พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การฟ้องเคลือบคลุม, ประเด็นข้อพิพาท, สัญญาโอนสิทธิ, ความรับผิดทางสัญญา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ระบุให้ อ.มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นคดีนี้เท่านั้น การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 2 แม้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 เข้ามาในคดีเดียวกันและหนังสือมอบอำนาจมิได้ระบุให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 แทนโจทก์ด้วยก็ตาม ก็หามีผลทำให้การมอบอำนาจให้ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ของโจทก์ที่สมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปไม่
ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้วหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่
ส่วนปัญหาว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมกับที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่เพื่อวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในประเด็นข้อพิพาทนั้นต่อไป
ในประเด็นที่ว่าสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางและเป็นการโอนสิทธิโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2และไม่มีค่าตอบแทนจึงตกเป็นโมฆะ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยที่ 1 ก็มิได้คัดค้านโดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจในประเด็นที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์มาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อยู่ในตัว เพราะก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้นั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อันเป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเสียก่อนหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้วนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อคดีมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่รวมอยู่ด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดของโจทก์ที่เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เท่านั้น คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพียงใด และแม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบถึงค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่เห็นสมควรได้
ปัญหาว่าฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายซึ่งศาลจะต้องพิจารณาจากคำฟ้องของโจทก์เป็นหลักว่าคำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้วหรือไม่ หาใช่ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ไม่
ส่วนปัญหาว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่ เป็นปัญหาที่ศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์นำสืบข้อเท็จจริงได้สมกับที่อ้างในคำฟ้องหรือไม่เพื่อวินิจฉัยข้อแพ้ชนะในประเด็นข้อพิพาทนั้นต่อไป
ในประเด็นที่ว่าสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพรางและเป็นการโอนสิทธิโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2และไม่มีค่าตอบแทนจึงตกเป็นโมฆะ เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอุทธรณ์หรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทและจำเลยที่ 1 ก็มิได้คัดค้านโดยให้ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ติดใจในประเด็นที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์มาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ส่วนข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อยู่ในตัว เพราะก่อนที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ได้นั้น ศาลจะต้องวินิจฉัยปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่อันเป็นประเด็นที่ปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเสียก่อนหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์แล้ว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 ไม่จำต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยฉ้อฉลโจทก์หรือไม่เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่คดีแล้วนั่นเอง การที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงประเด็นที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
เมื่อคดีมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทต่อโจทก์หรือไม่รวมอยู่ด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ก็เป็นเพียงความเข้าใจผิดของโจทก์ที่เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เท่านั้น คดีจึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพียงใด และแม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบถึงค่าเสียหายได้ตามจำนวนที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน: เริ่มนับจากวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม ไม่ใช่แค่วันออกตั๋ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดให้อายุความเริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปเมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทกำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์เมื่อทวงถามดังนั้นวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทจึงหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา9013(3)หาใช่ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ทั้งได้มีการทวงถามให้ผู้ออกตั๋วและจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้รับอาวัลชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้วอายุความจึงไม่อาจเริ่มนับจากวันที่ออกตั๋วได้ ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาจำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวหมายความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นหาได้ไม่แต่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วไม่ชำระก็ถือว่าจำเลยทั้งสี่ผิดนัดโจทก์อาจบังคับให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในฐานะผู้รับอาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไปวันครบกำหนด7วันตามหนังสือทวงถามคือวันที่19กันยายน2533อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่20กันยายน2533เป็นต้นไปหาใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่14กันยายน2536ยังไม่ครบกำหนด3ปีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1001
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน: เริ่มนับจากวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาจะใช้เงินแก่โจทก์เมื่อทวงถาม ดังนั้น วันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความใน ป.พ.พ.มาตรา 913 (3)หาใช่ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ ทั้งกรณีนี้ได้มีการทวงถามให้ผู้ออกตั๋วและจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้ว อายุความจึงไม่อาจเริ่มนับจากวันที่ออกตั๋ว
ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาจำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวอันเป็นระยะเวลาพอสมควร ซึ่งหมายความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นหาได้ไม่ แต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วไม่ชำระก็ถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในฐานะผู้รับอาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไปวันครบกำหนด 7 วันตามหนังสือทวงถามคือวันที่ 19 กันยายน 2533 อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 จึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 กันยายน 2533 เป็นต้นไปหาใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2536 ยังไม่ครบกำหนด 3 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2540)
ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาจำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวอันเป็นระยะเวลาพอสมควร ซึ่งหมายความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นหาได้ไม่ แต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วไม่ชำระก็ถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในฐานะผู้รับอาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไปวันครบกำหนด 7 วันตามหนังสือทวงถามคือวันที่ 19 กันยายน 2533 อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 จึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 กันยายน 2533 เป็นต้นไปหาใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2536 ยังไม่ครบกำหนด 3 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับจากวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม ไม่ใช่แค่วันที่ออกตั๋วหรือวันที่ได้รับหนังสือ
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าผู้ออกตั๋วสัญญาจะใช้เงินแก่โจทก์เมื่อทวงถามดังนั้นวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา913(3)หาใช่ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ทั้งกรณีนี้ได้มีการทวงถามให้ผู้ออกตั๋วและจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้วอายุความจึงไม่อาจเริ่มนับจากวันที่ออกตั๋ว ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาจำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวอันเป็นระยะเวลาพอสมควรซึ่งหมายความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นหาได้ไม่แต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วไม่ชำระก็ถือว่าจำเลยผิดนัดโจทก์อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในฐานะผู้รับอาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไปวันครบกำหนด7วันตามหนังสือทวงถามคือวันที่19กันยายน2533อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1001จึงเริ่มนับแต่วันที่20กันยายน2533เป็นต้นไปหาใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่14กันยายน2536ยังไม่ครบกำหนด3ปีคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับจากวันครบกำหนดตามหนังสือทวงถาม ไม่ใช่จากวันออกตั๋วหรือวันที่ได้รับหนังสือ
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาจะใช้เงินแก่โจทก์เมื่อทวงถาม ดังนั้น วันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 913(3) หาใช่ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ ทั้งกรณีนี้ได้มีการทวงถามให้ผู้ออกตั๋วและจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทแล้ว อายุความจึงไม่อาจเริ่มนับจากวันที่ออกตั๋ว ในหนังสือบอกกล่าวทวงถามของโจทก์ได้ให้เวลาจำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าวอันเป็นระยะเวลาพอสมควร ซึ่งหมายความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดเวลานั้นหาได้ไม่ แต่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้จะชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้ หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้วไม่ชำระก็ถือว่าจำเลยผิดนัด โจทก์อาจบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในฐานะผู้รับอาวัลได้นับแต่วันครบกำหนดตามหนังสือทวงถามแล้วเป็นต้นไปวันครบกำหนด 7 วันตามหนังสือทวงถามคือวันที่ 19 กันยายน 2533อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001จึงเริ่มนับแต่วันที่ 20 กันยายน 2533 เป็นต้นไปหาใช่เริ่มนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามไม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2536 ยังไม่ครบกำหนด 3 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดติดจำนอง: ความสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมไม่ทำให้โมฆะ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 วรรคสอง ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมอันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ จะต้องเป็นความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม การที่ผู้ร้องอ้างว่าไม่เข้าใจถึงสาระสำคัญของการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยติดจำนองจึงมิใช่ความสำคัญผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยติดจำนองหรือไม่ เป็นรายละเอียดในการขายทอดตลาดซึ่งผู้ร้องทราบอยู่แล้ว ตามประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี นิติกรรมการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดของผู้ร้อง จึงไม่เป็นโมฆะ