พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: สัญญาแบ่งมรดก vs. การแบ่งโดยการครอบครองเป็นส่วนสัด และประเด็นการยกข้อกล่าวหาใหม่ในชั้นฎีกา
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สองประการคือ โดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับ ค.มารดาจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่า ค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัด แต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกัน จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมาย ล.7 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมาย ล.7 เป็นสัญญาแบ่งมรดก จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก ต้องเป็นข้อสำคัญในคดีจึงมีผิด
คดีแพ่งที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1713 และ 1718 มีประเด็นข้อสำคัญในคดีว่า ผู้ร้องคือจำเลยในคดีนี้เป็นทายาทหรือมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ มีเหตุจะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายดังนั้น การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับจำนวนทายาท การให้ความยินยอมของทายาทและแสดงพยานหลักฐานบัญชีเครือญาติไม่ตรงต่อความจริง แม้จะเป็นความเท็จก็มิใช่เป็นข้อสำคัญในคดีอันอาจทำให้ผลของคดีร้องขอจัดการมรดกเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบของความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3178/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานและการต่อสู้ขัดขวางหน้าที่ เมื่อไม่มีเหตุให้ระงับเหตุหรือจับกุม
ผู้เสียหายได้พบจำเลยในขณะที่จำเลยซึ่งมีอาการเมาสุรานั่งคร่อมอยู่บนรถจักรยานยนต์โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กระทำความผิดและผู้เสียหายมิได้เข้าทำการจับกุมจำเลยอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยแต่อย่างใด อีกทั้งการที่ ส. แจ้งต่อผู้เสียหายก็ระบุแต่เพียงว่าอาจมีเรื่องกันบริเวณปากซอยให้ไปช่วยคนหน่อย จึงฟังไม่ได้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นโดยจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุหรือกระทำความผิดแต่อย่างใด การที่ผู้เสียหายปฏิบัติภารกิจอื่นแล้วเข้าไปยังที่เกิดเหตุโดยยังมิได้มีเหตุการณ์วิวาทเกิดขึ้นแต่ผู้เสียหายกลับไปมีเรื่องกับจำเลยเป็นส่วนตัว โดยถูกจำเลยพูดว่ากล่าวและผลักอก จึงไม่ใช่เรื่องที่ผู้เสียหายกำลังปฏิบัติการตามหน้าที่ในการเข้าระงับเหตุทะเลาะวิวาทหรือจับกุมผู้กระทำความผิด การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ใช้ความรุนแรงในห้องควบคุมศาล ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล
การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ถือไม้ไผ่ยาวขนาด 1 เมตรกว้าง 2 เซนติเมตร เข้าไปในห้องควบคุมผู้ต้องขังซึ่งอยู่ในบริเวณศาลชั้นต้นแล้วใช้ไม้ไผ่ดังกล่าวตีผู้ถูกกล่าวหาที่ 2จำนวน 3 ที และเงื้อไม้ไผ่จะตีผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ล้มลงและได้รับบาดเจ็บ แม้ว่าผู้ถูกกล่าวหาที่ 3เป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขัง ได้ตรวจในถุงอาหารพบหลอดบรรจุเฮโรอีน 1 หลอด ที่ญาติส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ซึ่งกำลังจะส่งต่อให้ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ก็ตามแต่ห้องควบคุมของศาลมีขนาดไม่กว้างมากนัก อีกทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจคอยควบคุมความสงบเรียบร้อยอยู่ด้วย ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3จึงไม่มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องถือไม้ไผ่เข้าไปในห้องควบคุมผู้ต้องขังโดยเกรงว่าจะถูกทำร้ายตามที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3ฎีกา ดังนั้น การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ใช้ไม้ไผ่ตีผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 ถึง 3 ทีและเงื้อไม้ไผ่จะตีผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 อีกโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างตามกฎหมายได้ จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2977/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ใช้ความรุนแรงในห้องควบคุมศาล ถือเป็นการละเมิดอำนาจศาล แม้พบยาเสพติด
การที่ผู้ถูกกล่าวหาที่3ถือไม้ไผ่ยาวขนาด1เมตรกว้าง2เซนติเมตรเข้าไปในห้องควบคุมผู้ต้องขังซึ่งอยู่ในบริเวณศาลชั้นต้นแล้วใช้ไม้ไผ่ดังกล่าวตีผู้ถูกกล่าวหาที่2จำนวน3ทีและเงื้อไม้ไผ่จะตีผู้ถูกกล่าวหาที่1ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาที่1ล้มลงและได้รับบาดเจ็บแม้ว่าผู้ถูกกล่าวหาที่3เป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีหน้าที่ควบคุมผู้ต้องขังได้ตรวจในถุงอาหารพบหลอดบรรจุเฮโรอีน1หลอดที่ญาติส่งให้ผู้ถูกกล่าวหาที่2ซึ่งกำลังจะส่งต่อให้ผู้ถูกกล่าวหาที่1ก็ตามแต่ห้องควบคุมของศาลมีขนาดไม่กว้างมากนักอีกทั้งยังมีเจ้าพนักงานตำรวจคอยควบคุมความสงบเรียบร้อยอยู่ด้วยผู้ถูกกล่าวหาที่3จึงไม่มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องถือไม้ไผ่เข้าไปในห้องควบคุมผู้ต้องขังโดยเกรงว่าจะถูกทำร้ายตามที่ผู้ถูกกล่าวหาที่3ฎีกาดังนั้นการที่ผู้ถูกกล่าวหาที่3ใช้ไม้ไผ่ตีผู้ถูกกล่าวหาที่2ถึง3ทีและเงื้อไม้ไผ่จะตีผู้ถูกกล่าวหาที่1อีกโดยไม่มีเหตุที่จะอ้างตามกฎหมายได้จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลเป็นการละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม และสิทธิร้องสอดไม่เป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความซึ่งโจทก์และจำเลยได้ทำไว้ต่อหน้าศาลในคดีอาญา เรียกเงินจำนวน 500,000 บาทที่จำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่ 15 มกราคม 2538 แต่จำเลยไม่ชำระให้ในเวลาที่กำหนด จำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ในคดีดังกล่าวในข้อหายักยอกทรัพย์ ทำให้จำเลยไม่สามารถขอคืนเงินค่าปรับนายประกันจากศาลที่สั่งปรับนายประกันเป็นเงินจำนวน 500,000 บาทได้ และความเสียหายส่วนนี้เมื่อนำมาหักกลบกับจำนวนเงินตามฟ้องแล้วจำเลยไม่ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์อีก และการที่โจทก์ไม่ดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ร้องสอดต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ไม่สามารถทำการงานเป็นหลักแหล่งได้จึงให้โจทก์ชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่จำเลยทั้งสอง นับแต่วันผิดสัญญาถึงวันฟ้องจำนวน360,000 บาท และนับถัดจากวันฟ้องอีกเดือนละ 15,000 บาท จนกว่าโจทก์จะดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์นั้น ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าปรับนายประกันนั้นเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข เพราะไม่แน่ว่าจำเลยทั้งสองจะขอคืนเงินค่าปรับที่ศาลสั่งปรับนายประกันได้หรือไม่ ทั้งการนำเงินที่ได้คืนจากค่าปรับเพื่อนำมาหักกลบกับเงินที่ต้องชำระให้โจทก์ตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความนั้น ก็มิได้มีอยู่ในข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้ต่อกันข้ออ้างของจำเลยทั้งสองจึงเป็นข้ออ้างที่ยกขึ้นมาใหม่ และในส่วนของค่าเสียหายที่ผู้ร้องสอดไม่ได้ทำงานก็เป็นความเสียหายของผู้ร้องสอด มิใช่ความเสียหายของจำเลยแต่อย่างใด ฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคท้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้กระทำต่อหน้าศาล จึงเป็นเรื่องโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น หาได้เกี่ยวกับผู้ร้องสอดไม่ ผู้ร้องสอดจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะใช้สิทธิในการร้องสอดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57
โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้กระทำต่อหน้าศาล จึงเป็นเรื่องโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น หาได้เกี่ยวกับผู้ร้องสอดไม่ ผู้ร้องสอดจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะใช้สิทธิในการร้องสอดได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม และผู้ร้องสอดไม่มีส่วนได้เสียในคดี
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความซึ่งโจทก์และจำเลยได้ทำไว้ต่อหน้าศาลในคดีอาญาเรียกเงินจำนวน500,000บาทที่จำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์ภายในวันที่15มกราคม2538แต่จำเลยไม่ชำระให้ในเวลาที่กำหนดจำเลยฟ้องแย้งโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนที่ให้ดำเนินคดีแก่ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นจำเลยที่1ในคดีดังกล่าวในข้อหายักยอกทรัพย์ทำให้จำเลยไม่สามารถขอคืนเงินค่าปรับนายประกันจากศาลที่สั่งปรับนายประกันเป็นเงินจำนวน500,000บาทได้และความเสียหายส่วนนี้เมื่อนำมาหักกลบกับจำนวนเงินตามฟ้องแล้วจำเลยไม่ต้องชำระเงินให้แก่โจทก์อีกและการที่โจทก์ไม่ดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ร้องสอดต้องหลบๆซ่อนๆไม่สามารถทำการงานเป็นหลักแหล่งได้จึงให้โจทก์ชำระค่าเสียหายส่วนนี้แก่จำเลยทั้งสองนับแต่วันผิดสัญญาถึงวันฟ้องจำนวน360,000บาทและนับถัดจากวันฟ้องอีกเดือนละ15,000บาทจนกว่าโจทก์จะดำเนินการถอนแจ้งความร้องทุกข์นั้นฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในส่วนนี้เกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าปรับนายประกันนั้นเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขเพราะไม่แน่ว่าจำเลยทั้งสองจะขอคืนเงินค่าปรับที่ศาลสั่งปรับนายประกันได้หรือไม่ทั้งการนำเงินที่ได้คืนจากค่าปรับเพื่อนำมาหักกลบกับเงินที่ต้องชำระให้โจทก์ตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความนั้นก็มิได้มีอยู่ในข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้ทำไว้ต่อกันข้ออ้างของจำเลยทั้งสองจึงเป็นข้ออ้างที่ยกขึ้นและในส่วนของค่าเสียหายที่ผู้ร้องสอดไม่ได้ทำงานก็เป็นความเสียหายของผู้ร้องสอดมิใช่ความเสียหายของจำเลยแต่อย่างใดฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสามและมาตรา179วรรคท้าย โจทก์ฟ้องจำเลยเนื่องจากจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความที่ได้กระทำต่อหน้าศาลจึงเป็นเรื่องโต้แย้งระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้นหาได้เกี่ยวกับผู้ร้องสอดไม่ผู้ร้องสอดจึงไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะใช้สิทธิในการร้องสอดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดทางอาญาจากความผิดอาญาแผ่นดินเป็นความผิดต่อส่วนตัว ทำให้โจทก์มีสิทธิถอนฟ้องได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 83, 362,365 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 365(3)อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน จำเลยอุทธรณ์ หากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ต้องถือว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 365(3)อันเป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์หามีสิทธิขอถอนฟ้องจำเลย ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยนั้นชอบแล้ว แต่ต่อมาภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานบุกรุกตาม ป.อ.มาตรา 362 อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดและตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์อ้างว่า โจทก์และจำเลยตกลงกันได้ โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยต่อไป จำเลยไม่คัดค้านและท้ายคำร้องดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อจำเลยไว้ด้วย ดังนี้ตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ข้างต้นเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ขอถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเป็นความผิดต่อส่วนตัว และการยอมความระงับคดี
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83,362,365ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่2มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา365(3)อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินหากตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดอาญาแผ่นดินมิใช่เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวโจทก์หามีสิทธิขอถอนฟ้องจำเลยที่2ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ได้ไม่แต่ต่อมาภายหลังเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่2มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวและยังไม่มีคำพิพากษาศาลสูงเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดและตามคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์อ้างว่าโจทก์และจำเลยที่2ตกลงกันได้โจทก์จึงไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยที่2ต่อไปจำเลยที่2ไม่คัดค้านและท้ายคำร้องดังกล่าวได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วยคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์จึงเป็นการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้วสิทธินำคดีอาญามาฟ้องจำเลยที่2ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: เริ่มนับจากวันครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อ ไม่ใช่แค่วันส่งมอบ
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลย เพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ 45ถึง 60 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้วฉะนั้น สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงิน เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)