พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4768/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าตามราคาตลาดรถยนต์และการขยายเวลาการประเมินเกินกำหนด
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 77 และมาตรา 79 (8) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป. รัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2508 มาตรา 6 และมาตรา 11 นั้น มูลค่าของรถยนต์อันจักถือเป็นรายรับเพื่อคำนวณภาษีการค้า คือราคาตลาดรถยนต์ที่ซื้อขายกันเป็นเงินสดอันผู้ขายปลีกได้ตั้งไว้โดยสุจริตและเปิดเผย
เมื่อราคารถยนต์ที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินมิใช่มูลค่าของสินค้าตามความหมายของ ป. รัษฎากร มาตรา 77 และมาตรา 79 (8) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องแล้ว โจทก์จึงยื่นแบบแสดงรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2529 และระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2530 ขาดไปเป็นจำนวนเกินร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าซึ่งเป็นกรณีที่การประเมินสามารถกระทำได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่น แบบแสดงรายการการค้า ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท การที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้า รวมทั้งเป็นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 จึงยังไม่พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
เมื่อราคารถยนต์ที่โจทก์แจ้งต่อเจ้าพนักงานประเมินมิใช่มูลค่าของสินค้าตามความหมายของ ป. รัษฎากร มาตรา 77 และมาตรา 79 (8) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท และการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องแล้ว โจทก์จึงยื่นแบบแสดงรายรับเพื่อเสียภาษีการค้าระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2529 และระหว่างเดือนมิถุนายนถึงธันวาคม 2530 ขาดไปเป็นจำนวนเกินร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าซึ่งเป็นกรณีที่การประเมินสามารถกระทำได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่น แบบแสดงรายการการค้า ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ (2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดกรณีพิพาท การที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้า รวมทั้งเป็นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535 จึงยังไม่พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ, สิทธิในการคิดดอกเบี้ยทบต้น, และค่าเบี้ยประกันตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับ มิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว
สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้
แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสัญญาที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่าจำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลงดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้
ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดั่งที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4627/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์สมบูรณ์เมื่อกล่าวถึงประเด็นสำคัญ แม้ไม่คัดลอกคำพิพากษาทั้งหมด การปรับดอกเบี้ยและค่าเบี้ยประกันภัยตามสัญญา
อุทธรณ์จะสมบูรณ์หรือไม่ ต้องพิจารณาอุทธรณ์ทั้งฉบับมิใช่พิจารณาเพียงส่วนหนึ่งส่วนใดเท่านั้น แม้อุทธรณ์ของโจทก์มิได้กล่าวถึงข้อความทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นพิพากษาไว้ว่าอย่างไร หรืออีกนัยหนึ่งมิได้ คัดลอกข้อความวรรคสุดท้ายทั้งหมดของคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาลงไว้ในอุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์ก็ได้กล่าวว่าไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย การคิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย และยังได้กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่โจทก์ไม่เห็นพ้อง กับมีข้อโต้แย้งของโจทก์ด้วยเช่นนี้ จึงเป็นอุทธรณ์ที่สมบูรณ์แล้ว สัญญากู้เงินระบุว่าจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ19 ต่อปี ดังนี้ แม้ว่านับแต่วันทำสัญญากู้เงินจนถึงวันก่อนที่โจทก์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยเพียงร้อยละ 12.75 ต่อปีก็ตามกรณีเป็นเรื่องโจทก์ยอมสละประโยชน์ที่จะพึงได้ตามสัญญาเท่านั้น กรณีหาใช่คู่สัญญามิได้ยึดถืออัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเป็นข้อสำคัญไม่ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการใช้สิทธิตามสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิกระทำได้ แม้ว่าตามสัญญากู้เงิน จำเลยตกลงยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ย ในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ แม้จะมีจำเลยลงลายมือชื่อฝ่ายเดียวก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าข้อสำคัญที่ระบุไว้ในสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เงินและตามข้อตกลง ต่อท้ายสัญญาจำนองซึ่งโจทก์และจำเลยต่างลงลายมือชื่อกันไว้ระบุว่า จำเลยตกลงให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้า กับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนที่ทบเข้ากันนั้นได้ การตกลง ดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือ ดังนี้ โจทก์จึงมีสิทธินำดอกเบี้ยที่ ค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีทบเข้ากับต้นเงินแล้วคิดดอกเบี้ยต่อไปได้ ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยที่โจทก์ชำระแทนจำเลยไป โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวได้ตามข้อตกลงที่ระบุกันไว้ในสัญญากู้เงิน ส่วนเงินค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยรายปีจนกว่าจำเลยผู้กู้จะชำระหนี้เงินกู้คืนแก่โจทก์เสร็จนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแก่จำเลยเสียแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดิ่งที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง ดังนั้นหลังจากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยจึงไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันอัคคีภัยให้แก่โจทก์อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่: สิทธิของโจทก์ยังคงอยู่หากการถอนฟ้องมิได้มีเจตนาสละสิทธิ
จำเลยร่วมและ ล.ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์มีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล.ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวต่อศาล แต่ได้ถอนฟ้องโดยคำร้องขอถอนฟ้องได้ระบุว่า เนื่องจากจำเลยร่วมและ ล.ตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยร่วมและ ล.ต่อไปอีก โจทก์จึงขอถอนฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันโดยบรรยายฟ้องขอให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยร่วมและ ล.อยู่ หาใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไปไม่ แม้โจทก์ถอนฟ้องคดีหลังโดยระบุในคำร้องว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ซึ่งได้ความว่าโจทก์ถอนฟ้องก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ดังนี้ จึงไม่อาจฟังว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการถอนฟ้องไม่กระทบสิทธิโจทก์ในการฟ้องใหม่ ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล. โจทก์ได้ถอนฟ้องโดยระบุในคำร้องขอถอนฟ้องว่าถอนฟ้องเนื่องจากจำเลยทั้งสองตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนโดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยต่อไปอีก ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยทั้งสามในฐานะผู้ค้ำประกัน มิใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไป และที่โจทก์ถอนฟ้องในคดีที่เคยฟ้องจำเลยทั้งสามก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ถือไม่ได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว
การชำระหนี้กู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองมาแสดงจำเลยร่วมเพียงปากเดียวมาเบิกความลอย ๆ ว่าได้ชดใช้เงินให้แก่โจทก์จึงไม่อาจรับฟังได้ในส่วนของดอกเบี้ยสัญญากู้ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและ ล. ระบุว่าลูกหนี้ยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 ต่อปีผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ โจทก์ยังคงมีสิทธิฟ้องคดีเดิมได้ หากการถอนฟ้องไม่ได้มีเจตนาสละสิทธิ
จำเลยร่วมและ ล. ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์มีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวต่อศาลแต่ได้ถอนฟ้องโดยคำร้องขอถอนฟ้องได้ระบุว่า เนื่องจากจำเลยร่วมและ ล.ตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยร่วมและ ล. ต่อไปอีก โจทก์จึงขอถอนฟ้องต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันโดยบรรยายฟ้องขอให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยร่วมและล.อยู่ หาใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไปไม่ แม้โจทก์ถอนฟ้องคดีหลังโดยระบุในคำร้องว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ซึ่งได้ความว่าโจทก์ถอนฟ้องก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ดังนี้ จึงไม่อาจฟังว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางโดยอาศัยอนุญาต ไม่ทำให้เกิดภาระจำยอม แม้ใช้เป็นเวลานาน
เมื่อจำเลยซื้อที่ดินมาแล้วก็ได้สร้างกำแพงกั้นตลอดแนวระหว่างที่ดินของโจทก์จำเลย คงเว้นเป็นช่องกว้าง 3.85 เมตร เพื่อให้โจทก์ใช้ผ่านเข้าออกแต่ได้สร้างประตูเหล็กบานเลื่อนกั้นไว้ในที่ดินของจำเลย มีสายยูคล้องกุญแจและสามารถใส่กุญแจได้เมื่อไม่ประสงค์ให้โจทก์ใช้ แสดงถึงการหวงกันมิให้โจทก์หรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทโดยพลการ จึงถือได้ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิและการอนุญาตให้ใช้จากฝ่ายจำเลย ดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางข้ามที่ดินของผู้อื่นโดยอาศัยอนุญาต ไม่เป็นภารจำยอม แม้ใช้ต่อเนื่องนาน
เมื่อจำเลยซื้อที่ดินมาแล้วก็ได้สร้างกำแพงกั้นตลอดแนวระหว่างที่ดินของโจทก์จำเลย คงเว้นเป็นช่องกว้าง 3.85 เมตรเพื่อให้โจทก์ใช้ผ่านเข้าออกแต่ได้สร้างประตูเหล็กบานเลื่อนกั้นไว้ในที่ดินของจำเลย มีสายยูคล้องกุญแจและสามารถใส่กุญแจได้เมื่อไม่ประสงค์ให้โจทก์ใช้ แสดงถึงการหวงกันมิให้โจทก์หรือบุคคลอื่นใช้ทางพิพาทโดยพลการ จึงถือได้ว่า โจทก์ใช้ทางพิพาทโดยอาศัยสิทธิและการอนุญาตให้ใช้จากฝ่ายจำเลยดังนั้น ไม่ว่าโจทก์จะใช้ทางพิพาทมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้ทางพิพาทตกเป็นทางภารจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้คัดค้านไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้าน
คดีนี้ผู้ร้องทั้งสองร้องขอให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของล.ผู้ตาย โดยอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้รับมรดกผู้ตายตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6ผู้คัดค้านที่ 3 คัดค้านว่าผู้ร้องทั้งสองปลอมพินัยกรรมฉบับดังกล่าว จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดก และผู้ตายเคยทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไว้ก่อนแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 3 มิใช่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในพินัยกรรมทั้งสองฉบับ ทั้งปัญหาที่ว่าผู้ร้องทั้งสองถูกกำจัดมิให้รับมรดกหรือไม่ผู้คัดค้านที่ 3 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ไม่ว่าพินัยกรรมที่ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้รับพินัยกรรมจะเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ผู้คัดค้านที่ 3ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกและเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเป็นคดีนี้ และเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 3 อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้คัดค้านที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านตามนัยดังกล่าวข้างต้นก็ชอบที่จะยกคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 3 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6 เป็นพินัยกรรมปลอม และพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยเห็นว่าพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้รับพินัยกรรมยังคงมีผลใช้ได้ และผู้ร้องที่ 2 มิใช่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าวนั้นเป็นการก้าวล่วงไปวินิจฉัยตามประเด็นในคำคัดค้านทั้งที่ผู้คัดค้านที่ 3 ไม่มีสิทธิยื่นคัดค้าน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 3 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีสิทธิร้องคัดค้าน และไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้ร้องที่ 2 เมื่อมิได้มีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการ-มรดก จึงสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ได้ตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ส่งออกที่แท้จริง: การพิจารณาจากใบแจ้งหนี้และผู้รับชำระเงิน แม้ใบขนสินค้ามิได้ออกในนาม
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (5), (13) และ (14)ผู้ประกอบการซึ่งถือว่าเป็นผู้ส่งออกและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 นั้นหมายความถึงบุคคลที่ขายสินค้าซึ่งส่งออกนอกราชอาณาจักร เพื่อส่งไปต่างประเทศเมื่อปรากฏว่า ก่อนที่จะส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร ผู้ซื้อในต่างประเทศเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในนามของโจทก์ โจทก์เป็นผู้ออกใบแจ้งหนี้ให้แก่ผู้ซื้อในต่าง-ประเทศ ผู้ซื้อในต่างประเทศชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ที่เปิดไว้กับธนาคาร ใบกำกับสินค้าและใบตราส่งก็ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ส่งออกโดยโรงงานที่ขายสินค้าให้แก่โจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีเห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์เป็นบุคคลที่ขายสินค้าซึ่งส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศ ถือว่าโจทก์เป็นผู้ส่งออกซึ่งเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 การที่ใบขนสินค้าขาออกมิได้จัดทำในนามของโจทก์ แต่จัดทำในนามของโรงงานที่ขายสินค้าให้แก่โจทก์ หรือแม้โจทก์จะมิได้มีหนังสือแต่งตั้งให้โรงงานดังกล่าวจัดทำใบขนสินค้าขาออกแทนโจทก์ ก็ไม่ทำให้โจทก์ไม่ใช่ผู้ส่งออก เพราะการจะเป็นผู้ส่งออกหรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาแล้ว เมื่อโจทก์เป็นผู้ส่งออกตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังวินิจฉัยมา โรงงานดังกล่าวก็หาใช่ผู้ส่งออกไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 สำหรับการขายสินค้าคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย