คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งเท็จเพื่อรับเงินประกันภัย: ความผิดอาญาฐานฉ้อโกง
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 173, 267, 268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: เจตนาเดียวเพื่อเบิกเงินประกันภัย แม้แจ้งความเท็จและใช้เอกสารปลอม
จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่ารถยนต์หาย แล้วนำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวคือมุ่งหมายเพื่อให้จะได้เงินจากบริษัทประกันภัยเป็นหลักการกระทำต่าง ๆ ของจำเลยเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้รับเงินไปเท่านั้นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173,267,268 เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 173 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยไม่มาศาลตามนัดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่อาจอ้างเหตุติดว่าความอื่นเพื่อขอเลื่อนคดีได้
การที่ทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อรับทราบวันนัดพร้อมของศาลซึ่งเป็นการนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินคดีตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 แต่เมื่อถึงกำหนดนัดดังกล่าว ทนายจำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่มาศาลไม่ได้ให้ศาลทราบก่อนวันนัด อีกทั้งไม่ได้มอบฉันทะให้ผู้ใดมาแจ้งในวันนัด คงมีแต่ทนายโจทก์มาศาล ย่อมเห็นได้ว่าเป็นความผิดของทนายจำเลยเอง ดังนั้นจำเลยจะยกเอาเหตุที่ตนติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้วว่าเป็นเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ตาม มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาเพื่อขอเลื่อนคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายจำเลยไม่ให้ความร่วมมือในการกำหนดแนวทางพิจารณาคดี ทำให้ศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยไม่ชอบ ศาลฎีกายกคำพิพากษา
การนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดีตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 27ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีพิเศษสำหรับคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศต้องใช้เป็นหลักในการพิจารณาคดี กรณีไม่อาจนำหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งซึ่งใช้กับคดีแพ่งสามัญในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในข้อกำหนดดังกล่าวแล้วมาใช้บังคับได้
วันที่ศาลกำหนดที่จะให้มีการกำหนดแนวทางการดำเนินคดีมีความสำคัญอย่างยิ่งที่คู่ความจะต้องให้ความร่วมมือกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศในการร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินคดีเพื่อให้สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาไปได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ทนายจำเลยซึ่งรับว่าความคดีการค้าระหว่างประเทศย่อมต้องทราบกฎหมายหรือข้อกำหนดดังกล่าวเป็นอย่างดีและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความสำหรับคดีชำนัญพิเศษนั้นเพื่อรักษาประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นตัวความ
ทนายจำเลยไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินคดีเป็นความผิดของทนายจำเลยเองที่ไม่ได้สนใจและเอาใจใส่ในการดำเนินคดีนี้ เมื่อเป็นความผิดของทนายจำเลยเองที่ไม่ให้ ความร่วมมือกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในการกำหนดแนวทางในการดำเนินคดีและกำหนดวันสืบพยานโจทก์ ในวันที่ทนายจำเลยว่างทนายจำเลยจึงยกเอาเหตุที่ตนไม่อาจมาศาล ในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยอ้างเหตุที่ตนติดว่าความที่ศาลอื่น ซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้วว่าเป็นเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ตามมาตรา 27แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯมาเพื่อขอเลื่อนคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5203/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีสินค้าเสียหาย ผู้รับของไม่ปฏิเสธการรับ
ตามรายงานการตรวจสอบสินค้าซึ่งจำเลยทำการขนส่งให้กับบริษัท ท. ได้ระบุไว้ว่า เมื่อสินค้ามาถึงและ ก่อนนำเข้าคลังสินค้า กล่องบรรจุสินค้า 1 หีบห่อจากทั้งหมด 5 หีบห่ออยู่ในสภาพเปียกชื้น ส่วนสภาพความเสียหายของสินค้าไม่อาจมองเห็นได้และไม่สามารถวิเคราะห์สภาพของเครื่องจักรที่อยู่ภายในเนื่องจากสินค้าดังกล่าวประกอบด้วยอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่สลับซับซ้อน ดังนั้น การที่บริษัท ท. ได้รับสินค้าไว้โดยมีรายงานความเสียหายของสินค้ามาพร้อมด้วยนั้น จะถือว่าบริษัท ท. รับเอาสินค้าหรือของไว้โดยไม่อิดเอื้อนไม่ได้ จำเลยจึงยังไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 623 วรรคแรก ส่วนการอ้างประโยชน์ตามมาตรา 623 วรรคสอง ในกรณีความชำรุดบกพร่องมิได้ปรากฏแต่สภาพภายนอกซึ่งเจ้าของสินค้าต้องบอกกล่าวแก่ผู้ขนส่งภายใน 8 วัน นับแต่วันรับมอบนั้น ต้องปรากฏว่ามีการรับของโดยมิได้อิดเอื้อนและมีการจ่ายค่าระวางแล้ว ตามมาตรา 623 วรรคแรกด้วย ความรับผิดของจำเลยจึงจะสิ้นสุดลง เมื่อข้อเท็จจริงถือไม่ได้ว่า บริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้รับของไว้โดยไม่อิดเอื้อน แม้ว่าผู้รับตราส่งจะมิได้แจ้งเกี่ยวกับ ความเสียหายให้จำเลยทราบภายใน 8 วัน ก็ตาม ความรับผิดของจำเลยก็ยังไม่สิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าและมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลแก้ไขบทลงโทษให้ถูกต้องตามคำฟ้อง
จำเลยเป็นคนร้ายยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาฆ่าแต่กระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายจำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปรับบทลงโทษไว้ สมควรระบุให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ จำนวน 1 กระบอกกับมีกระสุนปืนขนาดเดียวกันจำนวน 5 นัด ซึ่งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวสามารถใช้ยิงได้ไว้ในครอบครอง โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ และจำเลยพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวทั้งมิใช่กรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 4,7,8 ทวิ,72,72 ทวิ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33,80,91,288,371 ริบของกลาง การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทความผิดจำเลยฐานพาอาวุธปืนไปในงานรื่นเริงตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสองมาด้วยจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ปรับบทความผิดตามมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5110/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามฆ่าและครอบครองอาวุธปืนเถื่อน ศาลฎีกาแก้ไขบทปรับโทษให้ถูกต้อง
จำเลยเป็นคนร้ายยิงผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาฆ่า แต่กระสุนปืนพลาดไปถูกผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสอง การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปรับบทลงโทษไว้ สมควรระบุให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้ จำนวน 1 กระบอก กับมีกระสุนปืนขนาดเดียวกันจำนวน 5 นัด ซึ่งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวสามารถใช้ยิงได้ไว้ในครอบครอง โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ และจำเลยพาอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ทั้งมิใช่กรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 มาตรา 4, 7, 8 ทวิ,72, 72 ทวิ ป.อ.มาตรา 33, 80, 91, 288, 371 ริบของกลาง การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทความผิดจำเลยฐานพาอาวุธปืนไปในงานรื่นเริงตามมาตรา 8 ทวิ วรรคสองมาด้วย จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่ปรับบทความผิดตามมาตราดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างประเภท และการใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิม
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2520 ถึง ปี 2524 คือ เครื่องหมายการค้า+++++++++++++ และ ++++++++++ ใช้กับสินค้าตามรายการจำพวกสินค้าเดิมตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำพวกที่ 42วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหาร จำพวกที่ 44 น้ำแร่และน้ำอัดลมซึ่งเป็นเองและทำขึ้น จำพวกที่ 45 ยาสูบที่แต่งแล้วและยังมิได้แต่ง และจำพวกที่ 48 เครื่องหอม (รวมทั้งเครื่องเบ็ดเตล็ดสำหรับแต่งกายตบแต่งผิว สิ่งที่ทำขึ้นใช้สำหรับฟัน สำหรับผม และสบู่หอม) ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า +++++++ เป็นรูปวัวกระทิงคู่หันหน้าเข้าหากันเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 12 (ใหม่) ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 รายการสินค้า แหนบรถยนต์ ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 เอกสารหมาย จ.40 โจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยที่ 1 ต่อไป
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสิบว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 ดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด
++
++ โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันกับรูปกระทิงสีแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า "กระทิงแดง" อยู่ด้านล่าง ซึ่งโจทก์จดทะเบียนเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าต่าง ๆ ของโจทก์คือเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ กาแฟบรรจุขวดและกระป๋องและสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ หมวก เสื้อยืด ปิ่นโต แก้วน้ำ และกระเป๋าคาดเอว สินค้าของโจทก์ผลิตและจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ตามสื่อต่าง ๆ เมื่อประชาชนเห็นเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่ก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงมาแล้วเป็นเวลา 15 ปีจำเลยที่ 1 จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงต่อสู้กันสำหรับใช้กับสินค้าแหนบรถยนต์ แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์
++ ส่วนจำเลยที่ 1นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง2 ตัว หันหน้าชนกัน ด้านล่างมีคำว่า "ตราวัวชนกัน" เมื่อวันที่ 3พฤษภาคม 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 และจำเลยที่ 1 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ตลอดมา เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการต่ออายุการจดทะเบียน 2 ครั้ง ในปี 2515 และ 2525 แล้วขาดต่ออายุในปี 2535 จึงมายื่นคำขอจดทะเบียนอีกตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051โดยตัดคำว่า "ตราวัวชนกัน" ออก
++
++ เห็นว่า จำเลยมีนายนิพนธ์ แช่มสาครซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และนายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ เป็นพยานเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตแหนบรถยนต์จำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันกับสินค้าแหนบรถยนต์เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้ว และได้ให้นายวิรัตน์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 แม้ตามทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะมีชื่อนายวิรัตน์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า แต่นายวิรัตน์ก็เบิกความยืนยันว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้นายวิรัตน์ซึ่งขณะนั้นเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ไปยื่นคำขอจดทะเบียนโดยใช้ชื่อนายวิรัตน์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีนายอภิชัย คีลาวัฒน์ อายุ 36 ปี ประกอบอาชีพค้าขายอะไหล่รถยนต์ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยรับช่วงกิจการในครอบครัวมาดำเนินการเบิกความสนับสนุนว่า จำเลยที่ 1 ขายแหนบรถยนต์ซึ่งมีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่สีแดงให้ร้านของครอบครัวพยานมาตั้งแต่พยานยังเป็นเด็ก โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบโต้แย้งข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยโต้แย้งการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1 มาก่อนแต่อย่างใด
++
++ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้วโดยสุจริตตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เมื่อปี 2520
++
++ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 134051ไม่มีคำว่า "ตราวัวชนกัน" จึงแตกต่างและเป็นคนละเครื่องหมายกับเครื่องหมายการค้าที่เคยจดทะเบียนไว้ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 นั้น
++ เห็นว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวอยู่ที่รูปวัวกระทิง2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน คำว่า "ตราวัวชนกัน" เป็นเพียงส่วนประกอบเมื่อจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายรูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันอันเป็นส่วนสาระสำคัญนั้นมายื่นขอจดทะเบียนใหม่ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเครื่องหมายเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ใช้มาก่อนโดยสุจริตดังกล่าวแล้วนั่นเอง จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าชอบที่จะรับจดทะเบียนให้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27วรรคหนึ่ง
++ ส่วนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้วางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า เครื่องหมายรูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงนั้น
++ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเป็นวัวกระทิงสีแดง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายดังกล่าวมาก่อนโดยสุจริต ดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้นประกอบกับสินค้าของโจทก์เป็นเครื่องบริโภคอุปโภค ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นเครื่องอะไหล่แหนบรถยนต์อันเป็นเครื่องกล จึงเป็นสินค้าต่างจำพวกกันมีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการใช้สินค้าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้าแหนบรถยนต์นำออกจำหน่ายมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี และต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่แตกต่างกันนั้นมาอีกกว่า 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยโต้แย้งว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหายเพราะประชาชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าและเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์มาก่อนแต่อย่างใดจึงไม่มีเหตุสมควรกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า รูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อใช้ก่อนและสินค้าต่างจำพวก การใช้เครื่องหมายการค้าก่อนย่อมมีสิทธิ
จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้าแหนบรถยนต์นำออกจำหน่ายมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี และต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่แตกต่างกันโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยโต้แย้งว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหายเพราะประชาชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าและเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์มาก่อนแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้ และไม่มีเหตุสมควรกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การกระทำที่เข้าข่ายการพรากผู้เยาว์ออกจากความปกครองของบิดามารดา
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลที่มีต่อผู้เยาว์มิให้ผู้ใดมาพรากไปเสียจากความปกครอง ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอาศัยอยู่กับนาย บ. และนาง ก. ผู้เป็นบิดามารดาและอยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดา การที่นาง ก. อนุญาตให้ผู้เสียหายไปเที่ยวกับเพื่อนนั้นเป็นการอนุญาตให้ออกไปเที่ยวเป็นชั่วคราว มิได้อนุญาตให้แยกออกไปอยู่โดยลำพังเป็นการถาวร จึงยังไม่พ้นจากความปกครองดูแลของบิดามารดาการที่ผู้เสียหายออกจากบ้านพักไปหาจำเลยที่หอพัก หลังจากนั้นจำเลยพาผู้เสียหายไปเดินเที่ยวห้างสรรพสินค้าแล้วชวนผู้เสียหายไปที่ห้องพักของจำเลยและอยู่กับจำเลยเรื่อยมา แล้วจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยบิดามารดาของผู้เสียหายมิได้อนุญาตให้ผู้เสียหายไปอยู่กับจำเลย ถือเป็นการพรากผู้เสียหายออกมาจากบิดามารดาอันเป็นการพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคแรก
of 33