พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย และความผิดฐานพรากเด็ก-กระทำชำเรา เป็นกรรมต่างกัน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 317 ผู้กระทำผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้กระทำผิดได้รู้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก ซึ่งข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดดังนี้ถ้าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหาย แม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2 กระทง
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงาน และอำนาจของศาลในการปรับปรุงยอดรายรับเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้
คดีนี้เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จำเลยมียอดรายรับจากมูลค่าสินค้าส่งออกกับเงินชดเชยในรูปบัตรภาษีและมูลค่าการส่งออกรวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 234,333,578 บาท แต่จำเลยไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต่สวน เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1) ประเมินให้จำเลยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ตามมาตรา 27จำเลยไม่ได้โต้แย้งการประเมินและไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่อาจนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์และทำให้หนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้างอันจะถูกโจทก์บังคับชำระได้ตามมาตรา 12 เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ด้วยการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อให้รับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาทตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเพียง 222,404,146.96 บาทศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจปรับปรุงยอดรายรับและแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7925/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตล่าช้า ผู้ประกอบการต้องรับผิดตามกฎหมาย แม้จะอ้างระเบียบปฏิบัติ
พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 มาตรา 10 (1) (ก) และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาชำระภาษีสรรพสามิต ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2534 ข้อ 2 (1) กำหนดให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยื่นแบบรายการภาษีพร้อมกับชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันที่นำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม วันที่นำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรม หมายถึงแต่ละวันหรือระยะเวลาตั้งแต่ 00.00 นาฬิกา ถึง 24 นาฬิกา ของแต่ละวัน ดังนั้น ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีต้องถือตามปริมาณน้ำมันที่นำออกพ้นไปจากโรงอุตสาหกรรม ณ เวลา 24 นาฬิกาของแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีภายใน 10 วัน นับแต่วันนั้น โดยไม่จำต้องคำนึงว่าการส่งจ่ายน้ำมันทางท่อแบบวงจรต่อเนื่องจะเสร็จสิ้นกระบวนการทุกขั้นตอนเมื่อใด การที่โจทก์นำประมาณน้ำมันทั้งหมดตั้งแต่วันเริ่มต้นส่งจ่ายน้ำมันทางท่อจนถึงวันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งจ่ายน้ำมันไปยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีในคราวเดียวพร้อมกันในกำหนด 10 วัน นับแต่วันเสร็จสิ้นกระบวนการส่งจ่ายน้ำมันจึงไม่ถูกต้อง
ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 และฉบับที่ 2/2525 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2525 เป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงาน เพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่ส่งจ่ายออกไปทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์จึงไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
ระเบียบกรมสรรพสามิตว่าด้วยการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมทำน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ฉบับลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2507 และฉบับที่ 2/2525 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2525 เป็นหลักเกณฑ์ทางปฏิบัติเพื่อควบคุมการตรวจสอบการนำน้ำมันออกจากโรงอุตสาหกรรมให้อยู่ในความรู้เห็นและยินยอมของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโรงงาน เพื่อทราบปริมาณน้ำมันที่ส่งจ่ายออกไปทั้งหมด เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบกับจำนวนภาษีที่โจทก์ชำระ ไม่เกี่ยวกับกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษี โจทก์จึงไม่อาจอ้างระเบียบดังกล่าวมาลบล้างกำหนดเวลาในการยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับเงินชดเชยภาษีอากรต้องพิสูจน์ได้ว่าสินค้าส่งออกผลิตในประเทศ
ตามพระราชบัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 มาตรา 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหมายถึง ผู้ทำการส่งสินค้าออกซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์ส่งออกนอกราชอาณาจักรตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินชดเชยภาษีอากรส่งออก ต้องพิสูจน์สินค้าผลิตในประเทศ
ตาม พ.ร.บ.ชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักรพ.ศ. 2524 มาตรา 4 ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยหมายถึง ผู้ทำการส่งสินค้าออกซึ่งสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร แต่พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าสินค้าพิพาทที่โจทก์ส่งออกนอกราชอาณาจักรตามที่โจทก์ได้สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาออกเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7512/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาเกี่ยวกับทรัพย์มรดก การตกลงกันระหว่างคู่ความทำให้ไม่ต้องขายทอดตลาด
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ โดยกำหนดวิธีตามลำดับคือให้ตกลงกัน ถ้าไม่อาจตกลงกันได้ให้เอาทรัพย์มรดกที่ต้องแบ่งปันนั้นออกขายโดยวิธีประมูลระหว่างกัน ถ้าไม่ได้ให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งตามส่วน เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาและบันทึกต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์มรดก 18 รายการ ยกเว้นรายการที่ 18 และทรัพย์มรดกดังกล่าวที่พิพาทในชั้นบังคับคดียุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการตกลงกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกอันดับที่ 1 ถึง 17 อันเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว จึงไม่จำต้องนำมาประมูลระหว่างกันหรือขายทอดตลาดแต่อย่างใด ส่วนทรัพย์มรดกรายการที่ 18 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกที่พิพาทกันตามฟ้อง จึงไม่อาจบังคับตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7312/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีซื้อจากใบกำกับภาษีปลอมและการหลีกเลี่ยงภาษี ความรับผิดตามมาตรา 89 แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้ใบกำกับภาษีไม่สามารถพิสูจน์ความมีตัวตนของสินค้าและหลักฐานการชำระเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขายทั้งห้า จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าผู้ขายทั้งห้าได้ขายสินค้าให้แก่โจทก์จริง เมื่อไม่มีการขายสินค้า ผู้ขายทั้งห้าจึงไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ดังนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ขายทั้งห้ามาหักในการคำนวณภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/5(5) แห่งประมวลรัษฎากรฯ
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 89(3) และ (4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ2 เท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายที่จะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7)เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ โจทก์หาจำต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) และ (4) อีกด้วยไม่
โจทก์ไม่ได้ซื้อสินค้าพิพาท แต่นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแสดงว่าโจทก์มีเจตนาไม่สุจริตหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับ
การที่โจทก์นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีปลอมมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 89(7) นั้น ย่อมเป็นการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและแสดงภาษีซื้อเกินไปอันเข้าลักษณะความผิดตามประมวลรัษฎากรฯมาตรา 89(3) และ (4) อยู่ด้วยในตัว แต่เมื่อมาตรา 89(7) กำหนดให้เสียเบี้ยปรับ2 เท่า ย่อมเห็นได้ว่ามุ่งหมายที่จะลงโทษปรับให้สูงขึ้นโดยให้รับผิดตามมาตรา 89(7)เพียงอนุมาตราเดียว หาได้มุ่งหมายให้ปรับทุกอนุมาตรารวมกันไม่ โจทก์หาจำต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) และ (4) อีกด้วยไม่
โจทก์ไม่ได้ซื้อสินค้าพิพาท แต่นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยมิชอบมาเป็นภาษีซื้อคำนวณหักออกจากภาษีขายในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแสดงว่าโจทก์มีเจตนาไม่สุจริตหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่มีเหตุที่จะงดเบี้ยปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7262/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ไม่ใช่กำหนดให้ต้องบังคับคดีให้เสร็จสิ้น หากมีเหตุให้ต้องอุทธรณ์ฎีกาต่อเนื่อง โจทก์ยังบังคับคดีต่อได้
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะบัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือสั่งก็ตาม แต่หาได้กำหนดให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 10 ปี ไม่ ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการบังคับคดีก็ถูกจำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์และฎีกาในชั้นบังคับคดีตลอดมาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้แล้วเสร็จได้เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีมาโดยตลอด และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดที่ดินตามคำร้องของโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับผลตามคำพิพากษาไว้แล้ว ดังนั้น แม้เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโจทก์ก็ยังสามารถดำเนินการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7262/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาบังคับคดี: แม้เกิน 10 ปี แต่ยังดำเนินการได้ หากมีอุปสรรคจากกระบวนการ
แม้ ป.วิ.พ.มาตรา 271 จะบัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งก็ตาม แต่หาได้กำหนดให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด10 ปี ไม่
ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการบังคับคดีก็ถูกจำเลยยื่นคำร้องขอ อุทธรณ์และฎีกาในชั้นบังคับคดีตลอดมาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้แล้วเสร็จได้ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีมาโดยตลอด และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดที่ดินตามคำร้องของโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับผลตามคำพิพากษาไว้แล้ว ดังนั้น แม้เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโจทก์ก็ยังสามารถดำเนินการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ
ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์ดำเนินการบังคับคดีก็ถูกจำเลยยื่นคำร้องขอ อุทธรณ์และฎีกาในชั้นบังคับคดีตลอดมาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้แล้วเสร็จได้ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีมาโดยตลอด และศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอายัดที่ดินตามคำร้องของโจทก์เพื่อให้โจทก์ได้รับผลตามคำพิพากษาไว้แล้ว ดังนั้น แม้เกิน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโจทก์ก็ยังสามารถดำเนินการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมีใบจองก่อนมี น.ส.2 มิใช่การต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ที่ดิน และการสละการครอบครองไม่ขัดกฎหมาย
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่โดยจำเลยฎีกาว่าการที่ น โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) ตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา8จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง น. ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) โดยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง (น.ส.2) ที่ดินพิพาทให้แก่ น. การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 วรรคสอง ไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น (พ.ศ. 2530) ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การที่ น. โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อตีใช้หนี้ จะขัดต่อพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9หรือไม่นั้นแม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 น. โอนที่ดินพิพาทขณะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีใบจอง (น.ส.2) ให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา กรณีเป็นเรื่องที่ น. แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การครอบครองของ น. ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377วรรคแรก โจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง กรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 และการสละการยึดถือครอบครองในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 แม้ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก็ตาม แต่ทางราชการเพิ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ น.ภายหลังจากที่ น. ได้สละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปแล้ว การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับโจทก์จึงมิได้กระทำภายในระยะเวลาห้ามโอน ไม่ตกเป็นโมฆะ