คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิศาล พิริยะสถิต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: ฟ้องบังคับจำนองและหนี้สัญญาที่เกิดในเขตอำนาจศาลอื่น
คำฟ้องโจทก์นอกจากขอให้บังคับจำนองเอากับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและในเขตอำนาจศาลจังหวัดราชบุรีแล้วโจทก์ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้เงินและหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับให้จำเลยที่ 3ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับสัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานของโจทก์สาขาท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นต้องถือว่าคำฟ้องส่วนที่ให้บังคับตามสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และหนังสือรับสภาพหนี้มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดกาญจนบุรี แม้ว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำนองด้วย กรณีเป็นเรื่องโจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลได้สองศาล โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้เพราะเป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 5
ป.รัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้องปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีจำนองและสัญญาอื่นที่ทำที่สาขาต่างจังหวัด การฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดมีชอบ
คำฟ้องโจทก์นอกจากขอให้บังคับจำนองเอากับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและในเขตอำนาจศาลจังหวัดราชบุรีแล้วโจทก์ยังฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้เงินและหนังสือรับสภาพหนี้ให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับให้จำเลยที่ 3 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับสัญญาจำนองเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1และที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาที่ทำกันที่สำนักงานของโจทก์สาขาท่าเรือ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดกาญจนบุรี ดังนั้นต้องถือว่าคำฟ้องส่วนที่ให้บังคับตามสัญญากู้เงิน สัญญาค้ำประกัน และหนังสือรับสภาพหนี้มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดกาญจนบุรีแม้ว่าโจทก์จะฟ้องบังคับจำนองด้วย กรณีเป็นเรื่องโจทก์อาจเสนอคำฟ้องต่อศาลได้สองศาล โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องจำเลยทั้งสามต่อศาลจังหวัดกาญจนบุรีได้เพราะเป็นสถานที่ที่เกิดมูลคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 5 ประมวลรัษฎากรมิได้ระบุให้สัญญาจำนองต้อง ปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิข้างเคียงต้องพิสูจน์ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร แม้ผิดเทศบัญญัติก็ไม่ถือเป็นการละเมิดโดยอัตโนมัติ
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิข้างเคียงต้องพิสูจน์ความเสียหายเดือดร้อนเกินควร การปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติไม่ใช่ละเมิดเสมอไป
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7253/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิข้างเคียง: อาคารบังลม/เศษขยะ ต้องเสียหายเดือดร้อนเกินควร จึงถือเป็นการละเมิด
ไม่ว่าอาคารพิพาทที่จำเลยปลูกสร้างจะผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามหากไม่ได้ละเมิดสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง หาใช่ว่าถ้าจำเลยปลูกสร้างอาคารพิพาทผิดเทศบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเป็นการละเมิดสิทธิโจทก์ที่เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสมอไป
การละเมิดสิทธิอาจมีได้หลายประการ โจทก์อ้างว่าอาคารพิพาทปลูกสร้างปิดกั้นทางลมที่จะพัดเข้ามาในบ้านโจทก์ ทั้งเศษขยะต่าง ๆ หล่นจากระเบียงช่องระบายลมของอาคารพิพาทลงมาบนที่ดินและบ้านโจทก์ อันเป็นเรื่องละเมิดสิทธิโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปลูกห่างจากที่ดินด้านที่ติดกับอาคารพิพาทประมาณ 13 เมตร เป็นบ้านสองชั้นและมีหน้าต่างเปิดได้ทั้งสี่ด้าน ปกติหน้าต่างจะเปิดตลอดเวลา และบ้านโจทก์ไม่ได้ปลูกอยู่ประชิดติดกับอาคารพิพาทและมีระยะห่างเพียงพอที่ลมจะพัดเข้าถึงบ้านโจทก์ได้ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าบ้านโจทก์ถูกอาคารพิพาทบังแดดบังลมหรือไม่อย่างไร ส่วนเศษขยะก็มีเพียงเศษกระดาษและวัสดุที่เป็นพลาสติกเพียงไม่กี่ชิ้น ไม่ใช่ขยะที่มีกลิ่นเหม็นหรือมีจำนวนมากมาย ทั้งปรากฏว่าได้มีการนำตาข่ายมาปิดกั้นระเบียงอาคารพิพาทไม่ให้วัสดุหล่นลงมาในที่ดินโจทก์แล้ว กรณีดังกล่าวยังไม่ถือเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายตามป.พ.พ.มาตรา 1337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งเสริมการขาย: การขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ได้รับสัมปทานการบริการวิทยุติดตามตัวตั้งแต่ปี 2533 โจทก์ดำเนินธุรกิจจนถึงก่อนสิ้นปี 2535 โจทก์มีลูกค้าเพียงประมาณ 700 ราย ในขณะเดียวกันผู้ได้รับสัมปทานรายอื่นมีลูกค้าตั้งแต่ 10,000 ราย ถึง 100,000 ราย รายได้หลักที่โจทก์มุ่งหวังอยู่ที่ค่าบริการรายเดือนที่ลูกค้าใช้บริการ มิใช่อยู่ที่กำไรจากการขายเครื่องรับวิทยุติดตามตัวอันเป็นรายได้รอง ดังนั้น โจทก์จึงจำเป็นต้องหาลูกค้าให้ได้จำนวนมากที่สุดเพื่อโจทก์จะได้รับค่าบริการจากลูกค้าทุกเดือน การที่โจทก์โฆษณาโดยระบุว่าลูกค้าที่มาใช้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 จำนวน 1,500 รายแรกโจทก์จะขายวิทยุติดตามตัวในราคาเครื่องละ 1,500 บาท นั้น ความสำคัญคือช่วงส่งเสริมการขายได้แก่ระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 ส่วนข้อความที่ระบุว่าจะขายเครื่องละ 1,500 บาท เพียง 1,500 เครื่องแรก เป็นเพียงกลยุทธกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถจดจำเลขหมาย 1500 อันเป็นเลขหมายใหม่ของโจทก์และรีบมาใช้บริการเท่านั้นมิใช่ว่าโจทก์เจตนาจะส่งเสริมการขายเพียง 1,500 เครื่องเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมประโยชน์ที่โจทก์ส่งเสริมการขายเพื่อให้ได้ลูกค้าในช่วงดังกล่าวมากที่สุดดังจะเห็นได้ว่าจากกลยุทธดังกล่าว โจทก์เริ่มส่งเสริมการขายตั้งแต่วันที่ 18ธันวาคม 2535 ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม 2535 โจทก์ขายวิทยุติดตามตัวได้ถึง 2,435 เครื่อง แม้เมื่อโจทก์ขายครบ 1,500 เครื่อง แล้วโจทก์เปลี่ยนวิธีการขายโดยโจทก์ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนเป็นเวลา 6 เดือนก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องชำระแก่โจทก์ยังคงเท่ากับ 1,500 เครื่องแรก และยังอยู่ในระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นช่วงส่งเสริมการขาย โดยโจทก์ขายแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นนี้นับว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาท และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ 33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่มิชอบและการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดที่มีเหตุสมควร
โจทก์ได้รับสัมปทานการบริการวิทยุติดตามตัวตั้งแต่ปี 2533โจทก์ดำเนินธุรกิจจนถึงก่อนสิ้นปี 2535 โจทก์มีลูกค้าเพียงประมาณ 700 รายในขณะเดียวกันผู้ได้รับสัมปทานรายอื่นมีลูกค้าตั้งแต่ 10,000 ราย ถึง 100,000 รายรายได้หลักที่โจทก์มุ่งหวังอยู่ที่ค่าบริการรายเดือนที่ลูกค้าใช้บริการ มิใช่อยู่ที่กำไรจากการขายเครื่องรับวิทยุติดตามตัวอันเป็นรายได้รอง ดังนั้น โจทก์จึงจำเป็นต้องหาลูกค้าให้ได้จำนวนมากที่สุดเพื่อโจทก์จะได้รับค่าบริการจากลูกค้าทุกเดือน การที่โจทก์โฆษณาโดยระบุว่าลูกค้าที่มาใช้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31มีนาคม 2536 จำนวน 1,500 รายแรก โจทก์จะขายวิทยุติดตามตัวในราคาเครื่องละ1,500 บาทนั้น ความสำคัญคือช่วงส่งเสริมการขายได้แก่ระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 ส่วนข้อความที่ระบุว่าจะขายเครื่องละ1,500 บาท เพียง 1,500 เครื่องแรก เป็นเพียงกลยุทธกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถจดจำเลขหมาย 1500 อันเป็นเลขหมายใหม่ของโจทก์และรีบมาใช้บริการเท่านั้นมิใช่ว่าโจทก์เจตนาจะส่งเสริมการขายเพียง 1,500 เครื่องเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมประโยชน์ที่โจทก์ส่งเสริมการขายเพื่อให้ได้ลูกค้าในช่วงดังกล่าวมากที่สุดดังจะเห็นได้ว่าจากกลยุทธดังกล่าว โจทก์เริ่มส่งเสริมการขายตั้งแต่วันที่ 18ธันวาคม 2535 ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม 2535 โจทก์ขายวิทยุติดตามตัวได้ถึง2,435 เครื่อง แม้เมื่อโจทก์ขายครบ 1,500 เครื่อง แล้วโจทก์เปลี่ยนวิธีการขายโดยโจทก์ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนเป็นเวลา 6 เดือนก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องชำระแก่โจทก์ยังคงเท่ากับ 1,500 เครื่องแรก และยังอยู่ในระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นช่วงส่งเสริมการขาย โดยโจทก์ขายแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นนี้นับว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร
ป.รัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบ-อำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาทและเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7125/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มที่มิชอบด้วยกฎหมายจากการขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร และผลของการยอมชำระภาษีโดยไม่กระทบสิทธิ
โจทก์ได้รับสัมปทานการบริการวิทยุติดตามตัวตั้งแต่ปี 2533 โจทก์ดำเนินธุรกิจจนถึงก่อนสิ้นปี 2535 โจทก์มีลูกค้าเพียงประมาณ 700 ราย ในขณะเดียวกันผู้ได้รับสัมปทานรายอื่นมีลูกค้าตั้งแต่ 10,000 ราย ถึง 100,000 ราย รายได้หลักที่โจทก์มุ่งหวังอยู่ที่ค่าบริการรายเดือนที่ลูกค้าใช้บริการ มิใช่อยู่ที่กำไรจากการขายเครื่องรับวิทยุติดตามตัวอันเป็นรายได้รอง ดังนั้น โจทก์จึงจำเป็นต้องหาลูกค้าให้ได้จำนวนมากที่สุดเพื่อโจทก์จะได้รับค่าบริการจากลูกค้าทุกเดือน การที่โจทก์โฆษณาโดยระบุว่าลูกค้าที่มาใช้บริการในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 จำนวน 1,500 รายแรกโจทก์จะขายวิทยุติดตามตัวในราคาเครื่องละ 1,500 บาท นั้น ความสำคัญคือช่วงส่งเสริมการขายได้แก่ระยะเวลาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2536 ส่วนข้อความที่ระบุว่าจะขายเครื่องละ 1,500 บาท เพียง 1,500 เครื่องแรก เป็นเพียงกลยุทธกระตุ้นให้ลูกค้าสามารถจดจำเลขหมาย 1500 อันเป็นเลขหมายใหม่ของโจทก์และรีบมาใช้บริการเท่านั้นมิใช่ว่าโจทก์เจตนาจะส่งเสริมการขายเพียง 1,500 เครื่องเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่สมประโยชน์ที่โจทก์ส่งเสริมการขายเพื่อให้ได้ลูกค้าในช่วงดังกล่าวมากที่สุดดังจะเห็นได้ว่าจากกลยุทธดังกล่าว โจทก์เริ่มส่งเสริมการขายตั้งแต่วันที่ 18ธันวาคม 2535 ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม 2535 โจทก์ขายวิทยุติดตามตัวได้ถึง 2,435 เครื่อง แม้เมื่อโจทก์ขายครบ 1,500 เครื่อง แล้วโจทก์เปลี่ยนวิธีการขายโดยโจทก์ไม่เก็บค่าบริการรายเดือนเป็นเวลา 6 เดือนก็ตาม แต่จำนวนเงินที่ผู้ใช้บริการต้องชำระแก่โจทก์ยังคงเท่ากับ 1,500 เครื่องแรก และยังอยู่ในระยะเวลาที่โจทก์กำหนดเป็นช่วงส่งเสริมการขาย โดยโจทก์ขายแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่นนี้นับว่าโจทก์ขายสินค้าต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุสมควร
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายมหาชนที่กำหนดภาระหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติต่อรัฐ จึงต้องบังคับโดยเคร่งครัดในทางที่จะไม่ก่อให้เกิดภาระหน้าที่หรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและทรัพย์สินของประชาชน เมื่อโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้น แต่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์จะทำบันทึกยอมชำระภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและยื่นคำร้องของดเบี้ยปรับ และเจ้าพนักงานประเมินลดเบี้ยปรับให้แล้วก็ตาม โจทก์ก็หามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นตามบันทึกที่ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ทำไว้แต่อย่างใดไม่ จำเลยจึงไม่อาจใช้บันทึกดังกล่าวบังคับต่อโจทก์ให้ต้องชำระภาษีอากรตามนั้น
ที่ศาลภาษีอากรวินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มคำนวณถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2536 เป็นเงิน 67,849.48 บาท และเงินเพิ่มอัตราร้อยละ1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ 33,901.08 บาท นับแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2536 จนกว่าจะชำระเสร็จ ทั้งนี้เงินเพิ่มต้องไม่เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระนั้น จำเลยมิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย คำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรในส่วนนี้ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยผิดประเด็นเมื่อพิจารณาว่าโจทก์ได้สิทธิครอบครองจากการแย่งการครอบครอง ทั้งที่คำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์อ้างสิทธิในการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1และที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2 ได้ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 103 ทับที่ดินที่โจทก์ครอบครองบางส่วน ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2ก็ได้ขอทำการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 2 แปลง โดยแบ่งออกมาตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่636/103 อีก 1 ฉบับ ซึ่งก็ยังคงทับที่ดินพิพาทบางส่วนที่โจทก์ครอบครองอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย โดยคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างตอนหนึ่งตอนใดให้เห็นว่า ที่ดินบางส่วนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองจากการยึดถือครอบครองที่ดินที่พิพาทบางส่วนแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นแย่งการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่ง จำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือแทน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้เท่ากับโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นการยึดถือเพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างไว้คำฟ้อง ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6963/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานการครอบครองที่ดินจากยึดถือแทนเป็นการครอบครองเพื่อตนเอง มีผลต่อสิทธิการครอบครอง
เมื่อปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์อ้างสิทธิในการขอเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 2ได้ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 ก่อนขายให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 103 ทับที่ดินที่โจทก์ครอบครองบางส่วนต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ได้ขอทำการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 2 แปลง โดยแบ่งออกมาตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เลขที่ 636/103 อีก 1 ฉบับซึ่งก็ยังคงทับที่ดินพิพาทบางส่วนที่โจทก์ครอบครองอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมายโดยคำฟ้องของโจทก์มิได้กล่าวอ้างตอนหนึ่งตอนใดให้เห็นว่า ที่ดินบางส่วนตามคำฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือครอบครองจากการยึดถือครอบครองที่ดินที่พิพาทบางส่วนแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นแย่งการครอบครองจากจำเลยที่ 2 ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งจำเลยที่ 2 ให้โจทก์ยึดถือแทน การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้เท่ากับโจทก์ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนการยึดถือครอบครองที่ดินแทนจำเลยที่ 2 มาเป็นการยึดถือเพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครอง จำเลยที่ 2 มิได้ฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือไปจากประเด็นที่โจทก์กล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการมิชอบ
of 5