คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ภาพหมีพูห์: การคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกทางศิลปะ ไม่คุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ และการขาดเจตนาละเมิด
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ของผู้เสียหาย อันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการเป็นงานศิลปกรรมนั้น เป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี" (BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูน มนุษย์เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างจินตนาการในศิลปะลักษณะต่าง ๆ กันได้ และเมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกัน โดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนกันหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน ฉะนั้น การใช้ความคิดริเริ่มนำความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์เป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้ กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดเท่านั้นและการคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดดังกล่าวจนถึงขั้นที่ผู้สร้างสรรค์จะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์นั้น ยังต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8 ด้วย
แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพบนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใด แต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่ง ความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น ทั้งลูกโป่งดังกล่าวที่มีภาพหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ได้แยกออกมาจากลูกโป่งจำนวนประมาณ 1,000,000 ใบ มีจำนวนเพียง 4,435 ใบ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงจึงไม่พอให้รับฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) และ 70 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1779/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนอาจทำให้ประชาชนทั่วไปหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน
เครื่องหมายการค้าตามที่ปรากฏบนตัวสินค้าของโจทก์และจำเลยทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกัน กล่าวคือ ส่วนกลางมีคำว่า "SUPER GLUE" ในกรอบสี่เหลี่ยม ส่วนล่างเป็นสีดำมีคำบรรยายเป็นตัวหนังสือภาษาอังกฤษสีขาวว่า " for WOOD - RUBBER - PLASTICS - METAL - PAPER & LEATHER Cyanoacrylate Adhesive NET. 3 g " และส่วนบนมีแถบสีดำ แม้คำว่า "SUPER GLUE" และคำบรรยายที่อยู่ในส่วนล่างทั้งหมดเป็นคำสามัญ ซึ่งในการขอจดทะเบียนโจทก์ได้แสดงปฏิเสธสิทธิว่า ไม่ให้สิทธิแก่ผู้ขอจดทะเบียนแต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรคำว่า "SUPER GLUE" และคำบรรยายทั้งหมดก็ตาม แต่รูปลักษณะ ขนาด การจัดวาง ตำแหน่งและทิศทางของตัวอักษร ทั้งหมดดังกล่าว ตลอดจนการให้สีสันของตัวอักษรและสีพื้นเหมือนหรือคล้ายกันจนเกือบจะเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน คงแตกต่างกันแต่คำว่า "ALTECO" กับ "GIANT" ในแถบสีดำส่วนบน ซึ่งแม้จำเลยทั้งสองจะมีสิทธิใช้คำว่า "GIANT" เพราะเป็นคำสามัญก็ตาม แต่เนื่องจากตัวอักษรมีขนาดเล็ก จำนวนตัวอักษรก็ใกล้เคียงกันคือคำว่า "ALTECO" ประกอบด้วยตัวอักษร 6 ตัว ส่วนคำว่า "GIANT" ประกอบด้วยตัวอักษร 5 ตัว ต่างกันเพียง 1 ตัว และสีของตัวอักษรเป็นสีขาวจัดวางอยู่ในแถบสีดำส่วนบนทำนองเดียวกัน บุคคลธรรมดาทั่ว ๆ ไป ซึ่งไม่คุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศอาจหลงเข้าใจผิดไปได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน ส่อแสดงว่าเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะทำให้เหมือนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับหลอดกาวมีขนาด รูปร่าง และอยู่ในแผงบรรจุภัณฑ์ลักษณะเช่นเดียวกัน ทั้งยังถูกใช้กับสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าของโจทก์ ดังนั้นย่อมถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าของจำเลยทั้งสองเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธก่อการร้ายและอั้งยี่ พยานหลักฐานเชื่อมโยงจากพยานบุคคลและเอกสาร
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานที่รู้เห็นขณะจำเลยกระทำความผิดมาเป็นพยานแต่โจทก์มีสิบเอก อ. ผู้ซึ่งสืบสวนทราบว่า จำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้ายบีอาร์เอ็น พันตำรวจตรี ส. ผู้จับกุม จ่าสิบโท พ. ผู้ซักถามจำเลยหลังถูกจับและพันตำรวจโท ช. พนักงานสอบสวนพยานแวดล้อมเข้าเบิกความประกอบเอกสารและภาพถ่ายสอดคล้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ก่อนจับกุมจำเลยที่สิบเอก อ. สืบทราบว่าจำเลยเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการร้าย บีอาร์เอ็น ที่มีนาย อ. เป็นหัวหน้า ซึ่งในช่วงปี 2540 นาย อ. กับพวกปะทะกับเจ้าหน้าที่เสียชีวิต เจ้าหน้าที่ยึดอาวุธปืน วิทยุสื่อสาร เอกสารเรียกค่าคุ้มครองและภาพถ่ายสมาชิกกลุ่มโจรก่อการร้าย รวมทั้งภาพถ่ายที่มีภาพจำเลยอยู่ด้วย จนกระทั่งหลังจำเลยถูกจับกุมได้ให้การรับสารภาพต่อพันตำรวจตรี ส. พันตำรวจโท ช. กับพันตำรวจตรี ป. ในข้อหาอั้งยี่ ตามบันทึกการจับกุมและบันทึกคำให้การผู้ต้องหาทั้งจำเลยรับต่อพันตำรวจตรี ส. และจ่าสิบโท พ. ว่าก่อนถูกจับกุมจำเลยได้เข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็น และมีภาพถ่ายของจำเลยอยู่ในภาพที่พันตำรวจตรี ส. ได้มาก่อนจำเลยถูกจับและได้ลงลายมือไว้ในภาพนั้นด้วย แม้พันตำรวจตรี ส. กับสิบเอก อ. จะเบิกความแตกต่างถึงแหล่งที่มาก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะสาระสำคัญอยู่ที่บุคคลตามภาพถ่ายเป็นจำเลยหรือไม่ ซึ่งในชั้นพิจารณาจำเลยก็รับว่าเป็นบุคคลตามภาพถ่าย เพียงแต่นำสืบปฏิเสธว่า ถูกกลุ่มขบวนการก่อการร้ายขู่บังคับให้เข้าร่วมขบวนการ มิฉะนั้นจะถ่ายรูปส่งให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและบังคับให้แต่งชุดเดินป่าและถือปืนแล้วถ่ายภาพไว้ซึ่งขัดต่อเหตุผลเพราะหากเป็นการขู่บังคับน่าจะใช้อาวุธข่มขู่จะได้ผลดีกว่า และที่จำเลยนำสืบว่าได้ลงลายมือชื่อในเอกสารหลายฉบับ แต่ไม่ทราบข้อความเนื่องจากอ่านเขียนและพูดภาษาไทยไม่ได้และไม่มีล่ามแปลให้จำเลยฟังนั้น ในชั้นสอบสวนพันตำรวจโท ช. เบิกความว่าการสอบปากคำจำเลยได้ให้นายดาบตำรวจ ว. เป็นล่ามแปลและจำเลยได้ให้การไว้โดยละเอียดเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่จริงสอดคล้องกับบุคคลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเจ้าพนักงานคงไม่สามารถบันทึกขึ้นเองได้ พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบนั้นไม่มีน้ำหนักฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
จำเลยเข้าเป็นสมาชิกกองกำลังติดอาวุธโจรก่อการร้ายขบวนการ บีอาร์เอ็นกลุ่มนาย อ. มีพฤติการณ์กระทำความผิดกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเรียกค่าคุ้มครอง ซุ่มโจมตีเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเป็นคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการดำเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมายจึงมีความผิดฐานอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันได้จากสัญญาสงวนสิทธิดำเนินคดีอาญาหลังครบกำหนดชำระหนี้
ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534มาตรา 7 หรือไม่ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคดีนี้ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยมีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยยื่นฎีกาพร้อมแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่รับรองถูกต้องมาด้วย โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาและยื่นคำแก้ฎีการับว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยฎีกา
มูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คคดีนี้ โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่ง แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "จำเลยยอมชำระหนี้ให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งการตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญาหากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด และยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีอันแสดงว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่เป็นการยอมความกันในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2) ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็ครวมทั้งเช็คที่ออกชำระหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ผลการประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายสละนั้นระงับสิ้นไป และแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวได้อีก ถือว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีเช็คเลิกกันหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลของการประนีประนอมต่อการดำเนินคดีอาญา
ปัญหาข้อกฎหมายว่าคดีเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 หรือไม่ ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคดีนี้ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยมีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้
เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยยื่นฎีกาพร้อมแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นที่รับรองถูกต้องมาด้วย โจทก์ได้รับสำเนาฎีกาและยื่นคำแก้ฎีการับว่า โจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยจริง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยฎีกา
มูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คคดีนี้ โจทก์ได้นำไปฟ้องจำเลยให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่ง แล้วโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "จำเลยยอมชำระหนี้ให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์โดยจะชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ ซึ่งการตกลงประนีประนอมยอมความนี้ โจทก์และจำเลยไม่ถือว่าได้ตกลงยอมความในคดีอาญา หากจำเลยไม่ชำระหนี้ตามสัญญานี้ โจทก์ยังคงประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญากับจำเลยจนถึงที่สุด และยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที อันแสดงว่าโจทก์จำเลยยังมิได้มีเจตนาจะยุติข้อพิพาทในทางอาญาจนกว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์แล้ว แม้จะไม่เป็นการยอมความกันในคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (2) ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามเช็ครวมทั้งเช็คที่ออกชำระหนี้ดังกล่าวไปฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง และได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว ผลการประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องที่แต่ละฝ่ายสละนั้นระงับสิ้นไป และแต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ.มาตรา 852 แม้จำเลยจะไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในมูลหนี้ดังกล่าวได้อีก ถือว่าหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินระงับสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 7 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39
(วรรคสามวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2543)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายสินค้าขณะส่งมอบให้ผู้แทน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องทางทะเล ย่อมต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของสินค้าดังกล่าวที่ได้เกิดขึ้นระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ขนส่งสินค้าจากเมืองท่าสิงคโปร์มายังท่าเรือกรุงเทพซึ่งตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 วรรคสองและมาตรา 40 (3) ให้ถือว่าสินค้าตามฟ้องยังคงอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1และที่ 2 ผู้ขนส่งจนกว่าจะได้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เมื่อเรือขนส่งสินค้ามาจอดเทียบท่าเรือกรุงเทพจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือได้ติดต่อเช่ารถปั้นจั่นของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมาทำการขนสินค้าขึ้นจากเรือและตามหลักฐานการชำระค่าเช่าระบุว่ามีการคิดค่าเช่าโดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จ่าย แสดงให้เห็นได้ว่าหน้าที่ในการขนส่งสินค้าขึ้นจากเรือยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งอยู่ เพียงแต่อาจมีเหตุจำเป็นที่ปั้นจั่นของเรือขนส่งสินค้าไม่สามารถยกสินค้าดังกล่าวขึ้นจากเรือได้จึงต้องมีการเช่ารถปั้นจั่นของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อให้ทำหน้าที่แทนปั้นจั่นของเรือ การทำหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยจึงเป็นการทำงานแทนและเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเห็นได้ว่าการขนสินค้าตามฟ้องขึ้นจากเรือลงไปวางไว้ที่พื้นหน้าท่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการส่งมอบสินค้าให้ไปอยู่ในความครอบครองดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การที่ลวดสลิงที่รัดยึดสินค้าเกิดขาดในระหว่างที่ปั้นจั่นยกลอยขึ้นจากเรือกำลังจะเคลื่อนย้ายมาวางที่พื้นหน้าท่าและตกกระแทกพื้นที่หน้าท่าทำให้สินค้าได้รับความเสียหายนั้น ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าดังกล่าวยังอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยทั้งสองย่อมต้องรับผิดเพื่อความเสียหายดังกล่าว โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าความเสียหายนั้นเกิดจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ควบคุมรถปั้นจั่นซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยหรือไม่ เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความผิดหรือประมาทเลินเล่อของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยทั้งสองอยู่แล้ว กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 42 (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 718/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้าขณะส่งมอบให้ตัวแทน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าตามฟ้องทางทะเลย่อมต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายของสินค้าดังกล่าวที่ได้เกิดขึ้นระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแล จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ขนส่งสินค้าจากเมืองท่าสิงคโปร์มายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 วรรคสอง และมาตรา 40 (3) ให้ถือว่าสินค้าตามฟ้องยังอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งจนกว่าจะได้มีการส่งมอบสินค้าให้แก่เจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เมื่อเรือขนส่งสินค้ามาจอดเทียบท่าเรือกรุงเทพ จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของเรือได้ติดต่อเช่ารถปั้นจั่นของการท่าเรือแห่งประเทศไทยมาทำการขนสินค้าขึ้นจากเรือและหลักฐานการชำระค่าเช่าระบุว่ามีการคิดค่าเช่าโดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จ่าย แสดงให้เห็นได้ว่าหน้าที่ในการขนส่งสินค้าขึ้นจากเรือยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งอยู่ การทำหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย จึงเป็นการทำงานแทน และเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 การขนสินค้าตามฟ้องขึ้นจากเรือไปวางไว้ที่พื้นหน้าท่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการส่งมอบสินค้าให้ไปอยู่ในความครอบครองดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย การที่ลวดสลิงที่รัดยึดสินค้าเกิดขาดในระหว่างที่ปั้นจั่นยกลอยขึ้นจากเรือกำลังจะเคลื่อนย้ายมาวางที่พื้นหน้าท่าและตกกระแทกพื้นที่หน้าท่าทำให้สินค้าได้รับความเสียหายนั้น ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าดังกล่าวยังอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมต้องรับผิดเพื่อความเสียหายดังกล่าว โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าความเสียหายนั้นเกิดจากความผิดหรือประมาทเลินเล่อของผู้ควบคุมรถปั้นจั่น ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยหรือไม่ เพราะจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ขนส่งย่อมต้องรับผิดในความผิดหรือประมาทเลินเล่อของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา 52 (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการถอนคำร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์และการพิพากษาคดีความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง เป็นความผิดอันยอมความได้ ตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับข้อความความผิดนั้นย่อมระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องจำหน่ายคดีสำหรับข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังกล่าว เสียจากสารบบความ
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวจนเสร็จสิ้นพร้อมกับได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้ว จึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 และ 34 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การบรรยายฟ้องคำว่า "วิดีโอเทปภาพยนตร์" ดังกล่าว เป็นการบรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายในคำฟ้องนั้นแล้วว่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันเป็นข้อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดครบถ้วนแล้ว มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นอกจากกรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง?" ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามมาตรา 34 เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน จำเลยมีอายุเพียง 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่สามารถลงทุนมีร้านประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินมากตามฟ้องได้ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและมารับจ้างทำงานในร้านโฮมวีดีโอที่กรุงเทพมหานคร มิได้เป็นเจ้าของร้านโฮมวีดีโอหรือเป็นเจ้าของกิจการร้านดังกล่าวหรือเป็นผู้ประกอบกิจการร้านนั้น จำเลยเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายออกให้เช่า เสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนในการประกอบกิจการดังกล่าวก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างร้านเช่าวิดีโอไม่จำเป็นต้องขออนุญาตประกอบกิจการตามพรบ.ควบคุมกิจการเทปฯ หากไม่ได้เป็นเจ้าของหรือผู้ประกอบการ
บทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พระราชบัญญัติควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ มีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการที่ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน เมื่อจำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ออกให้เช่า จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดอุกอาจรุนแรงของจำเลย แม้มีการลดโทษแล้ว ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยการรอการลงโทษ
ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 19 ปี และทำงานเป็นหลักแหล่ง เป็นผู้มีความสำนึกในเรื่องผิดชอบชั่วดีแล้ว แต่จำเลยยังร่วมกับพวกกระทำผิด โดยจำเลยมีอาวุธมีดติดตัวขับรถกระบะให้พวกซึ่งอยู่ท้ายรถกระชากสร้อยคอทองคำพร้อมพระเลี่ยมทองจากผู้เสียหายที่เดินสวนทางมา และขับรถหนีไปด้วยความเร็วสูงเมื่อ ส. พี่ชายของผู้เสียหายทราบเหตุได้ขับรถจักรยานยนต์ให้เพื่อนนั่งซ้อนท้ายไล่ตามจำเลยกับพวกไปที่สุดซอยตัน จำเลยขับรถถอยหลังพุ่งชนรถจักรยานยนต์ของ ส.ที่จอดขวางทางอยู่จนล้มและส. กระเด็นตกจากรถได้รับบาดเจ็บ แล้วขับรถแล่นหนีไปด้วยความเร็วสูงจนถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับได้ พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่อุกอาจรุนแรงไม่หวั่นเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง แม้อาของจำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย ก็เป็นเพียงการบรรเทาผลร้ายที่ผู้เสียหายและ ส. ได้รับเท่านั้น ไม่อาจลบล้างความผิดที่จำเลยกระทำไว้แล้วได้ การที่ศาลอุทธรณ์ลดมาตราส่วนโทษและลดโทษให้จำเลยลงอีกหนึ่งในสามนั้นนับว่าเป็นคุณแก่จำเลยมากแล้ว การกระทำความผิดของจำเลยนับว่าเป็นภัยต่อสุจริตชนทั่วไป จึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลย
of 33