พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงทำลายทรัพย์สิน: ลดโทษจำเลยวัยรุ่นเนื่องจากเหตุผลและพฤติการณ์
ตามพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องชาวบ้านมาชุมนุมกันประมาณ 600 ถึง 800 คนเพื่อขอให้ย้ายสถานีทดลองยางออกไปจากพื้นที่เกิดเหตุ เนื่องมาจากได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่เลี้ยงสัตว์ แสดงว่าประชาชนที่มาชุมนุมนั้นได้ใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์บางส่วนที่จะใช้เป็นสถานีทดลองยางเป็นที่ดินสำหรับเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว ในวันเกิดเหตุมีเจ้าพนักงานตำรวจประมาณ 150 คน เมื่อประชาชนพูดโจมตีด้วยเครื่องขยายเสียงเจ้าพนักงานตำรวจจึงให้หัวหน้าสถานีทดลองยางไปแก้ข้อกล่าวหาต่อประชาชนที่มาชุมนุมแต่เจรจาตกลงกันไม่ได้ ระหว่างเจรจามีประชาชนคนหนึ่งนำไม้ไปตีตุ่มน้ำและเสาของโรงเรือนเอนกประสงค์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น หลังจากนั้นก็เริ่มมีความวุ่นวายโดยประชาชนเริ่มปาสิ่งของแล้วจุดคบเพลิงปาไปที่หลังคาจาก ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้เริ่มก่อเหตุวุ่นวายขึ้น จำเลยเพียงร่วมอยู่ในกลุ่มประชาชนที่มาชุมนุมและร่วมกับประชาชนอื่นอีกเป็นจำนวนมากก่อเหตุร้าย ผลของความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากผู้คนเป็นจำนวนมาก มิได้เกิดจากการกระทำของจำเลยเพียงคนเดียว ทั้งจำเลยอายุเพียง17 ปีเศษ อยู่ในเหตุการณ์ที่ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนในที่เลี้ยงสัตว์และไม่พอใจทางราชการย่อมเป็นการยากที่จะใช้สติในวัยเช่นนั้นยับยั้งชั่งใจไม่ร่วมกับเหตุการณ์หรือห้ามปรามประชาชนไม่ให้ก่อเหตุร้าย จึงมีเหตุสมควรลงโทษจำเลยสถานเบา โดยกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยในขั้นต่ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6472/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน: การไม่ปฏิบัติตามสัญญาซ่อมบำรุง ทำให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าบริการ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า ระหว่างระยะเวลาที่โจทก์รับประกันเครื่องปรับอากาศ โจทก์ผู้ขายมีหน้าที่ต้องดูแลบำรุงรักษาซ่อมแซมและทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ส่วนจำเลยผู้ซื้อมีหน้าที่จะต้องชำระเงินค่าบำรุงรักษาและค่าบริการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศที่ตกลงซื้อขายกันนั้นให้แก่โจทก์ โดยแบ่งชำระเป็นรายปีข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์กับจำเลย ดังนั้น เมื่อระหว่างเวลาที่โจทก์รับประกัน เครื่องปรับอากาศที่โจทก์ขายให้จำเลยนั้นเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายจำนวนมาก จำเลยได้แจ้งให้โจทก์จัดการซ่อมแซมแก้ไขแล้ว แต่โจทก์เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามสัญญาจนจำเลยต้องว่าจ้างบุคคลภายนอกให้มาซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศดังกล่าว โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อจำเลย จำเลยไม่ต้องชำระเงินค่าบำรุงรักษาและบริการทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศให้โจทก์
ส่วนการซื้อขายเครื่องปรับอากาศจำนวน 91 เครื่อง ซึ่งเป็นการซื้อขายครั้งหลังนั้นเป็นการที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมและเป็นจำนวนมากพอสมควร น่าเชื่อว่าโจทก์และจำเลยได้นำข้อตกลงและเงื่อนไขในการซื้อขายเครื่องปรับอากาศครั้งแรกตามสัญญาซื้อขายมาใช้บังคับด้วย และแม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่มีข้อความว่าการที่โจทก์ไม่มาซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องเครื่องปรับอากาศที่เกิดความเสียหายให้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ตามแต่เมื่อสัญญานั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ผิดสัญญา
ส่วนการซื้อขายเครื่องปรับอากาศจำนวน 91 เครื่อง ซึ่งเป็นการซื้อขายครั้งหลังนั้นเป็นการที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมและเป็นจำนวนมากพอสมควร น่าเชื่อว่าโจทก์และจำเลยได้นำข้อตกลงและเงื่อนไขในการซื้อขายเครื่องปรับอากาศครั้งแรกตามสัญญาซื้อขายมาใช้บังคับด้วย และแม้ในสัญญาดังกล่าวจะไม่มีข้อความว่าการที่โจทก์ไม่มาซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องเครื่องปรับอากาศที่เกิดความเสียหายให้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก็ตามแต่เมื่อสัญญานั้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตพินัยกรรม: เจตนาผู้ตายในการยกทรัพย์สินเฉพาะที่ดินแปลงระบุ ผู้รับพินัยกรรมไม่มีสิทธิในทรัพย์นอกพินัยกรรม
ตามพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้ตายทำไว้มีข้อความสำคัญกำหนดไว้ ดังนี้ "ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ (1) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 เนื้อที่จำนวน 60 ไร่ 2 งาน33 ตารางวา ขอยกให้ ย. หลานสาว (ผู้คัดค้าน) จำนวน 50 ไร่ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 10 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ขอยกให้กับมัสยิดสมาคมอิสลาม"ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือ ที่ดินเพียง 3 แปลง เท่านั้น ได้แก่ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมกับที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 และตามพฤติการณ์มีข้อบ่งชี้ให้เห็นเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 ให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรม คือผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลามเท่านั้น ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 นั้น ผู้ตายมิได้ประสงค์จะทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลาม ดังนี้เมื่อผู้คัดค้านได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 แล้ว ทั้งผู้คัดค้านมิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายอันจะมีสิทธิรับมรดกนอกพินัยกรรมคือ ที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านขอให้เพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเฉพาะเจาะจง: เจตนาผู้ตายยกทรัพย์เฉพาะแปลงที่ระบุ ผู้รับพินัยกรรมไม่มีสิทธิในทรัพย์นอกพินัยกรรม
แม้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้ตายทำไว้มีข้อความสำคัญกำหนดไว้ดังนี้ "ข้อ 1 ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ (1) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 เนื้อที่จำนวน 60 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ขอยกให้ ย. หลานสาว (ผู้คัดค้าน) จำนวน 50 ไร่ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 10 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ขอยกให้กับมัสยิดสมาคมอิสลาม" แต่ข้อเท็จจริงผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือ ที่ดิน 3 แปลง ได้แก่ ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมกับที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 และตามพฤติการณ์มีข้อบ่งชี้ให้เห็นเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 ให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรม คือผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลามเท่านั้น ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 นั้น ผู้ตายมิได้ประสงค์จะทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลาม ดังนี้เมื่อผู้คัดค้านได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 แล้ว ทั้งผู้คัดค้านมิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายอันจะมีสิทธิรับมรดกนอกพินัยกรรมคือที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านขอให้เพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อที่ดิน: การกำหนดค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องพิจารณาจากสิทธิซื้อขายที่รวมอยู่ในสัญญา
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างบริษัท ร. กับโจทก์กำหนดว่า ในระหว่างอายุสัญญาเช่าถ้าผู้เช่า (โจทก์) มีความประสงค์จะซื้อทรัพย์สินที่เช่า ผู้ให้เช่ายินยอมขายทรัพย์สินที่ให้เช่าให้ผู้เช่าหรือบุคคลที่ผู้เช่าระบุเป็นผู้ซื้อในราคาตามวิธีคำนวณที่กำหนดไว้ต่อท้ายสัญญานั้นเป็นคำมั่นในการซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 454 วรรคแรก ซึ่งผู้ให้เช่าได้กำหนดเวลาให้ผู้เช่าบอกกล่าวความจำนงในการซื้อไว้เป็นการแน่นอนแล้ว ผู้ให้เช่าจึงถอนคำมั่นก่อนเวลาที่ระบุไว้ไม่ได้ ทั้งได้กำหนดราคาซื้อขายที่ดินไว้แน่นอนตามอัตราการเพิ่มมูลค่าของราคาที่ดินนั้นแต่ละปีจากราคาที่ดินที่ผู้ให้เช่าซื้อมา เมื่ออัตราค่าเช่าที่ดินกำหนดไว้ปีละ 9,176,620 บาท หากเช่าครบกำหนด 60 ปี จะเป็นจำนวนเงินถึง 550,597,200 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินสูงมาก อาจเท่าหรือสูงกว่าราคาที่ดินที่เช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาเช่าตามปกติธรรมดาเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นสัญญาเช่าที่รวมถึงสิทธิที่จะซื้อที่ดินที่เช่าไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นฐานในการกำหนดค่ารายปีของที่ดินต่อเนื่องและโรงเรือนของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาอาญา: การพิจารณาโทษฐานฆ่าผู้อื่น พยายามฆ่า และการลดโทษจากคำรับสารภาพ
ความผิดฐานมีและพาอาวุธติดตัวไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 8 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้เป็นไม่ลดโทษให้จำเลยทุกข้อหา จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอรับฟังลงโทษจำเลยได้ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ก่อนเกิดเหตุจำเลยกับพวกพบผู้ตายและผู้เสียหายโดยบังเอิญที่ปั๊มน้ำมัน โดยต่าง ไม่เคยรู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน และขณะเติมน้ำมันรถไม่ปรากฏว่าจำเลย กับพวกเกิดทะเลาะโต้เถียงกับผู้ตายและผู้เสียหายแต่อย่างใด แม้จำเลยจะให้การว่าเมื่อจำเลย ถามพวกว่าจะเอาอย่างไร จะยิงยางแล้วจี้ใช่ไหม พวกบอกว่าให้ยิงคนขับทิ้งก็เป็นการตกลง เพื่อความสะดวกในการจะชิงทรัพย์ อันเป็นการมุ่งกระทำต่อทรัพย์นั้นเอง พฤติการณ์ตาม รูปคดียังไม่หนักแน่นมั่นคงพอจะฟังว่า จำเลยกับพวกฆ่าผู้ตายและพยายามฆ่าผู้เสียหาย โดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาให้ยกเอาคำให้การของจำเลยดังกล่าวขึ้นมารับฟังประกอบการวินิจฉัยคดี ถือว่าคำให้การของจำเลยนั้นเป็นการให้ความรู้แก่ศาล อันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ สมควรลดให้ และให้มีผลถึงความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนซึ่งต้องห้าม มิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก ด้วย เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้าดอกเบี้ยจากธุรกิจประกันชีวิต: ดอกเบี้ยเงินฝาก ตั๋วเงิน และหุ้นกู้ ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษี
ภาษีการค้าเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากรายรับของผู้ประกอบการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 79 สำหรับกรณีการรับประกันชีวิต มาตรา 79 (4) (ก) บัญญัติให้รายรับหมายความว่า "ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในการให้กู้ยืมเงิน" ซึ่งแตกต่างจากการรับประกันภัยอย่างอื่นตามมาตรา 79 (4) (ข) ที่บัญญัติให้รายรับหมายความว่า "เบี้ยประกันภัยหรือเงินอื่นที่ผู้รับประกันภัยเรียกเก็บ เว้นแต่เบี้ยประกันภัยส่วนที่ต้องคืนภายในเดือนที่เก็บได้ และเบี้ยประกันภัยที่ได้รับจากการรับประกันภัยต่อ ซึ่งผู้เอาประกันภัยต่อได้เสียภาษีจากเบี้ยประกันภัยตามหมวดนี้แล้ว" ทั้งนี้เนื่องจากการรับประกันชีวิตนั้น ผู้ประกอบการมีความผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์เมื่อครบกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตายแล้วแต่กรณี ซึ่งแตกต่างจากการรับประกันภัยอย่างอื่น ที่ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ตามสัญญา ก็ต่อเมื่อเกิดความเสียหายจริงเท่านั้น ประมวลรัษฎากรจึงไม่บัญญัติให้เบี้ยประกันภัยเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าของกิจการประกันชีวิต แต่ให้ถือเอาดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลที่ผู้ประกอบการได้รับจากการนำเบี้ยประกันภัยไปลงทุนหรือหาประโยชน์รวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าบริการในการกู้ยืมเงินเป็นรายรับแทน คำว่า ดอกเบี้ยในมาตรา 79 (4) (ก) จึงหมายถึงดอกเบี้ยทุกประเภทที่ผู้ประกอบการรับประกันชีวิตได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าของตน อีกทั้งตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ. 2510 มาตรา 22 ยังได้กำหนดถึงธุรกิจที่บริษัทประกันชีวิตจะลงทุนไว้หลายประการรวมถึงการให้กู้ยืม ซื้อหุ้นกู้ ซื้อหรือซื้อลดตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินและฝากเงินไว้กับธนาคารในประเทศโดยได้รับดอกเบี้ย การลงทุนดังกล่าวล้วนมีลักษณะอย่างเดียวกันคือได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย ดังนั้น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ดอกเบี้ยตั๋วเงินและดอกเบี้ยหุ้นกู้ย่อมเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าหรือการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการประกันชีวิต ดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 79 (4) (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาประกันตัวจำเลยและการสิ้นสุดของกระบวนการลดค่าปรับ
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกัน ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ต่อมาผู้ประกันผิดสัญญาประกันโดยไม่ส่งตัวจำเลยตามนัด ศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันเต็มตามสัญญาแล้ว ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับให้บางส่วน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเป็นอย่างอื่น ให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีของผู้ประกันดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 ไม่อาจที่จะฎีกาต่อมาอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5051/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวจำเลยผิดเงื่อนไข ศาลมีอำนาจบังคับตามสัญญา และคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ประกัน ประกันตัวจำเลยไปในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ต่อมาผู้ประกัน ผิดสัญญาประกันโดยไม่ส่งตัวจำเลยตามนัด ศาลชั้นต้นสั่งปรับ ผู้ประกันเต็มตามสัญญาแล้ว ต่อมาผู้ประกันยื่นคำร้องขอให้ ลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นลดค่าปรับให้บางส่วน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับอีก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง คำสั่งเป็นอย่างอื่น ให้ยกคำร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีของ ผู้ประกันดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ไม่อาจที่ จะฎีกาต่อมาอีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5011/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ตัวแทนโรงงานแปรรูปไม้: ผู้รับอนุญาตต้องรับผิดชอบการจัดทำบัญชี ไม่ใช่ตัวแทน
พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 58 ประกอบมาตรา 73 ทวิ และกฎกระทรวงฉบับที่ 27(พ.ศ. 2530) ข้อ 5 วรรคหนึ่ง และข้อกำหนดฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2526)ข้อ 5 ประกอบกันความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดที่ไม่จัดทำบัญชีรับและจำหน่ายไม้แปรรูป บัญชีรับและจำหน่ายสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามให้ถูกต้องตามความเป็นจริงอันเป็นความผิดตามมาตรา 58 ประกอบด้วยมาตรา 73 ทวิ นั้น เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษสำหรับผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามดังจะเห็นได้จากข้อกำหนดฉบับที่ 18(พ.ศ. 2532) ข้อ 8 และข้อ 11 จำเลยเป็นเพียงตัวแทนดูแลกิจการโรงงานแปรรูปไม้ที่เกิดขึ้นของผู้รับอนุญาต จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้หรือผู้รับอนุญาตให้ค้าหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามแม้จำเลยเป็นตัวแทนของผู้รับอนุญาตแต่หนังสือตั้งตัวแทนก็มิได้ระบุให้จำเลยมีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีตามที่กล่าวมาข้างต้นอันเป็นหน้าที่ของผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด จำเลยไม่จัดทำบัญชีดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงหรือในข้อกำหนดอันเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 58 ประกอบมาตรา 73 ทวิ