พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินก่อนมีใบจองไม่เป็นโมฆะ สิทธิครอบครองย่อมตกแก่ผู้รับโอน การเข้าครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นละเมิด
การโอนที่ดินที่ยังไม่มีใบจองก่อนเวลาที่ทางราชการจะออกใบจองโดยการส่งมอบการครอบครองไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายคือพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 วรรคสอง จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
การโอนที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วโดยการส่งมอบการครอบครองมิได้เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 จึงไม่ตกเป็นโมฆะปัญหานี้จำเลยมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง น. โอนที่ดินที่ยังไม่มีใบจองให้ ส. เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ถือว่า น. แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองอยู่เดิมให้แก่ ส. การครอบครองของ น. ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 วรรคแรก ส. จึงได้ซึ่งสิทธิครอบครองที่ดิน เมื่อ ม. เข้ามาปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยในที่ดินที่ยังไม่มีใบจองที่ ส. มีสิทธิครอบครองโดยมิได้รับความยินยอมจาก ส. จึงเป็นการละเมิดต่อ ส. ส. มีสิทธิขับไล่ ม. และบริวารให้รื้อถอนบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ออกไปจากที่ดินพิพาทได้
การโอนที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้วโดยการส่งมอบการครอบครองมิได้เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 9 จึงไม่ตกเป็นโมฆะปัญหานี้จำเลยมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง น. โอนที่ดินที่ยังไม่มีใบจองให้ ส. เข้าครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ถือว่า น. แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองอยู่เดิมให้แก่ ส. การครอบครองของ น. ย่อมสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377 วรรคแรก ส. จึงได้ซึ่งสิทธิครอบครองที่ดิน เมื่อ ม. เข้ามาปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัยในที่ดินที่ยังไม่มีใบจองที่ ส. มีสิทธิครอบครองโดยมิได้รับความยินยอมจาก ส. จึงเป็นการละเมิดต่อ ส. ส. มีสิทธิขับไล่ ม. และบริวารให้รื้อถอนบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ออกไปจากที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมีใบจองก่อนออก น.ส.3ก. ไม่ขัดกฎหมาย และสิทธิครอบครองย่อมตกแก่ผู้รับโอน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่าการที่ น.โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2)ตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์ เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497มาตรา 8 จึงเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้นจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
น.ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) โดยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง (น.ส.2) ที่ดินพิพาทให้แก่ น. การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8วรรคสอง ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น(พ.ศ.2530)
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การที่ น.โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อตีใช้หนี้ จะขัดต่อ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
น.โอนที่ดินพิพาทขณะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีใบจอง (น.ส.2) ให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา กรณีเป็นเรื่องที่ น.แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การครอบครองของ น.ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377 วรรคแรกโจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง กรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 และการสละการยึดถือครอบครองในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ตามป.พ.พ.มาตรา 1378
แม้ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31 แห่งป.ที่ดินก็ตาม แต่ทางราชการเพิ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ น.ภายหลังจากที่ น.ได้สละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปแล้ว การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงมิได้กระทำภายในระยะเวลาห้ามโอน ไม่ตกเป็นโมฆะ
น.ได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีใบจอง (น.ส.2) โดยส่งมอบการครอบครองให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตั้งแต่ก่อนที่ทางราชการจะออกใบจอง (น.ส.2) ที่ดินพิพาทให้แก่ น. การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8วรรคสอง ไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น(พ.ศ.2530)
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอว่าได้ทำประโยชน์แล้ว การที่ น.โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อตีใช้หนี้ จะขัดต่อ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 หรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
น.โอนที่ดินพิพาทขณะเป็นที่ดินที่ยังไม่มีใบจอง (น.ส.2) ให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบการครอบครองให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา กรณีเป็นเรื่องที่ น.แสดงเจตนาสละการยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ การครอบครองของ น.ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1377 วรรคแรกโจทก์จึงได้สิทธิครอบครอง กรณีมิใช่เป็นการโอนสิทธิครอบครองตามความหมายแห่งพ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 9 และการสละการยึดถือครอบครองในลักษณะดังกล่าวไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย การโอนที่ดินพิพาทจึงสมบูรณ์ตามป.พ.พ.มาตรา 1378
แม้ที่ดินพิพาทมีข้อบังคับห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามมาตรา 31 แห่งป.ที่ดินก็ตาม แต่ทางราชการเพิ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)สำหรับที่ดินพิพาทให้แก่ น.ภายหลังจากที่ น.ได้สละหรือโอนการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ไปแล้ว การโอนที่ดินพิพาทระหว่าง น.กับโจทก์จึงมิได้กระทำภายในระยะเวลาห้ามโอน ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7126/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 336 ทวิ ว่าเป็นบทกำหนดโทษหนักกว่ากึ่งหนึ่ง ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ เป็นบทบัญญัติ ถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334, 335,335 ทวิ หรือมาตรา 336 ต้องระวางโทษ หนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ กึ่งหนึ่งเท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องของการเพิ่มโทษเหมือนเช่นที่ บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 และมาตรา 93 ไม่ การที่ศาลพิพากษากำหนดโทษจำคุกจำเลยและเพิ่มโทษกึ่งหนึ่ง ตามมาตรา 336 ทวิ นั้น จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางภารจำยอม: ศาลกำหนดความกว้างได้หากคำพิพากษาไม่ได้กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้เป็นทางเดิน
ตามคำพิพากษาได้ระบุว่าที่ดินของจำเลยตามเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสยาว 25 เมตร ตามแผนที่พิพาทเป็นทางภารจำยอม ย่อมหมายถึงเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสเท่านั้น หาได้หมายถึงเส้นสีเขียวในแผนที่สังเขปด้านทิศตะวันตกอีกเส้นหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ เมื่อคำพิพากษานั้นไม่กำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมนั้นไว้ ศาลก็ย่อมกำหนดความกว้างของทางเดินพิพาทนั้นได้เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภารจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภารจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภารจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางภาระจำยอม: ศาลมีอำนาจกำหนดความกว้างของทางเดินภาระจำยอมตามความจำเป็น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปได้
ตามคำพิพากษาได้ระบุว่าที่ดินของจำเลยตามเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสยาว 25 เมตร ตามแผนที่พิพาทเป็นทางภาระจำยอม ย่อมหมายถึงเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสเท่านั้น หาได้หมายถึงเส้นสีเขียวในแผนที่สังเขปด้านทิศตะวันตกอีกเส้นหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ เมื่อคำพิพากษานั้นไม่กำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมนั้นไว้ ศาลก็ย่อมกำหนดความกว้างของทางเดินพิพาทนั้นได้เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภาระจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภาระจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ให้ผลประโยชน์จากการเป็นความแก่ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในคดี เป็นโมฆะ
สัญญาที่จำเลยทำกับ ส. มีข้อตกลงว่า ให้ ส. ติดต่อว่าจ้างทนายความในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้อง ก. ให้โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย โดย ส. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินคดีให้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และเมื่อคดีถึงที่สุดจำเลยชนะคดี จำเลยยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่ ส. ทันที โดย ส. จะต้องจ่ายเงินจำนวน 60,000 บาท แก่จำเลยในวันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นการตอบแทนแต่ ส. ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีที่จำเลยกับ ก. พิพาทกัน ดังนี้ สัญญาที่โจทก์และจำเลยทำขึ้นโดยมีข้อตกลงให้ ส. ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150ที่แก้ไขใหม่) กรณีไม่เป็นสัญญาที่เข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
เมื่อโจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยมีข้อความและเงื่อนไขเช่นเดียวกับสัญญาที่จำเลยทำกับ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน โดยโจทก์ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีตกลงออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยในการดำเนินคดีชั้นฎีกา เพราะหวังได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยตกเป็นโมฆะเช่นกัน โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินจากโจทก์ จำนวน 60,000 บาท ตามสัญญาไม่ได้
เมื่อโจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยมีข้อความและเงื่อนไขเช่นเดียวกับสัญญาที่จำเลยทำกับ ส. ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน โดยโจทก์ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีตกลงออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยในการดำเนินคดีชั้นฎีกา เพราะหวังได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยตกเป็นโมฆะเช่นกัน โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินจากโจทก์ จำนวน 60,000 บาท ตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแสวงประโยชน์จากความขัดแย้งผู้อื่น: โมฆะตามกฎหมาย
สัญญาที่จำเลยทำกับ ส.มีข้อตกลงว่า ให้ ส.ติดต่อว่าจ้างทนายความในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้อง ก.ให้โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามหนังสือสัญญาจะซื้อขาย โดย ส.เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการดำเนินคดีให้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด และเมื่อคดีถึงที่สุดจำเลยชนะคดี จำเลยยอมยกที่ดินพิพาทให้แก่ ส.ทันทีโดย ส.จะต้องจ่ายเงินจำนวน 60,000 บาท แก่จำเลยในวันจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นการตอบแทน แต่ ส.ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีที่จำเลยกับ ก.พิพาทกัน ดังนี้ สัญญาที่โจทก์และจำเลยทำขึ้นโดยมีข้อตกลงให้ส.ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม(มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) กรณีไม่เป็นสัญญาที่เข้าลักษณะสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
เมื่อโจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยมีข้อความและเงื่อนไขเช่นเดียวกับสัญญาที่จำเลยทำกับ ส.ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน โดยโจทก์ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีตกลงออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยในการดำเนินคดีชั้นฎีกา เพราะหวังได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยตกเป็นโมฆะเช่นกัน โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินจากโจทก์ จำนวน 60,000 บาท ตามสัญญาไม่ได้
เมื่อโจทก์ทำสัญญากับจำเลยโดยมีข้อความและเงื่อนไขเช่นเดียวกับสัญญาที่จำเลยทำกับ ส.ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน โดยโจทก์ซึ่งไม่มีส่วนได้เสียในมูลคดีตกลงออกค่าใช้จ่ายให้จำเลยในการดำเนินคดีชั้นฎีกา เพราะหวังได้ที่ดินพิพาทมาเป็นของโจทก์ จึงเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน สัญญาที่โจทก์ทำกับจำเลยตกเป็นโมฆะเช่นกัน โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และให้จำเลยรับเงินจากโจทก์ จำนวน 60,000 บาท ตามสัญญาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นโมฆะ หากมีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
ส. กับโจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทจึงเป็นผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีที่จำเลยกับ ก. พิพาทกัน การที่ ส. กับโจทก์ทำสัญญาตกลงออกค่าใช้จ่ายต่าง ๆให้จำเลยในการดำเนินคดีโดยหวังจะได้ที่ดินพิพาทนั้นเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยมีข้อตกลงให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการเป็นความ ซึ่ง ส. กับโจทก์คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในมูลคดีนั้น เป็นการแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน จึงเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 113 เดิม (มาตรา 150 ที่แก้ไขใหม่) ไม่ใช่สัญญาที่เข้าลักษณะจะซื้อขายที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขบังคับก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6652/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: กรณีสามีไม่มีเงินได้ และหน้าที่ในการยื่นรายการภาษี
ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้โดยให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่หากภริยาเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมิน ส่วนสามีไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมา ก็ไม่อยู่ในบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีที่สามีจะต้องรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามมาตรา 57 ตรี วรรคแรก แต่อย่างใด เมื่อสามีของโจทก์ไม่มีเงินได้พึงประเมินและไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีประกอบกับไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี มาใช้บังคับได้กรณีจึงต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎาก มาตรา 56 วรรคแรก ที่กำหนดให้บุคคลทุกคน มีหน้าที่ในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับเกิน 60,000 บาทในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินประมาณ 4 ล้านเศษโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการและชำระภาษี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6652/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีสามีไม่มีเงินได้ และบทบัญญัติมาตรา 57 ตรี
ป.รัษฎากร มาตรา 57 ตรี วรรคแรก เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่สามีและภริยาต่างมีเงินได้โดยให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แต่หากภริยาเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมิน ส่วนสามีไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ก็ไม่อยู่ในบังคับให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามีที่สามีจะต้องรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษีตามมาตรา 57 ตรี วรรคแรก แต่อย่างใด เมื่อสามีของโจทก์ไม่มีเงินได้พึงประเมินและไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีประกอบกับไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จึงไม่อาจนำบทบัญญัติในมาตรา 57 ตรี มาใช้บังคับได้ กรณีจึงต้องเป็นไปตาม ป.รัษฎากร มาตรา 56 วรรคแรก ที่กำหนดให้บุคคลทุกคนมีหน้าที่ในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับเกิน 60,000 บาท ในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นเงินประมาณ 4 ล้านบาทเศษ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นรายการและชำระภาษี เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มได้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบแล้ว