คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ณรงค์ศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นข้างมาก กรณีพิพาทเกี่ยวกับอำนาจกรรมการ
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คนให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้านที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คนลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการบริษัทชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมากระหว่างการดำเนินคดี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อยเป็นผู้บริหารดำเนินกิจการของบริษัทที่พิพาท โดยจำเลยทั้งสองร่วมกับบุคคลภายนอกปลอมรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติปลดโจทก์ที่ 6 ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทที่พิพาทและตั้งจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 6 ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามรายงานการประชุมดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งหกมีเหตุสมควรที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในระหว่างการพิจารณาเพื่อให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการบริษัทเพื่อบริหารกิจการในระหว่างการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 และโดยที่โจทก์ทั้งหกเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างมาก การกำหนดสัดส่วนของผู้จัดการฝ่ายโจทก์ทั้งหกให้มีจำนวน 5 คน ให้ร่วมกับจำเลยทั้งสองเป็นผู้จัดการเพื่อบริหารบริษัทที่พิพาทเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณานั้น นับว่าเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว
คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ที่ให้อำนาจศาลตั้งผู้จัดการหรือผู้รักษาทรัพย์สินของห้างร้าน ที่ทำการค้าพิพาทได้ ทั้งเป็นคำสั่งเพื่อคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาให้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษาเท่านั้น จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องแก้ไขหรือเพิกถอนอำนาจกรรมการที่ได้จดทะเบียนไว้ ส่วนการกำหนดให้ผู้จัดการจำนวน 4 ใน 7 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทที่พิพาทได้นั้น ก็เป็นกรณีมีคำสั่งที่เกี่ยวกับการกำหนดวิธีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ทั้งหกในอันที่จะทำให้บริษัทที่พิพาทสามารถดำเนินกิจการไปได้โดยไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคในระหว่างการพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้พิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี, การหักค่าใช้จ่าย, และข้อยกเว้นเบี้ยปรับตามประกาศกระทรวงการคลัง ต้องมีการชำระภาษีครบถ้วนและให้ความร่วมมือในการตรวจสอบ
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐวรรคสองแห่ง ประมวลรัษฎากร ข้อ 2 และ 5 ระบุว่า ถ้าได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ฉะนั้น ผู้ที่จะได้รับประโยชน์โดยได้รับ ยกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวจะต้อง ชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่จำเลยจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด เมื่อโจทก์ทั้งสองยังมิได้ชำระหนี้ ค่าภาษีอากรแก่จำเลยจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด โจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม ประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ในชั้นตรวจสอบและชั้นพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าพนักงานของจำเลยได้มีหนังสือเชิญโจทก์ทั้งสองเพื่อให้ชี้แจงและส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แต่โจทก์ทั้งสองก็มิได้ส่งมอบเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆให้แก่จำเลยในชั้นตรวจสอบ เพิ่งมานำส่งในชั้นพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นพิจารณาอุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์ที่ 1ไปพบ เพื่อให้โจทก์ที่ 1 ชี้แจงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายค่าออกแบบอาคารและรากฐานถึงสองครั้ง แต่โจทก์ที่ 1 เพิกเฉย เห็นได้ว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบการเสียภาษีอากรของโจทก์ทั้งสองแก่จำเลย กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลายื่นภาษีและชำระภาษีอากร การได้รับนิรโทษกรรมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มต้องชำระหนี้ภาษีให้ครบถ้วน
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป. รัษฎากร ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐ วรรคสอง แห่ง ป. รัษฎากร ข้อ 2 และ 5 ระบุว่าถ้าได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือนำส่งภาษีอากรตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2534 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2535 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ฉะนั้น ผู้ที่จะได้รับประโยชน์โดยได้รับยกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว จะต้องชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่จำเลยจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด เมื่อโจทก์ทั้งสองยังมิได้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรแก่จำเลยจนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ประกาศกระทรวงการคลังกำหนด โจทก์ทั้งสองย่อมไม่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เงินช่วยค่าก่อสร้างเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ต้องนำมารวมคำนวณค่ารายปี
โจทก์เช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้วก่อสร้างอาคารตึกแถวลงบนที่ดินดังกล่าว โจทก์มีสิทธิ นำอาคารตึกแถวที่ปลูกสร้างให้บุคคลภายนอกเช่าได้ โดยบุคคลภายนอกผู้เช่าต้องชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ เมื่อชำระครบถ้วนแล้วโจทก์จะจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกเป็นการตอบแทน และผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามสัญญาอีก เงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เก็บจากผู้เช่าดังกล่าว ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้ชำระให้ล่วงหน้าและเป็นเหตุให้ค่าเช่าที่จะต้องชำระรายเดือนลดลงต่ำกว่ามูลค่าของค่าเช่าที่แท้จริง เงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าจึงต้องรวมถือเป็นค่ารายปีด้วย
การเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากกำไรสุทธิจากการประกอบกิจการของนิติบุคคลนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 หากไม่มีกำไรสุทธิก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปี คือจำนวนเงิน ซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ดังนั้น แม้โจทก์จะนำเงินช่วยค่าก่อสร้างไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว โจทก์ก็ต้องนำเงินช่วยค่าก่อสร้างดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่ามารวมคำนวณเป็นค่ารายปีเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและ ที่ดินด้วยเพราะเป็นภาษีคนละประเภทไม่ซ้ำซ้อนกัน
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อก่อสร้างอาคารตึกแถวนำออกให้บุคคลภายนอกเช่า เป็นเวลา 30 ปี สัญญาเช่าที่ดิน ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญาถ้าสัญญาเช่าระงับลงไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ผู้เช่ายินยอมให้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่มีอยู่ในที่เช่า? ที่เป็นกิจการของโครงการทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น? เมื่อช่วงเวลาเกิดเหตุคดีนี้ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าบรรดาอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ จึงยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์จึงมี หน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตาม มาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: เงินช่วยค่าก่อสร้างถือเป็นค่าเช่าล่วงหน้า, ผู้เช่ามีหน้าที่เสียภาษี
โจทก์เช่าที่ดินจากการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้วก่อสร้างอาคารตึกแถวลงบนที่ดินดังกล่าว โจทก์มีสิทธินำอาคารตึกแถวที่ปลูกสร้างให้บุคคลภายนอกเช่าได้ โดยบุคคลภายนอกผู้เช่าต้องชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ เมื่อชำระครบถ้วนแล้วโจทก์จะจดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าให้แก่บุคคลภายนอกเป็นการตอบแทนและผู้เช่าจะต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์ตามสัญญาอีกเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์เก็บจากผู้เช่าดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ได้ชำระให้ล่วงหน้าและเป็นเหตุให้ค่าเช่าที่จะต้องชำระรายเดือนลดลงต่ำกว่ามูลค่าของค่าเช่าที่แท้จริงเงินช่วยค่าก่อสร้างที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าจึงต้องรวมถือเป็นค่ารายปีด้วย
การเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล คิดจากกำไรสุทธิจากการประกอบกิจการของนิติบุคคลนั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 หากไม่มีกำไรสุทธิก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ภาษีโรงเรือนและที่ดินคิดจากค่ารายปีคือจำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆดังนั้น แม้โจทก์จะนำเงินช่วยค่าก่อสร้างไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วโจทก์ก็ต้องนำเงินช่วยค่าก่อสร้างดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่ามารวมคำนวณเป็นค่ารายปีเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินด้วย เพราะเป็นภาษีคนละประเภทที่ไม่ซ้ำซ้อนกัน
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อก่อสร้างอาคารตึกแถวนำออกให้บุคคลภายนอกเช่าเป็นเวลา 30 ปี สัญญาเช่าที่ดินระบุว่า ในระหว่างอายุสัญญาถ้าสัญญาเช่าระงับลงไม่ว่าด้วยกรณีใดๆผู้เช่ายินยอมให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดที่มีอยู่ในที่เช่าที่เป็นกิจการของโครงการทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น เมื่อช่วงเวลาเกิดเหตุคดีนี้ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าบรรดาอาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 40

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม เป็นกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 264, 268,335, 91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม 3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆ ก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตาม ป.อ.มาตรา 335 (11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากันการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ.มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร และใช้เอกสารปลอม: การพิจารณาความผิดหลายกรรม และบทลงโทษที่เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 264,268,335,91 ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาธนาณัติรวม3 ฉบับ มูลค่า 7,640 บาท ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้เถียงในชั้นฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหรือการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งยังเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย
ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมและฐานปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมลงในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินจากที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแทนโจทก์ร่วมจะบรรยายให้เห็นถึงการกระทำของจำเลยแยกเป็นข้อ ๆก็ตาม แต่จากพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมไปแล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทนและนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว เป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
แม้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากันและเป็นความผิดสำเร็จแต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นความผิด 3 กรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท – ลักทรัพย์ ปลอมเอกสาร – การลงโทษตามบทหนักสุด – ความผิดหลายกรรมต่างกัน
ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยในข้อนี้ให้
พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยในส่วนการลักธนาณัติของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไป แล้วปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในช่องผู้มอบฉันทะให้รับเงินแทน และนำธนาณัติไปใช้ยื่นต่อพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขเพื่อให้จ่ายเงินตามธนาณัติ เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกันโดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้พนักงานของที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงเพื่อจะได้จ่ายเงินตามจำนวนในธนาณัติให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์ธนาณัติของโจทก์ร่วมกับฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียวและเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งต้องลงโทษฐานลักทรัพย์ที่เป็นของนายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(11) วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง แต่จำเลยจะมีความผิดตาม บทกฎหมายใดหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลจะพิจารณาวินิจฉัย
จำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมเกี่ยวกับธนาณัติของโจทก์ร่วมรวม 3 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจำเลยได้กระทำการต่าง ๆ ต่างวันเวลากัน และเป็นความผิดสำเร็จ แต่ละฉบับต่างวันเวลากัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็น ความผิด 3 กรรมต่างกัน ซึ่งต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ไปตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4040/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีสรรพสามิต: การตีความคำสั่งกรมสรรพสามิตเกี่ยวกับเครื่องปรับอากาศ และความผิดฐานไม่ยื่นแบบภาษี
พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ตอนที่ 3 ประเภทที่ 03.01 กำหนดให้เครื่องปรับอากาศที่ประกอบด้วยพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และมีส่วนที่ใช้สำหรับเปลี่ยนอุณหภูมิ ไม่ว่าจะมีส่วนที่ใช้ควบคุมความชื้นด้วยหรือไม่ก็ตาม ที่มีขนาดทำความเย็นไม่เกิน 72,000 บีทียูต่อชั่วโมง เป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต และอธิบดีกรมสรรพสามิตได้วินิจฉัยให้สิ่งต่อไปนี้เป็นเครื่องปรับอากาศตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ประเภทที่ 03.01 คือ (1) COOLING UNIT หรือ FAN COIL UNIT หรือ INDOOR UNIT ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็น (EVAPORATOR) และพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ (2) CONDENSING UNIT ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน (CONDENSER) พัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ (COMPRESSOR) ตามคำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 เครื่องปรับอากาศที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 ยี่ห้อยูเนี่ยนแอร์ ชนิดแฟนคอยล์ ยูนิท ซึ่งประกอบด้วยแผงส่งลมเย็นและพัดลมซึ่งขับด้วยมอเตอร์ และชนิดคอนเดนซิ่ง ยูนิท ซึ่งประกอบด้วยแผงระบายความร้อน พัดลมขับด้วยมอเตอร์และคอมเพรสเซอร์ จึงเป็นเครื่องปรับอากาศตามคำสั่งกรมสรรพสามิตดังกล่าว
ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 อธิบดีกรมสรรพสามิตมีอำนาจตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตแนบท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมสรรพสามิตเห็นว่ากรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับเครื่องปรับอากาศและมีคำวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 ดังกล่าว และ (3) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 22 เมษายน 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การตีความในพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ดังนั้น คำสั่งกรมสรรพสามิตที่ 41/2535 จึงเป็นคำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้ว
เครื่องปรับอากาศที่ยึดจากสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 เป็นสินค้าในการกระทำความผิดฐานนำสินค้าที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมตามมาตรา 147 จึงต้องริบเครื่องปรับอากาศดังกล่าวเป็นของกรมสรรพสามิต ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 168 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันนำสินค้าของกลางที่ยังมิได้เสียภาษีโดยถูกต้องและครบถ้วนออกไปจากโรงอุตสาหกรรมนั้น เป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ตอนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ตาม พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 19, 147 (1) แล้วกรรมหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำสินค้านั้นไปเก็บไว้ที่สำนักงานใหญ่และสาขาเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งสินค้าโดยรู้ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนตามมาตรา 161 (1) และมีไว้เพื่อขายซึ่งสินค้าโดยรู้อยู่ว่าเป็นสินค้าที่มิได้เสียภาษีหรือเสียภาษีไม่ครบถ้วนนั้นเป็นความผิดตามมาตรา 162 (1) ถือว่าเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 162 (1) ซึ่งเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 เป็นอีกกรรมหนึ่ง
of 53