22 พฤศจิกายน 2538 และไม่สามารถขอคัดคำพิพากษาได้เพราะอยู่ในระหว่างจัดพิมพ์คำพิพากษานั้น ขัดต่อข้อเท็จจริงเพราะปรากฏในสำนวนว่าทนายจำเลยเพิ่งยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารคำพิพากษาวันที่ 4 ธันวาคม 2538 ข้ออ้างตามคำร้องขอของจำเลยจึงไม่มีเหตุควรรับฟัง ดังนี้ เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมิได้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียได้โดยไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7222/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความประกันภัย: การฟ้องภายในอายุความและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ทำให้ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลง การที่โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเรียกค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยตามหลักฐานของสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา2 ปี แล้ว ไม่ทำให้คดีของโจทก์ในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7222/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความประกันภัย: การแก้ไขฟ้องเพิ่มเติมค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกไม่ทำให้ขาดอายุความ หากสิทธิเรียกร้องมีอยู่จริง
โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลง การที่โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเรียกค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยตามหลักฐานของสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 2 ปี แล้ว ไม่ทำให้คดีของโจทก์ในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (2)
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกันดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกันดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7222/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสะดุดหยุดเมื่อฟ้องคดี การแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่ทำให้ขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความจึงสะดุดหยุดลง การที่โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยเรียกค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยตามหลักฐานของสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา2 ปี แล้ว ไม่ทำให้คดีของโจทก์ในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2)
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่
ตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท จำเลยได้ระบุเรื่องความรับผิดต่อทรัพย์สินว่า บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยความรับผิดของบริษัทจะมีไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางแล้ว ดังนี้เมื่อเจ้าของรถยนต์บรรทุกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่ถูกรถโจทก์ผู้เอาประกันภัยชนได้รับความเสียหาย และได้ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากโจทก์จนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่ผู้นั้นและโจทก์ถูกบังคับคดีแล้ว ดังนี้ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยได้ การที่โจทก์จะยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลภายนอกมิได้เข้ามาเรียกร้องต่อจำเลย ก็หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่ และศาลย่อมกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงินซึ่งไม่เกินกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นได้
แม้เงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาทกำหนดไว้ว่าผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยผู้รับประกันภัยได้ปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยสิ้นเชิงมาตั้งแต่ต้นก่อนที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลย โดยจำเลยอ้างว่าได้ยกเลิกกรมธรรม์ไปแล้วตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุวินาศภัยรถยนต์ชนกัน ดังนั้น การที่โจทก์ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกอันเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์ถูกบุคคลภายนอกฟ้องจึงหาเป็นการผิดเงื่อนไขข้อกำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895-6896/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทร่วมรับผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า แม้มิได้พิสูจน์ความรู้เห็นโดยตรง
เจ้าพนักงานยึดสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าปลอมได้จากบริษัทจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบหรือฎีกาว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6895-6896/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องรับผิดร่วมกับบริษัท หากมิได้พิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า
เจ้าพนักงานยึดสินค้าซึ่งมีเครื่องหมายการค้าปลอมได้จากบริษัทจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทจำเลยที่ 1 มิได้นำสืบหรือฎีกาว่ามิได้รู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมด้วย