พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นเพื่อใช้ป้องกันตัว ไม่ถือเป็นการครอบครองโดยมิชอบ
ผู้เสียหายใช้ไม้เป็นอาวุธเข้าไปในบ้านที่จำเลยพักอาศัย เมื่ออยู่ห่างจำเลย 2 เมตร ได้เงื้อไม้จะตีจำเลย จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่หัวไหล่ 1 นัด แม้อาวุธปืนดังกล่าวจะมิใช่ของจำเลย แต่การที่จำเลย ใช้อาวุธปืนในลักษณะป้องกันตัวและใช้ในช่วงระยะเวลาอันสั้นโดย ไม่ปรากฏเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนรายนี้ไว้เพื่อ ความครอบครองของตน ทั้งในขณะเกิดเหตุผู้เป็นเจ้าของปืนก็อยู่ใน บ้านที่เกิดเหตุด้วย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองอาวุธปืนและ เครื่องกระสุนปืนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและ เครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต และ ความผิดข้อหานี้แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ สืบพยานหลักฐานในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนตามฟ้อง ศาล ย่อมพิพากษายกฟ้องข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นเพื่อป้องกันตัว ไม่ถือว่ามีความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง
จำเลยใช้อาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายในลักษณะป้องกันตัวและใช้ในชั่วระยะเวลาอันสั้น โดยไม่ปรากฏเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไว้เพื่อครอบครองทั้งในขณะเกิดเหตุผู้เป็นเจ้าของก็อยู่ในบ้านที่เกิดเหตุด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต แม้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามฟ้องศาลย่อมพิพากษายกฟ้องข้อหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนของผู้อื่นเพื่อป้องกันตัว ไม่ถือว่ามีความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาต
จำเลยใช้อาวุธปืนของผู้อื่นที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้จากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายในลักษณะป้องกันตัวและใช้ในชั่วระยะเวลาอันสั้นโดยไม่ปรากฏเจตนาจะยึดถืออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนดังกล่าวไว้เพื่อครอบครองทั้งในขณะเกิดเหตุผู้เป็นเจ้าของก็อยู่ในบ้านที่เกิดเหตุด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต แม้จำเลยให้การรับสารภาพแต่เมื่อโจทก์สืบพยานหลักฐานในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นแล้วปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องข้อหานี้ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของกิจการขนส่งต่อการละเมิดของคนขับรถ แม้ไม่ใช่เจ้าของรถโดยตรง
ข. เจ้าของรถนำรถบรรทุกมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบการขนส่ง โดยพ่นตัวหนังสือชื่อย่อของจำเลยที่ 1 ไว้ข้างรถบรรทุก ขณะเกิดเหตุมีจำเลยที่ 2 ซึ่ง ข. จัดหาเป็นผู้ขับรถบรรทุกดังกล่าว เพื่อบริการขนส่งสินค้าแก่ลูกค้าหรือจะไปในที่แห่งใด ย่อมอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่ง ข. ไม่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องได้ ทั้งจำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 2 ไม่ให้ขับรถบรรทุกต่อไปได้หากเห็นว่าไม่สมควรที่จะให้ทำหน้าที่ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสั่งการบังคับบัญชาจำเลยที่ 2 และมีอำนาจหักเอาเงินผลประโยชน์ส่วนแบ่งของ ข. มาจ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 ได้อีกด้วย นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยังมีผลประโยชน์ร่วมกับ ข. โดยได้รับส่วนแบ่งจากการให้บริการขนสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราย ๆ กรณีถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในการที่จำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง กรณีมีอำนาจสั่งการ ควบคุมดูแล และจ่ายค่าจ้าง
ข. เจ้าของรถนำรถบรรทุกมาร่วมกิจการขนส่งกับจำเลยที่ 1 โดยพ่นตัวหนังสือชื่อย่อจำเลยที่ 1 ไว้ข้างรถบรรทุก และในขณะเกิดเหตุมีจำเลยที่ 2 ซึ่ง ข. จัดหาไปขับรถบรรทุกสินค้าเป็นผู้ขับเพื่อบริการขนส่งสินค้าให้แก่ผู้ใช้บริการโดยการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ให้บริการแก่ลูกค้าคนใดหรือจะไปในที่แห่งใดย่อมอยู่ในการควบคุมดูแลของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ซึ่ง ข. ไม่อาจเข้าไปเกี่ยวข้องได้ จำเลยที่ 1 สามารถเปลี่ยนตัวจำเลยที่ 2 ไม่ให้ขับรถบรรทุกต่อไปได้ หากเห็นไม่สมควรที่จะให้ทำหน้าที่ต่อไป จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสั่งการบังคับบัญชาจำเลยที่ 2และมีอำนาจหักเอาเงินผลประโยชน์ส่วนแบ่งของ ข. มาจ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 ได้ด้วย นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีผลประโยชน์ร่วมกับ ข. โดยได้รับส่วนแบ่งจากการให้บริการขนสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นราย ๆ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ในการที่จำเลยที่ 2ได้กระทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าเดิม ผู้โต้แย้งสิทธิมีอำนาจฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ละเมิดได้ แม้คำสั่งคณะกรรมการฯ จะไม่เป็นคุณ
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง บัญญัติเป็นข้อยกเว้นว่า แม้จะเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังมิได้ จดทะเบียนในประเทศไทยก็อาจฟ้องร้องว่ากล่าวเอาแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้า อันได้จดทะเบียนไว้แล้วได้หากเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เมื่อประกอบกับ มาตรา 41(1) ที่ให้สิทธิแก่ผู้มีส่วนได้เสียที่แสดงได้ว่าตนมีสิทธิใน เครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ อาจร้องขอให้ เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ โจทก์ซึ่งอ้างตนว่าเป็น ผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยทั้งสอง จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองได้
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะได้กล่าวอ้างถึงการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อศาลตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งใช้บังคับในภายหลัง แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในการกระทำของจำเลยทั้งสองที่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะได้กล่าวอ้างถึงการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อศาลตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งใช้บังคับในภายหลัง แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พอถือได้ว่าโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลในการกระทำของจำเลยทั้งสองที่นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้รับโอนสิทธิมีสิทธิมากกว่าผู้จดทะเบียนภายหลัง หากเครื่องหมายการค้ามีชื่อเสียงมาก่อน
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: ไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. จัดหางานฯ หากเจตนาหลอกลวงเอาทรัพย์สิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลย มิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4,30 และมาตรา 82 แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดาและจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4 วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ. 2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง,30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกายกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่อ้างการจัดหางานหลอกลวงผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางาน แต่เข้าข่ายฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนหางานให้ไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น และเรียกค่าบริการจากผู้เสียหาย โดยจำเลยมิได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนจัดหางานกลาง อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 4, 30 และมาตรา 82แต่การจะเป็นผู้กระทำความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ต้องเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางานก่อน เมื่อจำเลยเป็นบุคคลธรรมดา และจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของบริษัทจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ การกระทำของจำเลย นอกจากไม่ต้องด้วยคำจำกัดความของคำว่า "จัดหางาน" ตามมาตรา 4วรรคหนึ่งแล้ว จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่คนหางานหรือจัดหาลูกจ้างให้แก่นายจ้าง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยอ้างเอาเรื่องการจัดหางานขึ้นมาเป็นเหตุหลอกลวงเอาเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงอันอาจเป็นความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 หรือ 342 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 4วรรคหนึ่ง, 30 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 82
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
ปัญหาว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกายกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3293/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องฐานปล้นทรัพย์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340, 340 ตรี, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตาม ป.อ. มาตรา 295, 83 จำคุก 1 ปี ข้อหาและคำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 อีกกระทงหนึ่งเรียงกระทงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 91 จำคุก 1 ปี รวมเป็นจำคุก 2 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 1 ปี 4 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาปล้นทรัพย์ ต้องห้าม มิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาโจทก์ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้