คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ต้องแสดงการส่งมอบเงินจริง แม้มีการหักทอนบัญชีก็ไม่เพียงพอ
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความที่ระบุไว้ว่าไม่ได้มีการส่งมอบเงินกันในวันทำสัญญากู้ แต่กลับมีรายการแสดงการเป็นเจ้าหนี้ของเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี อันมีที่มาจากบัญชีเดินสะพัดกระแสรายวัน บัญชีดังกล่าวจึงใช้เป็นหลักฐานว่าโจทก์ได้ชำระเงินที่ น. กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์แล้ว เป็นเอกสารสำคัญที่โจทก์ต้องนำมาสืบ แม้โจทก์จะมีผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความประกอบการหักทอนบัญชีเพื่อให้เห็นว่ามีหนี้ค้างชำระกันจำนวนเท่าใด ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ว่า น. เป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดเพื่อขายต่อเนื่องและการริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 67 เป็นความผิดที่เกิดขึ้นและมีอยู่ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา นับตั้งแต่ได้เมทแอมเฟตามีนของกลางมาจนกระทั่งขนเคลื่อนย้ายไป การที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีน 245 เม็ด ที่ได้มาทั้งหมดไปซุกซ่อนไว้ที่ใต้พวงมาลัยรถยนต์ของกลางแล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 นำรถยนต์ของกลางเคลื่อนที่ไปตามถนนหลวง ล้วนเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในขณะที่การกระทำความผิดยังต่อเนื่องไม่ขาดตอน ถือได้ว่ารถยนต์ของกลางที่นำมาใช้ลำเลียงเมทแอมเฟตามีนไป เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่โดยตรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้นำรถยนต์มาใช้ ด้วยการรู้เห็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์นั้นอยู่ จึงต้องริบรถยนต์ของกลางตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ในการลำเลียงยาเสพติด: ความผิดต่อเนื่องและทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
ความผิดฐานมี เมทแอมเฟตามีน ไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 และพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15,67 เป็นความผิดที่เกิดขึ้นและมีอยู่ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา นับตั้งแต่ได้เมทแอมเฟตามีนของกลางมาจนกระทั่งขนเคลื่อนย้ายไป การที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีน 245 เม็ด ที่ได้มาทั้งหมดไปซุกซ่อนไว้ที่ใต้พวงมาลัยรถยนต์ของกลางแล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 นำรถยนต์ของกลางเคลื่อนที่ไปตามถนนหลวงล้วนเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในขณะที่การกระทำความผิดยังต่อเนื่องไม่ขาดตอน ถือได้ว่ารถยนต์ของกลางที่นำมาใช้ลำเลียงเมทแอมเฟตามีนไป เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่โดยตรง โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้นำรถยนต์มาใช้ ด้วยการรู้เห็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์นั้นอยู่ จึงต้องริบรถยนต์ของกลางตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความกันทางอาญาไม่ระงับคดี ย่อมไม่ถือว่าโจทก์สละสิทธิฟ้อง
คำว่า "ยอมความกัน" ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39(2) หมายถึงการยอมความในทางอาญาเท่านั้น มิได้หมายความว่า เมื่อมีการยอมความกันไม่ว่าจะในเรื่องใดแล้ว จะทำให้คดีอาญาต้องระงับไปด้วย เมื่อยังไม่มีข้อตกลงให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2711/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีแพ่งไม่ทำให้คดีอาญาที่เกี่ยวข้องระงับ หากไม่มีการตกลงยุติการดำเนินคดีอาญา
คำว่า "ยอมความกัน" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) หมายถึงการยอมความในทางอาญาเท่านั้น มิได้หมายความว่าเมื่อมีการยอมความกันไม่ว่าจะในเรื่องใดแล้ว จะทำให้คดีอาญาต้องระงับไปด้วย เมื่อยังไม่มีข้อตกลงให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ร่วมไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงยังไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีรับขนทางทะเล: การส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือและผลกระทบต่อการฟ้องร้อง
คดีนี้ฟังได้ว่า การขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย คือเจ้าของสินค้านำตู้สินค้าไปบรรจุเอง รวมทั้งตรวจนับและปิดผนึก หน้าที่และความรับผิดของผู้ขนส่งจะเริ่มต้นเมื่อผู้ส่งสินค้าได้ส่งมอบตู้สินค้าให้แก่ผู้ขนส่ง และจะสิ้นสุดต่อเมื่อตู้สินค้าได้ถูกส่งมอบที่ท่าเรือปลายทาง และตามระเบียบของท่าเรือโยโกฮาม่า การขนส่งแบบ ซีวาย/ซีวาย หน้าที่ของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ท่าเรือดังกล่าว จำเลยที่ 4 ผู้ขนส่ง ได้ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้แก่ท่าเรือปลายทาง ณ ลานพักสินค้าของท่าเรือโยโกฮาม่า อันเป็นการส่งมอบสินค้าโดยชอบตามสัญญารับขนของทางทะเลและตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 40 (3) แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2535 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายของสินค้าที่รับขนอันเนื่องมาจากการรับขนของทางทะเลในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2536 อันเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 4 ได้ส่งมอบสินค้าพิพาทโดยชอบแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศ มูลความแห่งคดีจึงเป็นเรื่องหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 แม้จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ฎีกา เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดเพราะคดีขาดอายุความ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารและการแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายชื่อพยานในคดีแพ่ง
เอกสารซึ่งเป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ครบตามแบบ ที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสาร ดังกล่าวถูกต้อง ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติม ซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้ แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่ง ไม่รวม อ. ด้วย อันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้ และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้ การที่จำเลยนำ อ. เข้าเบิกความจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2295/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารที่ไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ และการอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมหลังสืบพยาน
เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 เป็นเอกสารโต้ตอบกันระหว่างโจทก์และจำเลย ระบุถึงความชำรุดบกพร่องของรองเท้าพิพาทและการตรวจสอบความชำรุดบกพร่องโดยตัวแทนของโจทก์และจำเลย เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับโจทก์ส่งมอบรองเท้าพิพาทไม่ตรงตามแบบที่จำเลยกำหนด จึงเป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในคดีอันเป็นข้อที่ทำให้แพ้ชนะระหว่างคู่ความ แม้จำเลยจะมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่จำเลยได้ใช้เอกสารดังกล่าวในการถามค้านพยานปากแรกของโจทก์ โจทก์ย่อมมีโอกาสที่จะหักล้างข้อเท็จจริงหรือโต้แย้งเอกสารดังกล่าวได้ การไม่ส่งสำเนาเอกสารของจำเลยไม่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 87(2)
ในขณะที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.7 และ ล.12 ต่อศาลชั้นต้นโจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร คงคัดค้านเพียงว่าจำเลยมิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองระบุ อ. เป็นพยานเพิ่มเติมซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว อ. จึงเป็นพยานจำเลยที่สามารถนำเข้าเบิกความต่อศาลได้แม้ต่อมาจำเลยจะแถลงต่อศาลว่าติดใจสืบพยานจำเลยอีกเพียงสามปากซึ่งไม่รวม อ. ด้วยอันมีผลผูกพันจำเลยตามที่แถลงก็ตาม แต่ระหว่างสืบพยานจำเลยไม่เสร็จสิ้น จำเลยไม่สามารถนำ ร. ซึ่งเป็นพยานหนึ่งในสามปากมาเบิกความได้และขออ้าง อ. เป็นพยานเพิ่มเติมพร้อมกับยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่งเป็นการที่จำเลยกลับใจนำ อ. ซึ่งได้เคยระบุอ้างไว้ในบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งสองเข้าเบิกความต่อไปเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎหมายห้าม คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมนั้นมิใช่การอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม หากแต่มีผลเป็นการอนุญาตให้จำเลยนำ อ. ซึ่งได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้แล้วเข้าเบิกความต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยที่ 2 ไม่เป็นผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.รับขนทางทะเล และความรับผิดของผู้ขนส่งในระบบตู้สินค้า CY/CY
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลกับผู้ส่งซึ่งว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนส่ง เมื่อจำเลยที่ 1 นำเรือเข้าจอดที่ท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 ได้มีการขนถ่ายตู้สินค้าที่ใช้ขนส่งสินค้าในคดีนี้ลงจากเรือ และจำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 เพื่อให้จำเลยที่ 2 มอบตู้สินค้านั้นให้ผู้รับตราส่งต่อไป อันเป็นการประกอบกิจการเช่นเดียวกับการดำเนินงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินการดังกล่าวของจำเลยที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการที่จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลนั้นแม้เพียงช่วงระยะทางช่วงใดช่วงหนึ่ง จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่น ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3
คำว่า "ผู้ขนส่งอื่น" ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 นั้น ไม่รวมถึงบุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเล เช่น การขนถ่ายของขึ้นจากเรือหรือการส่งมอบสินค้าแก่ผู้รับตราส่ง ดังนี้ แม้จะฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนย้ายตู้สินค้าจากเรือลงท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 และขนย้ายตู้สินค้าจากหน้าท่าไปยังลานเก็บสินค้าของท่าเรือ ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น ตามบทบัญญัติมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
การขนส่งสินค้าเม็ดพลาสติกเป็นการขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย คือผู้ส่งสินค้าได้ไปตรวจสอบตู้สินค้าว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อย เหมาะสมกับสินค้าที่ใช้บรรจุแล้ว ผู้ส่งสินค้าจึงนำตู้สินค้าไปทำการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้ รวมทั้งปิดผนึกดวงตราปากตู้ต่อหน้าเจ้าพนักงานศุลกากร โดยจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ต่อมาผู้ส่งสินค้าได้นำตู้สินค้าดังกล่าวมามอบให้ตัวแทนของจำเลยที่ 1 บรรทุกลงเรือ เมื่อเรือเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบตู้สินค้านั้นให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือของบริษัทจำเลยที่ 2 ในสภาพตู้และดวงตราผนึกปากตู้เรียบร้อย เช่นนี้ หน้าที่และความรับผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงสิ้นสุดลง
การขนส่งในระบบตู้สินค้าแบบ ซีวาย/ซีวาย ผู้รับตราส่งที่ปลายทางมีหน้าที่รับตู้สินค้าจากท่าเรือไปเปิดตู้สินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเองและเมื่อผู้รับตราส่งมาขอรับตู้สินค้าจากจำเลยที่ 2 จะต้องมีการตรวจสอบสภาพตู้สินค้าว่ามีสภาพเรียบร้อยหรือไม่ ซึ่งหากพบความเสียหายจะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ท่าเรือทราบและต้องมีการบันทึกหมายเหตุความเสียหายนั้นไว้ในใบรับมอบตู้สินค้า แต่ปรากฏว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้ลงลายมือชื่อรับมอบตู้สินค้าไปในสภาพเรียบร้อยโดยไม่มีการระบุว่าหลังคาตู้สินค้ามีรูรั่วหรือมีความเสียหายใด ๆ เลย อันแสดงว่าตัวแทนของบริษัท ท. ผู้รับตราส่งได้รับมอบตู้สินค้าดังกล่าวไปในสภาพเรียบร้อย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงรับฟังไม่ได้ว่าความเสียหายของตู้สินค้าและสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง หรือเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสอง อันเป็นเหตุให้ผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่โจทก์ได้รับความเสียหายตามคำฟ้อง จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รู้ว่าลูกโป่งละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ (WinniethePooh) ของผู้เสียหายอันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการนั้นเป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี"(BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูนสัตว์โลกที่เป็น "หมี" เป็นสัตว์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่งดงามแปลกหูแปลกตาและแปลกไปจากสัตว์อื่น มนุษย์ทุกคนย่อมมีปรัชญาศิลปะอยู่ในตัวบ้างไม่มากก็น้อย เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างสรรค์จินตนาการในศิลปะในลักษณะต่าง ๆ กันได้เมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกันโดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำกันหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน การใช้ความคิดริเริ่มนำเอาความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์จินตนาการเป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการผูกขาดจินตนาการหรือสุนทรียภาพในทางความคิดก่อให้เกิดผลเสียแก่มนุษยชาติ เนื่องจากจะมีผลทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถสร้างสรรค์จินตนาการของตนเองเป็นภาพการ์ตูนจากสัตว์ธรรมชาติหรือจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันได้ กฎหมายลิขสิทธิ์จึงคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
of 33