คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ณรงค์ศักดิ์ วิจิตรสาระวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 524 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการแบ่งความรับผิดชอบจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน 499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 287,808.90 บาทพร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2เป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาแล้วเห็นว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากันจึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยและให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย โจทก์ฎีกาว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 อนุมัติ ให้จ่ายเงินตามเช็คโดยประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่า โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสียหายส่วนที่โจทก์ ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกา ในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1881/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิด: การแบ่งความรับผิดระหว่างผู้ก่อความเสียหายหลายฝ่าย และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงินจำนวน499,375 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 287,808.90 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 213,191.78 บาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2 ให้ยกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นอันถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ เห็นว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากโจทก์และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างขาดความระมัดระวังด้วยกัน พฤติการณ์มิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน จึงให้จำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์กึ่งหนึ่ง พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 143,437.50 บาท พร้อมดอกเบี้ย และให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 106,250 บาท พร้อมดอกเบี้ย ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ประมาทเลินเล่อแต่ฝ่ายเดียว หากฟังว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายความเสียหายส่วนที่โจทก์ก่อก็มีเพียงเล็กน้อย จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้จำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 4 รับผิดต่อโจทก์เพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 3 และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 4 ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นโมฆะ และผลกระทบต่อสัญญากู้เงิน
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท(ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน)ระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา411 ที่โจทก์ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลงยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินผิดกฎหมาย และสัญญาแปลงหนี้ที่ดินเป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท(ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน)ระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือ สัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลง ยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นโมฆะ และผลกระทบต่อหนังสือสัญญากู้เงินที่แปลงหนี้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 การที่โจทก์ ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้ อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้อง ด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 ที่โจทก์ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลงยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้ เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็น โมฆะด้วย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย ตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินผิดกฎหมาย & สัญญาแปลงหนี้จากลาภมิควรได้เป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แล้ว การที่โจทก์ ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยตามสัญญาดังกล่าว ย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ต้องด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 4 ว่าด้วยลาภมิควรได้ ซึ่งตามมาตรา 411 ระบุถึงกรณีที่บุคคลใดได้ชำระหนี้เป็นการ อันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี บุคคลนั้นจะเรียกร้องทรัพย์คืนไม่ได้ ดังนั้น โจทก์ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐาน ลาภมิควรได้ เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่ จำเลยตกลงยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ ชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย จึงเป็นสัญญาที่มี วัตถุประสงค์เป็นอันต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ย่อมตกเป็น โมฆะตามมาตรา 150 จำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อม ดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากเคยมีคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นเดียวกัน
ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็น แห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน อีกไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148(1) เพราะมาตรา 288 ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์ นั้นเหมือนคดีธรรมดา คำร้องของ ผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากประเด็นเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดถึงที่สุดแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานใหม่
ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148 (1) เพราะมาตรา 288 ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์นั้นเหมือนคดีธรรมดา คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากประเด็นเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว หาใช่ว่าศาลยังมิได้รับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยเนื้อหาในคำร้องขัดทรัพย์ไม่เมื่อศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148(1)เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์เหมือนคดีธรรมดาคำร้องของ ผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ภาษีและการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: ข้อจำกัดการอุทธรณ์และการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่โจทก์โดยแยกเป็นเรื่องแจ้งการประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ฉบับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ และภาษีการค้า 2 ฉบับ รวมเป็น 7 ฉบับ แต่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รวมมาในฉบับเดียวกัน โดยข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้า ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในอุทธรณ์แต่เพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่มิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (9) (13) (18) แห่งป.รัษฎากร จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นเรื่องรายจ่ายต้องห้ามต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ ก็หามีผลให้อุทธรณ์ในประเด็นนี้กลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำประเด็นนี้มาฟ้องต่อศาล
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22
of 53