พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาชำระหนี้และการเกิดสิทธิเรียกร้อง
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลย เพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ 45 ถึง 60 วัน นับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้ว ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงิน เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการชำระราคาสินค้า: กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อเป็นจุดเริ่มต้นอายุความ
ในการที่โจทก์ขายสินค้าวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างให้แก่จำเลยนั้นตามทางปฏิบัติโจทก์ได้กำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อแก่จำเลยเพื่อชำระราคาสินค้าภายในระยะเวลาประมาณ45ถึง60วันนับแต่วันรับมอบสินค้าจึงถือไม่ได้ว่าวันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าเป็นวันที่จำเลยต้องชำระราคาสินค้าแล้วฉะนั้นสิทธิเรียกร้องให้ชำระราคาสินค้าของโจทก์ยังไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาให้สินเชื่อซึ่งปรากฏว่าตามใบแจ้งหนี้กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระเงินเมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน2ปีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและการคืนเงินจากการบังคับคดี
ก่อนที่จำเลยจะฟ้อง ว.และโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันตามคดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530 ของศาลชั้นต้น จำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่า ว.ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาท เมื่อจำเลยซื้อรถยนต์พิพาทจาก ว.จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่อาจนำรถยนต์พิพาทออกให้เช่าซื้อได้ตามป.พ.พ.มาตรา 572 ดังนั้น เมื่อจำเลยนำรถยนต์พิพาทออกให้เช่าซื้อ โดยโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อ สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ การที่จำเลยฟ้องให้ ว.และโจทก์รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน ตามคดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530 ของศาลชั้นต้น ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่า จำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทที่แท้จริง จึงถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อจำเลยดำเนินการบังคับคดีเอาแก่โจทก์โดยอายัดเงินเดือนและเงินโบนัสของโจทก์จากการประปานครหลวง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีในคดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530ของศาลชั้นต้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยคืนแก่โจทก์
คดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530 ของศาลชั้นต้น จำเลยฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันในฐานะโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน จึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ และเมื่อโจทก์แพ้คดีดังกล่าว ต่อมาโจทก์ทราบจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2536 ว่า ในขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อ จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิฟ้องคดีเดิมไม่สุจริตพร้อมกับเรียกเงินที่ได้จากการบังคับคดีของโจทก์คืน ประเด็นพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีคืนแก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งการฟ้องคดีนี้มิได้ฟ้องโดยอาศัยข้อผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด ดังนั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกันกับคดีก่อนประเด็นที่วินิจฉัยมิใช่โดยอาศัยเหตุเดียวกัน และมิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีหมายเลขแดงที่ 14473/2530 ของศาลชั้นต้น จำเลยฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันในฐานะโจทก์เป็นผู้ค้ำประกัน จึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่ และเมื่อโจทก์แพ้คดีดังกล่าว ต่อมาโจทก์ทราบจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2536 ว่า ในขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อ จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ที่เช่าซื้อ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิฟ้องคดีเดิมไม่สุจริตพร้อมกับเรียกเงินที่ได้จากการบังคับคดีของโจทก์คืน ประเด็นพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีคืนแก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งการฟ้องคดีนี้มิได้ฟ้องโดยอาศัยข้อผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด ดังนั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกันกับคดีก่อนประเด็นที่วินิจฉัยมิใช่โดยอาศัยเหตุเดียวกัน และมิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตของผู้ซื้อที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ และผลกระทบต่อการบังคับคดี
จำเลยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าว. ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทเมื่อจำเลยซื้อรถยนต์พิพาทจากว. จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่อาจนำรถยนต์พิพาทออกให้เช่าซื้อได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572เมื่อจำเลยนำรถยนต์พิพาทออกให้เช่าซื้อโดยโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์การที่จำเลยฟ้องให้ว. และโจทก์รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันทั้งๆที่รู้อยู่แล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทที่แท้จริงจึงถือได้ว่าจำเลยใช้สิทธิในการฟ้องคดีโดยไม่สุจริตอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์เมื่อจำเลยดำเนินการบังคับคดีเอาแก่โจทก์โดยอายัดเงินเดือนและเงินโบนัสของโจทก์จากการประปานครหลวงจำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีพร้อมด้วยดอกเบี้ยคืนโจทก์ คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันในฐานะโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์ผิดสัญญาหรือไม่เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วต่อมาจึงทราบว่าในขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์ที่เช่าซื้อโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยใช้สิทธิฟ้องคดีเดิมไม่สุจริตพร้อมกับเรียกเงินที่ได้จากการบังคับคดีของโจทก์คืนประเด็นพิพาทในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ได้รับจากการบังคับคดีคืนแก่โจทก์หรือไม่มิได้ฟ้องโดยอาศัยข้อผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใดดังนั้นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกับคดีก่อนประเด็นที่วินิจฉัยมิใช่โดยอาศัยเหตุเดียวกันและมิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการให้บริการบัตรเครดิต: การชำระเงินทดรองและอายุความ 2 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34(7)
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการสินเชื่อแก่บุคคลทั่วไปในรูปของบัตรเครดิตโดยโจทก์ออกบัตรให้สมาชิก แล้วสมาชิกของโจทก์สามารถนำบัตรไปใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าบริการต่าง ๆกับเบิกเงินสดจากสถานประกอบกิจการค้าต่าง ๆ และธนาคารทั้งในและต่างประเทศ โจทก์จะเป็นผู้ชำระเงินแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง การให้บริการดังกล่าวแก่สมาชิกของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าบริการและค่าธรรมเนียมรายปีโจทก์จึงเป็นผู้รับทำการงานต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้วจึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1542/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมและการได้มาซึ่งของกลางโดยชอบด้วยกฎหมาย การจูงใจเพื่อลดโทษไม่ถึงขั้นสัญญา
เจ้าพนักงานตำรวจผู้ตรวจค้นจับกุมจำเลยได้บอกจำเลยว่า หากมีเมทแอมเฟตามีนอยู่อีกให้นำมอบให้เจ้าพนักงานตำรวจ จะได้รับโทษเบาลงและได้เกลี้ยกล่อมจำเลยว่าหากมีสิ่งผิดกฎหมายก็ให้เอาออกมาเสีย จากนั้นจำเลยได้พาไปที่ต้นมะขามล้วงเข้าไปในโพรงต้นมะขาม นำถุงพลาสติกบรรจุเม็ดยามาให้ ดังนี้เป็นการพูดในขณะที่ปฏิบัติการตรวจค้นเพื่อให้ได้มาซึ่งของผิดกฎหมายที่อยู่ในครอบครองของจำเลย แม้คำพูดนั้นจะเป็นการพูดจูงใจในทำนองว่าจำเลยจะได้รับโทษเบาลง ก็ไม่ถึงขั้นให้สัญญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 135 มิใช่เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินบำนาญหลังถูกไล่ออก: ประเด็นอายุความลาภมิควรได้และการคำนวณระยะเวลา
จำเลยได้รับราชการจนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน2530 จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2530เป็นต้นมาจนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2533 เป็นเงินทั้งสิ้น 178,293.75 บาท และโจทก์ได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2533โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2530 ดังนั้น การที่จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการได้มาในขณะที่โจทก์ยังมิได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการ จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพ พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการและ พ.ร.ฎ.เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอันเป็นสิทธิของจำเลยที่พึงได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยรับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพจึงมิใช่เป็นการรับชำระเงินไว้โดยปราศจากมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายและมิใช่เป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบแต่ประการใด กรณีจึงมิใช่ลาภมิควรได้การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 419การจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เป็นการจ่ายเงินไปตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับมานั้นให้แก่โจทก์ และโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวได้ในกำหนด 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป และจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยรับเอาเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406 จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 ถือว่าโจทก์รู้ความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้น ดังนั้น เงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปี คือตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินหนึ่งปีเท่านั้น
เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้ว โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 เป็นต้นไป และจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป การที่จำเลยรับเอาเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 16พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 406 จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น ป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน ปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 ถือว่าโจทก์รู้ความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้น ดังนั้น เงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปี คือตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2533 จนถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534 จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินหนึ่งปีเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความลาภมิควรได้: การคืนเงินบำนาญหลังไล่ออกจากราชการ, ระยะเวลาที่โจทก์รู้สิทธิ, และข้อยกเว้นอายุความ
จำเลยได้รับราชการจนเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่30กันยายน2530จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตั้งแต่วันที่1ตุลาคม2530เป็นต้นมาจนถึงวันนี้15พฤศจิกายน2533และโจทก์ได้มีคำสั่งลงโทษไล่จำเลยออกจากราชการเมื่อวันที่16พฤศจิกายน2533โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่30กันยายน2530การที่จำเลยได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพเป็นการได้มาในขณะที่โจทก์ยังมิได้มีคำสั่งลงโทษจำเลยออกจากราชการจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการและพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญอันเป็นสิทธิของจำเลยที่พึงได้ตามกฎหมายการที่จำเลยรับเงินบำนวญและเงินช่วยค่าครองชีพจึงมิใช่เป็นการรับชำระเงินไว้โดยปราศจากมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมายและมิใช่เป็นทางให้บุคคลอื่นเสียเปรียบแต่ประการใดกรณีจึงมิใช่ลาภมิควรได้โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด1ปีจึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตร419การจ่ายเงินบำนาญและเงินค่าครองชีพเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายมิใช่เป็นการจ่ายเงินไปตามอำเภอใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา407จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับมานั้นให้แก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินดังกล่าวได้ในกำหนด10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30 เมื่อโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการแล้วโจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพให้แก่จำเลยตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533เป็นต้นไปและจำเลยก็ไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกต่อไปการที่จำเลยรับเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพไปจากโจทก์ตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่30พฤศจิกายน2534จึงเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบเข้าลักษณะลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา406จำเลยจำต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์แต่อายุความสำหรับเรียกเอาคืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา419ห้ามมิให้ฟ้องคดีเพื่อกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันเวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืนปรากฏว่าโจทก์มีคำสั่งไล่จำเลยออกจากราชการตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533ถือว่าโจทก์รู้ว่าความจริงที่โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยโดยปราศจากมูลหนี้ในวันนั้นดังนั้นเงินบำนาญและเงินช่วยค่าครองชีพที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินหนึ่งปีคือตั้งแต่วันที่16พฤศจิกายน2533จนถึงวันที่25พฤศจิกายน2534จึงขาดอายุความโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิด: การรู้ถึงการละเมิดและตัวผู้กระทำละเมิดเป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อกรมโจทก์ โจทก์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงทำการสอบสวนแล้วได้รายงานให้โจทก์ทราบว่าจำเลยทำละเมิดและจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ซึ่ง ธ. รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีโจทก์ได้บันทึกลงในรายงานฉบับนี้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2535 ให้กองนิติการพิจารณาเสนอด้วย ธ. จึงทราบตามรายงานแล้วว่า จำเลยทำละเมิดและจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ตั้งแต่วันดังกล่าว เมื่อ ธ. เป็นผู้แทนของโจทก์จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2536 แล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2536 เกิน 1 ปี จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความผิดฐานขับรถประมาทและการลงโทษฐานหลบหนีไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
การที่จำเลยจะได้รับโทษหนักขึ้นตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 160 วรรคสองนั้น หมายถึงกรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง แล้วเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส มิใช่หมายถึงจำเลยขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสแล้วจำเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งโจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยก่อความเสียหายแล้วจำเลยได้หลบหนีไม่ให้ความช่วยเหลือพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที มิได้บรรยายอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร พร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 วรรคหนึ่งนั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส จึงไม่อาจลงโทษตามมาตรา 160 วรรคสองได้ ต้องลงโทษตามมาตรา 160 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 4