คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5831/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างแรงงาน: การเบียดบังเงินค่าสินค้าของลูกจ้างและความชัดเจนของฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ตั้งแต่จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2534 จำเลยที่ 1 ได้ขายสินค้าของโจทก์ไปและกระทำผิดหน้าที่โดยไม่จัดทำบัญชีขายสินค้าและได้เบียดบังเอาเงินค่าขายสินค้าไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 หรือบุคคลที่สาม รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 251,024.86 บาท พร้อมทั้งได้แนบหลักฐานแสดงสินค้าที่ขาดหายไป ตามบัญชีตรวจนับสินค้าเอกสารท้ายฟ้อง ดังนี้คำฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายถึงรายละเอียดของสินค้าที่ขาดหายไปอีกเพราะโจทก์ได้แนบหลักฐานแสดงรายละเอียดของสินค้าที่ขาดหายไปตามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์และมีหน้าที่รับผิดชอบการซื้อขายเกี่ยวกับสินค้า จัดทำบัญชีซื้อขายเกี่ยวกับสินค้า ได้กระทำผิดหน้าที่ไม่จัดทำบัญชีและได้เบียดบังเอาเงินค่าสินค้าไปเป็นประโยชน์ของจำเลยที่ 1 หรือบุคคลที่สาม จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างฐานผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยกระทำผิดหน้าที่ลูกจ้างไม่จัดทำบัญชีและเบียดบังเอาเงินค่าสินค้าไป สิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่คู่ความในการมาศาล และผลของการไม่ตรวจสอบข้อมูลนัดความ
เมื่อคู่ความนำคดีมาสู่ศาลจึงมีหน้าที่ต้องนำข้อเท็จจริงมาแสดงต่อศาล หากมีความจำเป็นจนมิอาจมาศาลได้ก็จำต้องแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าว คดีนี้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและได้กลับไปเพราะตรวจบัญชีนัดความของศาลในช่วงเช้าแล้วไม่พบรายชื่อคู่ความ โดยมิได้ตรวจดูบัญชีนัดความในช่วงบ่าย ทั้ง ๆ ที่คดีของโจทก์ได้นัดไว้ในช่วงบ่าย และมิได้ติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ศาลแต่อย่างใด จึงเป็นความผิดพลาดของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เองดังนี้จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบของผู้รับมอบอำนาจในการตรวจสอบข้อมูลนัดพิจารณาคดี การไม่แจ้งเหตุจำเป็นในการไม่มาศาล
เมื่อคู่ความนำคดีมาสู่ศาลจึงมีหน้าที่ต้องนำข้อเท็จจริงมาแสดงต่อศาล หากมีความจำเป็นจนมิอาจมาศาลได้ก็จำต้องแจ้งให้ศาลทราบถึงเหตุแห่งความจำเป็นดังกล่าว คดีนี้ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาศาลและได้กลับไปเพราะตรวจบัญชีนัดความของศาลในช่วงเช้าแล้วไม่พบรายชื่อคู่ความ โดยมิได้ตรวจดูบัญชีนัดความในช่วงบ่าย ทั้ง ๆ ที่คดีของโจทก์ได้นัดไว้ในช่วงบ่าย และมิได้ติดต่อสอบถามจากเจ้าหน้าที่ศาลแต่อย่างใดจึงเป็นความผิดพลาดของผู้รับมอบอำนาจโจทก์เอง ดังนี้จึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องเป็นไปโดยชอบ หากไม่ชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ แม้ผู้ซื้อจะสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดอันเป็นทางได้มานั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นไปโดยมิชอบ เพราะมิได้มีการส่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบโดยชอบ เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 306 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา296 วรรคสาม และต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้และได้โอนขายต่อไปให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดที่ดินได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลคำสั่งของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2ก็ไม่มีอำนาจขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กรณีมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่งผลให้ผู้ซื้อรายต่อๆไป ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดอันเป็นทางได้มานั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นไปโดยมิชอบ เพราะมิได้มีการส่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบโดยชอบเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 306 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 296 วรรคสาม และต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้และได้โอนขายต่อไปให้แก่จำเลยที่ 2จนถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดที่ดินได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลคำสั่งของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีอำนาจขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กรณีมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายข้าวและการคืนทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
การเลิกสัญญา คู่สัญญาจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมกันอย่างไรนั้นต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป สำหรับข้าวที่โจทก์ได้รับมาจากจำเลย และค่าข้าวที่จำเลยได้รับชำระไปจากโจทก์เป็นทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่คู่สัญญาได้รับไว้จากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์และจำเลยจะต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินค่าข้าวที่จะต้องคืนให้แก่โจทก์ตามมาตรา 391 วรรคสอง ด้วย
เงินค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่โจทก์และจำเลยรับไว้ตามสัญญา และหากได้มีการปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยได้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลย ทั้งค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวก็มิใช่การงานที่คู่สัญญาได้ทำให้แก่กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคสามค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวจึงตกเป็นพับแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวระหว่างที่ข้าวยังเป็นของโจทก์เช่นนี้ก่อนโจทก์ส่งมอบข้าวให้แก่จำเลย โจทก์จึงต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวด้วย
โจทก์เป็นฝ่ายผู้ซื้อ ตามปกติโจทก์จะชำระค่าข้าวด้วยเงินของโจทก์เอง หากโจทก์ไม่มีเงินและต้องไปกู้เงินบุคคลภายนอกซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยมาชำระก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์โดยเฉพาะ หาเกี่ยวข้องกับจำเลยไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าข้าวทั้งหมดให้จำเลย โจทก์จึงตกลงออกหนังสือรับรองให้จำเลยนำข้าวไปจำนำไว้แก่ธนาคารโดยโจทก์ยินยอมเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย ซึ่งถ้าหากมีการปฏิบัติตามสัญญาไปครบถ้วน โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกเงินดอกเบี้ยนี้กลับคืนจากจำเลยไม่ และคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินดอกเบี้ยได้ เมื่อจำเลยไม่ต้องคืนเงินดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในเงินดอกเบี้ยเช่นว่านั้นให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการผิดสัญญาซื้อขายข้าวต่อสิทธิเรียกร้องค่าเช่าโกดัง ค่ารักษาคุณภาพ และดอกเบี้ยจำนำ
การเลิกสัญญา คู่สัญญาจะกลับคืนสู่ฐานะเดิมกันอย่างไรนั้น ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391ซึ่งจะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป สำหรับข้าวที่โจทก์ได้รับมาจากจำเลย และค่าข้าวที่จำเลยได้รับชำระไปจากโจทก์เป็นทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่คู่สัญญาได้รับไว้จากอีกฝ่ายหนึ่ง โจทก์และจำเลยจะต้องคืนให้แก่กันตามมาตรา 391 วรรคหนึ่ง ซึ่งจำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินค่าข้าวที่จะต้องคืนให้แก่โจทก์ตามมาตรา 391 วรรคสอง ด้วย เงินค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวนั้นมิใช่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสัญญาที่โจทก์และจำเลยรับไว้ตามสัญญาและหากได้มีการปฏิบัติตามสัญญาครบถ้วน โจทก์ก็ยังไม่มีสิทธิจะเรียกร้องเอาคืนจากจำเลยได้ เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาคืนจากจำเลย ทั้งค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวก็มิใช่การงานที่คู่สัญญาได้ทำให้แก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสามค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวจึงตกเป็นพับแก่โจทก์เมื่อโจทก์ต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวระหว่างที่ข้าวยังเป็นของโจทก์เช่นนี้ก่อนโจทก์ส่งมอบข้าวให้แก่จำเลยโจทก์จึงต้องเสียค่าเช่าโกดังและค่ารักษาคุณภาพข้าวด้วย โจทก์เป็นฝ่ายผู้ซื้อ ตามปกติโจทก์จะชำระค่าข้าวด้วยเงินของโจทก์เอง หากโจทก์ไม่มีเงินและต้องไปกู้เงินบุคคลภายนอกซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยมาชำระก็เป็นเรื่องส่วนตัวของโจทก์โดยเฉพาะ หาเกี่ยวข้องกับจำเลยไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีเงินชำระค่าข้าวทั้งหมดให้จำเลย โจทก์จึงตกลงออกหนังสือรับรองให้จำเลยนำข้าวไปจำนำไว้แก่ธนาคารโดยโจทก์ ยินยอมเป็นผู้ชำระดอกเบี้ย ซึ่งถ้าหากมีการปฏิบัติตามสัญญาไปครบถ้วน โจทก์ก็หามีสิทธิเรียกเงินดอกเบี้ยนี้กลับคืนจากจำเลยไม่ และคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินดอกเบี้ยได้ เมื่อจำเลยไม่ต้องคืนเงินดอกเบี้ยดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วจำเลยไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยในเงินดอกเบี้ยเช่นว่านั้นให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินธุรกิจ, การเชิดตัวผู้กระทำการ, และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจการค้า การประกอบธุรกิจดังกล่าวจึงต้องมีการซื้อขายและต้องมีเงินทุนในการดำเนินกิจการ การกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้าของจำเลยที่ 1 นั่นเอง หาใช่เป็นการกระทำนอกเหนือวัตถุประสงค์อย่างใดไม่ การที่จำเลยที่ 1ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์จึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
หลังจากจำเลยที่ 2 พ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้ว จำเลยที่ 2 ยังคงแสดงตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้จำเลยที่ 2 เข้าทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญารับมอบสินค้าเชื่อกับโจทก์รวมทั้งดำเนินการขายลดเช็คแก่โจทก์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เชิดหรือให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองทำการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 สัญญาที่จำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์จึงมีผลใช้บังคับได้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดในวันที่ 19 เมษายน 2523 แต่เมื่อครบกำหนดแล้วจำเลยที่ 1 ก็ยังเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มิได้บอกเลิก พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงยังมีอยู่ ดังนั้น โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อมาได้ ภายหลังโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ซึ่งครบกำหนดวันที่ 5 กันยายน 2526 จำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ถือได้ว่าวันดังกล่าวเป็นวันหักทอนบัญชีนับแต่นั้น โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4690/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ยืมที่มีดอกเบี้ยเกินกฎหมาย แม้รวมเข้าเงินต้น สัญญาไม่โมฆะ แต่ดอกเบี้ยส่วนเกินเป็นโมฆะ และชำระแล้วหักหนี้ต้นไม่ได้
จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมและค้ำประกันกับโจทก์ตามลำดับ จำเลยทั้งสองรู้และยินยอมให้โจทก์คำนวณดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดรวมเข้าเป็นเงินต้นด้วยนั้น เป็นนิติกรรมที่มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งสอง สัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้หาเป็นโมฆะทั้งฉบับไม่ เฉพาะดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดและนำไปคำนวณเป็นเงินต้นเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายย่อมตกเป็นโมฆะ
การที่จำเลยที่ 1 ชำระดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดกรณีเป็นการชำระหนี้โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้นำเงินดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วดังกล่าวมาหักชำระหนี้เงินต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัด และการที่สัญญาแบ่งมรดกไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สอบประการคือโดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับ ค.มารดาจำเลยทั้งห้าจำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่า ค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัด แต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกัน จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมาย ล.7 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมาย ล.7 เป็นสัญญาแบ่งมรดก จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 33